Meningitis คือ ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส แต่บางรายอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และปรสิต
เมื่อเป็นแล้วบางคนหายเองได้ แต่โรคนี้อาจรุนแรงจนเป็นอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นการตรวจวินิจฉัย และรักษาโดยแพทย์จึงควรทำให้ทันท่วงที
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การรักษาภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรียรักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะ แต่ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัสยังไม่มีการรักษาเฉพาะทาง
หากแพทย์สงสัยว่าคุณมีภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ คุณจะได้รับยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อหลายชนิดเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากเชื้ออื่นที่ไม่ใช่ไวรัส หากทราบชนิดการติดเชื้อว่ามาจากไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อราแล้ว แพทย์จะสามารถเลือกวิธีรักษาที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
การรักษาภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส
เนื่องจากยาปฏิชีวนะไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัส หากคุณมีภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส คุณจะต้องหยุดการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะทุกรูปแบบ
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัสที่มักมีอาการค่อนข้างเบา ส่วนใหญ่คนจะหายจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัสโดยใช้เวลา 7-10 วัน ด้วยการนอนพัก การใช้ยาลดไข้ลดปวดที่ขายตามร้านขายยา และการดื่มน้ำอย่างพอเพียง แต่หากภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบนั้นเกิดจากเชื้อไวรัส herpes หรือ influenza แพทย์อาจเลือกรักษาด้วยการให้ยาต้านไวรัส เช่น gancyclovir (Cytovene) และ foscarnet (Foscavir) ที่นิยมใช้รักษาภาวะเยื่อบุหุ้มสมองอักเสบจาก Cytomegalovirus
ในกลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ (ผู้ป่วย HIV/AIDS หรืออื่นๆ) เด็กทารกที่เกิดมาพร้อมโรคติดเชื้อ หรือ คนที่ป่วยหนักมาก บางครั้งยา acyclovir (Zovirax) อาจใช้รักษาภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อ herpes simplex virus แม้ตัวยามีผลเฉพาะเมื่อใช้ในระยะต้นๆ ของโรค เชื้อ influenza อาจรักษาด้วยยาต้านไวรัสหลายตัว ได้แก่ peramivir (Rapivab) และ oseltamivir (Tamiflu)
การรักษาภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรีย
หากคุณมีภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรีย คุณจะได้รับยาปฏิชีวนะหนึ่งหรือหลายตัวเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรค
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ยาปฏิชีวนะที่นิยมใช้ ได้แก่
Cephalosporin เช่น cefotaxime (Claforan) และ ceftriaxone (Rocephin) สำหรับเชื้อ Streptococcus pneumoniae และ Neisseria meningitidis
Ampicillin (ยาในกลุ่ม pennicillin) สำหรับเชื้อ Haemophilus influenzae type B และ Listeria monocytogenes
Vancomycin สำหรับเชื้อ Staphylococcus aureus สายพันธุ์ดื้อยา penicillin และ Streptococcus pneumoniae
อาจใช้ยาปฏิชีวนะตัวอื่น เช่น meropenem และ aminoglycoside ได้แก่ tobramycin (Tobi, Tobrex) และ gentamicin (Garamycin, Gentak) บางครั้งจะให้ยา ciprofloxacin (Cipro) และ rifampin (Rifadin) กับสมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วยภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบเพื่อช่วงป้องกันการติดเชื้อ
การรักษาภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบอื่นๆ
ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อราจะรักษาด้วยยาต้านเชื้อราแบบฉีด โดยจะใช้โดสสูงๆ เป็นเวลานาน ยาเหล่านี้เป็นยาต้านไวรัสกลุ่ม azole เช่น fluconazole (Diflucan) ที่ใช้รักษาการติดเชื้อจาก Candida calbicans ซึ่งเป็นเชื้อที่ติดหลังติดเชื้อจากยีสต์ การเลือกยาต้านไวรัสมารักษาก็ขึ้นอยู่กับชนิดของการติดเชื้อ เช่น Amphotericin B (Ambisome, Amphotiec) ซึ่งเป็นที่นิยมสูงสุดของการติดเชื้อเยื่อบุหุ้มสมองอักเสบจาก Cryptococcus โดยเชื้อ Cryptococcus Neformans
นอกจากนี้ ยา Amphotericin B ยังนำมาใช้รักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อปรสิต Naegleria fowleri หรืออาจเลือกใช้ยาต้านเชื้อรา miconazole และยาปฏิชีวนะ Rifampin ก็ได้เช่นกัน นอกจากจะใช้ยาข้างต้นแล้ว ยา Corticosteroids ก็สามารถช่วยลดการอักเสบที่เกิดขึ้นได้เช่นกัน ส่วนยา Diazepam (Valium) หรือ Phynytoin (Dilantin) สามารถรักษาอาการชักที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียและ N. fowleri
การป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
วัคซีนสำหรับภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
วัคซีนไม่สามารถป้องกันภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น มะเร็ง โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง และยาบางชนิด
อย่างไรก็ตาม วัคซีนเหล่านี้จะสามารถป้องกันเชื้อแบคทีเรีย 3 ชนิดที่ก่อให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบในเด็กและผู้ใหญ่ ได้แก่
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
Neisseria meningitidis (N. meningitidis)
Haemophilus influenzae type b (Hib)
Streptococcus pneumoniae (S. pneumoniae)
วัคซีนสำหรับโรคไข้กาฬหลังแอ่น
โรคไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal Disease) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ N. meningitidis สามารถก่อให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
จากข้อมูลของ Immunization Action Coalition พบว่าปัจจุบันมีอย่างน้อย 13 ซีโรกรุ๊ปหรือสายพันธุ์ที่แตกต่างกันของ N. meningitidis โดยมี 5 สายพันธุ์ (A, B, C, Y และ W-135) ที่ทำให้เกิดโรคไข้กาฬหลังแอ่นรอบโลก
Centers for Disease Control and Prevention (CDC) พบว่าในประเทศสหรัฐอเมริกา วัคซีน Meningococcal Polysaccharide Vaccine (Menumune) ที่มีมาตั้งแต่ในช่วงปี ค.ศ. 1970 สามารถป้องกันสายพันธุ์ A, C, Y และ W-135 เป็นวัคซีนตัวเดียวที่จดสิทธิบัตรให้ใช้ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 55 ปี แม้บางครั้งอาจให้ในผู้ที่มีอายุ 2 ปีขึ้นไป
วัคซีน Meningococcal Conjugate Vaccine (Mentactra, Meveo) ก็สามารถป้องกันทั้ง 4 สายพันธุ์ได้เช่นเดียวกัน วัคซีนจะนิยมให้ในทุกคนที่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 9 เดือน - 55 ปี (Menveo สามารถให้ได้ในเด็กที่อายุ 2 เดือนขึ้นไป) หากเข็มแรกให้ระหว่างช่วงอายุ 11 และ 12 ปี ก็จะได้รับเข็ม booster เมื่ออายุ 16 ปี แต่หากได้รับเข็มแรกหลังอายุ 16 ปี ก็ไม่ต้องฉีดเพิ่มอีก
ล่าสุดองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ขึ้นทะเบียนวัคซีน 2 ตัวแรกสำหรับเชื้อ N. meningitidis group B (Trumenba และ Bexsero) สำหรับผู้ที่มีอายุระหว่าง 10-25 ปี
วัคซีนสำหรับ Hib และวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ
โรค Hib เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ Haemophilus influenzae type b ที่ลำคอ ซึ่งเชื้อสามารถแพร่กระจายสู่เลือดและเยื่อหุ้มสมอง ทำให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบรุนแรง
ส่วนโรคปอดอักเสบ (Pneumonitis) ที่เกิดจากเชื้อ Streptococcus pneumoniae (S. pneumoniae) เมื่อเชื้อแพร่กระจายสู่เลือดและเยื่อหุ้มสมอง สามารถทำให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบเช่นกัน
ปัจจุบันมีวัคซีนสำหรับ Hib อยู่ 6 ตัว โดยบางตัวต้องใช้ร่วมกับวัคซีนตัวอื่นๆ เช่น MenHibrix ป้องกันเชื้อ Hib และเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น กลุ่ม C และ Y วัคซีนเหล่านี้จะให้ 3-4 เข็มขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อ แนะนำให้ในเด็กชาวอเมริกันที่อายุต่ำกว่า 5 ปี ทุกคน โดยเข็มแรกจะให้เมื่อเด็กอายุ 2 เดือน
วัคซีน Pneumococcal Conjugate Vaccine (Prevnar 13) ที่ผ่านการรับรองในปี ค.ศ. 2010 ช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย 13 สายพันธุ์ วัคซีนนี้แนะนำให้ฉีดในเด็กทุกคนที่อายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้ใหญ่อายุมากกว่า 65 ปี และผู้ที่มีอายุมากกว่า 6 ปี ทุกคนที่มีปัจจัยเสี่ยงบางอย่างร่วมด้วย
วัคซีน Pneumococcal Polysaccharide Vaccine (Pneumovax) ที่ผ่านการรับรองในปี ค.ศ. 1983 ช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย 23 สายพันธุ์ วัคซีนนี้แนะนำให้ฉีดในผู้ใหญ่ทุกคนที่อายุมากกว่า 65 ปี และผู้ที่อายุมากกว่า 2 ปี ทุกคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคไข้กาฬหลังแอ่นจากปัญหาสุขภาพและยาต่างๆ
วัคซีนโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส
ปัจจุบัน ยังไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อกลุ่ม Non-polio Enterovirus ซึ่งเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัสได้มากที่สุด แต่วัคซีนสำหรับเชื้อไวรัสอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมอง โรคคางทูม โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคสุกใส (Varicella)
วัคซีนป้องกันโรคคางทูม โรคไข้หวัดใหญ่ โรคหัดเยอรมัน และโรคสุกใส (MMRV: mumps-measles-rubella-varicella vaccine) ที่ผ่านการรับรองในปี ค.ศ. 2005 ช่วยป้องกันไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ 3 ชนิด
นอกจากนี้ยังมีวัคซีน MMR และวัคซีน Varicella แยกต่างหากด้วย วัคซีนเหล่านี้แนะนำให้ฉีดในเด็กทุกคน โดย 2 เข็มแรกจะให้เมื่ออายุ 12 เดือนและ 15 เดือนตามลำดับ
CDC แนะนำให้ผู้ที่อายุมากกว่า 6 เดือนทุกคนได้รับวัคซีนป้องกันหวัดทุกฤดูกาล การได้รับวัคซีนเป็นประจำเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากส่วนประกอบของวัคซีนจะเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละปี เพื่อรับมือกับเชื้อไวรัสที่มีการวิวัฒนาการ