กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

โรคไวรัสอีโบลา

โรคกลุ่มเดียวกับไข้เลือดออก แต่มีความรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
เผยแพร่ครั้งแรก 28 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 5 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 4 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
โรคไวรัสอีโบลา

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคไวรัสอีโบลา (Ebola Virus Disease: EVD) มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสอีโบล่าตระกูล Filoviridae EVD จัดอยู่ในโรคกลุ่มเดียวกับไข้เลือดออก เมื่อติดเชื้อจะมีอาการเจ็บป่วยภายใน 2-21 วัน อาจมีอาการรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
  • เชื้อไวรัสนี้สามารถติดต่อทางเลือด สารคัดหลั่ง เช่น น้ำอสุจิ ของเหลวจากร่างกาย ปัสสาวะ อุจจาระ อาเจียน หรือการสัมผัสสัตว์ที่ติดเชื้อ การรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ได้ปรุงสุก
  • อาการของโรคไวรัสอีโบลา ได้แก่ มีไข้สูง ปวดศีรษะ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ปวดท้อง ท้องเดิน อาเจียน มีผื่นขึ้นตามตัว อาการจะรุนแรงขึ้นจนมีเลือดออกในอวัยวะภายในและภายนอกร่างกาย ตับและไตวาย อวัยวะภายในเสียหาย
  • ขณะนี้ยังไม่มีวิธีรักษา หรือวัคซีนป้องกันโรค การรักษาจะเน้นประคองอาการและต้านเชื้อไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อน หากมีความจำเป็นต้องเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงการระบาดควรปรึกษาแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำอย่างละเอียด
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ   

โรคไวรัสอีโบลา (Ebola Virus Disease: EVD) หรือโรคไข้เลือดออกอีโบลา (Ebola Haemorrhagic Fever) แม้จะพบการระบาดในแอฟริกาเป็นส่วนใหญ่ แต่โรคนี้ก็สามารถแพร่ระบาดไปยังภูมิภาคอื่นๆ ได้

ช่องทางการแพร่ระบาดอื่นๆ ที่ว่า ได้แก่ นักท่องเที่ยว ผู้ที่เดินทางไปยังพื้นที่แพร่ระบาด หรือสัมผัสสัตว์ที่เป็นพาหะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โรคไวรัสอีโบล่าเคยระบาดอย่างหนักในแอฟริกาตะวันตก เช่น กินี ไลบิเรีย และเซียร์ราลีโอน ในช่วงค.ศ. 2014 ถึง 2015 และทางการได้ประกาศยุติการระบาดของโรคนี้เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2016 

ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รายงานว่า มีผู้ป่วยที่มีรายงานอย่างเป็นทางการประมาณ 28,000 คน โดยมีผู้เสียชีวิต 11,000 คน นับเป็นการระบาดของเชื้ออีโบลาที่ใหญ่ที่สุด

โรคไวรัสอีโบลา

โรคไวรัสอีโบลามีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสอีโบล่าตระกูล Filoviridae EVD จัดอยู่ในโรคกลุ่มเดียวกับไข้เลือดออก เมื่อติดเชื้อจะมีอาการเจ็บป่วยภายใน 2-21 วัน ซึ่งเป็นระยะที่เชื้อฟักตัว และจะเริ่มมีอาการรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

ไวรัสอีโบลาติดต่อได้ทางไหนบ้าง

เชื้อไวรัสนี้สามารถติดต่อทางเลือด ของเหลวจากร่างกาย อวัยวะของมนุษย์ หรือสัตว์ที่ติดเชื้อ ได้แก่

  • การสัมผัสร่างกายของผู้ติดเชื้อที่แสดงอาการ หรือผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ ไวรัสสามารถมีชีวิตรอดภายนอกร่างกายได้นานหลายวัน
  • การทำความสะอาดของเหลวจากร่างกายผู้ติดเชื้อ เช่น เลือด อุจจาระ ปัสสาวะ หรืออาเจียน
  • การสัมผัสเลือด เช่น การใช้เข็มฉีดยา หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้กับผู้ติดเชื้อและไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อมาก่อน
  • การสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น  การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อโดยไม่สวมใส่ถุงยางอนามัย การศึกษาได้แสดงให้เห็นว่า เชื้ออีโบลาสามารถอยู่ในน้ำเชื้อของผู้ชายได้นานหลายเดือน แม้ว่าผู้ป่วยคนนั้นจะหายจากโรคแล้วก็ตาม
  • การสัมผัสสัตว์ที่มีเชื้อไวรัส เช่น กอรริลลา ลิงชิมแปนซี ค้างคาวผลไม้ ละมั่งป่า เม่น  รวมทั้งการสัมผัสโดยตรงสิ่งแวดล้อมที่มีเชื้อไวรัสอีโบลา
  • การหยิบจับ หรือรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่สุก

อย่างไรก็ตาม โรคไวรัสอีโบลาไม่สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสร่างกายของผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการอย่างการจับมือ

อาการของโรคไวรัสอีโบลา

  • ระยะแรก: มีไข้สูง ปวดศีรษะ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ เบื่ออาหาร
  • ระยะที่สอง: ท้องเดิน ปวดท้อง อาเจียน มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ ตับและไตมีอาการผิดปกติเล็กน้อย ในระยะนี้ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเลือดออกทั้งอวัยวะภายในและภายนอกร่างกาย หากเป็นเช่นนี้จะมีโอกาสเสียชีวิตสูง นอกจากนี้ยังอาจมีอาการตับและไตวาย อวัยวะภายในเสียหายได้

การรักษาโรคไวรัสอีโบลา

ณ ตอนนี้ยังไม่มีวิธีรักษา หรือวัคซีนป้องกันโรคอีโบลา การรักษาจะเน้นประคองอาการและต้านเชื้อไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อน แต่ก็มีวัคซีนและยาบำบัดหลายตัวที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาและทดลองอยู่ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โรคไวรัสอีโบลาจะทำให้เกิดภาวะขาดน้ำจึงต้องมีการให้ของเหลวเข้าเส้นเลือดโดยตรง อีกทั้งต้องมีการคงระดับออกซิเจนในเลือดและระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ 

ร่วมกับการช่วยเหลืออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายให้สามารถทำงานเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อตลอดเวลา

เชื้อไวรัสอีโบลาสามารถส่งผลเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นหากผู้ป่วยตรวจพบโรคและรับการรักษาเร็วเท่าไรจะยิ่งมีโอกาสรอดมากขึ้นเท่านั้น

ยังมีความเสี่ยงต่อโรคไวรัสอีโบลาหรือไม่?

ยังมีรายงานพบเห็นผู้ป่วยโรคอีโบลาอยู่เล็กน้อยที่ประเทศแถบแอฟริกา อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคไวรัสอีโบลาคือ ผู้ดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ หรือผู้ที่ต้องสัมผัสกับเลือด หรือของเหลวจากผู้ติดเชื้อ เช่น บุคลากรในโรงพยาบาล ครอบครัวผู้ติดเชื้อ

ทั้งนี้บุคลากรด้านสุขภาพทุกคนต้องป้องกันการสัมผัสกับของเหลวจากร่างกายผู้ติดเชื้อ ด้วยการสวมใส่อุปกรณ์ปกปิดร่างกายอย่างมิดชิด

ควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อป่วย?

พบแพทย์ทันทีที่เริ่มเจ็บป่วยหลังเดินทางกลับจากต่างประเทศ เช่น มีไข้สูง เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หรือหากเดินทางไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไวรัสอีโบลา แล้วเกิดมีการเจ็บป่วยดังกล่าวต้องจะถูกกักตัวในทันที เช่นเดียวกับผู้ที่ถูกยืนยันว่า ติดเชื้อไวรัสอีโบลาควรได้รับการรักษาแยกออกจากกลุ่มผู้ป่วยอื่น ๆ ตามสถานพยาบาล

คุณจำเป็นต้องแจ้งแพทย์เกี่ยวกับประวัติการเดินทางที่ผ่านมาเพื่อให้แพทย์ชี้ชัดถึงปัญหาได้แม่นยำขึ้น บางกรณีแพทย์อาจต้องทำการเจาะตรวจเลือด ปัสสาวะ หรืออุจจาระเพื่อหาร่องรอยการติดเชื้อต่าง ๆ ด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความเสี่ยงที่จะเป็นโรคไวรัสอีโบลานั้นมีน้อยมากๆ แต่อาการต่าง ๆ ที่คุณประสบอยู่อาจเป็นภาวะสุขภาพร้ายแรงอื่น ๆ อย่างโรคมาลาเรีย หรืออหิวาตกโรคได้ 

ดังนั้นคุณควรต้องไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและดำเนินการรักษาให้ถูกต้อง

การป้องกันโรคไวรัสอีโบลา

แม้ว่า การระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาในแอฟริกาจะยุติลงแล้ว แต่ประเทศที่เคยมีการระบาดก็ยังคงมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อตัวนี้อยู่เล็กน้อย 

หากคุณต้องเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง พบปะผู้ที่เดินทางมาจากแถบแอฟริกา หรือมีโอกาสสัมผัสสัตว์ที่นำเข้าจากแอฟริกา ควรปฏิบัติตามคำแนะนำนี้เพื่อลดความเสี่ยงติดเชื้อไวรัสอีโบลา

  • ล้างมือด้วยสบู่และน้ำบ่อยๆ นาน 20 วินาที เมื่อสัมผัสสิ่งของสาธารณะ ก่อนจะนำมือมาสัมผัสตา จมูก ปาก หากไม่มีสบู่ก็ควรเช็ดมือด้วยแอลกอฮอล์แทน
  • ล้างและปอกเปลือกผักและผลไม้ ล้างให้สะอาดก่อนรับประทาน
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสร่างกายผู้ป่วย การสัมผัสเลือด สารคัดหลั่ง หรือของเหลวจากร่างกายผู้ป่วย
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์
  • ไม่หยิบจับสัตว์ที่ตาย หรือเนื้อดิบ
  • ไม่รับประทานเนื้อที่ปรุงไม่สุก

โรคไวรัสอีโบลาแม้จะเป็นโรคอันตราย ยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะแต่การรู้วิธีติดต่อ หรือการแพร่กระจายของโรคก็ทำให้เราสามารถป้องกันตนเองได้ 

หากมีความจำเป็นต้องเดินทางไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคนี้ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนทุกครั้ง

นอกจากนี้เรายังควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ และหากมีอาการเจ็บป่วยผิดปกติควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
WHO, Ebola virus disease. (https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ebola-virus-disease ) (last updated 10 February 2020), 7 May 2020.
โรคไวรัสอีโลา (https://www.chp.gov.hk/files/pdf/evd_thai.pdf), 8 May 2020.
กระทรวงสาธารณสุขมณฑล, โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลส (Ebola) (http://publichealth.lacounty.gov/media/docs/ebolaFAQ-THAI.pdf), 10 May 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย สาเหตุ อาการและวิธีรักษาโรค
ไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย สาเหตุ อาการและวิธีรักษาโรค

ไข้ไทฟอยด์เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แพร่กระจายผ่านอุจจาระ ปนเปื้อนในอาหาร หรือแหล่งน้ำ หากต้องเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง ควรฉีดวัคซีนก่อน

อ่านเพิ่ม