กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

8 สาเหตุที่ทำให้คุณเบื่ออาหาร

เบื่ออาหารเกิดจากอะไร โรคไหน หรือความผิดปกติอะไรที่ทำให้เกิดอาการเบื่ออาหารบ้าง
เผยแพร่ครั้งแรก 29 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 8 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
8 สาเหตุที่ทำให้คุณเบื่ออาหาร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการเบื่ออาหารสามารถเกิดขึ้นได้จากความผิดปกติของร่างกาย โดยสาเหตุอย่างแรกมักมาจากความเครียด ซึ่งเป็นภาวะที่ส่งผลโดยตรงต่อกระเพาะอาหาร แต่ส่วนมากเมื่อผ่อนคลายขึ้น ผู้ป่วยก็จะกลับมารับประทานอาหารได้เหมือนเดิม
  • โรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร และลำไส้ เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการอาเจียน ท้องเสีย และสุดท้ายจึงทำให้ผู้ป่วยเบื่ออาหาร 
  • โรคประจำตัวอย่างโรคเบาหวาน โรคมะเร็ง สามารถทำให้ระบบการทำงานของร่างกายรวน และทำให้อาการอยากอาหารลดน้อยลง
  • การรับประทานยาที่มากขึ้นในช่วงสูงอายุ รวมถึงอาการเจ็บป่วยที่บ่อยขึ้น การรับประทานยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวดที่มีสารมอร์ฟีน ก็มีส่วนทำให้เกิดอาการเบื่ออาหารได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจโรคมะเร็งทั่วไป

ความอยากอาหารของคุณสามารถเปลี่ยนไปในแต่ละวัน แต่คุณจำเป็นต้องรับประทานอาหารเพื่อให้มีสารอาหารไปหล่อเลี้ยงร่างกาย หากคุณรู้สึกอยากรับประทานอาหารเพียงเล็กน้อย หรือไม่อยากแตะอาหารนานหลายวันติดต่อกัน คุณก็ควรหาสาเหตุว่ามันเกิดจากอะไร 

เพราะในบางครั้งอาการเบื่ออาหารสามารถเป็นสัญญาณของโรคร้ายค่ะ อย่างไรก็ตาม เราลองมาดูกันดีกว่าว่ามีสาเหตุใดบ้างที่ทำให้คุณเบื่ออาหาร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. ความเครียด

ความวิตกกังวลกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ และจิตใจเพื่อช่วยให้คุณรับมือกับความกดดันได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้มักส่งผลต่อกระเพาะอาหาร และทางเดินอาหาร ทำให้คุณมีอาการเบื่ออาหารได้ 

อย่างไรก็ตาม หากความเครียดคือสาเหตุ คุณก็สามารถกลับมารับประทานอาหารได้ตามปกติหลังจากที่คุณรู้สึกผ่อนคลาย

2. โรคกระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบ

คนที่เป็นโรคนี้มักมีอาการอาเจียน และท้องเสียร่วมด้วย ซึ่งล้วนแต่ทำให้สารเคมีในกระเพาะอาหารเปลี่ยนไป นอกจากนี้คนที่เป็นโรคหวัด และโรคไข้หวัดใหญ่ก็สามารถมีอาการดังกล่าวได้เช่นกัน 

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นสามารถทำให้คุณไม่อยากรับประทานอาหาร แต่โดยมากแล้ว ความรู้สึกคลื่นไส้มักหายไปในไม่กี่วัน แต่หากคุณยังคงไม่หิว คุณก็ควรไปพบแพทย์ เพราะมันอาจเกิดจากการติดเชื้ออย่างรุนแรง หรือไวรัสที่จำเป็นต้องรีบรักษา

3. ยา

ยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวดอย่างโคเดอีน หรือมอร์ฟีน สามารถทำให้คุณเบื่ออาหาร ซึ่งยาเหล่านี้จะทำให้อวัยวะรับความรู้สึกบางชนิดในกระเพาะอาหารทำงานช้า 

ถ้าคุณคิดว่า ยาที่คุณกำลังรับประทานส่งผลต่อความอยากอาหาร คุณก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อที่จะได้หาทางแก้ปัญหาต่อไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

4. ตั้งครรภ์

ผู้หญิงตั้งครรภ์บางคนอาจหิวมากขึ้น ในขณะที่บางคนอาจเป็นตรงกันข้าม ทั้งนี้การตั้งครรภ์สามารถทำให้ฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนไป ในช่วงไตรมาสแรก ความอยากอาหารของคุณอาจลดลง เพราะคุณมีอาการคลื่นไส้หรือแพ้ท้อง 

และเมื่อคุณเข้าสู่ไตรมาสที่สาม คุณอาจรู้สึกหิวน้อยลงเพราะแรงกดบริเวณหน้าท้องที่เกิดจากทารกที่เติบโตขึ้น

5. อายุมากขึ้น

เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายของคุณก็จะเปลี่ยนไป ประสาทสัมผัสของคุณจะไม่ดีเท่าที่ควร และนั่นก็หมายความรวมถึงประสาทสัมผัสด้านการรับรส และการดมกลิ่น มีผู้สูงอายุหลายคนพบว่าอาหารมีรสชาติที่ไม่ดี ในขณะที่บางคนอาจรู้สึกอิ่มหลังจากรับประทานไปเพียงแค่เล็กน้อย 

นอกจากนี้เมื่อคุณเข้าสู่วัยสูงอายุ คุณมีแนวโน้มที่จะรับประทานยา หรือเจ็บป่วยบ่อยขึ้น มีปัญหาเกี่ยวกับฟัน หรือรู้สึกเศร้า ซึ่งปัจจัยเหล่านี้สามารถส่งผลต่อความอยากอาหารของร่างกายได้

6. โรคเบาหวาน

หากคุณเป็นโรคเบาหวาน คุณก็อาจมีโรคแทรกซ้อนที่เรียกว่า "ภาวะที่กระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้นทำงานลดลง (Gastroparesis)"  ซึ่งโรคนี้ส่งผลต่อคนที่เป็นทั้งโรคเบาหวานประเภท 1 และโรคเบาหวานประเภท 2 ผู้ป่วยจะมีกระเพาะอาหารที่ใช้เวลาย่อยนานขึ้น 

ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะโรคเบาหวานสามารถทำให้เส้นประสาทในลำไส้เล็กที่ลำเลียงอาหารผ่านทางเดินอาหารเสียหาย และทำให้การทำงานของกระเพาะอาหารช้าลง ทำให้คุณรู้สึกอิ่มนั่นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

7. โรคมะเร็ง

การเป็นโรคมะเร็ง และการรักษาโรคมะเร็งมักทำให้คนรู้สึกหิวน้อยลง โรคมะเร็งสามารถนำไปสู่การอักเสบ และทำให้ระบบเมทาบอลิกเสียสมดุล ซึ่งส่งผลต่อการรับรสชาติของอาหาร ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าอาหารไม่อร่อย 

นอกจากนี้การทำเคมีบำบัด การฉายรังสี การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด และการรักษามะเร็งด้วยวิธีอื่นๆ ก็สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ เจ็บปาก กลืนอาหารยาก ปากแห้ง การรับรสเปลี่ยนไป ท้องผูก ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถนำไปสู่อาการเบื่ออาหาร

8. ศีรษะบาดเจ็บ

หากศีรษะของคุณได้รับการกระทบกระเทือน คุณก็อาจมีอาการเบื่ออาหารหลังจากนั้น ซึ่งอาการจะยังคงอยู่นานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน 

นอกจากนี้ประสาทสัมผัสด้านการรับรสและการดมกลิ่นก็จะเปลี่ยนไป และทำให้คุณไม่อยากทานอาหารได้ในที่สุด ทางที่ดีให้คุณปรึกษาแพทย์เพื่อที่จะได้หาทางรักษา

อาการเบื่ออาหารสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้นหากคุณมีอาการดังกล่าว คุณก็อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจ เพราะในบางครั้งมันก็อาจเป็นสัญญาณเตือนจากโรคร้ายอย่างโรคมะเร็ง ทางที่ดีคุณควรไปพบแพทย์เพื่อที่จะได้รู้สาเหตุที่แท้จริง และหาวิธีรักษาต่อไป 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจโรคมะเร็งทั่วไป จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Loss of Appetite in Life-Threatening Illnesses. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/where-did-your-appetite-go-1132086)
Loss of Appetite | Causes for Lack of Appetite. Patient. (https://patient.info/healthy-living/healthy-eating/loss-of-appetite)
Loss of Appetite: Causes, Symptoms, and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/appetite-decreased)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป