ยาปฏิชีวนะคืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยาปฏิชีวนะคืออะไร?

ยาปฏิชีวนะเป็นกลุ่มยาที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อหลายๆ โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย โดยที่ยาเหล่านี้ไม่สามารถใช้รักษาโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อรา หรือโรคติดเชื้อที่เกิดจากไวรัส เช่น ไข้หวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ ได้ ซึ่งยาปฏิชีวนะได้ถูกจำแนกไว้หลายประเภท ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • กลุ่มยา Penicillins ได้แก่ Amoxil® Augmentin® (amoxicillin) และ Unasyn® (ampicillin)
  • กลุ่มยา Cephalosporins ได้แก่ Cefdinir, Rocephin® (ceftriaxone) และ  Keflex® (cephalexin)
  • กลุ่มยา Fluoroquinolones ได้แก่ Levaquin® (levofloxacin), Cipro® (ciprofloxacin), และ Avelox® (moxifloxacin)
  • กลุ่มยา Macrolides ได้แก่ Zithromax® หรือ Z-pak® (azithromycin); Ery-Tab®, Akne-Mycin®, E.E.S.®, Eryc®, และ Pediamycin® (erythromycin); Cleocin®, Cleocin T®, ClindaGel®, และ Clinda-Derm® (clindamycin)
  • กลุ่มยา Tetracyclines ได้แก่ tetracycline และ Vibramycin® (doxycycline)
  • กลุ่มยา Aminoglycosides ได้แก่ amikacin; Genoptic® และ Gentak® (gentamicin); Aktob®, Bethkis®, Kitabis Pak®, Tobi®, TobiPodhaler®, Tobradex® และ Tobrex® (tobramycin); Neo-Fradin® (neomycin)
  • กลุ่มยา Sulfonamides (ยาซัลฟา) ได้แก่ Septra® และ Bactrim® (sulfamethoxazole with trimethoprim)

ยาปฏิชีวนะแต่ละประเภทมีกลไกในการกำจัดเชื้อโรคที่แตกต่างกัน ยาปฏิชีวนะบางประเภทสามารถฆ่าแบคทีเรียได้โดยตรง (Bactericidal) เช่น กลุ่มยา Penicillins Cephalosporins และ Aminoglycosides ในขณะที่บางประเภททำได้แค่เพียงให้แบคทีเรียหยุดการเพิ่มจำนวน (Bacteriostatic) เช่น กลุ่มยา Macrolides Tetracyclines Sulfonamides

คำเตือนและข้อควรระวังในการใช้ยาปฏิชีวนะ

กลุ่มยา Fluoroquinolones และ Tetracyclines จะไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ดีหากรับประทานพร้อมกับอาหารที่มีแคลเซียม เหล็ก และยาลดกรด เช่น Tums® หรือ Maalox® ดังนั้น หากต้องรับประทานยา หรือผลิตภัณฑ์เสริมที่มีส่วนประกอบของแคลเซียมหรือเหล็ก ให้รับประทานยาปฏิชีวนะก่อนที่จะรับประทานอาหารหรือผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง

การรับประทานยาปฏิชีวนะที่ได้รับให้หมดจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก แม้อาการจะเริ่มดีขึ้นแล้วก็ไม่ควรหยุดรับประทานยา เนื่องจากการติดเชื้อนั้นอาจคงอยู่และทำให้อาการต่าง ๆ ที่เริ่มดีขึ้นกลับมาแย่ลงได้อีกครั้ง และหากมีการติดเชื้อเกิดขึ้นใหม่ การรักษาก็จะยากและลำบากมากขึ้น เพราะปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะ เป็นปัญหาที่แพร่กระจายเป็นวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนหนึ่งเกิดจากการรับประทานยาปฏิชีวนะไม่หมด และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินความจำเป็น จนทำให้เกิดปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยา ซึ่งมักจะเกิดจากการจ่ายยาเพื่อรักษาโรคต่างๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น ไข้หวัดธรรมดา (Cold) ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ (Viral Gastroenteritis) อาการไอ (Coughs) และ อาการเจ็บคอ (Sore throats)

ผลข้างเคียงของการใช้ยาปฏิชีวนะ

ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยของการใช้ยาปฏิชีวนะ ได้แก่

  • ผิวไวต่อแสงมากขึ้น (Sun sensitivity)
  • ปวดท้อง
  • ท้องเสีย
  • ติดเชื้อราในช่องคลอด
  • การรู้สึกรับรสโลหะ (metallic taste in the mouth)
  • การแพ้ยา 
  • ปฏิกิริยาภูมิแพ้อย่างเฉียบพลันรุนแรง (Anaphylaxis)

อย่างไรก็ตาม มีการรายงานถึงผลข้างเคียงที่รุนแรงในยาปฏิชีวนะบางประเภท เช่น Augmentin® (Amoxicillin and clavulanate) และ Clindamycin ที่อาจทำให้เกิดท้องเสียรุนแรงได้ หากเกิดผลข้างเคียงรุนแรงดังข้างต้นให้หยุดการใช้ยาปฏิชีวนะนั้นทันที และไปพบแพทย์เพื่อเปลี่ยนชนิดของยาปฏิชีวนะ


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Antibiotics: List of Common Antibiotics & Types. Drugs.com. (https://www.drugs.com/article/antibiotics.html)
Antibiotics. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/antibiotics/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)