อันตรายของเชื้อ MRSA ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานที่มีแผลที่เท้า

อะไรคือสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับเชื้อ MRSA
เผยแพร่ครั้งแรก 29 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อันตรายของเชื้อ MRSA ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานที่มีแผลที่เท้า

โรคเบาหวานสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้จากที่เท้า เช่น การมีบาดแผลและการติดเชื้อ เนื่องจากมีเลือดไหลเวียนไปที่เท้าน้อยลง และหลอดเลือดมีการเปลี่ยนแปลงจากน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งยังทำให้เกิดอาการชาที่เท้าได้อีกด้วย เนื่องจากหลายครั้งที่ผู้ป่วยไม่สังเกตว่าตนเองนั้นมีบาดแผลที่เท้าหรือไม่ จึงทำให้แผลนั้นเกิดการติดเชื้อรุนแรงก่อนที่ผู้ป่วยจะสังเกตเห็น

โดยการติดเชื้อทั่วไปจากบาดแผลที่เท้าจะเกิดจากแบคทีเรียหลายชนิด แต่การติดเชื้อมากที่สุดจะอยู่ในกลุ่มแบคทีเรีย Staphylococcus หรือ Streptococcus ซึ่งมีประมาณ 4-6% ของการติดเชื้อดื้อยา และในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเชื้อ Staphylococcus มีการดื้อต่อยายาปฏิชีวนะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เชื้อ MRSA (Methicillin-Resistant Staphylococcis Aureus – เชื้อ Staphylococcus ที่ดื้อต่อยา Methicillin) พบได้มากที่สุดในการติดเชื้อในโรงพยาบาลและการติดเชื้อทั่วไปจากชุมชน การที่มีบาดแผลเปิดจากโรคเบาหวานจะทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ MRSA เพิ่มขึ้นจากการติดเชื้อชนิดอื่น ๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

MRSA คืออะไร?

เชื้อ MRSA คือการติดเชื้อของกลุ่มแบคทีเรีย staphylococcus ประเภทหนึ่งซึ่งเกิดจากการดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลายชนิด โดยในการติดเชื้อในตอนแรกนั้นจะเป็นลักษณะบวม แดง และเมื่อเปิดแผลลงไปจะพบว่าภายในบาดแผลจะมีลักษณะเหมือนฝีหนอง ซึ่งเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้สามารถแบ่งออกได้ 2 กลุ่ม คือกลุ่มแรก จะเป็นเชื้อที่ติดจากภายในโรงพยาบาล(nosocomial) และกลุ่มที่ 2 จะเป็นการติดเชื้อจากภายชุมชน ซึ่งเชื้อแบคทีเรียกลุ่มนี้เองเป็นสาเหตุสำคัญ เนื่องจากผู้ที่ติดเชื้อกลุ่มนี้มีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อทั้ง 2 กลุ่ม เพราะเมื่อผิวหนังมีการแยกออกจะทำให้เชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ สามารถเข้าไปสู่ร่างกายและทำให้มีการติดเชื้อได้ โดยผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในการติดเชื้อ MRSA เพราะแผลที่เท้านั้นมักจะเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว

การติดเชื้อ MRSA รักษาได้หรือไม่?

ในการติดเชื้อ MRSA จะรักษาค่อนยาก เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ดื้อยาปฏิชีวนะที่ใช้เป็นยากลุ่มแรก ๆ ในการรักษาหลายชนิด อาทิเช่น penicillin หรือ oxacillin และจะยิ่งรักษายากขึ้นถ้าหากผู้ป่วยเคยได้รับยาปฏิชีวนะรักษาการติดเชื้อที่อื่นมาก่อน เพราะจะต้องยาที่สามารถใช้ฆ่าเชื้อนี้ได้ แต่ก็ยังมียาปฏิชีวนะและการทายาปฏิชีวนะบางชนิดที่สามารถรักษาการติดเชื้อ MRSA ได้ แต่ยังพบว่ามีปัญหาในผู้ที่มีการติดเชื้อ MRSA ซ้ำอยู่

จะป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อ MRSA ได้อย่างไร

โดยการติดเชื้อ MRSA จากชุมชนนั้นเป็นการติดต่อกันผ่านการสัมผัส โดยเชื้อชนิดนี้สามารถอาศัยอยู่ที่ผิวหนังและแพร่เชื้อจากการสัมผัสได้

  • ตรวจดูเท้าของคุณในทุกๆวันว่ามีบาดแผลหรือไม่
  • ห้ามเดินด้วยเท้าเปล่า ควรใส่ถุงเท้าที่แห้งและสะอาด หรือใส่รองเท้าที่พอดีกับเท้า
  • หากคุณมีบาดแผลที่เท้าควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที โดยทำการปิดแผลด้วยพันแผลที่แห้งและสะอาด

ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (Centers for Disease Control – CDC) ยังแนะนำเพิ่มเติมว่า

  • ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำสะอาด สบู่  หรือล้างด้วยแอลกอฮอล์ล้างมือ
  • ไม่ควรใช้ผ้าเช็ดตัว มีดโกนหนวดหรือของใช้ส่วนตัวรวมกับคนอื่น
  • ถ้ามีการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่นเช่นภายในโรงยิม คุณควรทำความสะอาดผิวของอุปกรณ์นั้นก่อนด้วยสเปรย์ฆ่าเชื้อ

คุณสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดการติดเชื้อ MRSA หรือเชื้อแบคทีเรียอื่น ๆ ได้ โดยการมีสุขอนามัยที่ดีและดูแลเท้าให้ดี และนอกจากนี้การคุมควบระดับน้ำตาลในเลือดยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เท้าหรืออาการชาที่เท้าได้อีกด้วย


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The Threat of MRSA in People With Diabetes & Foot Ulcers. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/the-new-threat-of-mrsa-in-diabetic-foot-ulcers-1087633)
MRSA: Treatment, causes, and symptoms. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/10634)
General Information | MRSA. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/mrsa/community/index.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การรักษาภาวะ Acute Respiratory Distress Syndrome (ARDS)
การรักษาภาวะ Acute Respiratory Distress Syndrome (ARDS)

การรักษาภาวะ ARDS โดยทั่วไป

อ่านเพิ่ม