ภาวะปอดบวม (Pneumonia) คือการบวมขึ้น (การอักเสบ) ของเนื้อเยื่อปอดทั้งสองข้างหรือข้างใดข้างหนึ่ง โดยมากมักจะเป็นผลมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
ตอนท้ายของท่อหายใจภายในปอดของคุณจะมีกระจุกถุงอากาศขนาดเล็กมากมาย หากคุณประสบกับภาวะปอดบวม ถุงจิ๋วเหล่านี้จะเกิดการอักเสบและบวมขึ้นเนื่องจากของเหลว
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อาการของโรคปอดบวม
อาการของภาวะปอดบวมสามารถเกิดขึ้นอย่างกะทันหันภายใน 24 หรือ 48 ชั่วโมง หรืออาจจะ เกิดขึ้นมาอย่างช้าภายในระยะเวลาหลายวันก็ได้
อาการทั่วไปของโรคปอดบวมมีดังนี้: ไอ: อาจจะเป็นได้ทั้งไอแห้ง หรือไอแบบมีเสมหะสีเขียว เหลือง น้ำตาล หรือปนเลือดก็ได้ หายใจลำบาก: การหายใจของคุณจะกลายเป็นช่วงสั้นและเร็ว คุณอาจรู้สึกหายใจไม่ออกแม้กำลังพักผ่อนอยู่ก็ตาม หัวใจเต้นเร็ว มีไข้ รู้สึกไม่สู้ดี ไม่อยากอาหาร เหงื่อออกและหนาวสั่น เจ็บหน้าอก: ซึ่งจะรุนแรงขึ้นระหว่างการไอหรือหายใจ
อาการที่พบได้ไม่บ่อยของโรคปอดบวมมีดังนี้: ไอเป็นเลือด (haemoptysis) ปวดศีรษะ เหนื่อยล้า คลื่นไส้หรืออาเจียน หายใจวีด ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ รู้สึกสับสนและงุนงง โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุ
ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?
ควรไปพบแพทย์เมื่อคุณรู้สึกไม่สู้ดีและมีอาการทั่วไปของโรคปอดบวม
ให้รีบไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วนหากคุณประสบกับอาการรุนแรง เช่นหัวใจเต้นเร็ว เจ็บหน้าอก หรือสับสน
ใครสามารถเป็นโรคนี้ได้บ้าง?
โรคปอดบวมเกิดกับผู้ใหญ่ประมาณ 8 คนจาก 1,000 คนในแต่ละปี และจะเกิดขึ้นบ่อยระหว่างช่วงฤดูฝนและหนาว
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
โรคปอดบวมสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่ที่พบได้บ่อยและนับเป็นภาวะอันตรายที่สุดคือกลุ่มคนที่มีอายุน้อยและผู้สูงอายุ
คนในกลุ่มเหล่านี้อาจต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลจากโรคปอดบวมเพราะมักจะประสบกับอาการที่รุนแรงเป็นพิเศษ
อะไรเป็นสาเหตุของโรคปอดบวม?
ภาวะปอดบวมมักเป็นผลมาจากการติดเชื้อ pneumococcal ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus pneumoniae
ในความเป็นจริงแล้วมีแบคทีเรียหลายชนิดที่สามารถทำให้เกิดโรคปอดบวมได้ เช่น Haemophilus influenzae และ Staphylococcus aureus เช่นเดียวกับเชื้อไวรัส และเชื้อรา (พบได้น้อยมาก)
เช่นเดียวกันนั้น โรคปอดบวมจากแบคทีเรียก็มีหลากหลายประเภทดังนี้:
ปอดบวมจากไวรัส: มักเกิดจากไวรัส respiratory syncytial virus (RSV) และไข้หวัดใหญ่ (influenza) ชนิด A หรือ B ส่วนไวรัสเป็นสาเหตุหลักของโรคปอดบวมในเด็กเล็ก
ฉีดวัคซีน IPD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1455 บาท ลดสูงสุด 52%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
โรคปอดบวมจากการสำลัก: เกิดจากการหายใจเอาอาเจียน สิ่งแปลกปลอม หรือสารอันตรายเข้าไป
ปอดบวมจากเชื้อรา: หายากและมักเกิดกับผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
ปอดบวมจากโรงพยาบาล: เป็นภาวะปอดบวมที่เกิดขึ้นระหว่างที่พักรักษาตัวจากภาวะสุขภาพอื่น ๆ หรือต้องเข้ารับการผ่าตัดที่โรงพยาบาล ผู้ที่ต้องได้รับการดูแลอย่างเข้มข้นที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจจะมีความเสี่ยงต่อภาวะปอดบวมสูงเป็นพิเศษ
กลุ่มเสี่ยง
กลุ่มคนต่อไปนี้จะมีความเสี่ยงต่อโรคปอดบวมสูงมาก: ทารกและเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่สูบบุหรี่ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่นหอบหืด โรคซิสติก ไฟรโบรซิส หรือโรคหัวใจ ผู้ที่มีภาวะตับหรือไต ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ เช่นจากไข้หวัด HIV หรือ AIDS กำลังเข้ารับการรักษาเคมีบำบัด หรือกำลังใช้ยาบางประเภทที่ใช้หลังการปลูกถ่ายอวัยวะ
การวินิจฉัยภาวะปอดบวม
แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคปอดบวมได้จากการสอบถามอาการและตรวจสอบภายในอกของคุณ โดยอาจมีการทดสอบอื่น ๆ เพิ่มเติมตามความจำเป็น
ปอดบวมเป็นภาวะที่ทำการวินิจฉัยได้ยากเพราะมีหลาย ๆ ภาวะที่มีอาการคล้ายคลึงกัน เช่นไข้หวัดธรรมดา โรคหลอดลมอักเสบ และหอบหืด
เพื่อประกอบการวินิจฉัย แพทย์อาจจะสอบถามประเด็นต่อไปนี้กับคุณ: ถามว่าคุณมีอาการหายใจติดขัดหรือหายใจถี่กว่าปกติหรือไม่? คุณมีอาการไอมานานแค่ไหน และไอมีเสมหะออกมาหรือไม่ มีเสมหะสีอะไร? อาการเจ็บหน้าอกรุนแรงขึ้นขณะหายใจเข้าออกหรือไม่?
แพทย์จะทำการวัดอุณหภูมิร่างกายของคุณและฟังเสียงภายในอกและแผ่นหลังด้วย stethoscope เพื่อฟังเสียงที่ผิดปรกติต่าง ๆ เนื่องจากปอดที่มีของเหลวมากจะมีเสียงอากาศภายในที่แตกต่างจากปอดที่สุขภาพดี
หากคุณเป็นภาวะปอดบวมที่ไม่รุนแรง คุณก็ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการเอกซเรย์หน้าอกหรือการทดสอบอื่น ๆ
คุณอาจต้องเข้ารับการเอกซเรย์หน้าอกหรือการตรวจประเภทอื่น เช่นการตรวจเสมหะหากว่าอาการของคุณไม่ดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมงหลังเริ่มการรักษาไปแล้ว
การรักษาภาวะปอดบวม
คุณสามารถทำการรักษาโรคปอดบวมที่ไม่รุนแรงได้เองที่บ้าน ด้วยการ: พักผ่อนให้มาก ๆ ทานยาปฏิชีวนะ ดื่มน้ำมาก ๆ
หากคุณไม่มีปัญหาสุขภาพใด ๆ คุณควรจะตอบสนองต่อการดูแลตนเองข้างต้นได้ดีและจะฟื้นตัวจากโรคได้เร็ว แต่ก็อาจจะมีอาการไอค้างอยู่ระยะเวลาหนึ่งอยู่ดี
ภาวะปอดบวมไม่สามารถแพร่ไปยังผู้อื่นได้ ดังนั้นคนใกล้ชิดของคุณก็สามารถเข้าใกล้คุณได้โดยไม่ต้องกังวลใด ๆ
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอควรเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้ป่วยโรคปอดบวมไปจนกว่าผู้ป่วยจะหายดี
สำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ภาวะปอดบวมอาจมีความรุนแรงเป็นพิเศษ และต้องเข้ารับการรักษาภาวะที่โรงพยาบาล เนื่องจากความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงต่าง ๆ ซึ่งในบางกรณีอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสุขภาพและอายุของผู้ป่วยอีกที
แพทย์จะจ่ายยาปฏิชีวนะให้กับผู้ป่วยโรคปอดบวม โดยคุณต้องทานยาปฏิชีวนะที่ได้รับมาตามกำหนดอย่างเคร่งครัดแม้ว่าจะมีอาการดีขึ้นแล้วก็ตาม
หากคุณหยุดยาปฏิชีวนะเองโดยที่ยังไม่ครบคอร์ส จะยิ่งทำให้เชื้อแบคทีเรียดื้อยามากขึ้น
หลังจากเริ่มการรักษาและดำเนินการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง อาการของคุณควรจะดีขึ้นตามลำดับ อย่างไรก็ตามการที่จะหายจากโรคปอดบวมโดยสมบูรณ์นั้นจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของภาวะของคุณ
ลำดับการดีขึ้นจากโรคปอดบวมมีดังนี้: ภายในหนึ่งอาทิตย์: ควรจะหายจากไข้ ภายในสี่อาทิตย์: อาการปวดหน้าอกและเสมหะควรจะลดลงอย่างมาก ภายในหกอาทิตย์: อาการไอและหายใจติดขัดควรจะลดลงอย่างมาก ภายในสามเดือน: อาการส่วนมากควรจะหายไป แต่อาจมีอาการเหนื่อยล้าอยู่บ้าง ภายในหกเดือน: ผู้ป่วยส่วนมากจะกลับไปเป็นปรกติ
การรักษาภาวะปอดบวมที่บ้าน
ควรไปพบแพทย์เมื่ออาการปอดบวมไม่ดีขึ้นภายในสามสัปดาห์หลังเริ่มใช้ยาปฏิชีวนะ โดยอาการจะไม่ดีขึ้นหากว่า:
เชื้อแบคทีเรียเริ่มดื้อยา: แพทย์จะทำการจ่ายยาปฏิชีวนะตัวใหม่แก่คุณ หรืออาจจะให้คุณทานยาปฏิชีวนะตัวที่สองร่วมกับตัวแรก
เป็นภาวะปอดบวมจากเชื้อไวรัสแทนที่จะเป็นแบคทีเรีย: ยาปฏิชีวนะจะไม่ออกฤทธิ์กับเชื้อไวรัส ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของคุณต้องสร้างแอนติบอดีเข้ามาจัดการกับไวรัสเอง
การทานยาแก้ปวดอย่างพาราเซตตามอลหรืออิบูโพรเฟนสามารถใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดและลดไข้จากภาวะปอดบวมได้ แต่คุณไม่ควรใช้ยาอิบูโพรเฟนหากว่า:
คุณแพ้ยาแอสไพรินหรือยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) คุณเป็นโรคหอบหืด โรคไต เคยมีมีแผลในกระเพาะอาหาร หรือเคยเป็นภาวะอาหารไม่ย่อย
แพทย์มักไม่แนะนำให้คุณทานยาแก้ไอเพราะมีหลักฐานเรื่องประสิทธิผลของยาจำพวกนี้น้อยมาก คุณสามารถใช้วิธีจิบน้ำผึ้งผสมมะนาวบรรเทาอาการเจ็บคอจากการไอได้
คุณอาจจะมีอาการไอต่อเนื่องหลังการใช้ยาปฏิชีวนะครบคอร์สแล้วสองถึงสามสัปดาห์ อีกทั้งยังอาจมีอาการเหน็ดเหนื่อยค้างอยู่นานกว่านั้นก็ได้
การดื่มน้ำมาก ๆ จะช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำ และการพักผ่อนมาก ๆ จะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
หากคุณเป็นคนสูบบุหรี่ สิ่งที่ควรทำคือการเลิกบุหรี่เสียเพราะจะยิ่งสร้างความเสียหายแก่ปอดมากขึ้น
คุณควรไปพบแพทย์หากว่าปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นและยังคงมีอาการเหมือนเดิมหรือกลับยิ่งทรุดลงตามที่ควรจะเป็น
การติดตามผลการรักษา
แพทย์อาจจัดให้คุณมาพบอีกครั้งหลังเริ่มใช้ยาปฏิชีวนะหกสัปดาห์
ในบางกรณีพวกเขาอาจต้องจัดการทดสอบติดตามผลต่าง ๆ เช่นการเอกซเรย์หน้าอก หากว่า: อาการของคุณไม่ดีขึ้น อาการต่าง ๆ กลับมาซ้ำ คุณเป็นคนสูบบุหรี่ คุณมีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
ผู้ป่วยบางรายอาจถูกแนะนำให้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่หรือป้องกันโรคปอดบวมหลังจากที่หายจากภาวะปอดบวมที่เป็นอยู่ก็ได้
การรักษาภาวะปอดบวมที่โรงพยาบาล
คุณอาจต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหากว่าอาการปอดบวมมีความรุนแรง โดยคุณจะได้รับยาปฏิชีวนะเข้าเส้นเลือดผ่านตัวหยดยาโดยตรง และอาจต้องมีการสวมหน้ากากออกซิเจนเพื่อช่วยการหายใจด้วย
ในกรณีผู้ที่ป่วยเป็นโรคปอดบวมรุนแรงอย่างมาก จะมีการใช้เครื่องช่วยหายใจในแผนกผู้ป่วยฉุกเฉิน (ICU) ในการรักษา
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคปอดบวม
ภาวะแทรกซ้อนจากปอดบวมนั้นพบได้บ่อยกับเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอยู่ก่อน เช่นเบาหวาน เป็นต้น โดยมีตัวอย่างภาวะแทรกซ้อนดังนี้:
ภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบ (pleurisy): ที่ซึ่งชั้นบาง ๆ ระหว่างปอดกับกระดูกซี่โครงเกิดการอักเสบจนอาจนำไปสู่ภาวะระบบหายใจล้มเหลว
ฝีที่ปอด: ภาวะแทรกซ้อนหายากที่พบได้บ่อยกับผู้ที่ป่วยเป็นโรคร้ายแรงอยู่ก่อน หรือมีประวัติการติดแอลกอฮอล์มาก่อน
ภาวะโลหิตเป็นพิษ (blood poisoning): เป็นภาวะแทรกซ้อนที่หายากเช่นกัน แต่หากเกิดขึ้นจะนับเป็นภาวะร้ายแรงมาก
หากคุณเริ่มมีอาการจากภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ คุณจะต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลทันที
การป้องกันโรคปอดบวม
แม้ว่าภาวะปอดบวมส่วนมากจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ไม่แพร่เชื้อไปยังผู้อื่น แต่ผู้ป่วยก็ควรรักษามาตรฐานสุขอนามัยให้ดีอยู่เสมอเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
ยกตัวอย่างเช่น: ปิดปากและจมูกขณะไอหรือจามด้วยผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษชำระ ทิ้งกระดาษชำระที่ใช้แล้วทันทีเพราะเชื้อโรคสามารถมีชีวิตรอดนอกร่างกายได้นานหลายชั่วโมง ล้างมือบ่อยๆ เพื่อป้องกันการส่งต่อเชื้อโรคไปยังสิ่งของหรือผู้อื่น
การใช้ชีวิตอย่างถูกสุขอนามัยจะช่วยป้องกันการเป็นโรคปอดบวมได้ ยกตัวอย่างเช่นการเลี่ยงบุหรี่ที่สามารถทำลายปอดและเพิ่มโอกาสการติดเชื้อ เป็นต้น
การปริโภคแอลกอฮอล์ต่อเนื่องจะทำให้เกราะป้องกันตามธรรมชาติของปอดอ่อนแอลง แปลว่าจะยิ่งทำให้คุณอ่อนไหวต่อการเป็นโรคปอดบวมขึ้นตาม
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคปอดบวมสูงควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคปอดบวมและไข้หวัดทุกปี
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ