ภาวะช็อก อาจหมายถึงภาวะช็อกทางจิตวิทยา หรือทางกายภาพก็ได้
ภาวะช็อกทางจิตวิทยานั้นมักเกิดจากการเผชิญกับเหตุการณ์รุนแรง หรือสะเทือนขวัญ มีชื่อเรียกว่า "ภาวะเครียดเฉียบพลัน (Acute Stress Disorder)" ซึ่งภาวะช็อกประเภทนี้เป็นผลจากการตอบสนองทางอารมณ์ หรือทางร่างกายที่รุนแรงมาก
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ภาวะช็อกทางกายภาพ เกิดจากการไหลเวียนของระบบโลหิตในร่างกายที่ไม่เพียงพอจะช่วยในการทำงานของอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ ได้อย่างที่ควรจะเป็น
ภาวะช็อกทางร่างกายสามารถเกิดได้จากการบาดเจ็บ หรือภาวะอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการไหลเวียนโลหิตก็ได้ ทำให้อวัยวะต่างๆ ล้มเหลว หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต
ภาวะช็อกมีกี่ประเภท?
ภาวะช็อกมีอยู่หลายชนิด โดยแยกเป็น 4 ประเภทหลักตามสาเหตุที่ส่งผลต่อการไหลเวียนโลหิต และทุกชนิดสามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ทั้งนั้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ภาวะช็อกจากการอุดกั้นนอกหัวใจ (Obstructive Shock)
เกิดจากการที่เลือดไม่มีตำแหน่งที่จะไหลไปได้ เกิดขึ้นได้เมื่อมีอากาศหรือของเหลวสะสมในโพรงปอด เช่น
- ภาวะปอดรั่ว (Pneumothorax)
- ภาวะเลือดออกในเยื่อหุ้มปอด (Hemothorax)
- ภาวะบีบรัดหัวใจ (Cardiac Tamponade)
2. ภาวะช็อกจากโรคหัวใจ (Cardiogenic Shock)
เกิดจากความเสียหายที่หัวใจ ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ไหลเวียนไปเลี้ยงร่างกายลดลง มักเกิดจากความเสียหายที่กล้ามเนื้อหัวใจ หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ และหัวใจเต้นช้าเกิน
3. ภาวะช็อกจากปริมาณเลือดลดลง (Distributive Shock)
เกิดจากหลอดเลือดเปิดออกและเริ่มอ่อนตัวลง ทำให้ความดันของเลือดลดน้อยลงจนไม่สามารถไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้เพียงพอ ภาวะช็อกประเภทนี้มักทำให้เกิดอาการหน้าแดง ความดันโลหิตต่ำ และหมดสติ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ทั้งนี้ภาวะช็อกจากปริมาณเลือดลดลงยังสามารถแยกได้อีกหลายประเภท ดังนี้
- ภาวะช็อกจากปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลัน (Anaphylactic shock) เป็นภาวะแทรกซ้อนจากปฏิกิริยาแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) เกิดจากการที่ร่างกายเข้าใจผิดคิดว่าสิ่งที่ไม่เป็นอันตรายเป็นของผิดแปลก จนทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิต้านทานชนิดรุนแรงขึ้นมา มักมีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารที่แพ้ การถูกพิษของแมลง และการรับประทานยาที่แพ้
- ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Septic shock) เป็นภาวะช็อกที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในเลือด จึงทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงขึ้นที่เนื้อเยื่อ หรืออวัยวะในร่างกาย
- ภาวะช็อกทางระบบประสาท (Neurogenic shock) เกิดจากความเสียหายที่ระบบประสาทส่วนกลางที่มักมีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง ภาวะนี้จะทำให้หลอดเลือดหดตัวลงและทำให้ผิวหนังอุ่น หรือแดงขึ้น หัวใจเต้นช้าลง และความดันโลหิตลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว
4. ภาวะช็อกจากการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ (Hypovolemic Shock)
เกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดไม่มีเลือดเพียงพอต่อการขนส่งออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกาย ภาวะนี้อาจเกิดจากการสูญเสียเลือดปริมาณมาก เช่น การประสบอุบัติเหตุ หรืออาจเกิดจากภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรงก็ได้
สัญญาณและอาการของภาวะช็อก
หากผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะช็อก อาจสังเกตอาการต่อไปนี้ได้ตั้งแต่หนึ่งอาการขึ้นไป
- ชีพจรเต้นเร็ว ชีพจรเต้นอ่อน หรือขาดช่วง
- หายใจเบา หรือหายใจถี่
- หน้ามืด
- ผิวเย็น ผิวซีด
- ม่านตาหด
- เจ็บหน้าอก
- คลื่นไส้
- สับสน
- ปัสสาวะน้อย
- ปากแห้งและกระหายน้ำ
- น้ำตาลในเลือดต่ำ
- หมดสติ
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะช็อก
ทุกสิ่งที่ส่งผลต่อการไหลเวียนโลหิตทั่วร่างกาย สามารถทำให้เกิดภาวะช็อกขึ้นได้ เช่น
- ปฏิกิริยาแพ้รุนแรง
- การสูญเสียเลือดปริมาณมาก
- ภาวะหัวใจล้มเหลว
- การติดเชื้อในเลือด
- ภาวะขาดน้ำ
- การได้รับสารพิษ
- การถูกไฟคลอก
การวินิจฉัยภาวะช็อก
ในขั้นตอนการวินิจฉัยภาวะช็อก สิ่งสำคัญอันดับแรกที่แพทย์ต้องปฏิบัติคือการรักษาชีวิตผู้ป่วย เพื่อให้มีการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงร่างกายให้เร็ว และมากที่สุดเท่าที่ทำได้
อาจทำได้ด้วยการให้ของเหลว ยา เลือด และการดูแลประคับประคองอื่นๆ ไปพร้อมๆ กับการตรวจหาสาเหตุของภาวะช็อกที่เกิดขึ้น ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
1. การตรวจเลือด
แพทย์อาจใช้วิธีการตรวจเลือดเพื่อตรวจสอบว่ามีการสูญเสียเลือดปริมาณมาก มีการติดเชื้อในเลือด และมีการใช้ยาเกินขนาดหรือไม่
2. การทดสอบถ่ายภาพ
แพทย์อาจพิจารณาให้มีการถ่ายภาพร่างกายเพื่อตรวจสอบอาการบาดเจ็บหรือความเสียหายที่เนื้อเยื่อและอวัยวะภายใน เช่น ภาวะกระดูกร้าว อวัยวะฉีกขาด หรือกล้ามเนื้อฉีกขาด เป็นต้น
โดยอาจมีการถ่ายภาพด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- การอัลตราซาวด์ (Ultrasound)
- การเอกซเรย์ (X-ray)
- การสแกนคอมพิวเตอร์ (CT Scan)
- การสแกนคลื่นสะท้อนแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI Scan)
การรักษาภาวะช็อก
หากคาดว่า คนใกล้ชิดมีภาวะช็อก ให้รีบติดต่อโรงพยาบาล หรือโทรสายด่วน 1669 เพื่อเรียกรถฉุกเฉิน และทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ทันที
- หากผู้ป่วยหมดสติ ให้ตรวจสอบการหายใจและดูว่าหัวใจยังเต้นอยู่หรือไม่ หากผู้ป่วยยังหายใจอยู่ ให้จัดร่างกายผู้ป่วยให้นอนหงาน ยกขาให้สูงขึ้น เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญ และหาผ้ามาห่มให้ผู้ป่วยไว้ ซึ่งในระหว่างนี้ต้องคอยตรวจสอบการหายใจของผู้ป่วยอยู่เสมอ จนกว่าความช่วยเหลือจะมาถึง
- หากผู้ป่วยไม่หายใจ หรือไม่มีการเต้นของหัวใจ ให้ทำ CPR ทันที
อ่านเพิ่มเติม: วิธีทำ CPR
หากสงสัยว่าผู้ป่วยมีการบาดเจ็บที่ศีรษะ คอ หรือหลัง พยายามอย่าเคลื่อนไหวร่างกายผู้ป่วย แต่ถ้าผู้ป่วยมีบาดแผลที่มองเห็นได้ หรือคาดว่า ผู้ป่วยมีภาวะช็อกที่เกิดจากอาการภูมิแพ้ ให้สอบถามผู้ป่วยว่ามียาอิพิเนฟริน (Epinephrine Auto-injector) ติดตัวหรือไม่
ถ้ามีให้รีบฉีดให้ผู้ป่วยทันที แล้วอยู่เป็นเพื่อนผู้ป่วยจนกว่าความช่วยเหลือจะมาถึง
เมื่อผู้ป่วยไปถึงโรงพยาบาล แผนการรักษาภาวะช็อกของแพทย์จะขึ้นอยู่กับสาเหตุ ซึ่งภาวะช็อกแต่ละประเภทจะมีวิธีรักษาแตกต่างกันออกไป เช่น
- ใช้ยาอิพิเนฟริน กับยาอื่นๆ ในการรักษาภาวะช็อกจากภูมิแพ้รุนแรง
- ถ่ายเลือดเพื่อชดเชยเลือดที่เสียไป ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะช็อกจากการสูญเสียน้ำและเกลือแร่
- ผ่าตัดหัวใจ หรือใช้ยาบางชนิดเพื่อรักษาภาวะช็อกจากโรคหัวใจ
- ใช้ยาปฏิชีวนะรักษาภาวะช็อกจากเหตุเลือดเป็นพิษ
การป้องกันภาวะช็อก
ภาวะช็อกบางประเภทและบางกรณีสามารถป้องกันได้ เช่น
- หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภูมิแพ้รุนแรง ให้พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดอาการแพ้ และพกยาฉีด Epinephrine ไว้กับตัวตลอด เมื่อมีสัญญาณของอาการแพ้ให้รีบใช้ยาฉีดทันที
- ลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียเลือดจากการบาดเจ็บ โดยสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันก่อนเล่นกีฬา หรือก่อนใช้งานเครื่องมืออันตรายต่างๆ
- ลดโอกาสการเกิดความเสียหายที่หัวใจด้วยการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือดมควันบุหรี่มือสอง
อาการช็อก อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งส่วนมากมักเกิดจากปัญหาสุขภาพต่างๆ หรืออาการแพ้รุนแรงจากโรคภูมิแพ้ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดอาการช็อก ควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android