กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา

ไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย สาเหตุ อาการและวิธีรักษาโรค

ไข้ไทฟอยด์เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แพร่กระจายผ่านอุจจาระ ปนเปื้อนในอาหาร หรือแหล่งน้ำ หากต้องเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง ควรฉีดวัคซีนก่อน
เผยแพร่ครั้งแรก 29 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 22 พ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
ไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย สาเหตุ อาการและวิธีรักษาโรค

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ไข้ไทฟอยด์ (Typhoid fever) หรือเรียกอีกชื่อว่า ไข้รากสาดน้อย เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • เชื้อโรคสามารถแพร่กระจายจากผู้ป่วยผ่านทางอุจจาระ ซึ่งอาจปนเปื้อนมาในแหล่งน้ำ อาหาร หรือน้ำดื่มได้
  • อาการของโรคไข้ไทฟอยด์ที่เด่นๆ คือ มีไข้ โดยไข้อาจสูงได้ถึง 39–40 องศาเซลเซียส และจะเริ่มสูงคงที่หลังจากมีอาการมาแล้วประมาณ 7 วัน
  • หากสงสัยว่าเป็นโรคไข้ไทฟอยด์ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะสามารถลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง และลดอัตราการเสียชีวิตได้ถึง 99%
  • วิธีป้องกันโรคไข้ไทฟอยด์ที่ดีที่สุด คือ การรักษาสุขอนามัยของตัวเอง ไม่ใช่ของร่วมกับผู้อื่น กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ แต่หากจำเป็นต้องเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนไทฟอยด์ก่อน 
  • เปรียบเทียบแพ็กเกจฉีดวัคซีนไทฟอยด์

ไข้ไทฟอยด์ (Typhoid fever) หรือไข้รากสาดน้อย เป็นอีกหนึ่งโรคที่ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยและเสียชีวิตในประเทศกำลังพัฒนา แต่สามารถพบได้น้อยในประเทศอุตสาหกรรมหรือประเทศที่พัฒนาแล้ว 

พ.ศ. 2558 พบว่า ในประเทศไทยมีผู้ป่วยติดเชื้อไข้ไทฟอยด์ถึง 1,585 คน แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โดยจังหวัดที่มีอัตราป่วยของไข้ไทฟอยด์สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ นราธิวาส แม่ฮ่องสอน บึงกาฬ นครศรีธรรมราช และเชียงใหม่ เมื่อพิจารณาแยกตามภาคแล้ว พบว่าภาคใต้เป็นภาคที่มีอัตราการติดเชื้อสูงมากที่สุด

สาเหตุของไข้ไทฟอยด์

ไข้ไทฟอยด์ เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลลา (Salmonella) กลุ่มไทฟอยด์ซัลโมเนลลา (Typhoidal Salmonella) ได้แก่ ซัลโมเนลลาไทฟิ (Salmonella typhi) และซัลโมเนลลาพาราไทฟิ (Salmonella paratyphi) ซึ่งเชื้อทั้งสองชนิดนี้สามารถก่อโรคติดเชื้อในทางเดินอาหารได้ 

โดยเชื้อโรคอาจแพร่กระจายจากผู้ป่วยผ่านทางอุจจาระ ซึ่งการขับถ่ายของเสียที่ไม่ถูกสุขอนามัย เช่น การขับถ่ายลงแหล่งน้ำ หรือการทิ้งของเสียและสิ่งปฏิกูลลงแหล่งน้ำ เทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อได้ โดยอาจปนเปื้อนมาในอาหารและน้ำดื่ม

นอกจากไข้ไทฟอยด์แล้วแล้ว ยังมีโรคไข้อื่นๆ ที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อไวรัสอีก เช่น ไข้ทับระดู และไข้อีดำอีแดง

ความเสี่ยงของการติดเชื้อไข้ไทฟอยด์

ในปัจจุบันการรณรงค์เรื่องการรักษาสุขอนามัย โดยเฉพาะเรื่องความสะอาดของอาหารและการขับถ่าย จะทำให้อัตราการเกิดไข้ไทฟอยด์ลงลง แต่ในบางสถานการณ์อาจทำให้ความเสี่ยงของการติดเชื้อเพิ่มขึ้นได้ เช่น

  • การอยู่อาศัย หรือเดินทางไปยังสถานที่ที่มีการระบาด
  • การทำงานในสถานรักษาพยาบาล
  • การทำงานในห้องปฏิบัติการที่อาจได้รับการสัมผัสกับเชื้อโรค
  • มีคนในครอบครัวป่วยเป็นไข้ไทฟอยด์ อาจทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อในครอบครัวได้

การก่อโรคของไข้ไทฟอยด์

ช่องทางการติดต่อที่สำคัญของไข้ไทฟอยด์คือ การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อก่อโรค เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ก็จะผ่านไปตามทางเดินอาหารส่วนต่างๆ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โดยทั่วไปเชื้อโรคส่วนใหญ่ทั้งชนิดก่อโรคและไม่ก่อโรค มักจะถูกทำลายหรือทำให้หมดฤทธิ์จากกรดในกระเพาะอาหาร น้ำย่อย และเอนไซม์ต่างๆ แต่เชื้อก่อโรคไทฟอยด์สามารถทนทานต่อสิ่งเหล่านี้ได้

เมื่อเชื้อรอดพ้นจากการทำลายที่กระเพาะอาหาร ก็จะเคลื่อนที่ไปยังลำไส้เล็กในส่วนปลาย และสามารถผ่านเยื่อบุของลำไส้เล็กเข้าไปเจริญภายในผนังด้านใน ในบริเวณนี้เชื้อไข้ไทฟอยด์ก็จะถูกเม็ดเลือดขาวจับกิน 

แต่เชื้อสามารถทนทานต่อการถูกทำลายโดยเม็ดเลือดขาวได้ จึงทำให้เม็ดเลือดขาวที่มีเชื้อโรคอยู่ภายในนี้ สามารถกลายเป็นแหล่งแพร่เชื้อไข้ไทฟอยด์ไปตามอวัยวะต่างๆ ผ่านทางท่อน้ำเหลือง เช่น ต่อมน้ำเหลือง ม้าม ไข้สันหลัง และตับ

เมื่อเชื้อไทฟอยด์กระจายไปตามอวัยวะต่างๆ แล้ว ก็จะมีการแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนเป็นจำนวนมาก ซึ่งเชื้อโรคเหล่านี้ก็จะเดินทางเข้าสู่กระแสโลหิต ซึ่งอาจเดินทางเข้าสู่ถึงน้ำดี และถูกขับออกมาที่ทางเดินอาหารพร้อมกับน้ำดี 

โดยเชื้ออาจจะถูกขับออกมาพร้อมกับการถ่ายอุจจาระ ซึ่งจะแพร่กระจายเชื้อไปสู่บุคคลอื่น หรือเชื้ออาจจะเดินทางเข้าสู่ระบบน้ำเหลือง และกระจายไปตามอวัยวะต่างๆ ซ้ำอีกครั้งก็ได้

อาการของไข้ไทฟอยด์

หลักจากที่ผู้ป่วยได้รับเชื้อ ก็จะเข้าสู่ระยะฟักตัวของเชื้อโรค โดยไข้ไทฟอยด์จะมีระยะฟักตัวในร่างกายอยู่ที่ประมาณ 3 ถึง 21 วัน เมื่อพ้นระยะฟักตัวแล้ว ก็จะเริ่มเข้าสู่ระยะที่มีอาการแสดงของโรค โดยอาการเริ่มแรก และถือว่าเป็นอาการเด่นของการติดเชื้อไทฟอยด์ คือ ไข้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ไข้ในไทฟอยด์นั้นจะค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้นในแต่ละวัน โดยอุณหภูมิร่างกายอาจจะลดลงได้ในตอนเช้า จากนั้นก็จะค่อยๆ สูงขึ้นอีก ไข้อาจสูงได้ถึง 39–40 องศาเซลเซียส โดยไข้จะเริ่มสูงคงที่หลังจากมีอาการมาแล้วประมาณ 7 วัน 

ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่นๆ เช่น ภาวะจับสั่น มีเหงื่อออก เหนื่อยล้า ปวดศีรษะ ไอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และเบื่ออาหาร 

นอกจากนี้ ผู้ป่วยประมาณ 1 ใน 4 อาจมีภาวะเลือดกำเดาไหลได้

อาการในช่วงสัปดาห์แรกจนถึงสัปดาห์ที่สอง

ผลการตรวจร่างกาย (Physical examination) ผู้ป่วยอาจมีภาวะหัวใจเต้นช้า (Bradycardia) รวมถึงอาจพบว่า มีผื่นแดงนูน หรือผื่นแดงราบเกิดขึ้น ลักษณะผื่นจะใหญ่ประมาณ 2 ถึง 4 มิลลิเมตร และมักจะพบผื่นได้ไม่เกิน 5 ตำแหน่ง

โดยทั่วไปแล้วผื่นที่เกิดขึ้นมักจะหายไปเองภายใน 2 ถึง 5 วัน 

สำหรับผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในช่วงสัปดาห์แรก อาจพบว่ามีภาวะเม็ดเลือดขาวชนิด Eosinophils ต่ำลง อีกทั้งยังสามารถพบเชื้อ S. Typhi ได้จากการเพาะเชื้อจากเลือดของผู้ป่วย

อาการในช่วงสัปดาห์ที่สาม

ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา อาจพบว่าผู้ป่วยบางรายมีอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้บ่อย และเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้ไทฟอยด์ คือ ภาวะเลือดออกในลำไส้ และภาวะลำไล้เล็กส่วนปลายทะลุ 

นอกจากนี้ยังสามารถพบอาการแทรกซ้อนได้ในอวัยวะหลายๆ ระบบ เช่น

  • การติดเชื้อเยื่อหุ้มหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจ ส่งผลทำให้เยื่อหุ้มหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
  • ภาวะการอักเสบของเส้นประสาทส่วนปลาย ส่งผลทำให้แขนและขาอ่อนแรง
  • การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการชัก คอแข็ง ซึ่งเพิ่มอัตราเสี่ยงของการเสียชีวิต รวมถึงอาจส่งผลทำให้เกิดความพิการขึ้นได้
  • อาจเกิดการติดเชื้อที่ทางเดินหายใจ ทำให้เกิดปอดอักเสบ
  • การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ อาจทำให้ปัสสาวะแสบขัดจากกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรืออาจเกิดกรวยไตอักเสบซึ่งมีอาการรุนแรงกว่าได้
  • เกิดฝีหนองตับ ม้าม รวมถึงอาจเกิดตับอ่อนอักเสบ
  • เกิดการติดเชื้อที่กระดูกและกล้ามเนื้อได้ด้วยเช่นกัน

ถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ อาการต่างๆ ก็จะดีขึ้น โดยอาการไข้จะหายได้เร็วขึ้นภายใน 3-5 วันเท่านั้น แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาการไข้อาจเกิดขึ้นได้ 14-28 วัน 

นอกจากนี้การได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็จะช่วยป้องกันไม่ได้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่จะเกิดตามมาได้ อัตราการเสียชีวิตลดลงเหลือไม่ถึง 1% เมื่อเทียบกับการไม่ได้รับการรักษา 

ดังนั้นการพบแพทย์ให้เร็วที่สุดหลังจากเริ่มมีอาการที่น่าสงสัยว่าน่าจะเป็นไข้ไทฟอยด์ ก็จะช่วยลดอุบัติการณ์ของการเสียชีวิตลงได้

การวินิจฉัยไข้ไทฟอยด์

นอกเหนือจากการสังเกตอาการ รวมถึงการตรวจร่างกายแล้ว แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัย และยืนยันการติดเชื้อไข้ไทฟอยด์ได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี

1. การเพาะเชื้อจากสารคัดหลั่งและเนื้อเยื่อจากตัวผู้ป่วย 

การเพาะเชื้อจากไขกระดูก มีความแม่นยำสูง สามารถตรวจพบเชื้อได้ 90% แต่วิธีนี้อาจทำให้เกิดความเจ็บปวดแก่ตัวผู้ป่วย 

สำหรับการเพราะเชื้อจากเลือดนั้น อาจไม่เจ็บตัวเท่ากับการใช้ไขกระดูก แต่โอกาสที่จะพบเชื้อนั้นมีน้อยกว่า

2. การตรวจหาเชื้อไทฟอยด์จากแอนติเจน (Antigen) 

แอนติเจน เป็นสารที่พบได้ในตัวเชื้อโรค และจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อ 

วิธีนี้เรียกว่า Widal Test เป็นวิธีที่ง่าย สะดวก มีราคาไม่แพงมากนัก แต่มีข้อเสียคือ ผลการตรวจไม่ค่อยแม่นยำ และอาจเกิดการผิดพลาดได้

3. การตรวจอื่นๆ 

ไม่ว่าจะเป็นการตรวจจำนวนเม็ดเลือดขาว การตรวจสภาวะการทำงานของตับ แม้ว่าค่าจากการตรวจเหล่านี้อาจผิดปกติเมื่อผู้ป่วยติดเชื้อไข้ไทฟอยด์ แต่อาจบอกผลการตรวจได้ไม่แม่นยำนัก เนื่องจากอาจมีภาวะอื่นๆ ที่ส่งผลทำให้ค่าเหล่านี้ผิดปกติได้เช่นเดียวกัน

การรักษาไข้ไทฟอยด์

ในปัจจุบันนี้ความก้าวหน้าทางการแพทย์ รวมถึงการคิดค้นวิจัยยาชนิดต่างๆ โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อ ทำให้การรักษาไข้ไทฟอยด์นั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

สำหรับยาปฎิชีวนะที่ใช้ส่วนใหญ่นั้น เป็นยาในกลุ่มฟลูโอโลควิโนโลน (Fluoroquinolones) เช่น ซิโพรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin) รวมถึงยาในกลุ่มเซฟาโลสปอริน (Cephalosporin) รุ่นที่สาม เช่น เซฟไตรอะโซน (Ceftriaxone)

สำหรับการรักษาในผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะลำไส้เล็กทะลุ อาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันการติดเชื้อในช่องท้อง 

นอกจากการรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะแล้ว ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาแบบประคับประคองควบคู่กันไปด้วย เช่น

  • การให้ยาลดไข้ในกรณีที่มีไข้สูง เช่น การใช้ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) 500 มิลลิกรัม ทุกๆ 4-6 ชั่วโมง
  • การเช็ดตัวลดไข้ เพื่อช่วยลดอุณหภูมิของร่างกาย
  • การดื่มน้ำเกลือแร่ทดแทนในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะท้องเสีย หรืออาจเจียน
  • ถ้าผู้ป่วยมีภาวะท้องเสียและอาเจียนที่รุนแรง อาจให้สารน้ำทดแทนทางหลอดเลือดได้

วิธีป้องกันการติดเชื้อไข้ไทฟอยด์

การป้องกันการติดเชื้อไข้ไทฟอยด์ มีดังนี้

  • รักษาสุขอนามัยส่วนตัวให้สะอาด เช่น ล้างมือหลังจากการเข้าห้องน้ำ รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ดื่มน้ำที่สะอาด ควรล้างมือให้สะอาดก่อนการรับประทานอาหารทุกครั้ง ถ้าไม่สะดวกก็อาจพกเจลแอลกอฮอล์ล้างมือก็ได้
  • ล้างวัตถุดิบก่อนการปรุงอาหาร เช่น ผักสด เนื้อสัตว์ ให้สะอาด เพื่อลดการปนเปื้อนของเชื้อที่อาจติดมากับวัตถุดิบ
  • ช่วยกันรักษาความสะอาดของแหล่งน้ำ ไม่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงแม่น้ำ เพราะอาจจะทำให้เกิดการแพร่เชื้อในวงกว้างได้
  • ในกรณีที่มีผู้ป่วยไข้ไทฟอยด์อาศัยอยู่ร่วมภายในบ้านเดียวกัน ควรระมัดระวังเรื่องสุขอนามัยส่วนตัวของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ควรซักเสื้อผ้าของผู้ป่วยด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค จัดสถานที่ขับถ่ายของผู้ป่วยให้สะอาดถูกสุขลักษณะ และไม่ควรให้ผู้ป่วยเป็นคนทำอาหาร เพราะอาจนำเชื่อโรคปนเปื้อนไปที่อาหารได้
  • การฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไข้ไทฟอยด์ ซึ่งให้ผลในการป้องกันได้เพียงแค่ 2-5 ปี ซึ่งระยะเวลาในการป้องกันโรคจะขึ้นกับชนิดของวัคซีนที่ได้รับ โดยวัคซีนมีทั้งชนิดฉีดและชนิดรับประทาน ซึ่งการใช้วัคซีนในประเทศไทยนั้น จะแนะนำให้กับเฉพาะผู้ที่ต้องการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาด ทำงานกับเชื้อโรค หรือต้องอยู่อาศัยกับผู้ป่วยติดเชื้อ
  • สำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาด มีคำแนะนำว่า ก่อนการเดินทาง ควรฉีดวัคซีนล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ก็จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้

ไข้ไทฟอยด์เป็นโรคที่พบได้บ่อยในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมีการติดต่อกันระหว่างคนผ่านทางแหล่งน้ำที่ไม่สะอาด หรืออาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ โดยผู้ป่วยจะมีไข้ร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการท้องเสียได้

ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างรวดเร็ว จะลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง รวมถึงอัตราการเสียชีวิตถึง 99% 

นอกจากนี้การรักษาสุขอนามัยส่วนตัว ถือเป็นวิธีที่ช่วยป้องกันการเกิดไข้ไทฟอยด์ที่ดีที่สุด

เปรียบเทียบแพ็กเกจฉีดวัคซีนไทฟอยด์ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
คลินิกนักท่องเที่ยว โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน, เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนไทฟอยด์ (Typhoid) (https://www.thaitravelclinic.com/blog/th/travel-medicine-issue/thai-typhoid-vaccine.html), , 18 พฤษภาคม 2563.
ผศ.ดร.มัลลิกา (ไตรเดช) ชมนาวัง ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล , โรคระบาดที่มากับน้ำท่วม (ตอนที่ 1) ไข้ไทฟอยด์ (https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/73/ไข้ไทฟอยด์-โรคระบาดที่มากับน้ำท่วม-ตอนที่1/), 18 พฤษภาคม 2563.
World Health Organization (WHO), Typhoid (https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/typhoid), 12 March 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)