กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs
ภญ.เพ็ญพิไล สุตันทวงษ์
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ภญ.เพ็ญพิไล สุตันทวงษ์

Amoxil / Amoxy (ตัวยา Amoxicillin)

เผยแพร่ครั้งแรก 21 พ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 25 พ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 8 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อะม็อกซีซิลลิน (Amoxicilli) เป็นชื่อสามัญของยาปฏิชีวนะ หรือที่คนส่วนมากเรียกกันว่า “ยาฆ่าเชื้อ” ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่ไม่สามารถรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสได้
  • ผู้ป่วยควรรับประทานยาอะม็อกซีซิลลินตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ไม่หยุดยาเอง เพราะอาจทำให้เกิดอาการดื้อยาได้ และทำให้การรักษาโรคนั้นๆ เป็นไปได้ยากขึ้น
  • หากผู้ป่วยเคยมีประวัติแพ้ยามาก่อน จำเป็นต้องแจ้งแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนรับการรักษา เนื่องจากยาอะม็อกซีซิลลินอาจทำให้เกิดอาการแพ้รุนแรงเฉียบพลันในผู้ที่แพ้โครงสร้างยาชนิดนี้
  • ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ หรืออยู่ระหว่างให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยาอะม็อกซีซิลลิน เพื่อประเมินการใช้ยาในผู้ป่วยแต่ละคน
  • ไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะมารับประทานเอง แต่ควรให้แพทย์ หรือเภสัชกรเป็นผู้จ่ายยาตามความเหมาะสม
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

ยา Amoxicillin (อะม็อกซีซิลลิน) เป็นชื่อสามัญของยาปฏิชีวนะ หรือที่คนส่วนมากเรียกกันว่า “ยาฆ่าเชื้อ” ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด เช่น

  • Escherichia coli (E. coli) เป็นเชื้อที่พบในลำไส้ใหญ่ของมนุษย์ ทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และอุจจาระร่วง
  • Staphylococcus spp. เป็นเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ตามผิวหนัง ทำให้แผลเป็นหนอง และผิวหนังอักเสบ
  • Streptococcus pneumoniae เป็นสาเหตุของการเกิดโรคปอดบวม ไข้สมองอักเสบ
  • Haemophillus influenzae ทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจ
  • Helicobacter pylori ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร

ในปัจจุบันยา Amoxicillin ในประเทศไทยมีชื่อทางการค้ามากมาย เช่น Amoxil (อะม็อกซิล) Amoxi T.O. (อะม็อกซี ทีโอ) Coamox (โคอะมอกซ์) Ibiamox (ไอเบียมอกซ์)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณสมบัติของยา Amoxicillin

ยา Amoxicillin มีคุณสมบัติรักษาเฉพาะโรคจากการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ไม่สามารถใช้รักษาโรคติดเชื้อไวรัสได้

คนส่วนมากมักเข้าใจผิดว่า เมื่อป่วยเป็นไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่จะต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ นั่นไม่ใช่ความจริงเสมอไป 

เมื่อเป็นหวัด ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บคอ น้ำมูกไหล ไอ จาม โดยทั่วไปอาการเหล่านี้จะสามารถหายเองได้ หรือจากการรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการ (ลดไข้ ลดน้ำมูก แก้ไอ) ภายใน 7-10วัน 

ในระหว่างนี้ผู้ป่วยควรป้องกันตนเองเพื่อลดโอกาสในการเป็นไข้ โดยการล้างมือให้สะอาด หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับผู้ป่วยไข้หวัด และสังเกตอาการ 

อย่างไรก็ตามหากอาการไม่ดีขึ้น โดยมีการดำเนินไปของโรคที่แย่ลง เช่น มีไข้สูง ไอ จาม น้ำมูกและเสมหะมีเปลี่ยนสี ปวดเมื่อยตามตัว แนะนำให้พบแพทย์เพื่อที่จะได้พิจารณาหาสาเหตุอื่นๆที่เป็นไปได้ 

เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ ซึ่งหากสาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย แพทย์ หรือเภสัชกรอาจจ่ายยาปฏิชีวนะให้กับผู้ป่วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ข้อควรระวังในการใช้ยา Amoxicillin

1. ควรรับประทานยา หรือฉีดยาให้ครบตามใบสั่งของแพทย์

ยา Amoxicillin เป็นยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยจะต้องรับประทานยา หรือฉีดยาให้ครบตามใบสั่งแพทย์ ห้ามหยุดยาเอง แม้ว่าอาการเจ็บป่วยจะดีขึ้นแล้ว เพราะการได้รับยาไม่ครบอาจทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำรุนแรง และเพิ่มอัตราการเกิดเชื้อดื้อยาได้

เชื้อดื้อยาหมายถึง เชื้อแบคทีเรียที่สามารถสร้างกลไกการป้องกันตัวเองไม่ให้ถูกยาปฏิชีวนะทำลาย ในปัจจุบันคนใช้ยาปฏิชีวนะกันอย่างแพร่หลาย และบ่อยครั้งที่นำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม ทำให้อัตราการเกิดเชื้อดื้อยาพุ่งสูงขึ้นทั่วโลก

เชื้อดื้อยาที่ดื้อต่อยาปฏีชีวนะส่วนมากเรียกว่า “ซูเปอร์บั๊ก (Superbug)” เป็นเชื้อที่มีการพัฒนาตนเองที่จะหลีกเลี่ยงกลไกการทำงานของยา หรือสามารถแม้แต่ที่จะทำลายโครงสร้างของยาได้ 

นั่นทำให้จะต้องใช้ยาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นไป ซึ่งยาเหล่านี้บางครั้งเองก็เข้าถึงได้ยาก และมีราคาสูง ทำให้การรักษาผู้ติดเชื้อเป็นไปอย่างยากลำบาก

2. อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้รุนแรงเฉียบพลัน (Anaphylaxis)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การแพ้ยาแบบรุนแรงเกิดขึ้นใน 0.7-4% ของประชากรทั้งหมดที่ได้รับการรักษา ทั้งในผู้ป่วยที่เคยมีและไม่มีประวัติแพ้ยารุนแรงมาก่อน โดยจะมีผื่นขึ้นตามตัว หายใจหอบ หายใจลำบาก ช็อก และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ดังนั้นหากมีอาการดังกล่าวหลังรับประทานยา ให้รีบมาโรงพยาบาล

ดังนั้นหากมีประวัติแพ้ยา โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ จะต้องแจ้งแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนรับการรักษาทุกครั้ง

3. ยา Amoxicillin จะทำอันตรากิริยากับยาคุมกำเนิดบางชนิด

การใช้ยา Amoxicillin ร่วมกับยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน อาจส่งผลต่อระดับของยาคุมกำเนิดในเลือดในผู้ป่วยบางคน (ทำให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดลดลง) 

ดังนั้นหากผู้ป่วยจำเป็นต้องมีการใช้ยาร่วมกัน ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลและทางเลือกอื่นๆในการคุมกำเนิด ก่อนตัดสินใจใช้ยา

4. อาจต้องลดขนาดยาในการรักษาผู้ป่วยสูงอายุ

ในผู้ป่วยสูงอายุมีเรื่องของโรคไต อาจมีการปรับขนาดยาลงตามค่าการทำงานของไต

5. ควรแจ้งแพทย์เกี่ยวกับยา วิตามิน และอาหารเสริมทุกชนิดที่ใช้

ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบเกี่ยวกับยารักษาโรคประจำตัว วิตามิน หรืออาหารเสริมที่กำลังใช้อยู่ในปัจจุบัน ก่อนรับยาปฏิชีวนะชนิดนี้ เพราะอาจมีปฏิกิริยาระหว่างยาเกิดขึ้นได้

6. ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบก่อนใช้ยา หากผู้ป่วยมีภาวะต่อไปนี้

  • แพ้ยาปฏิชีวนะ กลุ่มเพนิซิลลิน (Penicillins) หรือ เซฟาโลสปอริน (Cephalosporins)
  • มีภาวะติดเชื้อ Mononucleosis (เชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง) - ไม่ควรใช้อะม็อกซิซิลลิน
  • โรคไต เนื่องจากการขจัดยาออกจากร่างกายจะเกิดได้ช้าลง
  • Phenylketonuria (PKU)

การใช้ยา Amoxicillin ในหญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร

ยา Amoxicillin ปลอดภัยต่อหญิงตั้งครรภ์ แต่ตัวยาสามารถผ่านน้ำนมได้ และอาจมีความเสี่ยงต่อการแพ้ยาในทารก จึงควรปรึกษาแพทย์ และเภสัชกรก่อนใช้ทุกครั้ง

การใช้ยา Amoxicillin ในสัตว์เลี้ยง

การใข้ยาในสัตว์ควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนการใช้ยาทุกครั้ง เพราะถึงแม้ว่าข้อบ่งชี้ในการใช้ยาในสัตว์อาจใกล้เคียงกับในคน และการคำนวณปริมาณยาที่ได้จะแตกต่างกันออกไป เนื่องจากความสามารถในการกระจายยา ดูดซึม และขจัดยาของคนและสัตว์ไม่เหมือนกัน

ผลข้างเคียงของยา Amoxicillin

ผลข้างเคียงที่พบบ่อย ได้แก่

ผลข้างเคียงรุนแรง หรืออาการแพ้ยารุนแรง ได้แก่

หากมีอาการแพ้ยารุนแรง ให้หยุดยา และไปพบแพทย์ทันที

ปฏิกิริยาระหว่างยา Amoxicillin กับยาอื่นๆ

ยาที่ทำปฏิกิริยาระหว่างยากับ Amoxicillin ได้แก่

  • ยาเม็ดคุมกำเนิด ทำให้ประสิทธิภาพการคุมกำเนิดลดลง
  • อัลโลพูรินอล (Allopurinol) และโปรเบเนซิด (Probenecid) เป็นยารักษาโรคเกาต์ ช่วยลดระดับกรดยูริก และนิ่วในไต
  • ยาปฏิชีวนะอื่นๆ เช่น คลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol) ซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamides) แมคโครไลด์ (Macrolides) หรือเตตระไซคลิน (Tetracycline)

นอกจากนี้ยา Amoxicillin สามารถทำให้ผลตรวจปัสสาวะผิดปกติได้ ผู้ป่วยที่ต้องตรวจปัสสาวะควรแจ้งแพทย์หากใช้ยานี้

ยา Amoxicillin กับแอลกอฮอล์

การดื่มแอลกอฮอล์ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพของยา Amoxicillin แต่เนื่องจากผลข้างเคียงของยาคือ อาการท้องไส้ปั่นป่วน การดื่มแอลกอฮอล์อาจเพิ่มความรุนแรงของอาการนี้ได้

ขนาดการใช้ยา Amoxicillin ในผู้ใหญ่

ขนาดยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับชนิด และความรุนแรงของการติดเชื้อ 

รูปแบบยาที่ใช้ในผู้ใหญ่มีทั้งยาเม็ด และแคปซูล แนะนำให้ดื่มน้ำเปล่าหนึ่งแก้วหลังรับประทานยา และไม่จำเป็นต้องรับประทานพร้อมมื้ออาหาร

  • สำหรับรักษาการติดเชื้อหู คอ จมูก 500 มิลลิกรัม ทุก 12 ชั่วโมง หรือ 250 มิลลิกรัม ทุก 8 ชั่วโมง
  • สำหรับการติดเชื้อรุนแรง 875 มิลลิกรัม ทุก 12 ชั่วโมงหรือ 500 มิลลิกรัม ทุก 8 ชั่วโมงหรือ 750-1,000 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน (ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการติดเชื้อ)
  • ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ 3 กรัม หรือ 3,000 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน

ขนาดการใช้ยา Amoxicillin ในเด็ก

การใช้ยาในเด็กจะคำนวณปริมาณยาตามน้ำหนักตัว โดยรูปแบบยาที่ใช้มีทั้งยาน้ำ และยาเม็ดเคี้ยว

ขนาดยาในเด็กอายุมากกว่า 3 เดือนที่มีอาการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง แบ่งเป็น 2 ขนาด ดังนี้

  • 40 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัมต่อวัน แบ่งยารับประทาน 3 ครั้งต่อวัน ทุก 8 ชั่วโมง
  • 45 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัมต่อวัน แบ่งยารับประทาน 2 ครั้งต่อวัน ทุก 12 ชั่วโมง

การใช้ยา Amoxicillin เกินขนาด

มีโอกาสน้อยมากที่จะใช้ยาเกินขนาด หากพบการใช้ยาเกินขนาด สามารถโทรปรึกษา หรือสอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี เบอร์โทรศัพท์ 1367 เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง

หากผู้รับประทานยาเกินขนาดมีอาการหมดสติ หยุดหายใจ หรือภาวะฉุกเฉินอื่นๆ ให้รีบพาไปโรงพยาบาล หรือโทรเรียกสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 1669

ถ้าลืมรับประทานยา Amoxicillin ต้องทำอย่างไร?

ถ้าลืมรับประทานยา ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้ แต่ถ้าเป็นเวลาที่ใกล้กับมื้อต่อไป ให้ข้ามไปรับประทานยามื้อต่อไป โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่า 

อย่างไรก็ตาม การรับประทานยาไม่สม่ำเสมออาจทำให้เชื้อดื้อยาได้

คำถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของยา

1. การใช้ยา Moxatag แตกต่างจากยา Amoxicillin ตัวอื่นอย่างไร

คำตอบ: ยา Moxatag (amoxicillin extended-release) เป็นสูตรยาพิเศษของยา Amoxicillin ที่ออกฤทธิ์ได้ยาวนานขึ้น ข้อบ่งชี้ในการใช้คือ Tonsillitis และ / หรือ Pharyngitis

ปริมาณที่แนะนำของ MOXATAG คือ 775 มก. ต่อวันทุกวันภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากสิ้นสุดมื้ออาหารเป็นเวลา 10 วัน ควรใช้วิธีการบำบัดแบบเต็มรูปแบบ 10 วันเพื่อการรักษาTonsillitis และ / หรือ pharyngitis ที่เกิดจากเชื้อ S. pyogenes

2. การใช้ยาปฏิชีวนะติดต่อกันเป็นระยะเวลานานอันตรายไหม

คำตอบ: ระยะเวลาการใช้ยาจะขึ้นกับการวินิจฉัยโรคของแพทย์ จึงควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด การใช้ยาปฏิชีวนะเองเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อน (Superinfection) ได้ 

เนื่องจากการรับประทานยาปฏิชีวนะจะทำลายแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้เชื้ออื่นๆ เจริญเติบโตขึ้นมาก่อโรคได้

3. ยา Amoxicillin-clavulanate ต่างกับยา Amoxicillin อย่างไร

คำตอบ: Amoxicillin-clavulanate (อะม็อกซีซิลลิน-คลาวูลาเนท) เรียกสั้นๆ ว่า “อะม็อกซีคลาฟ” มีชื่อทางการค้าว่า อ็อกเมนติน (Augmentin) เป็นยาปฏิชีวนะที่ประกอบด้วยตัวยา 2 ชนิด คือ Amoxicillin และคลาวูลาเนท โพแทสเซียม (clavulanate potassium)

Amoxicillin-clavulanate เป็นยาที่ใช้สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ Amoxicillin ไม่สามารถกำจัดได้ (เชื้อดื้อยา)

ผลข้างเคียงของ Amoxicillin-clavulanate มักไม่รุนแรง และเป็นเพียงชั่วคราว 

ผู้ใช้ยาส่วนมากสามารถทนผลข้างเคียงได้ดี มีแค่ 3% เท่านั้นที่ทนไม่ได้จนเลิกใช้ยา เช่นเดียวกันกับยา Amoxicillin ยาชนิดนี้ไม่ควรซื้อมารับประทานเอง และต้องใช้ตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น

ขนาดการใช้ยา Amoxicillin-clavulanate

  • ขนาดการใช้ยาทั่วไป 500 มิลลิกรัม 1 เม็ด ทุก 12 ชั่วโมง หรือ 250 มิลลิกรัม 1 เม็ด ทุก 8 ชั่วโมง
  • สำหรับการติดเชื้อรุนแรง หรือการติดเชื้อทางเดินหายใจ 875 มิลลิกรัม ทุก 12 ชั่วโมง หรือ 500 มิลลิกรัม ทุก 8 ชั่วโมง

แนะนำให้รับประทานยาตอนเริ่มมื้ออาหาร เนื่องจากเป็นช่วงที่ร่างกายดูดซึมคลาวูเนท โพแทสเซียมได้ดีที่สุด

4. วางขวดยาน้ำแขวนตะกอนไว้ข้างนอกตู้เย็น ประมาณ 11 ชั่วโมง ยาจะเสียหรือไม่

คำตอบ: ไม่เสีย สามารถนำยาไปใช้ได้ตามปกติ ยาน้ำแขวนตะกอนอะม็อกซีซิลลิน สามารถเก็บในอุณหภูมิห้องได้นาน 14 วัน หากนานกว่านั้นแนะนำให้ทิ้ง

คำถามเกี่ยวกับการใช้ยา

1. ยา Amoxicillin ใช้รักษาแผลน้ำร้อนลวกได้หรือไม่

คำตอบ: ส่วนมากแผลพุพองจากน้ำร้อนลวกจะหายได้เองโดยไม่ต้องรับประทานยาฆ่าเชื้อ ควรปรึกษาแพทย์เรื่องการดูแลแผล 

ข้อบ่งชี้ในการใช้ยาคือ การติดเชื้อที่ผิวหนังซึ้งอาจเกิดได้หากดูแลแผลไม่ดี

2. หลังรับประทานยา Amoxicillin เพื่อรักษาหูชั้นกลางอักเสบมาประมาณ 1 สัปดาห์ อาการปวดดีขึ้น แต่การได้ยินยังเหมือนเดิม มีเสียงดังหึ่งๆ ในหู และรู้สึกหูอื้อตลอดเวลา ควรทำอย่างไร

คำตอบ: โดยทั่วไปอาการของหูชั้นกลางอักเสบจะดีขึ้นภายใน 48-72 ชั่วโมงแรกหลังเริ่มรับประทานยา ในกรณีที่อาการไม่ดีขึ้น ควรกลับไปพบแพทย์อีกครั้ง เพราะอาจต้องเพิ่มยาตัวอื่นเพื่อช่วยบรรเทาอาการ เช่น ยาลดน้ำมูก

ส่วนยาฆ่าเชื้อ หรือยา Amoxicillin ให้รับประทานต่อเนื่องไปจนครบตามที่แพทย์สั่ง ไม่ควรหยุดยาเอง เพราะอาจทำให้เชื้อดื้อยาได้

3. Amoxicillin รักษาโรคหลอดลมอักเสบได้หรือไม่

คำตอบ: หลอดลมที่อักเสบติดเชื้อจะตีบแคบลง มีเสมหะเหนียวข้น ทำให้ผู้ป่วยหายใจลำบาก โดยอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียก็ได้ 

โดยหลอดลมอักเสบจากเชื้อไวรัส อาการจะดีขึ้นเองภายใน 1 สัปดาห์ ไม่จำเป็นต้องใช้ยา Amoxicillin แต่หากเป็นหลอดลมอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียอาจต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ หรือยา Amoxicillin

คำถามเกี่ยวกับการใช้ยาในเด็ก

1. การใช้ยา Amoxicillin มีผลให้พฤติกรรม หรืออารมณ์ของเด็กแปรปรวนหรือไม่

คำตอบ: ผลข้างเคียงที่ทำให้เด็กมีพฤติกรรม หรืออารมณ์แปรปรวนนั้นพบได้น้อยมาก แต่เด็กอาจมีอาการซุกซนผิดปกติ กระวนกระวาย วิตกกังวล นอนไม่หลับ และสับสนได้

หากผู้ปกครองสังเกตเห็นความผิดปกติเหล่านี้ ควรพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุต่อไป

2. สามารถผสมยา Amoxicillin กับนมชงให้เด็กอายุ 2 เดือน ดื่มได้หรือไม่

คำตอบ: ไม่มีข้อมูลการทำอันตรกิริยาระหว่างนมและยาในกลุ่มนี้ อย่างไรก็ตามแนะนำให้ผสมยาด้วยน้ำเปล่าอุณหภูมิห้องเพื่อป้องกันการถูกทำลายของยา

คำถามเกี่ยวกับการใช้ยาร่วมกับยาอื่น

1. การรับประทานวิตามินรวมคู่กับยา Amoxicillin จะทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง หรือมีผลเสียอย่างไรบ้าง

คำตอบ: สามารถรับประทานวิตามินรวมร่วมกับยา Amoxicillin ได้โดยไม่มีปัญหา แต่แนะนำให้รับประทานห่างกัน 2 ชั่วโมง

2. ยา Amoxicillin ทำปฏิกิริยากับยาฆ่าเชื้อไวรัสอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) หรือไม่

คำตอบ: สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับยาในเลือดได้ ควรใช้อย่างระมัดระวังและติดตามผล

คำถามเกี่ยวกับการใช้ยาในสัตว์เลี้ยง

ทราบมาว่า ยาฆ่าเชื้อสำหรับปลา Fish mox ใช้ตัวยาเดียวกันกับยา Amoxicillin แต่มีสารอื่นเจือปนอยู่ด้วย เราสามารถใช้ Fish mox ในมนุษย์ได้อย่างปลอดภัยหรือไม่

คำตอบ: Fish mox คือ ยาฆ่าเชื้ออะม็อกซีซิลลิน ซึ่งผลิตขึ้นมาสำหรับรักษาอาการติดเชื้อในปลาโดยเฉพาะ ลักษณะยาจะเป็นแคปซูล ใช้งานโดยเทผงยาข้างในแคปซูลลงในตู้ปลา 

ห้ามนำ Fish mox มาใช้ในมนุษย์เด็ดขาด เพราะส่วนประกอบ และกระบวนการผลิตต่างจากยาของมนุษย์ ทำให้ประสิทธิภาพของยาไม่เท่ากัน และอาจเกิดการแพ้รุนแรงได้

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Web MD, Amoxil Oral : Uses, Side Effects, Interactions, Pictures, Warnings & Dosing (https://www.webmd.com/drugs/2/drug-3701-3295/amoxil-oral/amoxicillin-oral/details), 10 January 2020.
Medscape. Amoxil (amoxicillin) dosing, indications, interactions, adverse effects, and more (https://reference.medscape.com/drug/amoxil-amoxicillin-342473), 10 January2020.
MedicineNet. AMOXICILLIN - ORAL (Amoxil) side effects, medical uses, and drug interactions (https://www.medicinenet.com/amoxicillin-oral/article.htm), 11 January2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)