เชื้อแบคทีเรียเสตร็ปโทคอกคัส นิวโมเนีย หรือ นิวโมคอกคัส (pneumococcus) เป็นสาเหตุหลักของโรคติดเชื้อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เชื้อชนิดนี้มักแพร่กระจายทางอากาศในรูปของละอองน้ำจากการไอและการจาม มีเชื้อ S. pneumoniae กว่า 90 สายพันธุ์ที่เป็นที่รู้จัก และส่วนใหญ่สามารถก่อโรคได้ แต่มีเพียงบางสายพันธุ์เท่านั้นที่มักจะก่อให้เกิดโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส
โรคติดเชื้อนิวโมคอกคัส มีหลายประเภท ได้แก่
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- Otitis media หรือการติดเชื้อในหูชั้นกลาง
- Sinusitis หรือการติดเชื้อในไซนัส
- Pneumonia หรือการติดเชื้อในปอด
- Meningitis หรือการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง
- Bacteremia และ Sepsis หรือการติดเชื้อในกระแสเลือด
อาการของโรคนิวโมคอกคัส
อาการทางไซนัส ทำให้เกิดอาการคล้ายโรคหวัด ได้แก่
อาการติดเชื้อในหูชั้นกลาง
- ปวดหู
- เยื่อแก้วหูบวม
- มีไข้
- ง่วงนอน
อาการติดเชื้อในปอด
- ไข้หนาวสั่น
- ไอ
- หายใจเร็ว หรือหายใจลำบาก
- เจ็บหน้าอก
- หัวใจเต้นผิดปกติ
- รู้สึกไม่สบาย คลื่นไส้ และอ่อนแรง
อาการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง
- คอแข็ง
- มีไข้
- ปวดหัว
- ไวต่อแสงจ้า
- มีอาการมึนงงในผู้ใหญ่
ในเด็กทารก โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบมักทำให้เด็กรับนมได้ไม่ดี มีความตื่นตัวต่ำ และอาเจียน
อาการติดเชื้อในกระแสเลือด
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- ไข้หนาวสั่น
- ความตื่นตัวต่ำ
ใครเสี่ยงต่อการติดเชื้อนิวโมคอกคัส?
- อายุน้อยกว่า 2 ปี
- มีปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว โรคติดเชื้อเอชไอวี โรคเบาหวาน เนโฟรติกซินโดรม โรคหัวใจเรื้อรัง โรคปอด โรคตับ โรคไต และโรคที่ทำให้ภูมิต้านทานต่ำทั้งหลาย
- มีการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม หรือมีภาวะน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังรั่ว
ผู้ใหญ่
- มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
- มีอายุระหว่าง 19-64 ปี แต่มีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้
- เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เบาหวาน หรือติดสุรา
- เป็นโรคที่ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น โรคติดเชื้อเอชไอวี มะเร็ง หรือม้ามเสียหาย
- มีการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม หรือมีภาวะน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังรั่ว
- มีพฤติกรรมสูบบุหรี่
ภาวะแทรกซ้อนของโรคนิวโมคอกคัส
โรคติดเชื้อในปอด โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และโรคติดเชื้อในกระแสเลือด ถือเป็นโรคนิวโมคอกคัสที่มีการติดเชื้อแบบรุนแรง และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงชีวิต โดยประมาณ 10% ของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เสียชีวิตจากการติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัส ส่วนผู้ที่รอดชีวิตจะสูญเสียการได้ยินหรือมีพัฒนาการช้า นอกจากนี้การติดเชื้อในกระแสเลือดก็สามารถทำให้เสียชีวิตได้ประมาณ 4 ราย ในเด็ก 100 รายที่ติดเชื้อ
ส่วนภาวะแทรกซ้อนของโรคติดเชื้อในปอดจากเชื้อนิวโมคอกคัส ได้แก่
- ภาวะหนองในโพรงเยื่อหุ้มปอด (Empyema)
- ภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Pericarditis)
- ภาวะหลอดลมส่วนบรองคัสมีการอุดตัน (Endobronchial obstruction) ซึ่งอาจทำให้ปอดแฟบและมีฝีในปอด
โรคนิวโมคอกคัสสามารถทำให้ผู้ใหญ่ได้เช่นกัน โดยเฉพาะในผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป และพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุดในกลุ่มผู้ป่วยอายุ 65 ปีขึ้นไป
การรักษาและป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอกคัส
การติดเชื้อนิวโมคอกคัสรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ แต่เชื้อ S. pneumoniae เป็นเชื้อในกลุ่ม “superbug” ที่เป็นที่น่ากังวลเป็นอย่างมาก เพราะบางสายพันธุ์เริ่มดื้อต่อยาปฏิชีวนะกลุ่มเพนิซิลลิน (Penicillin) และยากลุ่มมาโครไลด์ (Macrolide) ได้แก่ อะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin) และอะซิโธรมัยซิน (Azithromycin) เช่นเดียวกับยาตัวอื่นๆ ที่เป็นที่นิยมน้อยกว่า
ส่วนการป้องกันสามารถทำได้ด้วยการฉีดวัคซีนปอดอักเสบ PCV13 ซึ่งป้องกันเชื้อได้ถึง 13 สายพันธ์ุ แนะนำให้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 1 เข็ม ในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป และวัคซีนปอดอักเสบ PPSV23 ที่ป้องกันเชื้อได้ 23 สายพันธุ์ แนะนำให้ฉีด 1 ครั้ง ในช่วงวัยอายุ 65 ปีขึ้นไป
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ