กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Diazepam (ไดอะซีแพม)

เผยแพร่ครั้งแรก 1 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

ตัวอย่างยี่ห้อที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

Diapine, Diazepam General Drug House, Sipam, A-Zerax, Calmipam, Diadon, Diamed,    Diano, Diapam, Diapine Atlantic, Diaz, Diazepam Acdhon, Diazepam BJ Benjaosoth, Diazepam GPO, Diazepam H K Pharm, Diazepam Lerd Singh, Diazepam Pond’s Chemical, Diazepam Samakeephaesaj, Diazepam Sommai Bhaesaj, Diazepam T P Drug, Diazepam Vesco, Diazepion, Dilium, Dimed, Dipam, Ditran, Divopan, Dizep, Dizzepam, DZP2, Manodiazo, Manolium, Med-Zepam, Monozide, Monozide-10, Pam, Popam, Ropam, S.Co Zepam, Tranolan, V Day Zepam, Valax, Valax 5 mg, Valenium, Vescopam, Vomed 2 mg, Vomed 5 mg, Vorapam, Winopam, Zam, Zepam, Zepaxid, Zopam   

รูปแบบและส่วนประกอบของยา

ไดอะซีแพม (diazepam) เป็นยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทใช้เป็นยาคลายกังวล (anxiolytic) ยาต้านชัก (anticonvulsant)  และยาสลบ ยานอนหลับ (sedative / hypnotics) ยาสำหรับรับประทานยาเม็ดมี 3 ขนาด ประกอบด้วยไดอะซีแพม ขนาด 2, 5 และขนาด 10มิลลิกรัมยาแคปซูลมี 2 ขนาด ประกอบด้วยไดอะซีแพม ขนาด 2 มิลลิกรัมและขนาด 5 มิลลิกรัมและยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ประกอบด้วยไดอะซีแพม ความเข้มข้น 10 มิลลิกรัมต่อตัวยา 2 มิลลิลิตร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กลไกการออกฤทธิ์

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ ไดอะซีแพมเป็นยากลุ่มเบนโซไดอะซีพีน (benzodiazepine) ที่ออกฤทธิ์นาน มีคุณสมบัติต้านการชัก คลายกังวล ทำให้ง่วง คลายกล้ามเนื้อ และทำให้หลับ ไดอะซีแพมมีกลไกเพิ่มความสามารถของเยื่อหุ้มเซลล์ในการเลือกผ่านของคลอไรด์ไอออน โดยตัวยาจะเข้าจับกับตัวรับเบนโซไดอะเซพีน ของเซลล์ประสาท postsynaptic GABA ในระบบประสาทส่วนกลาง และเพิ่มการยับยั้งฤทธิ์ของ GABA ที่เป็นผลให้เกิด hyperpolarization

ข้อบ่งใช้

ยาไดอะซีแพม ชนิดยาเม็ด สำหรับรับประทาน มีข้อบ่งใช้ คือ ภาวะวิตกกังวลระดับรุนแรง ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 2 มิลลิกรัม วันละ 3 ขนาดยาสูงสุดต่อวัน 30 มิลลิกรัม ขนาดยาในผู้สูงอายุไม่ควรเกินครึ่งหนึ่งของขนาดยาที่ใช้ในผู้ใหญ่

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 2-15 มิลลิกรัมต่อวัน แบ่งรับประทาน อาจเพิ่มขนาดยาสูงสุด 60 มิลลิกรัมต่อวันในผู้ป่วยที่มีภาวะหดเกร็งระดับรุนแรง ได้แก่ ในผู้ป่วยสมองพิการ ขนาดยาในผู้สูงอายุไม่ควรเกินครึ่งหนึ่งของขนาดยาที่ใช้ในผู้ใหญ่

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาอาการชัก ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 2-60 มิลลิกรัมต่อวัน แบ่งรับประทาน ขนาดยาในผู้สูงอายุไม่ควรเกินครึ่งหนึ่งของขนาดยาที่ใช้ในผู้ใหญ่

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษากลุ่มอาการถอนแอลกอฮอล์ (alcohol withdrawal syndrome) ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 5-20 มิลลิกรัมต่อวัน ใช้ยาซ้ำในอีก 2-4 ชั่วโมงหากจำเป็น หรือใช้ยา 10 มิลลิกรัม 3-4 ครั้งต่อวันในวันแรก จากนั้นลดขนาดเป็น 5 มิลลิกรัม 3-4 ครั้งต่อวัน ขนาดยาในผู้สูงอายุไม่ควรเกินครึ่งหนึ่งของขนาดยาที่ใช้ในผู้ใหญ่

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาอาการนอนไม่หลับเนื่องจากวิตกกังวล ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 5-15 มิลลิกรัมก่อนนอน ขนาดยาในผู้สูงอายุไม่ควรเกินครึ่งหนึ่งของขนาดยาที่ใช้ในผู้ใหญ่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ข้อบ่งใช้สำหรับสลบในการผ่าตัดขนาดเล็ก ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 5-20 มิลลิกรัมต่อวัน ขนาดยาในผู้สูงอายุไม่ควรเกินครึ่งหนึ่งของขนาดยาที่ใช้ในผู้ใหญ่

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา

หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไปและไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

ข้อควรระวังของการใช้ยา

  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยต้อหินมุมปิด ผู้ป่วยที่มีการกดของระบบประสาทส่วนกลาง ผู้ป่วยโคมา ผู้ป่วย myasthenia gravis
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยโรคตับระดับรุนแรง
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยต้อหินมุมเปิด ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้ป่วยบุคลิกภาพบกพร่อง ผู้ป่วยจิตเภท ผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า หรือมีความวิตกกังวล โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีความคิดฆ่าตัวตายหรือมีพฤติกรรมก้าวร้าว
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีประวัติใช่สารเสพติด หรือมีอาการเสพติดแอลกอฮอล์
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคตับ หรือโรคไต
  • ระวังการใช้ยาในผู้สูงอายุ
  • ระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

อาจก่อให้เกิดการสลบ ง่วงซึม กล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการล้า สับสน ซึมเศร้า ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ รบกวนการมองเห็น อาการสั่น กดการหายใจ ความดันโลหิตต่ำ ปัสสาวะคั่ง คลื่นไส้ อาเจียนการใช้ยาเกินขนาด อาจส่งผลให้เกิดการง่วงซึมในเวลากลางวัน สับสน ความดันโลหิตต่ำ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึมเศร้ารุนแรง

ข้อมูลการใช้ยาในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category D คือไม่แนะในการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ เว้นแต่ในกรณีช่วยชีวิตหรือรักษาอาการรุนแรงที่ยาที่ปลอดภัยกว่ารักษาไม่ได้ผล

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

 ยาจัดอยู่ในกลุ่มวัตถุออกฤทธิ์ประเภทที่ 4 ห้ามมิให้มีการขายเว้นแต่ได้รับอนุญาต ยกเว้นกับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง สาขาทันตกรรมขายให้แก่เฉพาะคนไข้ของตน

ข้อมูลการเก็บรักษา

ควรเก็บรักษายาที่อุณหภูมิ 15 ถึง 30 องศาเซลเซียสเก็บให้พ้นจากแสงแดด


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
chemm.nlm.nih, Diazepam - Medical Countermeasures Databas (https://chemm.nlm.nih.gov/countermeasure_diazepam.htm)
Editorial Staff, The Effects of Mixing Diazepam and Alcohol (https://www.alcohol.org/mixing-with/diazepam/), 23 January 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)