กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia Gravis)

เผยแพร่ครั้งแรก 24 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia Gravis) หรือเรียกชื่อโรคนี้ได้สั้นๆว่า "โรค MG" เป็นโรคแพ้ภูมิตนเองเรื้อรังชนิดหนึ่งซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดจากความผิดปกติในการสื่อสารระหว่างเส้นประสาท และกล้ามเนื้อ ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น ภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ เกิดจากต่อมไทมัส หรือถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรม (พบได้น้อย)
  • การรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง มีทั้งในรูปแบบการใช้ยา การฟอกพลาสมา ไปจนถึงการผ่าตัดต่อมไทมัสออก ขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์ผู้ทำการรักษา
  • ปัจจัยที่ทำให้อาการแย่ลง ได้แก่ ความเหนื่อย อาการเจ็บปวด ความเครียด ความร้อน และการใช้ยาบางชนิด ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกชนิด
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia Gravis) หรือเรียกชื่อโรคนี้ได้สั้นๆว่า "โรค MG"  เป็นโรคแพ้ภูมิตนเองเรื้อรังชนิดหนึ่งซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง 

คำว่า Myasthenia Gravis มาจากภาษาละตินและกรีก ซึ่งหมายถึงกล้ามเนื้ออ่อนแรงอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคนี้ในปัจจุบันสามารถทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตได้ยืนยาวเท่าคนปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ความชุกของโรค

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงสามารถเกิดได้กับทุกเชื้อชาติ ทุกเพศและทุกวัย แต่มักพบในผู้หญิงอายุน้อยกว่า 40 ปีและผู้ชายอายุมากกว่า 60 ปี ถึงแม้ว่าโรคนี้จะไม่ใช่โรคติดต่อ หรือไม่ได้ถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่อาจพบโรคนี้ในครอบครัวเดียวกันมากกว่า 1 คนได้

สาเหตุของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดจากความผิดปกติในการสื่อสารระหว่างเส้นประสาท และกล้ามเนื้อ ซึ่งเกิดได้จากปัจจัยต่อไปนี้

1. ภูมิคุ้มกัน 

เพราะเส้นประสาทจะสื่อสารกับกล้ามเนื้อ โดยการใช้สารเคมีซึ่งจะถูกจับที่กล้ามเนื้อในตำแหน่งที่เรียกว่า "Neuromuscular junction" 

หากคุณเป็นโรคนี้ ร่างกายจะทำการผลิตภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะไปขัดขวางการจับหรือทำลายตัวรับสาร (Receptor) ที่เรียกว่า "อะซิทิลโคลีน" (Acetylcholine) ที่กล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อได้รับสัญญาณจากเส้นประสาทลดลง และกลายเป็นอ่อนแรงในเวลาต่อมา 

นอกจากนี้ ภูมิคุ้มกันเหล่านี้ยังอาจยับยั้งการทำงานของโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบของ Neuromuscular junction ซึ่งทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงตามมาได้ด้วย

2. ต่อมไทมัส 

ต่อมไทมัส เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน ตั้งอยู่บริเวณหน้าอกส่วนบน ซึ่งอาจเป็นตัวกระตุ้น หรือควบคุมการสร้างภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะ T lymphocyte 
ซึ่งต่อมนี้จะมีขนาดใหญ่ตอนเด็ก และจะเล็กลงเรื่อยๆ เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

จากการศึกษาพบว่าผู้ที่เป็นโรค MG มักมีต่อมไทมัสขนาดใหญ่กว่าปกติ จึงเชื่อว่าความผิดปกติของการควบคุมการสร้างภูมิคุ้มกันของต่อมไทมัส อาจมีส่วนทำให้เกิดการทำลายตัวรับอะซิทิลโคลีน (Acetylcholine receptor) เนื่องจากในต่อมไทมัสมีเซลล์ที่มีการแสดงออกของ Acetylcholine receptor 

นอกจากนั้น อาจมีเนื้องอก (ที่มักไม่ใช่มะเร็ง) เกิดขึ้นภายในต่อมไทมัสของผู้ป่วยโรคนี้

3. พันธุกรรม

ตัวอย่างเช่น ทารกที่มีแม่เป็นโรคนี้ก็อาจเกิดมาเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน แต่จะพบได้น้อย

อย่างไรก็ตาม หากได้รับการรักษาในทันที ทารกเหล่านี้มักจะสามารถกลับมาเป็นปกติได้ภายใน 2 เดือนหลังคลอด หรือเด็กบางคนอาจเกิดมาพร้อมกับภาวะ Congenital myasthenic syndrome ซึ่งเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก

4. สาเหตุอื่นๆ  

หากโรคนี้ไม่ได้เกิดจากการสร้างภูมิคุ้มกันมายับยั้งสาร Acetylcholine หรือตัวรับที่กล้ามเนื้อ จะเรียกว่า "Antibody-negative myasthenia gravis" โดยอาจเกิดจากภูมิคุ้มกันทำงานต่อต้านกับโปรตีนอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Lipoprotein-related protein 4 ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคได้

ปัจจัยที่ทำให้อาการของโรคแย่ลง

ปัจจัยต่อไปนี้จะทำให้โรคแย่ลง มีดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ความเหนื่อย
  • อาการเจ็บป่วย
  • ความเครียด
  • ความร้อน
  • ยาบางกลุ่ม เช่น 
    • Beta blockers (เบต้า บล็อกเกอร์)
    • Quinidine gluconate (ควินิดิน กลูโคเนต)
    • Quinidine sulfate (ควินิดิน ซัลเฟต)
    • Quinine (ควินิน)
    • Phenytoin (เฟนิโทอิน)
    • ยาดมสลบบางชนิด 
    • ยาปฏิชีวนะบางชนิด

การรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิด Myasthenia Gravis

มีผู้ป่วยประมาณ 50% ที่โรคสงบหลังจากการตัดต่อมไทมัส

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิด Myasthenia Gravis สามารถควบคุมได้ด้วยการรักษาและการบำบัดซึ่งจะช่วยให้ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงดีขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาทจะเป็นคนกำหนดว่าการรักษาในรูปแบบใดเหมาะกันคุณมากที่สุด โดยคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้

  • อายุ
  • ความรุนแรงของโรค
  • ตำแหน่งของกล้ามเนื้อที่เป็น
  • โรคร่วมอื่นๆ

การใช้ยา

แพทย์อาจสั่งจ่ายยา Anticholinesterase agents เช่น Neostigmine และ Pyridostigmine เพื่อช่วยรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิด Myasthenia Gravis

โดยยาในกลุ่มนี้จะช่วยลดการทำลายสารอะซิทิลโคลีน ส่งผลให้เกิดการเพิ่มการสื่อสารระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ และเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากยากลุ่มนี้ เช่น

  • ปัญหาทางระบบทางเดินอาหาร
  • คลื่นไส้
  • มีน้ำลายและเหงื่อออกมาก

นอกจากนี้ แพทย์อาจใช้ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressive drugsเช่น Prednisolone, Azathioprine, Cyclosporine, Mycophenolate mofetil และ Tacrolimus จะไปยับยั้งการสร้างภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น

อย่างไรก็ตามยาในกลุ่มนี้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ ดังนั้นแพทย์จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ผลข้างเคียงดังกล่าวประกอบด้วย

  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ปัญหาทางระบบทางเดินอาหาร
  • เพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อ
  • อันตรายต่อตับ
  • อันตรายต่อไต

การยับยั้งการทำลายตัวรับอะซิทิลโคลีน (Acetylcholine receptor) 

แพทย์จะยับยั้งการทำลายตัวรับอะซิทิลโคลีน (Acetylcholine receptor) ด้วยวิธีต่อไปนี้

  • การฟอกพลาสมา (Plasmapheresis) คือ หัตถการที่นำส่วนประกอบของเลือดซึ่งมีภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติออกจากเลือดก่อนที่จะนำกลับเข้าสู่ร่างกาย
  • การให้อิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin) ทางเส้นเลือดดำปริมาณสูง จะช่วยปรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผ่านการให้ภูมิคุ้มกันเข้าสู่กระแสเลือด

การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด

มีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 15% ที่มีเนื้องอกภายในต่อมไทมัส (Thymectomy) การผ่าตัดต่อมนี้ออกจะช่วยลดอาการในผู้ป่วยบางคน และอาจหายขาดได้ในบางคนเพราะมีการปรับสมดุลของภูมิคุ้มกันในร่างกายใหม่ 

ถึงแม้ว่าจะไม่มีเนื้องอกที่ต่อมไทมัส แต่พบว่าการตัดต่อมออกอาจช่วยให้อาการของโรคดีขึ้น และอาจหยุดยาได้ 

อย่างไรก็ตามอาจต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะเห็นผลของการผ่าตัด และในบางคนอาจพบว่าไม่มีอาการดีขึ้นเลยได้ 

การผ่าตัดต่อมไทมัส สามารถทำได้โดยวิธีการ ดังนี้

  • ผ่าตัดเปิด (Open surgery) แพทย์จะทำการตัดกระดูกหน้าอกเพื่อเปิดเข้าสู่ช่องอกก่อนจะตัดต่อมไทมัสออก
  • การผ่าตัดแบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery) การผ่าตัดแบบนี้อาจได้ผลดีกว่าเนื่องจาก
    • เสียเลือดน้อย
    • ปวดน้อยกว่า
    • ลดอัตราการตาย
    • ลดระยะเวลาที่ต้องนอนโรงพยาบาลเมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบเปิด

การผ่าตัดแบบแผลเล็กนี้สามารถทำได้หลายวิธี เช่น

  • การผ่าตัดส่องกล้อง (Video-assisted thymectomy) แพทย์จะทำการลงแผลเล็กๆ บริเวณลำคอ และใส่กล้องและเครื่องมือลงไปเพื่อทำการตัดต่อมไทมัส หรืออาจเปิดแผลเล็กๆ ที่บริเวณด้านข้างของหน้าอก ก่อนจะใส่เครื่องมือและกล้องลงไปทางแผลดังกล่าวเพื่อทำการตัดต่อมไทมัสออก
  • การผ่าตัดต่อมไทมัสโดยใช้หุ่นยนต์ช่วย (Robot-assisted thymectomy) การผ่าตัดแบบนี้จะมีการลงแผลหลายตำแหน่งบริเวณด้านข้างของหน้าอก ก่อนจะใช้ระบบหุ่นยนต์ซึ่งประกอบด้วยแขนกล้องและแขนกลในการตัดเอาต่อมไทมัสออกมา

การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต

การปรับวิธีการใช้ชีวิตต่อไปนี้อาจช่วยควบคุมอาการของโรคได้

วิธีการรับประทานอาหาร

  • รับประทานอาหารมื้อเล็กๆ ตลอดทั้งวัน
  • รับประทานเมื่อกล้ามเนื้อมีแรง
  • ค่อยๆ เคี้ยวอาหาร
  • หยุดระหว่างการกัดแต่ละคำ
  • กินอาหารอ่อน
  • หลีกเลี่ยงอาหารทีต้องเคี้ยวหาก เช่นผลไม้หรือผักสด

ระวังความปลอดภัย

  • ติดตั้งราวจับในบ้านหากต้องการ
  • ทำให้พื้นสะอาดและไม่มีพรมเผยอขึ้นมา
  • กวาดใบไม้ หิมะ และขยะอื่นๆ ออกจากทางเท้าหรือทางขับรถ

การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องมือต่างๆ

  • การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เช่นแปรงสีฟันไฟฟ้า ที่เปิดกระป๋องอัตโนมัติจะช่วยให้คุณไม่ต้องออกแรงมากเกินไป

ใช้ที่ปิดตา

  • หากคุณมีการเห็นภาพซ้อน คุณอาจใช้วิธีการปิดตาข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อช่วยในการเขียน การอ่าน หรือการดูโทรทัศน์

วางแผนล่วงหน้า

  • เตรียมการวางแผนการทำงานบ้านต่างๆ ให้อยู่ในช่วงที่คุณมีพลังงานมากที่สุด และพักผ่อนเมื่อต้องการ

การพยากรณ์โรคของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิด Myasthenia Gravis

การรักษาโรคนี้ในผู้ป่วยส่วนมากจะช่วยลดอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้ ผู้ป่วยบางคนอาจมีช่วงสงบของโรคและอาจไม่ต้องใช้ยาในช่วงนั้น ซึ่งถือเป็นเป้าหมายของการตัดต่อมไทมัส 

อ้างอิงจากสถาบันความผิดปกติทางระบบประสาทและเส้นเลือดสมอง (National Institute of neurological Disorders and Stroke) พบว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดประมาณ 50% จะทำให้โรคสงบและอาจสงบได้ถาวร

ภาวะแทรกซ้อนของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

แม้ว่าภาวะแทรกซ้อนของโรคนี้ส่วนมากจะสามารถรักษาได้ แต่มีบางภาวะที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ประกอบด้วย

  • Myasthenic crisis เป็นภาวะที่อันตรายถึงชีวิต เนื่องจากกระทบต่อการหายใจ และจำเป็นต้องได้รับการรักษาทันทีเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถหายใจเองได้
  • เนื้องอกที่ต่อมไทมัส ซึ่งมักไม่ใช่มะเร็ง แต่สามารถพบได้ประมาณ 15% ของผู้ป่วยโรคนี้
  • การทำงานของต่อมไทรอยด์ที่มากเกินไป หรือน้อยเกินไป 
  • โรคที่เกี่ยวข้องกับการแพ้ภูมิตนเองโรคอื่นๆ เช่น ข้ออักเสบชนิดรูห์มาติก (Rheumatoid arthritis) หรือโรคลูปัส (Lupus)

ในปัจจุบัน ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงสามารถใช้ชีวิตปกติได้เหมือนคนทั่วไป โดยการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตตามคำแนะนำเบื้องต้น และเข้ารับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Myasthenia gravis. womenshealth.gov. (Available via: https://www.womenshealth.gov/a-z-topics/myasthenia-gravis)
Myasthenia Gravis (MG): Symptoms, Causes, Treatments & Tests. Cleveland Clinic. (Available via: https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/17252-myasthenia-gravis-mg-)
Myasthenia gravis: Treatment, symptoms, and causes. Medical News Today. (Available via: https://www.medicalnewstoday.com/articles/179968)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ทำไม่ ต้องอ้วนลงพุ่งค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดกลังปวดเอว.เอ็นข้อศอกอักเสบเรื้อรังไม่หายสักที
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การปวดหลังเป็นประจำทุกวันเกิดจากอะไร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีลูกเป็นเด็ก CP ค่ะ ตอนนี้ทานอาหารทางสายยาง...ไม่ทราบว่าน้องมีโอกาสต้องเจาะใส่สายทางหน้าท้องหรือป่าวค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการปวดเมื้อยบริเวณเหนือสะโพก เกิดจากอะไร มีวิธีรักษายังไงคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)