MRSA ย่อมาจาก Methicillin-Resistant Staphylococcus Aureus เป็นการติดเชื้อ Staph (สแตป) ชนิดหนึ่ง ที่มีการดื้อต่อยาปฏิชีวนะที่มักใช้ในการรักษาการติดเชื้อ Staph ทั่วไป เมื่อแบคทีเรียเกิดการดื้อยา จะทำให้การกำจัดเชื้อเป็นไปได้ยากขึ้น และใช้เวลานานขึ้นในการฟื้นตัวจากการติดเชื้อ
เชื้อ Staphylococcus (สแตฟิโลค็อกคัส) มีมากกว่า 30 สายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่พบได้บ่อยที่สุดคือ Staphylococcus aureus (สแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส)
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (CDC) ได้ประมาณการณ์ว่า มีประชากรประมาณ 2% ที่เป็นพาหะของเชื้อ MRSA เเละการเกิดเชื้อ MRSA นั้น มาจากการสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะที่มากเกินไป ซึ่งรวมถึงการให้ยาปฏิชีวนะในการติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่ โดยไม่จำเป็น เพราะว่าการติดเชื้อไวรัสนั้น ไม่สามารถรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะที่ใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อจากแบคทีเรียได้
ในคนที่มีสุขภาพดีทั่วไป การติดเชื้อ MRSA เป็นการติดเชื้อที่ผิวหนัง แต่ในผู้ที่นอนอยู่ในสถานพยาบาล อาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรง ซึ่งรวมถึงการติดเชื้อในกระแสเลือด
โดยทั่วไป ทุกคนอาจมีเชื้อแบคทีเรียอยู่ในร่างกายได้ แต่ไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย แต่ในบางกรณี การติดเชื้อแบคทีเรียสามารถทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ หากคนผู้นั้นมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือเป็นผู้ที่อยู่ในสถานพยาบาล
ชนิดของเชื้อ MRSA
เชื้อ MRSA มี 2 ประเภท ได้แก่
- กลุ่มที่เกิดจากการติดเชื้อในโรงพยาบาล (HA-MRSA) มักเกิดในกลุ่มผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในสถานพยาบาล เช่น โรงพยาบาล ศูนย์ดูแลผู้ป่วย หรือศูนย์ล้างไต
- กลุ่มที่เกิดจากการติดเชื้อในชุมชน (CA-MRSA) เช่น ในโรงเรียนมัธยม นักกีฬามหาวิทยาลัย ผู้ที่อาศัยในหอพัก คุก หรือค่ายทหาร จะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ MRSA ที่สูงขึ้น โดยจะติดต่อผ่านทางการสัมผัส
อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อ MRSA กำลังมีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจนในช่วงศตวรรตที่ผ่านมา การศึกษาของ CDC ได้พบว่า การติดเชื้อ MRSA ในโรงพยาบาลในปี ค.ศ. 2011 นั้นลดลง 54% จากปี ค.ศ. 2005 และมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อ MRSA ลดลงจากปี ค.ศ. 2005 ถึง 9,000 คน
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงการติดเชื้อ MRSA
MRSA เป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ตามร่างกายของคนส่วนใหญ่ ซึ่งคุณอาจเป็นพาหะของเชื้อ แต่ไม่แสดงอาการก็ได้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อ HA-MRSA
- เป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล MRSA มักทำให้เกิดการติดเชื้อในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ที่เพิ่งเข้ารับการผ่าตัด หรือมีอาการเจ็บป่วย
- มีอุปกรณ์ทางการแพทย์อยู่ภายในร่างกาย สายต่างๆ ทางการแพทย์ เช่น สายให้สารน้ำทางเส้นเลือดดำ หรือสายสวนปัสสาวะ เป็นช่องทางในการนำเชื้อ MRSA เข้าสู่ร่างกายได้
- อาศัยอยู่ในศูนย์ดูแลผู้ป่วย เชื้อ MRSA มักสามารถพบได้ในศูนย์ดูแลผู้ป่วย ซึ่งจะมีการแพร่กระจายการติดเชื้อจากผู้ที่เป็นพาหะสู่คนอื่นในศูนย์ได้ แม้ว่าจะไม่มีอาการเจ็บป่วย โดยแบคทีเรียอาจอาศัยอยู่บนลูกบิดประตู เตียงนอน หรือที่อื่นๆ ได้ ดังนั้น การรักษาสุขอนามัยในโรงพยาบาล และศูนย์ดูแลผู้ป่วยจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ
ปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อ CA-MRSA
- เล่นกีฬาที่มีการสัมผัสร่างกาย เชื้อ MRSA สามารถแพร่กระจายได้ง่ายผ่านแผลระหว่างการสัมผัส ซึ่งมักเกิดระหว่างการเล่นมวยปล้ำ ฟุตบอล หรือทำกิจกรรมอื่นๆ
- อาศัยอยู่ในชุมชนแออัด หรือมีสุขอนามัยไม่ดี เชื้อ MRSA สามารถพบได้ตามศูนย์ดูแลเด็ก หอพักนักศึกษา ค่ายฝึกทหาร และคุก
- มีพฤติกรรมชอบเพศเดียวกัน ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ MRSA สูงกว่าปกติ
อาการของการติดเชื้อ MRSA
มีผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อ MRSA จำนวนมากที่ไม่เคยมีอาการติดเชื้อรุนแรงเกิดขึ้น การติดเชื้อ MRSA ที่ผิวหนังมักเกิดเมื่อมีแผล หรือผิวหนังถลอก ซึ่งจะทำให้แบคทีเรียสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ หรือในบริเวณที่มีขน เช่น ด้านหลังของลำคอ ขาหนีบ ก้น ข้อพับศอก หรือบริเวณที่มีเคราในผู้ชาย
อาการแสดงอย่างแรกของการติดเชื้อ MRSA คือการเกิดตุ่มเล็กๆ ที่อาจเข้าใจผิดว่า เกิดจากแมงมุมกัด โดยตุ่มดังกล่าวอาจมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
- แดง
- บวม
- ปวด
- อุ่น
- มีหนอง
- อาจมีไข้ร่วมด้วย
หากสงสัยว่า มีอาการติดเชื้อ Staph หรือมีไข้ ควรไปพบแพทย์ทันที ในช่วงระหว่างรอพบแพทย์ควรทำความสะอาดบริเวณนั้นด้วยสบู่ และน้ำอุ่น ก่อนที่จะปิดด้วยผ้าพันแผล ไม่ควรลองบีบหนองด้วยตนเอง เนื่องจากนิ้วมือและเล็บที่สกปรก สามารถทำให้การติดเชื้อแย่ลงได้ วิธีการรักษา คือ แพทย์จะกรีดระบายหนองจากบริเวณที่มีการติดเชื้อ และจ่ายยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรีย
อาการของการติดเชื้อ HA-MRSA
อาการที่เกิดในโรงพยาบาล ศูนย์ดูแลผู้ป่วยหรือสถานพยาบาลต่างๆ เช่น ศูนย์ล้างไต มักมีความรุนแรงกว่าทั่วไป การติดเชื้อ HA-MRSA อาจเกิดในกระแสเลือด หัวใจ ปอด อวัยวะอื่นๆ ในปัสสาวะ หรือในบริเวณที่เพิ่งผ่าตัดได้ ซึ่งอาการของการติดเชื้อ HA-MRSA ที่พบได้บ่อย ประกอบด้วย
- เจ็บหน้าอก
- ไอหรือหายใจลำบาก
- อ่อนเพลีย
- ไข้หนาวสั่น
- รู้สึกไม่มีแรง
- ปวดหัว
- มีผื่นขึ้น
- เป็นแผลเรื้อรัง
การวินิจฉัยการติดเชื้อ MRSA
การติดเชื้อ Staph ทุกรูปแบบสามารถวินิจฉัยได้จากการเพาะเชื้อ แพทย์อาจทำการเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่ง หรือตัวอย่างเนื้อเยื่อ เพื่อตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย MRSA โดยจะนำตัวอย่างไปวางบนถาดเพาะเลี้ยงเพื่อให้เชื้อแบคทีเรียมีการเจริญเติบโต โดยจะใช้เวลาประมาณ 1-2 วัน ก่อนจะทราบผลการเพาะเชื้อ
ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ MRSA
หากไม่มีการรักษาการติดเชื้อ MRSA อาจส่งผลรุนแรงถึงชีวิตได้ หากมีการติดเชื้อเข้าสู่
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- กระดูก
- ข้อ
- กระแสเลือด
- ปอด
- หัวใจ
การรักษาการติดเชื้อ MRSA ในแต่ละชนิด
การรักษาการติดเชื้อ HA-MRSA
แพทย์จะใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาการติดเชื้อ HA-MRSA และเนื่องจากมีการติดเชื้อ staph เพียง 10% ที่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา Penicillin แพทย์จึงอาจใช้ยาตัวอื่นในการรักษา เช่น Vancomycin (Vancocin) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาที่นิยมใช้ แม้ว่าอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ทำลายการได้ยิน หรือการทำงานของไตได้ โดยทั่วไปจะให้ทางเส้นเลือดดำ
ยา Dalbavancin (Dalvance) เป็นยาอีกชนิดหนึ่งที่สามารถใช้รักษา MRSA ได้ โดยได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาเมื่อปี 2014 ยานี้ให้ทางเส้นเลือดเช่นกัน และสามารถทำให้เกิดผลข้างคียง เช่น คลื่นไส้ ปวดหัวและท้องเสียได้ อีกทั้งผู้ป่วยบางคนอาจมีค่าการทำงานของตับสูงขึ้นหลังจากการใช้ยา Dalvance
แต่ไม่ว่าจะใช้ยาชนิดใดก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยง และประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้ยาก่อนเริ่มยา
การรักษาการติดเชื้อ CA-MRSA
หากมีการติดเชื้อ MRSA บนผิวหนัง มักเกิดจากเชื้อ MRSA จากชุมชน (CA-MRSA) แพทย์อาจต้องเจาะระบายแผล ซึ่งไม่ควรลองทำด้วยตนเอง เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่แผลมากขึ้นจากนิ้วและเล็บที่สกปรกได้ หรืออาจทำให้เกิดการติดเชื้อเข้าสู่ชั้นผิวหนังที่ลึกขึ้น การเจาะระบายหนองจากฝีด้วยวิธีปราศจากเชื้อจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อไม่ให้การติดเชื้อรุนแรงขึ้น หรือเกิดการติดต่อสู่ผู้อื่น
การรักษาการติดเชื้อ CA-MRSA อาจทำร่วมกับการให้ยาปฏิชีวนะกลุ่มที่ไม่ใช่ Methicillin เช่น Doxycycline (Doryx, Monodox) Minocycline (Dynacin, Minocin) หรือ Trimethoprim/Sulfamethoxazole (Bactrim, Septra)
การป้องกันการติดเชื้อ MRSA ในแต่ละชนิด
การป้องกันการติดเชื้อ HA-MRSA
การปฏิบัติตามหลักสุขอนามันเป็นสิ่งที่สำคัญในการป้องกันการแพร่เชื้อ HA-MRSA ในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลต่างๆ ผ้าที่มีการปนเปื้อนเชื้อควรซักในน้ำร้อน และทำความสะอาดบริเวณผิวผ้าด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
ผู้ที่มีการติดเชื้อ MRSA มักจะต้องอยู่ในห้องแยกเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ พยาบาล แพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ ที่ให้การดูแลผู้ป่วยในห้องแยก ต้องใส่อุปกรณ์ป้องกัน และปฏิบัติตามหลักความสะอาดอย่างเคร่งครัด
การป้องกันการติดเชื้อ CA-MRSA
- ล้างมือด้วยสบู่ และน้ำอุ่น หลังจากสัมผัสผู้อื่น
- อาบน้ำหลังจากเล่นกีฬา
- ดูแลความสะอาดของแผลต่างๆ ตามร่างกาย และปิดด้วยผ้าพันแผล
- ไม่ควรใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า อุปกรณ์กีฬา มีดโกน
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ