กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ละเมอ (Sleep Walking)

เผยแพร่ครั้งแรก 14 ก.พ. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

การเดินละเมอในขณะที่กำลังนอนหลับอยู่นั้น เป็นภาวะผิดปกติของการนอนชนิดหนึ่ง โดยการนอนจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ระยะที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน คือ 

  1. การนอนหลับในช่วงกลอกตาอย่างเร็ว (Rapid Eye Movement: REM) 
  2. การนอนหลับธรรมดา (non-Rapid Eye Movement: NREM) 

ในแต่ละคืน ทุกคนจะมีวงจรการหลับทั้งแบบ REM และ NREM มากมาย ซึ่งการเดินละเมอในขณะนอนหลับมักจะเกิดขึ้นในภาวการณ์หลับลึกของการนอนหลับ NREM ที่เรียกว่า N3 หรือการนอนหลับช่วงคลื่นช้า 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การเดินละเมอขณะนอนหลับ มีอาการอย่างไร?

การเดินละเมอในขณะนอนหลับมักจะเกิดขึ้นหลังจากที่บุคคลนั้นๆ กำลังนอนหลับอยู่ หรือหลังจากนอนหลับสนิทไปแล้วภายใน 1-2 ชั่วโมง แม้จะเรียกกันว่าการเดินละเมอในขณะนอนหลับ แต่ก็อาจพบพฤติกรรมละเมอที่แตกต่างกันได้ ซึ่งก็มีทั้งพฤติกรรมปกติ เช่น การแสดงกิริยาท่าทางหรือพูดคุย และพฤติกรรมซ้ำซ้อนดังนี้

  • การแต่งตัว
  • การทำอาหารหรือเตรียมของว่าง
  • การขับขี่ยานพาหนะ
  • การเล่นเครื่องดนตรี
  • การมีเพศสัมพันธ์
  • การทำกิจกรรมแปลกๆ เช่น ปัสสาวะในตู้เสื้อผ้า (มักเกิดขึ้นในเด็ก)
  • การทำกิจกรรมที่เสี่ยงอันตราย เช่น กระโดดออกทางหน้าต่าง

บางครั้งอาจพบว่าผู้ที่มีการละเมอในขณะนอนหลับ มีอาการแสดงอื่นๆ ร่วมในระหว่างนั้นหรือหลังจากนั้น เช่น

  • นั่งบนเตียงและลืมตา
  • มีอาการสับสนหรืองุนงงหลังจากตื่นนอน
  • มีภาวะสูญเสียความทรงจำบางส่วนหรือทั้งหมดของการเดินละเมอในขณะหลับ
  • มีพฤติกรรมก้าวร้าวหลังจากที่โดนปลุกให้ตื่น

สาเหตุของการเดินละเมอขณะนอนหลับ

ยังไม่สามารถหาเหตุผลที่ชัดเจนได้ว่าอะไรเป็นสาเหตุของการเดินละเมอขณะนอนหลับ แต่มีการคาดการณ์ว่าการเดินละเมอเป็นความผิดปกติของการตื่นเร้า ในขณะที่มีบางส่วนของสมองไม่มีการตอบสนองต่อปฎิกิริยาอย่างเต็มที่หลังจากเข้าสู่การนอน จึงทำให้บุคคลเหล่านั้นติดอยู่ในรอยต่อระหว่างการหลับอย่างเต็มที่และการตื่นอย่างเต็มที่ 

ยังมีหลายปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุของการเดินละเมอขณะนอนหลับ ได้แก่

  • ยากระตุ้นประสาทและยากดประสาทหลายชนิด เช่น Lithium Ambien (Zolpidem tartrate) และ Wellbutrin 
  • การอดนอนติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • การดื่มแอลกอฮอล์
  • โรคทางเดินหายใจผิดปกติ เช่น โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น
  • มีการรบกวนทางจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล หรือ อาการซึมเศร้า
  • การกระทบกระเทือนจิตใจในวัยเด็ก
  • ปวดศีรษะ ไมเกรน
  • ความผิดปกติด้านการนอนอื่นๆ เช่น โรคลมหลับ และกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข
  • ภาวะทางการแพทย์อื่นๆ เช่น ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน การบาดเจ็บที่ศีรษะ โรดกรดไหลย้อน และโรคเส้นเลือดในสมองแตก

การวินิจฉัยการเดินละเมอขณะนอนหลับ

แพทย์อาจตรวจร่างกายหรือทำการทดสอบทางจิตวิทยาเพื่อตัดต้นความเป็นไปได้อื่นๆ ที่ทำให้เกิดพฤติกรรมนี้ แต่บางสภาวะ เช่น พฤติกรรมการนอนผิดปกติแบบ REM และ โรคลมชักชนิด Nocturnal frontal lobe สามารถทำให้เกิดพฤติกรรมการนอนที่ซับซ้อนที่คล้ายกับการเดินละเมอขณะนอนหลับได้ 

ซึ่งในบางกรณี แพทย์อาจให้ผู้ป่วยนอนในห้องวิจัยหนึ่งคืนเพื่อให้นักเทคนิคจะใช้เครื่องมือตรวจวัดจิตในขณะที่หลับซึ่งเพื่อให้ได้ผลวินิจฉัยที่แน่นอน

การรักษาอาการเดินละเมอขณะนอนหลับ

โดยทั่วไปแล้ว การรักษาอาการเดินละเมอขณะนอนหลับไม่ได้จำเป็นสำหรับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว แต่หากอาการเหล่าเป็นอาการที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรืออาจเป็นอันตรายต่อผู้ที่เป็น ก็อาจต้องทำการรักษาด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  • รักษาจากต้นเหตุที่ทำให้เกิดการเดินละเมอขณะนอนหลับ เช่น การอดนอน หรือสภาวะทางการแพทย์บางอย่าง
  • ใช้ยาที่ทำให้สงบในกลุ่ม Benzodiazepine เช่น Valium (Diazepam) Klonopin (Clonazepam) หรือ Tofranil (Imipramine)

21 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sleepwalking (Somnambulism) Causes & More. Cleveland Clinic. (https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/14292-sleepwalking)
Sleepwalking (for Parents). KidsHealth. (https://kidshealth.org/en/parents/sleepwalking.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)