กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

สังคัง (Jock Itch)

เผยแพร่ครั้งแรก 14 ก.พ. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคสังคัง หรือที่เรียกว่า โรคกลาก (Tinea Cruris) เกิดจากการติดเชื้อราที่ผิวหนัง พบได้บ่อยบริเวณผิวหนังที่อับชื้น เช่น ขาหนีบ ต้นขาด้านใน หรือบั้นท้าย
  • โรคสังคัง เกิดจากเชื้อราในกลุ่มเดอร์มาโตฟัยท์ (Dermatophytes) โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากเชื้อรา Dermatophytes Epidermophyton Floccosum, Trichophyton Mentagrophytes และ T. Rubrum
  • ลักษณะของโรคผื่นสังคัง คือ ผื่นสีแดง บริเวณขอบผื่นจะชัด มีสะเก็ด หรือขุยร่วมด้วย โดยจะมีลักษณะเป็นแผ่น หรือวงก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อราที่ทำให้เกิดโรค ทำให้เกิดอาการคันมาก
  • โรคสังคังสามารถรักษาได้โดยการใช้ยาต้านเชื้อรา ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป อย่างไรก็ตาม หากกลับมาเป็นซ้ำบ่อยๆ หรือรักษาด้วยตัวเองแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และเข้ารับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

โรคสังคัง หรือที่เรียกว่า โรคกลาก (Tinea Cruris) เกิดจากการติดเชื้อราที่ผิวหนัง พบได้บ่อยบริเวณผิวหนังที่อับชื้น เช่น ขาหนีบ ต้นขาด้านใน หรือบั้นท้าย 

ลักษณะของรอยโรคสังคัง

ลักษณะของโรคผื่นสังคัง คือ ผื่นสีแดง บริเวณขอบผื่นจะชัด มีสะเก็ด หรือขุยร่วมด้วย โดยจะมีลักษณะเป็นแผ่น หรือวงก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อราที่ทำให้เกิดโรค ทำให้เกิดอาการคันมาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคสังคังมักเกิดขึ้นที่บริเวณขาหนีบ หัวเหน่า หรือบริเวณรอยพับต่างๆ ของร่างกาย หากไม่ดูแลรักษาให้ดีก็อาจลามไปที่อวัยวะเพศ และทวารหนักได้ แต่ส่วนมากจะไม่ส่งผลกระทบต่อถุงอัณฑะ หรือองคชาติ

ในบางครั้งอาจทำให้ผิวบริเวณนั้นเป็นสีดำคล้ำ หรืออ่อนกว่าปกติ ซึ่งอาจคงอยู่แบบนั้นจนกว่าการติดเชื้อจะบรรเทาลง

สาเหตุของโรคสังคัง

โรคสังคัง เกิดจากเชื้อราในกลุ่มเดอร์มาโตฟัยท์ (Dermatophytes) โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากเชื้อรา Dermatophytes Epidermophyton Floccosum, Trichophyton Mentagrophytes และ T. Rubrum ซึ่งเชื้อราเหล่านี้จะเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่อุ่น และเปียกชื้น 

โรคสังคัง พบได้ทุกเพศทุกวัย แต่มักเกิดในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงถึง 3 เท่า และในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก โดยความชื้นจะกระตุ้นให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี โดยเฉพาะบริเวณระหว่างถุงอัณฑะ และต้นขาด้านใน 

ผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคสังคัง

  • ผู้ที่มีน้ำหนักมากจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคสังคังได้มากกว่าคนปกติ เพราะกลุ่มคนเหล่านี้จะมีไขมันที่ใต้ผิวหนังที่สามารถกักเก็บความชื้นได้ดี 
  • ผู้ที่เหงื่อออกเยอะมากๆ ตามซอกคอ ข้อพับต่างๆ เช่น นักกีฬา 
  • ผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มีภูมิคุ้มกันที่ไม่ค่อยแข็งแรง ทำให้มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อได้ง่ายมากกว่าคนทั่วไป
  • ผู้ที่สวมใส่เสื้อผ้าเปียกชื้น หรือรัดจนเกินไปเป็นเวลานาน สามารถทำให้เชื้อราแพร่กระจายจนทำให้เป็นโรคสังคังได้

โรคสังคังเป็นโรคติดต่อหรือไม่?

โรคสังคัง เป็นโรคที่สามารถติดต่อได้ง่าย โดยสามารถติดโรคสังคังได้จากการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อได้โดยตรง หรือผ่านการสวมใส่เสื้อผ้า หรือผ้าขนหนูที่ยังไม่ซักของผู้ที่เป็นโรคสังคัง

นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคสังคังมีโอกาสที่จะติดเชื้อที่บริเวณอื่นๆ ในร่างกายด้วย เช่น หากเป็นโรคน้ำกัดเท้า หรือกลากที่เท้า (Tinea Pedis) หรือโรคกลากที่เล็บมือ หรือเล็บเท้า (Tinea Unguium) แล้วเท้าบริเวณที่เป็นโรคสัมผัสกับขอบกางเกงในระหว่างแต่งตัว ก็อาจทำให้บริเวณที่สวมใส่กางเกงในติดเชื้อและเป็นสังคังตามไปด้วยนั่นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การรักษาโรคสังคัง

โรคสังคัง รวมไปถึงโรคกลากชนิดอื่นๆ สามารถรักษาให้หายได้โดยการใช้ยาต้านเชื้อรา ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ มีทั้งแบบครีมทา โลชั่น หรือแป้ง โดยส่วนมากแล้วมักจำเป็นต้องทาลงบนผิวหนังติดต่อกัน 2 - 4 สัปดาห์

หากไม่แน่ใจว่า ผื่นที่เกิดขึ้นเป็นโรคสังคัง สามารถไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยได้ โดยแพทย์สามารถประเมินได้ด้วยสายตา หรือขูดเอาเซลล์เนื้อบริเวณรอยโรคไปส่องกล้องเพื่อตรวจหาชนิดของเชื้อรานั้นๆ และจ่ายยาที่เหมาะสมกับโรคให้

ตัวอย่างยารักษาโรคสังคัง

  • Zeasorb, Daktarin, or Lotrimin (miconazole)
  • Naftin (naftifine)
  • Canesten AF cream (clotrimazole)
  • Nizoral, Xolegel, or Extina (ketoconazole)
  • Oxistat (oxiconazole)

เมื่อไรควรไปพบแพทย์

ในกรณีที่เป็นซ้ำบ่อยๆ หรือรักษาด้วยตัวเองแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยว่า ผื่นที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากเชื้อราใช่หรือไม่ 

นอกจากรักษาด้วยยาแล้ว ผู้ที่เป็นโรคสังคังควรใส่ใจกับการดูแลทำความสะอาด ไม่ปล่อยให้อับชื้น และหากมีน้ำหนักตัวมากก็ควรลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน จะช่วยลดโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ 

การป้องกันโรคสังคัง

การระมัดระวังเหล่านี้สามารถช่วยลดความเสี่ยงของคุณในการเกิดโรคสังคังได้

  • รักษาความสะอาดบริเวณขาหนีบ บั้นท้าย และต้นขาด้านใน และทำให้แห้งอยู่เสมอ โดยการโรยแป้งเมื่ออุ่น หรือซับด้วยผ้าหลังอาบน้ำ
  • หลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดจนเกิดไป
  • ห้ามนำเสื้อผ้ากีฬากลับมาใส่ซ้ำ หากยังไม่ได้ซัก โดยเฉพาะ โดยเฉพาะการสวมกางเกงในชายซัพพอร์ตเตอร์สำหรับนักกีฬา (Jockstraps)
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าขนหนู เสื้อผ้า หรือของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่นโดยที่ยังไม่ได้ซัก
  • ควรรักษาการติดเชื้อจากโรคกลากโดยทันที
  • ในกรณีที่สาเหตุความอับชื้นมาจากความอ้วน ควรลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ

โรคสังคัง เป็นโรคที่ไม่อันตราย แต่ก็สร้างความรำคาญใจให้กับผู้เป็นไม่น้อย เพื่อป้องกันการเกิดโรค หรือการกลับมาเป็นซ้ำ ควรรักษาความสะอาดร่างกายอยู่เสมอ และหลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าที่ยังไม่ได้ซัก และใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Jock Itch (for Teens). Nemours KidsHealth. (https://kidshealth.org/en/teens/jock-itch.html)
Jock Itch: Symptoms, Causes, Diagnosis, Treatment, Prevention. WebMD. (https://www.webmd.com/men/causes-and-prevent-jock-itch)
Jock itch: Causes, treatments, and remedies. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/315788)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
โรคสังคังใช้ยาทาอะไรดีครับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
โรคสังคังรักษายังไงค้าบหมอ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)