กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา

คออักเสบ (Strep throat)

เผยแพร่ครั้งแรก 10 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 5 พ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ภาวะคออักเสบ คือ หนึ่งในอาการของผู้ป่วยโรคไข้หวัด ที่เกิดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อภายในลำคอ มักเกิดพร้อมกับภาวะต่อมทอนซิลอักเสบ
  • เชื้อไวรัสที่มักทำให้เกิดภาวะคออักเสบมากที่สุด ได้แก่ เชื้อไรโนไวรัส เชื้ออะดิโนไวรัส เชื้อไวรัสโคโรนา
  • เชื้อแบคทีเรียที่มักทำให้เกิดภาวะอักเสบมากที่สุดคือ เชื้อแบคทีเรียสเตรปโตค็อกคัส กลุ่มเอ
  • ภาวะคออักเสบสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงตามมาได้ เช่น ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • การรักษาภาวะคออักเสบจะทำให้การสื่อสารพูดคุยลำบาก ทั้งยังทำให้เจ็บคอขณะกลืนอาหาร หรือกลืนน้ำลาย ดังนั้นหากมีอาการคล้ายกับเป็นไข้หวัด ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการทันที (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัยได้ที่นี่)

ความหมายของภาวะคออักเสบ

ภาวะคออักเสบ (Pharyngitis) คือ ภาวะอักเสบของเนื้อเยื่อภายในลำคอหลังช่องปาก เป็นหนึ่งในอาการโรคไข้หวัดที่พบได้บ่อยๆ จนส่งผลทำให้เกิดอาการคัน ระคายเคือง หรือเกิดแผลในลำคอ มักพบมากในกลุ่มผู้ป่วยเด็กมากกว่าผู้ใหญ่

ภาวะคออักเสบมักเกิดขึ้นพร้อมกับภาวะต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) เพราะเป็นอาการที่เกิดจากการติดเชื้อในลำคอเหมือนกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สาเหตุของภาวะคออักเสบ

สาเหตุของภาวะคออักเสบมักเกิดมาจากเชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรียดังต่อไปนี้

1. ภาวะคออักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ถือเป็นสาเหตุของภาวะคออักเสบที่พบได้มากที่สุด โดยเชื้อไวรัสที่มักเป็นต้นเหตุของภาวะนี้ ได้แก่ เชื้อไรโนไวรัส (Rhinovirus) เชื้ออะดิโนไวรัส (Adenovirus) เชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus)

อาการภาวะคออักเสบจากการติดเชื้อไวรัสมักไม่รุนแรงมากนัก ส่วนมากจะหายเองภายในระยะเวลาประมาณ 5 วัน ได้แก่

  • น้ำมูกใส
  • เสียงแหบ
  • มีไข้ต่ำ
  • ผนังคอหอยแดงเล็กน้อย
  • มีไข้
  • เบื่ออาหาร
  • เจ็บคอ

2. ภาวะคออักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุซึ่งพบได้บ่อยที่สุด คือ เชื้อแบคทีเรียสเตรปโตค็อกคัส กลุ่มเอ (Group A beta-hemolytic Streptococcus: GAS) มักพบมากในเด็กอายุ 3-14 ปี

ภาวะคออักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียค่อนข้างวินิจฉัยได้ยาก เนื่องจากอาการจะใกล้เคียงกับอาการที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสมาก แต่จะไม่มีน้ำมูก หรือมีอาการไอ โดยจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • คอแดง
  • ผนังคอหอย หรือเพดานอ่อนบวมแดง
  • เจ็บคอ
  • ต่อมน้ำเหลืองโต และกดเจ็บ
  • ไข้สูง
  • กลืนอาหารลำบาก
  • เบื่ออาหาร

นอกจากนี้คุณยังอาจพบอาการอื่นๆ ในระหว่างที่มีภาวะคออักเสบได้อีก เช่น วิงเวียนศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้อาเจียน การรับรสชาติผิดปกติไปจากเดิม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ จากภาวะคออักเสบ

ภาวะคออักเสบอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้หากไม่รีบรักษา เช่น

  • หนองรอบต่อมทอนซิล
  • ไซนัสอักเสบ
  • หูชั้นกลางอักเสบ
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • ไตอักเสบ
  • ไข้รูห์มาติก

วิธีวินิจฉัยภาวะคออักเสบ

ในเบื้องต้น แพทย์จะสอบถามประวัติสุขภาพ วิถีชีวิตประจำวันของผู้ป่วย ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น รวมถึงตรวจวัดไข้ ตรวจคอ หู จมูก คลำต่อมน้ำเหลือง ฟังเสียง และเอกซเรย์ปอด

นอกจากนี้แพทย์ยังอาจมีการเก็บตัวอย่างของเหลวในลำคอแล้วนำไปเพาะเชื้อ เพื่อหาว่าสาเหตุของภาวะนี้เกิดจากเชื้อชนิดใด

หากภาวะคออักเสบของคุณอาจเกี่ยวข้องกับโรคภูมิแพ้ คุณอาจได้รับคำแนะนำให้ไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้ต่อไป หรือหากมีอาการเจ็บคอเรื้อรัง ก็อาจต้องพบแพทย์ด้านหู คอ จมูกด้วย

วิธีรักษาภาวะคออักเสบ

การรักษาภาวะคออักเสบแบ่งออกได้ 2 แบบ ได้แก่

1. การรักษาแบบประคับประคองไปตามอาการ

เป็นการักษาไปตามอาการที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยแต่ละราย รวมถึงฟื้นฟูให้ร่างกายกลับมาแข็งแรง เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ หรือให้สารน้ำอื่นๆ ที่ทำให้ร่างกายมีเรี่ยวแรง ไม่อ่อนเพลีย
  • รับประทานยาลดไข้ หากมีไข้สูง
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หมั่นจิบน้ำบ่อยๆ หรือกลั้วคอด้วยน้ำอุ่น หรือน้ำเกลือ
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำเย็น รวมถึงของเย็นอื่นๆ
  • งดรับประทานอาหารทอด อาหารรสจัด
  • งดสูบบุหรี่ รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ในการรักษาแบบนี้ มีข้อควรระวังบางอย่างสำหรับผู้ป่วยเด็กคือ ห้ามใช้ยาอมในการรักษา โดยเฉพาะยาอมที่มียาชาเป็นส่วนผสม

นอกจากนี้ยาพ่นคอ ยาชาชนิดทา และน้ำยากลั้วคอนั้น ไม่ได้มีประโยชน์ในการฆ่าเชื้อ หรือลดอาการเจ็บระคายเคืองคอแต่อย่างใด จึงไม่ควรใช้ในระหว่างรักษา

2. การรักษาแบบจำเพาะ

เป็นการรับประทานยาให้ตรงกับอาการที่เกิดขึ้นซึ่งมักจะเป็นยาปฏิชีวนะ เพราะยาสามารถออกฤทธิ์ทำให้หายเร็วขึ้น เช่น

  • อะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin)
  • เพนิซิลลินวี (Penicillin V)
  • เบนซาทีน เพนิซิลลิน (Benzathine penicillin)

วิธีป้องกันภาวะคออักเสบ

ภาวะคออักเสบมักเกิดจากการติดเชื้อจากผู้ที่มีอาการไข้หวัด และมีภาวะคออักเสบอยู่แล้ว ซึ่งคุณสามารถป้องกันภาวะนี้ได้ โดยปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงการใช้ช้อนส้อม หลอดดูดน้ำร่วมกับผู้อื่น
  • หากมีคนใกล้ชิดป่วยเป็นไข้หวัด ควรอยู่ให้ห่าง และให้ผู้ป่วยเก็บตัวเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
  • หมั่นล้างมืออยู่เสมอ โดยเฉพาะหลังจากรับประทานอาหาร และหลังจากไอ หรือจาม
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และระมัดระวังไม่รับควันบุหรี่มือสอง
  • พักผ่อนให้เพียงพออยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายอ่อนเพลียจนเสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย

ภาวะคออักเสบสามารถเป็นต้นเหตุของอาการป่วยเกี่ยวกับโรคทางเดินหายใจที่ร้ายแรงขึ้นได้ เพื่อความปลอดภัย หากคุณสังเกตว่า ตนเองมีอาการเจ็บคอ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อหาทางรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ

เพราะอาการเจ็บคออาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อบางอย่างที่ร้ายแรงได้ แต่เพราะความเคยชิน และหลายคนมักมองว่า อาการเจ็บคอเป็นแค่อาการป่วยทั่วไป จึงไม่รักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการ

ดูแพ็กเกจฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
รศ.นพ. ปารยะ อาศนะเสน, เป็นหวัด หรือมีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน ... ต้องกินยาแก้อักเสบไหม (https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1137), 16 เมษายน 2562.
โรงพยาบาลรามาธิบดี, แนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบนสำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ โรงพยาบาลรามาธิบดี (https://med.mahidol.ac.th/ramapharmacy/sites/default/files/public/Guideline%20ASU%20Ramathibodi.%20Mar%202015.pdf), 28 เมษายน 2562.
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี, โรคติดเชื้อเฉียบพลัน ระบบหายใจในเด็ก (http://www.childrenhospital.go.th/html/2014/sites/default/files/1.โรคติดเชื้อเฉียบพลับ%20ระบบหายใจในเด็ก.pdf), 1 เมษายน 2562.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ตื่นมาแล้วเจ็บต่อมทอลซิลข้างซ้าย กลืนน้ำลายแล้วเจ็บ กดคลำข้างลำคอแล้วเจ็บ ไม่มีไข้ ไม่มีน้ำมูก
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
คออักเสบจากไวรัสกัแบคทีเรียมีอาการต่างกันอย่างไร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
รู้สึกระคายเคืองในลำคอตลอดเวลา ควรทำอย่างไรดีคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
คามิลโลซาน เป็นพิษภัยต่อร่างกายหรือไม่
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีตุ่มๆแบบนี้ปกติมั้ยคะ เจ็บคอด้วยคะ หายใจไม่สะดวก
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)