โรคไข้กาฬหลังแอ่น

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรคไข้กาฬหลังแอ่น

ไข้กาฬหลังแอ่น เป็นโรคที่พบมีการระบาดทั่วไปในประเทศแถบตะวันออกกลาง (ซาอุดิอาระเบีย) แอฟริกา อเมริกา และในประเทศแถบเอเชีย (พม่า กัมพูชา เวียดนาม) ในประเทศไทยมีรายงานพบโรคนี้ประปรายทุกปี

โรคไข้กาฬหลังแอ่น มีอัตราเสียชีวิตเร็วกว่าโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียชนิดอื่นๆ  โดยผู้ป่วยโรคนี้อาจมีการชักเกร็ง หลังเกร็งแข็ง จนแอ่น จึงเป็นที่มาของ “ไข้กาฬหลังแอ่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โรคไข้กาฬหลังแอ่นคืออะไร?

โรคไข้กาฬหลังแอ่น เป็นโรคที่รู้จักกันมานานในสมัยอดีต มีชื่อทางการแพทย์ว่า การติดเชื้อไข้กาฬหลังแอ่นในเลือด(Meningococcemia)หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal meningitis) เป็นโรคติดเชื้อชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ Neisseria meningitidis ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียกรัมลบรูปทรงกลมคล้ายกับเชื้อหนองในแท้ หรือ Neisseria gonorrhea แต่ความรุนแรงของโรคมากกว่า

สาเหตุของโรคไข้กาฬหลังแอ่น

โดยปกติโรคไข้กาฬหลังแอ่น สามารถพบได้ทั้งในเด็กเล็กและผู้ใหญ่  เมื่อพบผู้ป่วยโรคนี้จะต้องรายงานต่อกรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากจัดเป็นโรคติดต่อร้ายแรงชนิดหนึ่ง เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Neisseria meningitides ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ โดยปกติในร่างกายคนเราพบเชื้อชนิดนี้ในลำคอ โดยเป็นเชื้อที่ไม่ทำให้เกิดโรค แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาภูมิคุ้มกันบกพร่อง เมื่อได้รับเชื้อตามธรรมชาติ หรือ เชื้อที่มีอยู่แล้วในลำคอถูกกระตุ้นให้ก่อโรคก็จะเพิ่มจำนวนขึ้นจนเชื้อแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดแล้วก่อให้เกิดโรคได้

นอกจากนี้ เชื้อไข้กาฬหลังแอ่นยังสามารถแพร่กระจายได้ทางการไอ จาม หรือ ทางการหายใจรดกัน เมื่อผู้ที่ติดเชื้อหายใจรดผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือ ร่างกายอ่อนแอก็จะทำให้ป่วยเป็นโรคได้

อาการและอาการแสดงของโรคไข้กาฬหลังแอ่น

อาการของโรคไข้กาฬหลังแอ่น จะขึ้นกับระยะเวลาที่เชื้อโรคฟักตัวในร่างกาย หลังจากที่เริ่มก่อโรค 2-10 วัน (เฉลี่ยประมาณ 3 วันขึ้นไป) อาการจะเริ่มเป็นเหมือนไข้หวัด ไอ เจ็บคอ ปวดศีรษะและกล้ามเนื้อ ตามด้วยอาการไข้สูงและซึม หากเชื้อสู่ระแสเลือดจะมีอาการรุนแรงและรวดเร็ว ผู้ป่วยจะเริ่มมีจุดคล้ายเลือดออกตามตัว เป็นแฉกคล้ายดาวกระจาย ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรค มักเป็นทั่วตัว โดยเฉพาะบริเวณส่วนล่างลำตัว ขา เท้า และบริเวณที่มีแรงกดบ่อยๆ เช่น ขอบกางเกง เยื่อบุต่างๆ

หากเชื้อเริ่มแพร่กระจายเข้าสู่สมอง จะเริ่มมีอาการทางสมอง ไม่รู้สึกตัว ซึม คอแข็ง ชักเกร็งมาก จนหลังแอ่น ต่อมาเลือดออกตามร่างกาย ในอวัยวะภายในเช่นในลำไส้ ต่อมหมวกไต และเลือดจับตัวเป็นลิ่มทั่วร่างกาย (Waterhouse-Friderichsen Syndrome) จนมีอาการช็อกและเสียชีวิตในที่สุด โดยระยะเวลาตั้งแต่เชื้อเข้ากระแสเลือดและสมอง จนเสียชีวิตจะใช้เวลาเพียง 48 ชั่วโมงเท่านั้น

การรักษาและการป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น

ด้วยความอันตรายและความรุนแรงของโรคไข้กาฬหลังแอ่น กระทรวงสาธารณสุขจึงให้โรคนี้เป็นโรคที่ต้องแจ้งความ 1 ใน 49 โรค และเมื่อสงสัยว่าผู้ป่วยจะติดเชื้อให้รีบรับไว้ในโรงพยาบาลทันที และแยกห้องจากผู้ป่วยอื่นๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อ

การรักษาแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้ออย่างเร่งด่วนที่สุด ร่วมกับ การรักษาอาการร่วมอื่นๆ เช่น การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ  การให้ยาลดไข้ การให้สารน้ำ ในผู้ป่วยที่อาการรุนแรงจนเกิดภาวะช็อก ต้องให้สารน้ำปริมาณมาก ให้ยากระตุ้นหลอดเลือดและการบีบตัวของหัวใจหากผู้ป่วยมีเลือดออกที่ต่อมหมวกไต ซึ่งจะทราบได้จากการมีภาวะช็อกยาวนาน รวมทั้งตรวจเลือดพบปริมาณฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมหมวกไตลดลง ซึ่งการรักษาก็จะต้องให้ฮอร์โมนดังกล่าว คือฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoid) สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดไม่แข็งตัว เกิดเลือดออก ก็ต้องให้สารที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด

การป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น ที่ดีที่สุด คือ การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการเข้าไปในที่ชุมชนแออัด ล้างมือบ่อยๆ รับประทานอาหารที่สะอาดและสุกใหม่อยู่เสมอ รักษาสุขภาพให้แข็งแรงโดยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ เป็นต้น


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What are serogroups of meningococci that cause meningococcal meningitis?. Medscape. (https://www.medscape.com/answers/1165557-118292/what-are-serogroups-of-meningococci-that-cause-meningococcal-meningitis)
Meningococcemia: Symptoms, causes, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/327356)
Meningococcal disease. WHO Regional Office for the Eastern Mediterranean. (http://www.emro.who.int/health-topics/meningococcal-disease/index.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)