กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อัลตราซาวนด์คืออะไร?

การตรวจที่ใช้ทำได้หลายอย่าง ไม่ใช่แค่ดูทารกในครรภ์
เผยแพร่ครั้งแรก 9 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 7 ธ.ค. 2022 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
อัลตราซาวนด์คืออะไร?

อัลตราซาวนด์ (Ultrasound) หรือการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง เป็นการตรวจที่คนทั่วไปมักเข้าใจว่าใช้สำหรับดูภาพของทารกที่อยู่ภายในครรภ์ แต่จริงๆ แล้วการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ 

1. การตรวจอัลตราซาวนด์เพื่อการวินิจฉัย 

เป็นการใช้คลื่นเสียงเพื่อสร้างภาพของอวัยวะและโครงสร้างภายในร่างกาย เพื่อช่วยในการวินิจฉัยภาวะทางการแพทย์ดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ประเมินและระบุสาเหตุของอาการปวด บวม และการติดเชื้อ
  • วินิจฉัยโรคทางหัวใจ
  • ตรวจหาเนื้องอก
  • ประเมินปัญหาที่เกิดขึ้นกับการไหลเวียนของหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดตีบหรือมีลิ่มเลือด
  • ช่วยในการทำหัตถการที่อันตราย เช่น การใช้เข็มเจาะตัดชิ้นเนื้อ และการใช้ยาสลบที่ต้องใช้เข็ม
  • การตรวจหาความผิดปกติในสมองของทารกแรกเกิด

2. การตรวจอัลตราซาวนด์เพื่อการรักษา 

เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อเปลี่ยนแปลงหรือทำลายเนื้อเยื่อ วิธีการทำมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ต้องการรักษา โดยภาวะต่างๆ ที่สามารถใช้รักษาด้วยวิธีนี้ ได้แก่

  • สลายนิ่วในไตขนาดใหญ่หรือนิ่วในถุงน้ำดี
  • ทำลายเนื้องอกในมดลูกที่ไม่ใช่มะเร็ง
  • ทำความสะอาดฟัน
  • สลายต้อกระจก
  • การทำกายภาพบำบัด (ช่วยยืดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และเนื้อเยื่ออื่นๆ) ในโรคเอ็นอักเสบ
  • การรักษาเนื้องอกและถุงน้ำ
  • กระตุ้นการเจริญเติบโตของกระดูกเพื่อช่วยรักษาภาวะกระดูกหัก
  • ตัดเนื้อเยื่อหรือหยุดเลือดระหว่างการผ่าตัด
  • ช่วยระบุตำแหน่งระหว่างการให้ยาในเนื้อเยื่อบางชนิด

ขั้นตอนการตรวจอัลตราซาวนด์

ในการตรวจนี้ ผู้เข้ารับการตรวจจะนอนอยู่บนเตียงตรวจ หลังจากนั้นแพทย์หรือนักเทคนิคการแพทย์จะทาเจล ซึ่งจะช่วยส่งคลื่นเสียงผ่านเข้าสู่ผิวหนังบริเวณที่ต้องการจะมองเห็นภาพ ก่อนจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Transducer วางลงบนผิวหนังที่มีการทาเจลไว้ ซึ่งเครื่องมือนี้จะส่งคลื่นเสียงความถี่ที่สูงกว่าที่มนุษย์ได้ยิน (มากกว่า 20 KHz) สะท้อนเนื้อเยื่อและอวัยวะกลับมา ก่อนที่จะทำการวิเคราะห์คลื่นสะท้อนและแปลงมาเป็นภาพแสดงบนหน้าจอ

สำหรับการตรวจอัลตาซาวด์เพื่อการวินิจฉัย สามารถทำภายในร่างกายได้ด้วย เช่น การใส่ transducer เข้าไปทางทวารหนักของผู้ชาย เพื่อให้เห็นภาพของต่อมลูกหมาก หรือการใส่เครื่องมือเข้าไปทางช่องคลอดเพื่อให้เห็นอวัยวะสืบพันธุ์และทางเดินปัสสาวะของผู้หญิงได้ชัดเจนยิ่งขึ้น 

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว อัลตราซาวด์ช่องคลอด ตรวจภาวะมีบุตรยาก สำหรับผู้หญิง ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 | HDmall
รีวิว ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบนและส่วนล่าง ที่ รพ.พญาไท 2 | HDmall


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ultrasound. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ultrasound.html)
Abdominal Ultrasounds: Purpose, Procedure, Uses, Results, Benefits. WebMD. (https://www.webmd.com/a-to-z-guides/what-is-an-ultrasound)
Ultrasound scan. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/ultrasound-scan/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป