มีเชื้อแบคทีเรียมากกว่า 30 ชนิดที่จัดอยู่ในกลุ่มสเตร็ปโตคอคคัส (Staphylococcus) เชื้อที่พบได้บ่อยที่สุดคือ Staphylococcus Aureus คุณไม่ได้จำเป็นต้องป่วยถึงจะมีเป็นพาหะของเชื้อ เนื่องจากเชื้อตัวนี้อาศัยอยู่บนผิวหนังและจมูกของคนที่สุขภาพดีหลายคน และส่วนมากไม่เคยได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อ แต่ในบางคน โดยเฉพาะผู้ที่มีแผลเปิด, มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือผู้ที่เพิ่งเข้ารับการผ่าตัด สามารถเกิดการติดเชื้อตั้งแต่ระดับผื่นไม่รุนแรงจนถึงขั้นติดเชื้อในกระแสเลือดที่รุนแรงถึงชีวิตได้
อาการของการติดเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส
การติดเชื้อ Staph มีได้หลายรูปแบบซึ่งทำให้เกิดอาการแตกต่างกันไป อาการที่พบได้บ่อย ประกอบด้วย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- การติดเชื้อที่ผิวหนัง : การติดเชื้อในกลุ่มนี้เช่น ฝี, cellulitis และ impetigo ฝีคือภาวะที่ต่อมขนหรือต่อมไขมันมีการติดเชื้อและมักเกิดหนองอยู่ภายใน อาจมีตุ่มนูน บวม แดง เจ็บได้ โรคนี้มักเกิดได้บ่อยในบริเวณที่มีการเสียดสีมาก เช่นใต้แขน ขาหนีบหรือก้น Cellulitis เป็นการติดเชื้อในผิวหนังชั้นลึกที่ทำให้ผิวหนังมีการบวม แดง ร้อน และกดเจ็บได้ บางทีอาจมีแผลเปิดเกิดขึ้นในบริเวณที่มีการติดเชื้อได้ โรคนี้มักเกิดได้บ่อยที่ขาหรือเท้า ส่วน Impetigo เป็นผื่นบนผิวหนังที่สามารถทำให้เกิดการติดต่อได้มาก โรคนี้มักพบในเด็ก โดยจะมีตุ่มน้ำเกิดขึ้นก่อนจะเริ่มมีน้ำเหลืองซึมก่อนที่จะตกสะเก็ดในหลายวันต่อมา
- อาหารเป็นพิษ : การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ Staph เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดอาหารเป็นพิษ
- Toxic Shock syndrome : เป็นภาวะที่สามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้จากพิษที่ผลิตจากแบคทีเรียสายพันธุ์ Staph บางชนิด ภาวะนี้อาจเกิดร่วมกับการใช้ผ้าอนามัยบางชนิด การเป็นแผลที่ผิวหนังและการผ่าตัด
- ข้ออักเสบติดเชื้อ : การติดเชื้อ Staph เป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบได้บ่อยของการเกิดข้ออักเสบติดเชื้อ ซึ่งมักเกิดที่เข่าได้บ่อยที่สุด แต่แบคทีเรียก็สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อที่ข้ออื่นได้เช่นกันเช่นที่ข้อเท้า สะโพก ข้อมือ ข้อศอก ไหล่ หรือกระดูกสันหลัง
- การติดเชื้อในกระแสเลือด : เป็นการติดเชื้อ Staph ที่รุนแรง โดยเกิดเมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือด ภาวะนี้สามารถส่งผลกระทบต่อ
- กระดูก
- กล้ามเนื้อ
- ปอด
- สมอง
- หัวใจ
- อวัยวะเทียม เช่นข้อเทียมหรือเครื่องกระตุ้นสัญญาณไฟฟ้าหัวใจ
- ไต
การติดเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส เป็นโรคติดต่อหรือไม่?
การติดเชื้อ Staph บางชนิดเช่นฝี และ Impetigo สามารถติดต่อได้ ในขณะที่การติดเชื้อ Staph อื่นๆ เช่น cellulitis อาหารเป็นพิษ toxic shock syndrome การติดเชื้อในกระแสเลือด การติดเชื้อในกระดูก และข้ออักเสบติดเชื้อนั้นไม่ใช่โรคติดต่อ
ปัจจัยเสี่ยง
คุณจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ Staph ได้มากขึ้นหาก
- คุณมีโรคทางผิวหนังเช่นผื่นคันที่ทำให้เกิดการระคายเคืองหรือทำลายผิวหนัง
- เล่นกีฬาที่มีการสัมผัสร่างกาย เช่นมวยปล้ำ
- อาศัยอยู่ในสถานที่แออัด เช่นหอพัก คุก หรือค่ายทหาร
- มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจากการติดเชื้อ HIV/AIDS, การให้ยาเคมีบำบัด หรือการรับประทานยาบางชนิด
- มีสายคาอยู่ในร่างกายเช่นสายให้อาหาร ท่อช่วยหายใจ
- เป็นเบาหวาน โดยเฉพาะหากกำลังใช้อินซูลินหรือต้องล้างไต
จะป้องกันการติดเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส ได้อย่างไร?
การติดเชื้อ Staph ส่วนมากสามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลแผลที่เหมาะสมและรักษาความสะอาด สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อ Staph คือการปฏิบัติตามขั้นตอนการดูแลแผลอย่างเหมาะสม หากคุณมีแผลจากของมีคม แผลข่วน หรือถูกแมลงกัด ควรล้างด้วยสบู่และน้ำอุ่น รอให้แห้ง ก่อนจะใช้ครีมที่มียาต้านจุลชีพทา และปิดแผลด้วยผ้าพันแผลจนกระทั่งแผลหาย ไม่ควรเกาแผลที่ถูกแมลงกัน หรือแกะสะเก็ดแผล เพราะนิ้วและเล็บที่สกปรกสามารถนำเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่แผลได้ และหากคุณมีไขมันอุดตัน ไม่ควรบีบหรือพยายามแกะด้วยตนเอง ไม่ควรใช้ผ้าเช็ดตัว มีดโกนหรือของใช้ส่วนตัวร่วมกับคนอื่น เพราะสามารถมีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียได้ และหากคุณทราบว่าตนเองเป็นพาหะของเชื้อ Staph ควรแจ้งทันตแพทย์หรือแพทย์ให้ทราบก่อนเริ่มการรักษา โดยแพทย์สามารถสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะก่อนการเริ่มทำฟันหรือการผ่าตัดใดๆ ได้
เชื้อดื้อยาคืออะไร?
เชื้อดื้อยา คือเชื้อทุกชนิด โดยเฉพาะแบคทีเรียที่มีการดื้อต่อยาปฏิชีวนะหรือการรักษา ปัจจุบันพบว่ามีเชื้อ Methicillin-resistant Staphylococcus aureus หรือ MRSA ซึ่งเป็นเชื้อ Staph ที่ดื้อต่อยา methicillin และยาปฏิชีวนะที่มักให้ในการรักษาการติดเชื้อ Staph ผู้ป่วยในโรงพยาบาล ศูนย์ดูแลผู้ป่วย หรือผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบ่อยๆ (นับรวมศูนย์ล้างไต) เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ MRSA มากกว่าปกติ ดังนั้นคุณควรรับประทานยาปฏิชีวนะเท่าที่จำเป็น (ไม่ใช่เพื่อการรักษาการติดเชื้อไวรัสเช่นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่) และเมื่อแพทย์สั่งจ่ายยา คุณควรรับประทานยาปฏิชีวนะให้ครบที่กำหนด แม้ว่าอาการอาจจะดีขึ้นแล้วเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยาเช่น MRSA
การติดเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส ในเด็ก
ปัจจุบันพบการติดเชื้อ Staph ในเด็กเช่น impetigo, ข้ออักเสบติดเชื้อและ MRSA ได้มากขึ้นในเด็ก โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง มีรายงานว่าเด็กจะได้รับการติดเชื้อมาจากโรงพยาบาล โรงเรียน หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก การป้องกันการติดเชื้อ ควรสอนเด็กให้ปฏิบัติตามหลักสุขอนามัย และรักษาแผลเปิด แผลข่วน หรือแผลต่างๆ ที่เกิดขึ้น หากคุณคิดว่าลูกของคุณหรือเด็กในความดูแลเกิดการติดเชื้อ Staph ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์
การติดเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส ในสัตว์
สัตว์สามารถเกิดการติดเชื้อ Staph ได้จากการเกา เลียหรือการกัดผิวหนัง ซึ่งอาจเกิดจากการแพ้หรือการติดเชื้อปรสิต เชื้อ Staph สามารถติดต่อจากสัตว์สู่สัตว์ และอาจติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ในบางกรณี หากคุณเชื่อว่าสัตว์เลี้ยงของคุณมีการติดเชื้อ Staph คุณควรปรึกษาสัตวแพทย์
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ