กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Levofloxacin (ลีโวฟลอกซาซิน)

เผยแพร่ครั้งแรก 10 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 9 นาที

สรรพคุณของยา Levofloxacin

ยา Levofloxacin เป็นยาสำหรับรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยจัดเป็นยาปฏิชีวนะ (ยาฆ่าเชื้อ) ในกลุ่ม Quinolone ยาจะออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย

ยาปฏิชีวนะใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ไม่สามารถรักษาการติดเชื้อไวรัสได้ (เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่) การใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่มีความจำเป็นต้องใช้ เป็นสาเหตุของการดื้อยาในอนาคตได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิธีใช้ยา Levofloxacin

อ่านคำแนะนำในการใช้ยาที่ได้รับจากเภสัชกรก่อนใช้ยานี้ และในทุกครั้งที่มารับยาซ้ำ หากมีคำถามใดๆ ให้สอบถามจากแพทย์หรือเภสัชกร

รับประทานยานี้ตามแพทย์สั่ง โดยทั่วไปจะรับประทานวันละ 1 ครั้ง ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ ระหว่างใช้ยานี้ให้ดื่มน้ำมากๆ ยกเว้นแพทย์สั่งเป็นอย่างอื่น

ให้รับประทานยา Levofloxacin อย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อน หรือ 2 ชั่วโมงหลังจากรับประทานยาที่อาจลดประสิทธิภาพของยา Levofloxacin เช่น Quinapril, Sucralfate, วิตามิน/เกลือแร่ (เหล็ก, สังกะสี) และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแมกนีเซียม (Magnesium), อะลูมิเนียม (Aluminium) หรือ แคลเซียม (Calcium) เช่น ยาลดกรด, ยา Didanosine ชนิดน้ำ, น้ำผลไม้ที่มีแคลเซียมสูง ดังนั้นให้สอบถามเภสัชกรเกี่ยวกับวิธีในการใช้ยาต่างๆ อย่างปลอดภัย รวมถึงแจ้งรายการยา อาหารเสริม สมุนไพรที่กำลังใช้อยู่ทั้งหมดให้เภสัชกรทราบด้วย 

ขนาดยาและระยะเวลาในการใช้ยาของคุณจะขึ้นกับสภาวะโรคและการตอบสนองต่อการรักษาของคุณ สำหรับเด็กขนาดยาจะคำนวณตามน้ำหนักตัว

เพื่อให้ได้ผลจากการรักษาเต็มที่ ให้รับประทานยานี้ในแต่ละมื้อด้วยระยะเวลาที่ห่างเท่าๆ กัน เพื่อไม่ให้ลืมรับประทานยา แนะนำให้รับประทานยาในเวลาเดียวกันของทุกวัน 

ให้รับประทานยานี้อย่างต่อเนื่องจนยาหมดตามที่แพทย์สั่ง แม้ว่าอาการจะดีขึ้นในไม่กี่วันก็ตาม เพราะการหยุดยาเร็วเกินไปอาจทำให้การติดเชื้อกลับมาเป็นซ้ำได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แจ้งแพทย์หากอาการของคุณไม่ดีขึ้นหรือมีอาการแย่ลง

ผลข้างเคียงของยา Levofloxacin

อาการข้างเคียงที่อาจเกิดจากยา Levofloxacin เช่น คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ หน้ามืด หรือมีปัญหาในการนอนหลับ หากอาการข้างเคียงดังกล่าวไม่ดีขึ้นหรือมีอาการแย่ลง ให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทันที

โปรดจำไว้ว่า การที่แพทย์สั่งยานี้ให้กับคุณ เพราะว่าแพทย์ได้ประเมินแล้วว่าคุณจะได้รับประโยชน์จากยานี้มากกว่าความเสี่ยงต่อการเกิดอาการข้างเคียง ผู้ป่วยหลายรายที่ใช้ยานี้ไม่เกิดอาการข้างเคียงร้ายแรงจากยา 

แจ้งแพทย์ทันทีหากคุณมีอาการข้างเคียงที่ร้ายแรง ได้แก่ 

ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีถ้าคุณมีอาการข้างเคียงที่ร้ายแรงมาก ได้แก่ เจ็บหน้าอก เวียนศีรษะอย่างรุนแรง หน้ามืด หัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ

ยานี้อาจเป็นสาเหตุของโรคทางลำไส้ที่ร้ายแรงแต่พบได้น้อย คือมีอาการท้องเสียที่เกิดจากเชื้อ  Clostridium Difficile (Clostridium Difficile-Associated Diarrhea) ซึ่งเกิดจากแบคทีเรียที่ดื้อยา โดยโรคนี้อาจเกิดขึ้นระหว่างการใช้ยา Levofloxacin หรือภายในสัปดาห์จนถึงเดือนหลังหยุดยาแล้ว ให้แจ้งแพทย์ทันทีหากคุณมีอาการเหล่านี้: ท้องเสียต่อเนื่อง ปวดท้อง เกร็งท้อง อุจจาระมีมูก/มูกเลือดปน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่าใช้ยาแก้ท้องเสีย หรือยาแก้ปวดกลุ่มที่มีฤทธิ์เสพติด ถ้าคุณมีอาการดังกล่าว เนื่องจากอาจทำให้อาการแย่ลงได้

การใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน หรือใช้ซ้ำหลายครั้ง อาจทำให้ติดเชื้อราในช่องปาก (Oral Thrush) หรือเกิดการติดเชื้อรา ให้ไปพบแพทย์หากคุณมีฝ้าสีขาว (คราบสีขาว) ในช่องปาก มีตกขาวผิดปกติทางช่องคลอด หรือมีอาการอื่นๆ เกิดขึ้น 

ปฏิกิริยาการแพ้ยานี้ เป็นเรื่องที่พบได้น้อย อย่างไรก็ตามถ้าเกิดอาการใดๆ ของการแพ้ยาให้รีบไปพบแพทย์ทันที ได้แก่ ผื่น คัน/บวม (โดยเฉพาะที่หน้า ลิ้น คอ) เวียนศีรษะรุนแรง หายใจลำบาก

อาการข้างเคียงที่กล่าวไว้ข้างต้นไม่ใช่อาการข้างเคียงทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นถ้าคุณมีอาการผิดปกติใดๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร 

ข้อควรระวังในการใช้ยา Levofloxacin

ถ้าคุณแพ้ยา Levofloxacin หรือแพ้ยาปฏิชีวนะในกลุ่ม Quinolone ตัวอื่นๆ เช่น Ciprofloxacin, Moxifloxacin, Ofloxacin  หรือแพ้สิ่งอื่นๆ ให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบก่อนได้รับยานี้ ผลิตภัณฑ์ยานี้อาจประกอบด้วยสารไม่ออกฤทธิ์อื่นซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการแพ้หรือปัญหาอื่นได้ ให้ปรึกษาเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ก่อนการใช้ยา Levofloxacin ให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะถ้าคุณเป็น

ยา Levofloxacin อาจเป็นสาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจช่วง QT ยาว (QT Prolongation) หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด QT Prolongation เป็นสภาวะที่พบได้น้อยแต่ร้ายแรง (อาจทำให้เสียชีวิตได้) ผู้ป่วยจะมีอาการหัวใจเต้นเร็ว หรือเต้นผิดจังหวะ และมีอาการอื่นๆ เช่น เวียนศีรษะรุนแรง หน้ามืด ซึ่งต้องรีบทำการรักษาทันที 

ความเสี่ยงของการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิด QT Prolongation อาจเพิ่มขึ้นในผู้ที่มีโรคบางโรค หรือกำลังใช้ยาบางชนิดที่อาจเป็นสาเหตุของ QT Prolongation อยู่แล้ว ดังนั้นก่อนใช้ยา Levofloxacin คุณต้องแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับยาทุกชนิดที่กำลังใช้อยู่ รวมถึงหากเป็นโรคดังต่อไปนี้ โรคหัวใจบางชนิด (หัวใจล้มเหลว หัวใจเต้นช้า พบคลื่นไฟฟ้าหัวใจช่วง QT ยาวจากการตรวจ EKG) มีคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจบางชนิด (พบคลื่นไฟฟ้าหัวใจช่วง QT ยาวจากการตรวจ EKG, คนในครอบครัวเสียชีวิตจากโรคหัวใจ)

การที่ร่างกายมีระดับโพแทสเซียม (Potassium) หรือ แมกนีเซียม (Magnesium) ในเลือดต่ำ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด     QT Prolongation โดยความเสี่ยงอาจเพิ่มขึ้นถ้าคุณใช้ยาบางชนิด (เช่น ยาขับปัสสาวะ) หรือมีอาการเหงื่อออกรุนแรง ท้องเสียรุนแรง หรืออาเจียนรุนแรง ดังนั้นให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีในการใช้ยา Levofloxacin อย่างปลอดภัย

ยา Levofloxacin อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมากได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวาน (พบได้ไม่บ่อย) แนะนำให้ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำตามแพทย์สั่งและนำผลการตรวจไปให้แพทย์ดูด้วย และสังเกตอาการของการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เช่น หิวน้ำบ่อยขึ้น ปัสสาวะบ่อยขึ้น รวมถึงสังเกตอาการของการมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำด้วยเช่นกัน เช่น เหงื่อออก สั่น หัวใจเต้นเร็ว รู้สึกหิว ตาพร่ามัว เวียนศีรษะ หรือชาที่มือ เท้า 

แนะนำให้คุณพกน้ำตาลกลูโคสชนิดเม็ดติดตัวไว้เพื่อรักษาอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ หากคุณไม่มีน้ำตาลกลูโคสชนิดเม็ด ให้รับประทานผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำตาลที่ดูดซึมได้เร็ว เช่น ลูกอมที่มีน้ำตาล หรือ น้ำผึ้ง หรือดื่มน้ำผลไม้ หรือดื่มน้ำอัดลมสูตรที่มีน้ำตาล (ต้องไม่ใช่ลูกอมหรือน้ำอัดลมสูตรปราศจากน้ำตาล) และให้แจ้งแพทย์ทราบทันทีเมื่อคุณมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ และ/หรือ เมื่อมีการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เพื่อรักษาอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ

เพื่อป้องกันการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ แนะนำให้รับประทานอาหารตรงเวลา และไม่ข้ามการรับประทานอาหารในมื้อใดไป หากเกิดอาการน้ำตาลในเลือดต่ำขึ้น แพทย์อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนยาปฏิชีวนะเป็นตัวอื่น หรือปรับยารักษาโรคเบาหวานให้กับคุณ

ยา Levofloxacin อาจทำให้มีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้มีอาการเวียนศีรษะมากขึ้น ห้ามขับรถ, ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร หรือทำกิจกรรมใดๆ ที่ต้องอาศัยการตื่นตัว จนกว่าคุณจะทำกิจกรรมดังกล่าวได้อย่างปลอดภัย แนะนำให้หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ยา Levofloxacin อาจทำให้คุณมีความไวต่อแสงแดดมากขึ้น จึงแนะนำให้จำกัดระยะเวลาที่ต้องสัมผัสแสงแดด หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับหลอดไฟอุลตราไวโอเลต (Sunlamps) และให้ทาครีมกันแดดและสวมเสื้อผ้ามิดชิดขณะอยู่ในที่แจ้ง แจ้งแพทย์ทันทีหากคุณมีอาการผิวไหม้จากแดด หรือผิวหนังแดง/ผิวหนังมีตุ่มพอง

ยา Levofloxacin อาจทำให้วัคซีนที่ทำจากแบคทีเรียเชื้อเป็น (เช่น ไทฟอยด์วัคซีน) ไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ดี ดังนั้นอย่าฉีดวัคซีนระหว่างการใช้ยานี้ ยกเว้นแพทย์สั่ง

ก่อนเข้ารับการผ่าตัด ให้แจ้งแพทย์หรือทันตแพทย์ทราบเกี่ยวกับรายการยา อาหารเสริม และสมุนไพรที่กำลังใช้อยู่

เด็กอาจมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาที่ข้อ และเส้นเอ็น เพิ่มขึ้น ให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ต่อใช้ยานี้

ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดอาการข้างเคียงได้มากขึ้น ได้แก่ ปัญหาที่เส้นเอ็น (โดยเฉพาะถ้ารับประทานร่วมกับยาสเตียรอยด์ เช่น Prednisone หรือ Hydrocortisone) ปัญหาที่ตับ หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด QT Prolongation 

ระหว่างการตั้งครรภ์ ยานี้ควรใช้เฉพาะในกรณีที่ประเมินแล้วว่ามีความจำเป็นจริงๆ โดยให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ที่จะได้รับจากยานี้ขณะตั้งครรภ์

ยา Levofloxacin ผ่านไปยังน้ำนมได้ในปริมาณเล็กน้อย แต่น่าจะไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อทารกที่ดูดนม โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนการให้นมบุตร 

คำเตือนในการใช้ยา Levofloxacin

ยาปฏิชีวนะในกลุ่ม Quinolone รวมถึงยา Levofloxacin อาจทำให้เกิดปัญหาที่ร้ายแรงและอาจเป็นถาวรได้ ได้แก่ เส้นเอ็นได้รับความเสียหาย (เช่น เอ็นอักเสบ, เอ็นฉีกขาด) ปัญหาที่เส้นประสาทบริเวณแขนและขา (ปลายประสาทอักเสบ; Peripheral Neuropathy) และปัญหาในระบบประสาทของร่างกาย

คุณต้องไปพบแพทย์ทันทีถ้ามีอาการใดๆ ดังต่อไปนี้:

  • ปวด ชา แสบร้อน เสียวซ่า อ่อนแรง ที่แขน มือ ขา เท้า 
  • มีการเปลี่ยนแปลงของการรู้สึก สัมผัส ความเจ็บปวด อุณหภูมิ ความสั่นสะเทือน และท่าทางของร่างกาย
  • ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดศีรษะเป็นเวลานาน
  • การมองเห็นผิดปกติไป
  • สั่น
  • มีอาการชัก
  • มีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ สภาพจิตใจ เช่น กระวนกระวาย วิตกกังวล สับสน ประสาทหลอน ซึมเศร้า และอาจมีความคิดฆ่าตัวตายได้ (พบได้น้อย)

ความเสียหายที่เส้นเอ็นอาจเกิดขึ้นทั้งในระหว่างและหลังการใช้ยา Levofloxacin ถ้ามีอาการปวดหรือบวมที่ข้อต่อ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ต้องหยุดการออกกำลัง ให้หยุดพัก และรีบไปพบแพทย์ทันที โดยความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาที่เส้นเอ็นจะยิ่งเพิ่มขึ้นถ้าคุณอายุมากกว่า 60 ปี, กำลังใช้ยาสเตียรอยด์ร่วมด้วย เช่น Prednisone หรือถ้าคุณได้รับการปลูกถ่ายไต, ปลูกถ่ายหัวใจ หรือปลูกถ่ายปอด

ยา Levofloxacin อาจทำให้โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้าย (Myasthenia Gravis) มีอาการแย่ลงได้ จึงต้องแจ้งแพทย์ทราบทันทีถ้าคุณมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่เกิดขึ้นใหม่ หรือมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแย่ลง เช่น หนังตาตก (Drooping Eyelids), เดินไม่สมดุล, มีปัญหาในการหายใจ

ให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ที่จะได้รับจากยาก่อนการใช้ยานี้

ใครบ้างที่ไม่ควรใช้ยา Levofloxacin

สภาวะต่อไปนี้ถือเป็นข้อห้ามในการใช้ยา Levofloxacin ดังนั้นต้องแจ้งแพทย์ทราบหากคุณมีสภาวะดังต่อไปนี้

  • มีการติดเชื้อ Clostridium Difficile
  • เป็นโรคเบาหวาน
  • มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • มีระดับโพแทสเซียม ในเลือดต่ำ
  • มีภาวะที่มีโอกาสเกิดอาการชักได้ง่าย (Lower Seizure Threshold)
  • ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง (Pseudotumor Cerebri)
  • ปลายประสาทอักเสบ (Peripheral Neuropathy)
  • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้าย (Myasthenia Gravis)
  • เป็นโรคที่มีการไหลเวียนเลือดไปที่กล้ามเนื้อหัวใจผิปกติ
  • หัวใจเต้นเร็ว ชนิด Torsades De Pointes
  • หัวใจเต้นช้า
  • ตรวจพบคลื่นไฟฟ้าหัวใจ QT ยาว จากการตรวจ EKG
  • ตรวจพบคลื่นไฟฟ้าหัวใจ QT ผิดปกติแต่กำเนิด
  • เส้นเลือดแดงในสมองแข็งตัวอย่างรุนแรง
  • เป็นโรคตับ
  • ได้รับการปลูกถ่ายไต หรือปอด หรือหัวใจ
  • เส้นเอ็นอักเสบ, เส้นเอ็นฉีกขาด
  • สั่นอย่างควบคุมไม่ได้
  • มีอาการชัก
  • ประสาทหลอน
  • เป็นโรคกล้ามเนื้อลายสลาย (Rhabdomyolysis)
  • ไตบกพร่องปานกลางถึงรุนแรง
  • แพ้ยา Levofloxacin
  • แพ้ยาในกลุ่ม Quinolones ตัวอื่นๆ 

การใช้ยา Levofloxacin ร่วมกับยาอื่น

การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา (Drug Interactions) อาจเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ของยาหรือเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงร้ายแรง ข้อมูลที่ระบุนี้ไม่ได้ครอบคลุมการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งหมด ดังนั้นคุณต้องแจ้งแพทย์และเภสัชกรทราบทุกครั้งว่าคุณกำลังรับประทานยา อาหารเสริม สมุนไพร ใดอยู่ในขณะนี้ อย่าเริ่มยา หยุดยา หรือเปลี่ยนแปลงขนาดยาต่างๆ เอง โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์

ผลิตภัณฑ์ยาบางรายการที่อาจเกิดปฏิกิริยากับยา Levofloxacin:

  • Strontium

แม้ว่ายาปฏิชีวนะส่วนใหญ่ไม่ค่อยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยาคุมกำเนิด เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด, แผ่นแปะคุมกำเนิด หรือห่วงคุมกำเนิด แต่มียาปฏิชีวนะบางรายการ (เช่น Rifampicin, Rifabutin) ที่ส่งผลลดประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิด ทำให้ตั้งครรภ์ได้ ถ้าคุณกำลังใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิด ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ยา Levofloxacin มีโครงสร้างคล้ายกับยา Ofloxacin มาก ดังนั้นห้ามใช้ยา Ofloxacin ระหว่างใช้ยา Levofloxacin

ยา Levofloxacin อาจรบกวนผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจปัสสาวะหาสาร Opiates (Urine Screening For Opiates) ซึ่งจะทำให้ผลการตรวจออกมาผิดพลาดได้ ดังนั้นต้องแจ้งแพทย์และเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการทราบว่าคุณกำลังใช้ยานี้อยู่ 

การได้รับยา Levofloxacin เกินขนาด 

หากมีใครก็ตามที่ได้รับยา Levofloxacin เกินขนาด จนทำให้เกิดอาการที่ร้ายแรง เช่น หมดสติ หรือหายใจลำบาก ให้รีบเรียกรถพยาบาลทันที โทร 1669 

อาการของการได้รับยาเกินขนาดอาจได้แก่: เวียนศีรษะอย่างรุนแรง

หมายเหตุ

ห้ามแบ่งยานี้ให้ผู้อื่นใช้

ยานี้ถูกสั่งจ่ายสำหรับสภาวะโรคปัจจุบันของคุณเท่านั้น ห้ามใช้ยานี้สำหรับการติดเชื้อในครั้งอื่นๆ ยกเว้นแพทย์สั่ง

ควรมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจการทำงานของไต ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ตรวจน้ำตาลในเลือด เพาะเชื้อหาเชื้อที่เป็นสาเหตุ ซึ่งอาจตรวจก่อนใช้ยาหรือระหว่างที่ใช้ยา ดังนั้นคุณต้องไปพบแพทย์ตามที่แพทย์นัด 

หากลืมรับประทานยา Levofloxacin

ถ้าคุณลืมรับประทานยานี้ ให้รับประทานทันทีที่นึกได้ หากนึกได้เมื่อใกล้กับเวลาของมื้อถัดไป ให้ข้ามมื้อที่ลืมไป และรับประทานมื้อถัดไปตามปกติ โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า

การเก็บรักษายา Levofloxacin

เก็บรักษายาที่อุณหภูมิห้อง ห่างจากแสงแดดและความชื้น ไม่เก็บยาในห้องอาบน้ำ เก็บยาทุกชนิดให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง 

ไม่เทยานี้ทิ้งในห้องน้ำหรือในท่อระบายน้ำ ให้ทิ้งผลิตภัณฑ์ยานี้อย่างเหมาะสมเมื่อยาหมดอายุหรือเมื่อไม่จำเป็นต้องใช้ยานี้อีก


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
John P. Cunha, DO, FACOEP, LEVOFLOXACIN (LEVAQUIN) (https://www.rxlist.com/consumer_levofloxacin_levaquin/drugs-condition.htm).
pubchem, Levofloxacin (https://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/compound/Levofloxacin), 25 January 2020.
Vivek Podder; Nazia M. Sadiq, Levofloxacin (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK545180/), 17 August 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)