ไวรัสเป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่สามารถก่อการติดเชื้อ (infectious agents) ในสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ หรือพืช ทำให้เกิดความเจ็บป่วยตั้งแต่ไม่สบายเล็กน้อยไปจนถึงเกิดโรคที่มีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
บทความนี้จะบอกถึงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเชื้อไวรัส เช่น ส่วนประกอบของไวรัส การจัดหมวดหมู่ของไวรัส วิธีการเพิ่มจำนวนของไวรัส การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเมื่อได้รับเชื้อไวรัส รวมถึงวิธีการที่ไวรัสใช้หลบหลีกระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจและนำไปสู่การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อจากไวรัสนั่นเอง
ไวรัสคืออะไร?
ไวรัสเป็นอนุภาคขนาดเล็กมาก (20-300 นาโนเมตร) และเป็นปรสิตภายในของสิ่งมีชีวิต (Obligatory intracellular parasite) จำเป็นต้องอาศัยเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่น (Host) ในการดำรงชีวิตและเพิ่มจำนวน
การติดเชื้อไวรัสสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในเซลล์สิ่งมีชีวิตอื่น เช่น ทำให้เซลล์ตาย มีการรวมตัวของเซลล์ หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติจนกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้
โครงสร้างและส่วนประกอบของไวรัส
- กรดนิวคลีอิก (Nucleic acid) ทำหน้าที่ควบคุมการสร้างส่วนประกอบของไวรัสและถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม โดยเป็น DNA หรือ RNA อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
- แคปสิด (Capsid) เป็นโปรตีนที่หุ้มรอบกรดนิวคลีอิก ทำหน้าที่ป้องกันกรดนิวคลีอิกและใช้ในการเกาะติดเซลล์โฮสต์
- เปลือกหุ้ม (Envelope) เป็นไขมันที่หุ้มรอบแคพสิดอีกชั้น พบได้ในไวรัสบางชนิดเท่านั้น
รูปที่ 1 โครงสร้างของไวรัสที่ไม่มีเปลือกหุ้ม (รูปซ้าย) และไวรัสที่มีเปลือกหุ้ม (รูปขวา)
การจัดหมวดหมู่ของไวรัส
หน่วยงาน International Committee on Taxonomy of Viruses (ICTV) ได้จัดกลุ่มและเรียกชื่อของไวรัสให้เป็นสากล โดยใช้หลักเกณฑ์หลายประการในการจัดหมวดหมู่ เช่น รูปร่างของไวรัส คุณสมบัติของสารพันธุกรรม ขั้นตอนการเพิ่มจำนวน โครงสร้างของโปรตีน รวมถึงรูปแบบการก่อโรค
การจัดหมวดหมู่จะดูลักษณะที่เหมือน หรือคล้ายกันให้อยู่กลุ่มเดียวกัน ในแต่ละกลุ่มยังสามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้อีก ดังนี้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- อันดับ(Order) ใช้ชื่อลงท้าย - virales
- วงศ์(Family) ใช้ชื่อลงท้าย - viridae
- วงศ์ย่อย(Subfamily) ใช้ชื่อลงท้าย - virina
- สกุล(Genus) ใช้ชื่อลงท้าย - virus
ยกตัวอย่างการจัดหมวดหมู่ของไวรัสแบบง่ายๆ
- DNA virus
- Family Poxviridae เช่น Variola virus ก่อโรคฝีดาษ
- Family Herpesviridae เช่น Herpes simplex virus ก่อโรคเริม
- Family Hepadnaviridae เช่น Hepatitis B virus ก่อโรคไวรัสตับอักเสบ บี
- Family Papillomaviridae เช่น Human papillomavirus ก่อโรคมะเร็งปากมดลูก
- RNA virus
- Family Rhabdoviridae เช่น Rabies virus ก่อโรคพิษสุนัขบ้า
- Family Orthomyxoviridae เช่น Influenza virus ก่อโรคไข้หวัดใหญ่
- Family Retroviridae เช่น Human immunodeficiency virus ก่อโรคเอดส์
- Family Picornaviridae เช่น Poliovirus ก่อโรคโปลิโอ
การเพิ่มจำนวนของไวรัส
- การเกาะติด (Attachment) ไวรัสจะใช้โปรตีนที่จำเพาะจับกับตัวรับของเซลล์โฮสต์
- การเข้าสู่เซลล์ (Penetration) หลังจากที่ไวรัสจับกับตัวรับที่เยื่อหุ้มเซลล์ของโฮสต์แล้ว ไวรัสจะเข้าสู่ด้านในเซลล์โดยมีกลไกการเข้าเซลล์ 3 แบบ ดังนี้
- Direct pentration: กลไกนี้เกิดขึ้นกับไวรัสที่ไม่มีเปลือกหุ้ม (Naked virus) และมีขนาดเล็ก จะมีการเปลี่ยนแปลงที่แคพสิดก่อนจะปล่อยสารพันธุกรรมเข้าไปในเซลล์
- Endocytosis: เป็นกลไกที่พบบ่อย เมื่อโปรตีนของไวรัสกับตัวรับจะเกิดการกระตุ้นให้เยื่อหุ้มเซลล์โค้งงอมาโอบล้อมอนุภาคไวรัสเข้าสู่เซลล์
- Fusion: พบได้ในไวรัสที่มีเปลือกหุ้ม (Enveloped virus) เปลือกหุ้มของไวรัสจะหลอมรวกับเยื่อหุ้มเซลล์ของโฮสต์จนพาไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้
- การถอดเปลือกโปรตีน (Uncoating) การถอดแคปสิดสามารถเกิดขึ้นพร้อมกับการเข้าสู่เซลล์ของไวรัส หรือเกิดหลังจากที่ไวรัสเข้าสู่เซลล์แล้ว ขั้นตอนนี้สารพันธุกรรมของไวรัสจะถูกปล่อยออกจากแคปสิดเพื่อเข้าสู่กระบวนการต่อไป
- สังเคราะห์ส่วนประกอบและเพิ่มจำนวนของไวรัส
- การประกอบส่วนประกอบของไวรัส (Assembly) เมื่อมีปริมาณโปรตีนและปริมาณจีโนมที่เหมาะสม จะมีการรวมกันที่บริเวรณนิวเคลียส หรือไซโตพลาสซึมของเซลล์
- การเจริญเติบโตเต็มที่ (Maturation) ระยะนี้จะได้ไวรัสที่สมบุูรณ์มีความสามารถให้การติดเชื้อ
- การออกจากเซลล์ (Release) ไวรัสที่มีเปลือกหุ้ม (Enveloped virus) ต้องการเปลือกเพื่อหุ้มแคปสิดอีกชั้น ทำให้ต้องแทรกตัวตามเยื่อบุเซลล์แล้วออกจากเซลล์โดยการแตกหน่อ (Budding) ส่วนไวรัสที่ไม่มีเปลือกหุ้ม (Naked virus) จะออกนอกเซลล์ เลยทำให้เซลล์แตกและปลดปล่อยไวรัสออกมา
การตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส
- ระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ (Non-specific immunity)
- อินเตอร์ฟีรอน (Interferon) เป็นสารที่ร่างกายจะหลั่งออกมาเมื่อมีการติดเชื้อโรคต่างๆ เพื่อยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสและกระตุ้นให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน
- เซลล์เพชฌฆาต (Natural Kill cell (NK cell)) เป็นเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันที่ทำลายเชื้อโรคแบบไม่จำเพาะ ในเซลล์ปกติจะมีการแสดงออกของโมเลกุล MHC class I ทำให้เซลล์เพชฌฆาตไม่ทำลายเซลล์ที่ปกติ แต่ในเซลล์ที่มีการติดเชื้อไวรัส เซลล์นั้นการแสดงออกของโมเลกุล MHC class I จะลดลงส่งผลให้เซลล์เพชฌฆาตเข้ามาทำลายได้
- ระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ (Specific immunity)
- แอนติบอดี (Antibody) ระบบภูมิคุ้มกันนี้จะสร้างแอนติบอดีที่จำเพาะกับอนุภาคและเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสมาจับไว้ เพื่อชักนำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวที่เกี่ยวข้องมาทำลายต่อไป นอกจากนี้แอนติบอดีเมื่อจับกับอนุภาคของไวรัสยังช่วยลบล้างฤทธิ์ของไวรัสได้ด้วย เช่น ป้องกันไม่ให้ไวรัสจับกับตัวรับบนผิวเซลล์โฮสต์ ยับยั้งการเข้าสู่เซลล์ของไวรัส ส่งผลให้ไวรัสไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้
- ไซโตทอกซิกทีเซลล์ (Cytotoxic T cell) เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่ในการกำจัดเซลล์ที่มีการติดเชื้อ เซลล์ที่ติดเชื้อจะนำหน่วยย่อยของโปรตีน (Peptide) ของไวรัสที่สร้างขึ้นภายในเซลล์ออกมาจำเสนอที่โมเลกุล MHC class I บนผิวเซลล์ที่ติดเชื้อ ทำให้ Cytotoxic T cell หลั่งโปรตีนกระตุ้นให้เซลล์ที่ติดเชื้อให้ตาย
การหลบหลีกของเชื้อไวรัส
- หลบหลีกเซลล์เพชฌฆาต (Natural Kill cell (NK cell)) เช่น Cytomegalovirus ไวรัสนี้กระตุ้นเซลล์ที่ติดเชื้อให้สร้างโมเลกุล MHC class I เพื่อหลีกหนีการทำลายของเซลล์เพชฌฆาต
- หลบหลีกแอนติบอดี (Antibody) เช่น Influenza virus ไวรัสจะเปลี่ยนแปลงแอนติเจนบนผิว ทำให้แอนติบอดีไม่สามารถจับอนุภาคไวรัสได้
- หลบหลีกไซโตทอกซิกทีเซลล์ (Cytotoxic T cell) เช่น Cytomegalovirus ยับยั้งการสร้างโมเลกุล MHC class I ทำให้ไม่สามารถนำเสนอหน่วยย่อยของโปรตีนของไวรัสได้
อ่านเพิ่มเติม: ทำไมไวรัสถึงมีความแข็งแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส
ดังที่ได้กล่าวมาว่า เชื้อไวรัสมีมากมายหลายชนิดจึงสามารถก่อเกิดโรคได้มากมาย ที่เป็นอันตราย ได้แก่
- โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่
- โรคไข้เลือดออก
- โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนยา)
- โรคไข้ซิก้า
- โรคเมอร์ส
- โรคอีโบลา
- โรคติดเชื้อไวรัส RSV
- โรคติดเชื้อโนโรไวรัส
- โรคไข้หวัดนก
- โรคไข้หวัดหมู
- โรคมือเท้าปาก
- โรค COVID-19
อ่านเพิ่มเติม: ความแตกต่างระหว่างไข้หวัดใหญ่ที่เกิดจากไวรัสและแบคทีเรีย
การทำให้เชื้อไวรัสเสื่อมสภาพ
เมื่อไวรัสอาศัยอยู่ตามสิ่งแวดล้อม หรือนอกเซลล์จะถูกทำลายได้อย่างรวดเร็ว ปัจจัยที่ทำให้ไวรัสเสื่อมสภาพได้มีดังนี้
ความร้อน โดยมีรายละเอียดดังนี้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- ที่ 50-60 องศาเซลเซียส สามารถอยู่ได้นาน 30 นาที ยกเว้น Hepatitis virus, Adenostellite virus
- ที่ 37 องศาเซลเซียส สามารถ อยู่ได้นานนาน 2-3 ชั่วโมงสำหรับไวรัสที่ไม่เปลือกหุ้ม แต่ไวรัสที่มีเปลือกหุ้มจะถูกทำลายได้อย่างรวดเร็ว
- ที่ 4 องศาเซลเซียส สามารถอยู่ได้นานเป็นวัน
- ที่ -70 องศาเซลเซียส สามารถอยู่ได้นานเป็นปี
ความเป็นกรด-ด่าง ไวรัสจะเจริญเติบโตได้ดีที่ค่า pH (ค่าความเป็นกรด-ด่าง) ที่ 5.0-9.0 ดังนั้นสารละลายที่เป็นด่างสามารถทำลายเชื้อไวรัสได้
การฉายรังสี ได้แก่ รังสีแกมมา รังสีอุลตราไวโอเลต (Ultra violet (UV)) และรังสีเอกซเรย์ (X-ray)
สารลดแรงตึงผิว สามารถยับยั้งไวรัสที่มีเปลือกหุ้ม เช่น อีเทอร์ (Ether) แอลกอฮอล์ (Alcohol)
สารเคมีกลุ่มฟอร์มัลดีไฮด์ สารเคมีจะทำลายกรดนิวคลีอิกของไวรัส
วิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัส
- รับวัคซีนป้องกันในโรคสำคัญ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี โปลิโอ หัด คางทูม ไข้สมองอักเสบ โรคไช้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่
- รับวัคซีนเพิ่มเติม เมื่อมีการระบาดของโรค หรือในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
- สำหรับโรคที่มีพาหะนำโรค เช่น ไข้เลือดออก สามารถป้องกันได้โดยกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายซึ่งเป็นพาหะ
- ปฏิบัติตนให้แข็งแรงอยู่เสมอ เช่น ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักสดและผลไม้สด
- ปฏิบัติตนให้ถูกสุขลักษณะ เช่น การรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ล้างมือให้ถูกวิธีให้บ่อยครั้ง รักษาความสะอาดในการขับถ่าย ไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงการไปอยู่ในสถานที่แออัดด้วยผู้คน
- ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการระบาดของโรคอยู่เสมอเพื่อรับทราบข้อปฏิบัติตนที่ถูกต้อง
อ่านเพิ่มเติม: วิธีการดูแลตัวเองในฤดูฝน ให้ห่างไกลจากโรคไข้หวัด
ไวรัสแม้จะเป็นจุลินทรีย์ที่สามารถก่อโรคได้มากมาย แต่หากเรารู้จักดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรง รุ้จักป้องกันตนเองจากปัจจัยเสี่ยงในการก่อโรคต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมแล้ว ไวรัสก็ไม่อาจทำร้ายร่างกายเราได้
หรือหากโชคร้ายติดเชื้อขึ้นมาจริงๆ ความรุนแรงของอาการเจ็บป่วย หรือโรค ย่อมลดน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้ป้องกันตนเองด้วยวิธีใดๆ เลย
ดูแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันโรค เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส
- พฤติกรรมของคุณ "เสี่ยง" ไวรัสเล่นงานหรือไม่
- คู่มือไข้หวัดใหญ่ (Influenza หรือ Flu) ฉบับสมบูรณ์
- วิธีการรักษาไข้หวัดใหญ่
- รวมอาการเกี่ยวกับโรคหวัด
- การเบื่ออาหารกับโรคไข้หวัด
- 10 วิธีป้องกันโรคไข้หวัดด้วยตัวเอง