ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ (Growth Retardation หรือ Intrauterine Growth Restriction: IUGR) คือภาวะที่ตัวอ่อนในครรภ์ไม่ได้พัฒนาขึ้นอย่างที่ควรเป็น โดยตัวอ่อนที่มีภาวะโตช้าในครรภ์ จะมีขนาดเล็กกว่าตัวอ่อนที่มีอายุเท่ากัน คำนิยามนี้สามารถนำไปใช้กับทารกที่มีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่าเกณฑ์ได้ด้วย
ภาวะทารกโตช้าในครรภ์มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ แบบสมมาตร (Symmetrical) และแบบไม่สมมาตร (Asymmetrical) ภาวะทารกโตช้าในครรภ์แบบสมมาตรจะมีสัดส่วนร่างกายตามปกติ แต่มีขนาดร่างกายเล็กกว่าเด็กที่มีอายุครรภ์เท่ากัน ส่วนภาวะทารกในครรภ์โตช้าแบบไม่สมมาตร ทารกจะมีขนาดศีรษะปกติ แต่มีร่างกายเล็กกว่าที่ควรเป็น โดยเมื่อตรวจสอบภาพทารกในครรภ์ด้วยการอัลตราซาวด์ จะเห็นได้ว่าศีรษะของเด็กมีขนาดใหญ่กว่าร่างกายมาก
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ความเสี่ยงของภาวะทารกโตช้าในครรภ์
ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ จะมีความเสี่ยงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้สูง ดังนี้
- มีระดับออกซิเจนต่ำ
- มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
- มีเซลล์เม็ดเลือดแดงมากเกินไป
- ไม่สามารถคงอุณหภูมิปกติของร่างกายได้
- มีคะแนนที่ใช้วัดสุขภาพเด็กแรกเกิด (Apgar score) น้อย
- มีปัญหาการให้อาหาร
- มีปัญหาทางประสาทวิทยา
ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ชนิดรุนแรง อาจทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์หรือระหว่างคลอดได้ หากทารกรอดชีวิตก็มีโอกาสที่จะทำให้เกิดความพิการทางการเรียนรู้ มีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวและสังคมล่าช้า รวมทั้งเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูงขึ้น
สาเหตุของภาวะทารกโตช้าในครรภ์
ภาวะทารกโตช้าในครรภ์เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติในเซลล์หรือเนื้อเยื่อชนิดที่สืบทอดมาจากพ่อแม่ตั้งแต่แรกจนทำให้ทารกมีภาวะทุพโภชนาการ มีปริมาณการนำเข้าออกซิเจนต่ำ หรืออาจจะเกิดจากปัญหาสุขภาพของมารดา
ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ สามารถเริ่มขึ้นช่วงเวลาใดของครรภ์ก็ได้ และมีปัจจัยมากมายที่เพิ่มความเสี่ยงให้ทารกเกิดภาวะนี้ขึ้น โดยปัจจัยต่างๆ สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
ปัจจัยจากครรภ์ ซึ่งเกิดจากสุขภาพของมารดา
- โรคเรื้อรัง เช่น โรคไตเรื้อรัง เบาหวาน โรคหัวใจ และโรคทางเดินหายใจต่างๆ
- ภาวะความดันโลหิตสูง
- ภาวะทุพโภชนาการ
- โรคโลหิตจาง
- การติดเชื้อบางประเภท
- การใช้สารเสพย์ติด
- การสูบบุหรี่
ปัจจัยของตัวอ่อน ซึ่งเกิดจากสุขภาพของตัวอ่อนเอง
- การติดเชื้อ
- ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
- ความผิดปกติทางโครโมโซม
- การตั้งครรภ์แฝด
ปัจจัยภายในมดลูก
- การลดลงของการไหลเวียนโลหิตที่มดลูก
- การลดลงของการไหลเวียนโลหิตภายในรก
- การติดเชื้อที่เนื้อเยื่อโดยรอบตัวอ่อน
- ภาวะรกเกาะต่ำ (Placenta Previa)
การวินิจฉัยภาวะทารกโตช้าในครรภ์
ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ มักตรวจพบระหว่างการตรวจคัดกรองแม่และเด็กด้วยการอัลตราซาวด์ ซึ่งเป็นกระบวนการถ่ายภาพร่างกายด้วยคลื่นเสียงเพื่อตรวจพัฒนาการของตัวอ่อนและมดลูก หากพบว่าตัวอ่อนมีขนาดเล็กกว่าปกติ แพทย์จะคาดการณ์ว่าตัวอ่อนนั้นอาจมีภาวะโตช้าในครรภ์
เมื่อแพทย์คาดว่าทารกมีภาวะโตช้าในช่วงครรภ์อ่อน แพทย์จะคอยเฝ้าติดตามการเจริญเติบโตของตัวอ่อนด้วยการอัลตราซาวด์เป็นประจำ และหากพบว่าทารกมีการเติบโตที่ช้ากว่าปกติจริง แพทย์อาจจะทดสอบด้วยการเจาะน้ำคร่ำ (Amniocentesis Test) เพื่อตรวจหาสัญญาณของความผิดปกติต่างๆ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
การรักษาภาวะทารกโตช้าในครรภ์
ภาวะทารกโตช้าในครรภ์สามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เกิดขึ้น โดยก่อนจะเริ่มการรักษา แพทย์จะต้องตรวจสอบตัวอ่อน ดังนี้
- ตรวจอัลตราซาวด์ดูอวัยวะของทารกว่าพัฒนาขึ้นอย่างไร และตรวจสอบหาความเคลื่อนไหวตามปกติต่างๆ
- ตรวจสอบการเต้นของหัวใจ เพื่อให้มั่นใจว่าตัวอ่อนมีการสูบฉีดเลือดตามปกติ
- ตรวจสอบ Doppler Flow Studies เพื่อให้มั่นใจว่าเลือดของตัวอ่อนไหลเวียนปกติหรือไม่
หลังจากนั้นจะเป็นขั้นตอนการรักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะทารกโตช้าในครรภ์ขึ้น โดยอาจมีตัวเลือกการรักษา ดังนี้
- การเพิ่มปริมาณสารอาหารที่ได้รับ เพื่อให้ตัวอ่อนได้รับสารอาหารต่างๆ ที่จำเป็นมากขึ้น ในกรณีที่มารดาไม่ได้รับประทานอาหารเพียงพอ
- การพักผ่อนบนเตียง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนโลหิตของตัวอ่อนให้มากขึ้น
- การกระตุ้นให้คลอด ในกรณีรุนแรงอาจต้องมีการเร่งให้คลอดก่อนกำหนด เพื่อไม่ให้ภาวะโตช้าของทารกทรุดหนักกว่าที่เป็นอยู่ แพทย์จะจำเป็นต้องใช้วิธีนี้หากการเจริญเติบโตของตัวอ่อนชะงักลงอย่างสมบูรณ์ หรือมีภาวะทางการแพทย์ชนิดร้ายแรง ซึ่งแพทย์อาจปล่อยให้ตัวอ่อนเติบโตให้ถึงที่สุดก่อนจะบังคับคลอดก็ได้
การป้องกันภาวะทารกโตช้าในครรภ์ของทารก
ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันภาวะทารกโตช้าในครรภ์ แต่ก็มีหลายวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ของทารกลง เช่น
- การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
- การรับประทานวิตามินร่วมกับกรดโฟลิคอย่างเพียงพอขณะตั้งครรภ์
- การหลีกเลี่ยงวิถีชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น การเสพยา การดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่หรือยาสูบต่าง ๆ
อายุ 51 ปี มีอาการชาริมฝีปากล่างบ่อย ๆ อาการคือชายิบ ๆ เจ็บเล็กน้อยค่ะ มีอาการเป็นบางวันค่ะ ไม่มีโรคประจำตัว แต่ค่า LDL สูง 144 ค่ะ ไม่ทราบเกิดจากอะไรคะ ต้องพบแพทย์แผนกไหนคะ