กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

โรคติดเชื้อเคล็บซีเอลลา นิวโมเนีย (Klebsiella pneumoniae infection)

เผยแพร่ครั้งแรก 25 ก.พ. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

Klebsiella pneumoniae เป็นเชื้อในกลุ่ม “superbug” ที่สามารถก่อให้เกิดโรคได้หลากหลายขึ้นกับตำแหน่งของร่างกายที่ติดเชื้อ

Klebsiella pneumoniae คือเชื้อแบคทีเรียที่ปกติจะอาศัยในลำไส้มนุษย์ และไม่ก่อให้เกิดโรค แต่หากเชื้อนี้แพร่ไปอยู่ในตำแหน่งอื่นๆในร่างกาย ก็จะสามารถทำให้เกิดโรคต่างๆขึ้นได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โรคเหล่านี้ได้แก่

วิธีแพร่เชื้อของ Klebsiella Pneumoniae

โรคติดเชื้อ K. pneumoniae มักจะเป็น “โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล” หรือหมายถึงเชื้อที่ได้รับจะมาจากโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ป่วย หรืออยู่ระหว่างการพักฟื้นจากการบาดเจ็บหลังทำหัตถการต่างๆ มักเป็นกลุ่มที่มักติดเชื้อ Klebsiella ในขณะที่ผู้ที่มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ไม่ต้องกังวลว่าจะติดเชื้อดังกล่าว จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค(Centers for Disease Control and Prevention; CDC) เชื้อแบคทีเรียนี้ไม่แพร่ทางอากาศ การติดเชื้อ K. pneumoniae ไม่สามารถติดได้จากการหายใจโดยใช้อากาศร่วมกับผู้ติดเชื้อ แต่เชื้อนี้จะแพร่โดยการสัมผัสระหว่างบุคคลแทน โดยจะเกิดเมื่อผู้ที่มีมือปนเปื้อนเชื้อไปสัมผัสบาดแผล

นอกจากนี้แล้ว การติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นโดยการใช้อุปกรณ์การแพทย์ที่ปนเปื้อนเชื้อได้เช่นกัน เช่น ผู้ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจสามารถติดเชื้อ Klebsiella pneumonia หากท่อช่วยหายใจที่ใช้ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียดังกล่าว เช่นเดียวกันกับการใช้เข็มคาหลอดเลือดดำที่ปนเปื้อน ก็สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลานานสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ Klebsiella ด้วยเช่นกัน

อาการของโรคติดเชื้อ K. pneumoniae

อาการของโรคติดเชื้อ K. pneumoniae ต่างกันไปขึ้นกับบริเวณที่ติดเชื้อ และมีลักษณะคล้ายกับอาการของโรคเดียวกันที่เกิดจากการติดเชื้อตัวอื่น เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจาก K. pneummoniae ทำให้เกิดอาการที่เป็นลักษณะเด่นของโรคติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองจากแบคทีเรีย ได้แก่ ไข้ สับสน คอแข็ง และมีความรู้สึกไวต่อแสงจ้า โรคติดเชื้อในกระแสเลือดจาก Klebsiella ก่อให้เกิดไข้หนาวสั่น ผื่น วิงเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม และมีอาการซึมหรือหมดสติ

โรคติดเชื้อในปอดจากเชื้อ K. pneumoniae สามารถแสดงอาการดังนี้

  • ไข้หนาวสั่น
  • อาการคล้ายไข้หวัด
  • ไอ โดยอาจมีเสมหะสีเหลือง เขียว หรือปนเลือดออกมาด้วย
  • มีปัญหาในการหายใจ

การรักษาโรคติดเชื้อ Klebsiella

โดยทั่วไปแพทย์ใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรคติดเชื้อ K. pnuemoniae แต่ทว่าการเพิ่มขึ้นของเชื้อแบคทีเรียดื้อยาทำให้สถานการณ์ยุ่งยากมากขึ้น เชื้อในกลุ่ม “superbug” บางสายพันธุ์ของเชื้อ K. pneumoniae ดื้อต่อยาปฏิชีวนะส่วนใหญ่ รวมไปถึงยา carbapenems ที่นับว่าเป็นยาปฏิชีวนะที่พึ่งพิงสุดท้ายอีกด้วย เชื้อแบคทีเรียเหล่านี้สร้างเอนไซม์ Klebsiella pneumoniae carbapenemases (KPC) ซึ่งจะทำให้ยาปฏิชีวนะหมดสภาพ เชื้อดื้อยาสูงเหล่านี้เป็นเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม carbapenem-resistant Enterobacteriaeceae หรือ CRE Carbapenem-resistant Klebsiella เป็นเชื้อ CRE ที่พบได้มากที่สุด และทำให้เกิดการติดเชื้อและการเสียชีวิตประมาณ 7,900 ราย และ 520 รายตามลำดับ จากข้อมูลของ CDC ในการรักษา CRE แพทย์ต้องพึ่งกลุ่มยาปฏิชีวนะฤทธิ์สูงที่ยังใช้กับแบคทีเรียกลุ่มนี้ โดยเฉพาะเมื่อใช้เป็นยาสูตรผสม จากรายงานในวารสาร Diagnostic Microbiology & Infectious Disease ฉบับเดือนมกราคม 2013

ยาเหล่านี้ได้แก่

  • Aminoglycosides
  • Polymyxins
  • Tigecycline
  • Fosfomycin
  • Temocillin

9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
webmd.com, What is Klebsiella Pneumoniae Infection? (https://www.webmd.com/a-to-z-guides/klebsiella-pneumoniae-infection#1)
John V. Ashurst; Adam Dawson., Klebsiella Pneumonia (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK519004/), November 22, 2019.
Kirsten Nunez, What You Need to Know About a Klebsiella Pneumoniae Infection (https://www.healthline.com/health/klebsiella-pneumonia), May 10, 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สงสัยคะทำไมคนไข้ส่วนใหญ่จะติดเชื้อในกระแสเลือดคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ
เชื้อ HPV เกิดขึ้นได้อย่างไร และสามารถติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่ ถ้าได้..สามารถตรวจเช็คได้ทางไหนบ้าง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปัญหาสิวในวัย30+
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เรื่องความเข้มข้นของเลือดในการบริจาคเลือดค่ะ เคยบริจาคได้ แต่สองสามปีมานี้ ทั้งพักผ่อน อกล ก็ยังไม่สามารถบริจาคเลือดได้ค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การใส่เหล้ก จำเป้นไหมไม่ที่ไม่ผ่าออก
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)