ปัญหาและการผ่าตัดม้าม

เผยแพร่ครั้งแรก 25 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ปัญหาและการผ่าตัดม้าม

มนุษย์บางคนจะเกิดมาปราศจากม้าม (spleen) หรือจำเป็นต้องนำม้ามออกเพราะการบาดเจ็บหรือโรคภัยต่าง ๆ

ม้ามคืออวัยวะที่มีขนาดเท่ากำปั้นที่อยู่ในตำแหน่งบนซ้ายของช่องท้อง ติดกับกระเพาะอาหารและใต้หลังกระดูกซี่โครง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อวัยวะนี้เป็นส่วนสำคัญของระบบภูมิคุ้มกันแต่มนุษย์ก็ยังคงใช้ชีวิตได้แม้จะไม่มีม้าม เนื่องจากว่าตับสามารถทำหน้าที่แทนม้ามได้

ม้ามมีหน้าที่อะไร?

ม้ามมีหน้าที่สำคัญไม่กี่อย่างคือ: ต่อสู้เชื้อโรคที่แทรกแซงเข้ามาในเลือด (ม้ามจะเก็บเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ต่อสู้กับการติดเชื้อ) ควบคุมระดับเซลล์เลือดต่าง ๆ (เซลล์เม็ดเลือดขาว แดง และเกล็ดเลือด) กรองเลือดและกำจัดของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ชราหรือเสียหายออก

หากม้ามไม่สามารถทำงานได้ตามปรกติ ม้ามอาจเข้าไปกำจัดเซลล์เม็ดเลือดแดงที่สุขภาพดีแทน ซึ่งจะนำไปสู่: ภาวะโลหิตจาง (anaemia) หรือภาวะที่เซลล์เม็ดเลือดแดงลดจำนวนลง ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้น จากการลดลงของเซลล์เม็ดเลือดขาว การเกิดเลือดออกหรือฟกช้ำง่ายขึ้น เนื่องจากการลดลงของเกล็ดเลือด (platelets)

ปัญหาของม้าม

ม้ามเจ็บปวด

อาการเจ็บปวดแบบกดหรือสัมผัสเจ็บที่ม้ามมักจะรู้สึกได้ข้างหลังกระดูกซี่โครงซ้าย อาการนี้อาจเป็นสัญญาณของความเสียหาย การฉีกขาด หรือการขยายใหญ่ขึ้นของม้ามก็ได้

ม้ามเสียหายหรือฉีกขาด

ม้ามอาจเกิดความเสียหายหรือฉีกขาดได้หลังถูกแรงกระแทกที่หน้าท้อง เช่นจากอุบัติเหตุรถยนต์ จากการเล่นกีฬา หรือการแตกหักของกระดูกซี่โครง เป็นต้น

การฉีกขาดของม้ามสามารถเกิดขึ้นทันทีหรือภายหลังการบาดเจ็บประมาณหนึ่งสัปดาห์ โดยมีสัญญาณบ่งชี้ดังนี้: ความเจ็บปวดและกดเจ็บบริเวณหลังกระดูกซี่โครงซ้าย วิงเวียนศีรษะและอัตราการเต้นของหัวใจถี่ขึ้น (สัญญาณของความดันโลหิตต่ำที่มาจากการเสียเลือด)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

บางครั้งการนอนลงและยกขาขึ้นอาจทำให้เกิดความเจ็บปวดแล่นไปยังปลายของหัวไหล่ซ้ายได้ด้วย

การฉีกขาดของม้ามเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ทำให้เกิดภาวะเลือดออกรุนแรงจนถึงแก่ชีวิต ให้ไปหรือติดต่อโรงพยาบาลทันทีที่คุณคาดว่าเกิดการฉีกขาดหรือความเสียหายกับม้ามของคุณ

ม้ามโต

ม้ามอาจเกิดอาการบวมขึ้นหลังการติดเชื้อหรือการบาดเจ็บ และอาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ม้ามสามารถขยายใหญ่ขึ้นจากโรคภัยต่าง ๆ ได้เช่นโรคตับแข็ง (cirrhosis) โรคลิวคีเมีย (leukaemia) หรือโรคข้อต่อรูมาตอยด์อักเสบ (rheumatoid arthritis) เป็นต้น

ภาวะม้ามโตไม่ก่อให้เกิดอาการเสมอไป แต่อาจจะทำให้เกิด: ความรู้สึกอิ่มเร็ว (ม้ามโตจนไปกดกระเพาะอาหาร) รู้สึกเจ็บปวดหรือไม่สบายข้างหลังกระดูกซี่โครงซ้าย ภาวะโลหิตจางและ/หรือเหน็ดเหนื่อย การติดเชื้อซ้ำซาก เลือดออกได้ง่าย

แพทย์มักจะสามารถบอกได้ว่าคุณมีภาวะม้ามบวมด้วยการสัมผัสหน้าท้องของคุณ และใช้การตรวจเลือด การสแกน CT หรือการสแกน MRI เพื่อยืนยันการวินิจฉัย

หากเกิดการขยายใหญ่ขึ้น แพทย์มักไม่แนะนำการผ่าตัดกำจัดม้าม แต่จะเป็นการรักษาภาวะต้นตอและเฝ้าระวังสภาพม้ามคุณแทน โดยอาจมีการใช้ยาปฏิชีวนะหากภาวะม้ามโตเกิดมาจากการติดเชื้อต่าง ๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

คุณจำต้องเลี่ยงเล่นกีฬาที่มีการกระทบกระแทกไประยะหนึ่งเพราะภาวะม้ามโตจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการฉีกขาดของม้ามมากขึ้น

การผ่าตัดจะดำเนินการก็ต่อเมื่อม้ามโตจนก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง หรือเมื่อไม่พบสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ขึ้น

การผ่าตัดม้าม (การกำจัดม้ามออกจากร่างกาย)

หัตถกรรมกำจัดม้าม หรือที่เรียกว่า splenectomy ต้องนำมาพิจารณาหากว่าม้ามเสียหาย ป่วย หรือขยายใหญ่มากเกินไป โดยอาจเป็นเพียงการกำจัดบางส่วนของม้ามออกเท่านั้นก็ได้ (partial splenectomy)

เมื่อคุณต้องเข้ารับการผ่าตัดม้าม คุณจะได้รับการฉีดภูมิต่าง ๆ ก่อนเข้ารับการผ่าตัด

การผ่าตัดรูกุญแจ

การผ่าตัดม้ามส่วนมากมักใช้เทคนิคผ่าตัดรูกุญแจ (Laparoscopy) ที่ซึ่งเป็นการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า laparoscope ที่มีลักษณะเรียวยาวและยืดหยุ่นที่มีไฟฉายกับกล้องความละเอียดสูงติดอยู่ที่ปลายสอดเข้าร่างกายเพื่อส่งภาพภายในร่างกายขึ้นหน้าจอโทรทัศน์ภายนอก

การผ่าตัดม้ามแบบรูกุญแจนี้จะทำให้ศัลยแพทย์เข้าถึงภายในช่องท้องได้โดยไม่ต้องกรีดเปิดผิวหนังของคุณด้วยแผลที่มีขนาดใหญ่เกินไป อย่างไรก็ตามคุณยังคงต้องได้รับยาสลบเพื่อเข้าผ่าตัดอยู่ดี

กระบวนการนี้เป็นการ: กรีดเปิดหน้าท้องหลายช่อง (ขนาดเล็ก) นำ laparoscope ผ่านรูเปิดหนึ่งรูเพื่อให้มองเห็นภายในจากหน้าจอโทรทัศน์ สอดเครื่องมือผ่าตัดผ่านรูเปิดอื่นเพื่อนำม้ามออก โดยจะมีการสูบก๊าซเข้าไปในช่องท้องเพื่อให้ทำงานง่ายขึ้น

ช่องเปิดจะถูกเย็บปิดหรือเชื่อมปิดด้วยกาวติดแผล และคุณสามารถกลับบ้านได้หลังภายหลังกระบวนการไม่นาน หากคุณสามารถกลับบ้านได้ภายในวันเดียวกับที่เข้ารับการผ่าตัด คุณจำต้องมีคนดูแลคุณอย่างใกล้ชิดไปตลอด 24 ชั่วโมงแรก

การผ่าตัดแบบเปิด

การผ่าตัดแบบเปิด (Open surgery) เป็นกระบวนการผ่าตัดด้วยการกรีดเปิดผิวหนังขนาดใหญ่ แพทย์จำเป็นต้องใช้เทคนิคนี้เมื่อม้ามมีขนาดใหญ่หรือเสียหายเกินไปจนไม่สามารถใช้เทคนิครูกุญแจได้ เทคนิคนี้ยังนับเป็นกระบวนการรักษาฉุกเฉินเพื่อควบคุมภาวะเลือดออกรุนแรง

คุณจำต้องได้รับยาสลบและต้องพักฟื้นหลังการผ่าตัดหลายวัน

ภายหลังการรักษา

เป็นเรื่องปรกติที่คุณจะรู้สึกปวดและมีรอยฟกช้ำหลังการผ่าตัดม้าม แต่คุณจะได้รับยาแก้ปวดมาบรรเทาตลอดช่วงที่มีอาการ

คุณควรจะสามารถดื่มหรือรับประทานอาหารได้ตามปรกติหลังเข้ารับการผ่าตัด

เช่นเดียวกับการผ่าตัดประเภทอื่น การผ่าตัดม้ามก็มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เล็กน้อย เช่นภาวะเลือดออกและการติดเชื้อภายใน โดยแพทย์จะคอยเฝ้าระวังความเสี่ยงเหล่านี้ด้วยตนเอง

คุณควรจะได้รับการฝึกสอนวิธีบริหารการหายใจและขาด้วยตนเองที่บ้าน เพื่อลดความเสี่ยงเกิดลิ่มเลือดหรือการติดเชื้อในอก

ความเสี่ยงอีกประการคือเกิดการติดเชื้อที่บาดแผลที่ดำเนินการผ่าตัด ซึ่งหากคุณสังเกตเห็นสัญญาณของการติดเชื้อ ให้รีบติดต่อแพทย์หรือโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับยาปฏิชีวนะทันที

การพักฟื้นมักใช้เวลาไม่กี่สัปดาห์ โดยแพทย์และพยาบาลจะเป็นผู้แจ้งแก่คุณอีกทีว่าสามารถกลับไปทำกิจกรรมตามปรกติได้เมื่อไร

การใช้ชีวิตโดยปราศจากม้าม

หากคุณต้องเข้ารับการผ่าตัดม้ามออก อวัยวะอื่น ๆ อย่างตับจะสามารถทำงานทดแทนม้ามได้ ซึ่งหมายความว่าคุณจะยังคงรับมือกับภาวะติดเชื้อต่าง ๆ ได้แม้จะไม่มีม้าม กระนั้นก็มีความเสี่ยงเล็กน้อยที่การติดเชื้อร้ายแรงต่าง ๆ จะเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ โดยความเสี่ยงนี้จะส่งผลกับคุณไปตลอดชีวิต

ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

เด็กเล็กจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อร้ายแรงมากกว่าผู้ใหญ่ แต่ความเสี่ยงนี้ก็ยังนับว่าน้อยมากอยู่ดี โดยความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหากคุณมีภาวะสุขภาพอื่น ๆ อยู่ เช่นโรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (sickle cell anaemia) โรคแพ้กลูเตน (coeliac disease) หรือภาวะที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย เช่น HIV เป็นต้น

ความเสี่ยงนี้สามารถลดลงได้ด้วยการระมัดระวังตนเองต่อการติดเชื้อง่าย ๆ

การฉีดวัคซีน

คุณควรเข้ารับการฉีดวัคซีนโรควัยเด็กตามกำหนดดังนี้: การติดเชื้อ pneumococcal อย่างโรคปอดบวม (pneumonia) พร้อมกับการฉีดกระตุ้น (boosters) อย่างน้อยทุก ๆ ห้าปี วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกัน Haemophilus influenza ชนิด b (Hib) วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น C (meningitis C - MenC)

ยาปฏิชีวนะ

แพทย์แนะนำให้คุณได้รับยาปฏิชีวนะโดสต่ำ ๆ ไปตลอดชีวิตเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ โดยการฉีดยาประเภทนี้จะจำเป็นอย่างมากหากว่า: คุณเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี คุณอยู่ในช่วงหลังผ่าตัดม้ามมา 2 ปี ระบบภูมิคุ้มกันของคุณทำงานได้ไม่เต็มที่

การเฝ้าระวังสัญญาณของการติดเชื้อ

ให้คุณระวังสัญญาณของการติดเชื้อต่าง ๆ ดังนี้: มีไข้สูง ไอ เจ็บคอ ปวดศีรษะรุนแรง ปวดศีรษะพร้อมวิงเวียนหรือผื่นขึ้น ปวดท้อง เกิดบาดแผลบวมแดงรอบตำแหน่งที่ผ่าตัด

คุณควรเริ่มใช้ยาทันทีที่มีสัญญาณติดเชื้อแรก ด้วยการเข้าพบแพทย์ทันที โดยแพทย์จะทำการจัดจ่ายยาปฏิชีวนะแก่คุณเพื่อใช้ต่อสู้กับการติดเชื้อ หากคุณมีอาการจากการติดเชื้อรุนแรง คุณจำต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล

การถูกสัตว์หรือเห็บกัด

การกัดจากสัตว์และเห็บหมัดจะทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้นได้ หากคุณถูกกัดมา โดยเฉพาะถูกสุนัขกัด ควรเริ่มทานยาปฏิชีวนะและเข้าพบแพทย์โดยด่วน

หากคุณชื่นชอบไปเดินป่าหรือตั้งแคมป์ คุณจะมีความเสี่ยงต่อโรค babesiosis ซึ่งเป็นภาวะหายากที่แพร่เชื้อโดยเห็บ ควรพยายามป้องกันการถูกเห็บกัดด้วยการสวมเสื้อผ้าปกคลุมผิวหนังให้มิดชิด อย่างกางเกงขายาว และหากคุณป่วยขึ้นมาควรเข้าพบแพทย์ในทันที

แจ้งบุคลากรทางการแพทย์เกี่ยวกับภาวะของคุณ

ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาพยาบาลจะจดบันทึกประวัติสุขภาพของคุณเพื่อแจ้งว่าคุณไม่มีม้ามที่ใช้การได้แล้ว กระนั้นเพื่อเป็นการระวังไว้ก่อน คุณควรแจ้งแพทย์ทุกคนที่เข้าพบไม่เว้นแม้แต่ทันตแพทย์

การเดินทางไปต่างประเทศ

หากคุณจำต้องเดินทางไปต่างประเทศ: ควรพกชุดยาปฏิชีวนะไปด้วย ตรวจว่าคุณต้องได้รับวัคซีนไข้กาฬหลังแอ่นเพิ่มเติมหรือไม่ (ชนิด ACWY) ตรวจสอบว่าคุณจำต้องเข้ารับวัคซีนสำหรับเดินทางหรือไม่

ผู้ที่ไม่มีม้ามจะมีความเสี่ยงต่อโรคมาลาเรียชนิดรุนแรงมากขึ้น หากเป็นไปได้ไม่ควรเข้าไปในประเทศที่มีการระบาดของโรคนี้ แต่หากไม่สามารถเลี่ยงได้ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรตามร้านขายยาเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับยาต้านมาลาเรียก่อนเดินทาง อีกทั้งควรพกพามุ้งกันยุงและยากันแมลงไปด้วย

แผลเป็น

แผลเป็นจากการผ่าตัดมักจะค่อย ๆ จางลงอย่างช้า ๆ 


18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป