อาการปวดศีรษะ

ประเภทของอาการปวดศีรษะ สาเหตุและวิธีการรักษา
เผยแพร่ครั้งแรก 10 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
อาการปวดศีรษะ

ปัจจุบันมีคนไทยกว่า 10 ล้านคนที่มักมีอาการปวดศีรษะอยู่เป็นประจำ และเป็นหนึ่งในอาการที่ทำให้ผู้ป่วยต้องเข้าพบแพทย์มากที่สุด แต่ส่วนใหญ่อาการปวดศีรษะดังกล่าวมีสาเหตุไม่ร้ายแรง และได้รับการรักษาได้โดยง่าย

ในหลายกรณี คุณสามารถรักษาอาการปวดศีรษะได้ด้วยตนเองที่บ้าน โดยการรับประทานยาแก้ปวดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป และไม่จำเป็นต้องสั่งโดยแพทย์ หรือการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตบางอย่าง เช่น การพักผ่อนให้มากขึ้น และดื่มน้ำให้เพียงพอ ไม่เพ่งหน้าจอ เช่น จอโทรศัพท์มือถือ หรือจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป หรือมีการพักสายตาบ้าง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ตาม หากคุณปวดศีรษะแล้วอาการไม่ดีขึ้นด้วยยาแก้ปวดทั่วไป หรือปวดรุนแรงจนอาการเหล่านี้ส่งผลต่อกิจกรรมประจำวันของคุณ หรือปวดจนทำให้คุณต้องลางาน คุณอาจต้องไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจ และวินิจฉัยสาเหตุของอาการปวดศีรษะที่แท้จริง

ปวดศีรษะจากความเครียด 

อาการปวดศีรษะจากความเครียด (Tension headache) เป็นชนิดของอาการปวดศีรษะที่พบบ่อยที่สุด 

ลักษณะอาการ: เป็นอาการปวดคงที่ คุณจะรู้สึกว่าในศีรษะทั้งสองด้านมียางรัดแน่นๆ มาบีบรัดศีรษะของคุณไว้
ระยะเวลาของอาการ: อาการปวดศีรษะจากความเครียดโดยปกติจะไม่รุนแรงมาก อาการปวดจะกินเวลาประมาณ 30 นาทีถึงหลายชั่วโมง แต่ในบางกรณีก็อาจกินเวลานานหลายวันได้เช่นกัน
สาเหตุของอาการ: สาเหตุที่แน่นอนของอาการปวดนี้ไม่ชัดเจนนัก แต่อาการปวดศีรษะชนิดนี้มักเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม ภาวะทางจิตใจ และพฤติกรรมบางอย่าง เช่น ความเครียด ท่าทาง หรือท่านั่งการทำงานที่ไม่เหมาะสม การอดอาหาร และการขาดน้ำ
วิธีการรักษา: อาการปวดศีรษะจากความเครียดมักจะได้รับการรักษาด้วยยาแก้ปวดทั่วไป เช่น ยาพาราเซตามอล หรือยาไอบูโพรเฟน และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต เช่น การนอนหลับให้ตรงเวลาและเพียงพอ การบรรเทาความเครียด ไม่วิตกกังวลจนเกินไป และการดื่มน้ำให้เพียงพอก็อาจช่วยได้เช่นกัน

ไมเกรน 

ไมเกรน (Migraines) นั้นพบได้น้อยกว่าอาการปวดศีรษะจากความเครียด แต่ก็เป็นหนึ่งในอาการที่พบได้มากในหมู่พนักงานออฟฟิศหลายคน ซึ่งอาการไมเกรนเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น ฮอร์โมน อากาศ ภาวะความเครียด

ลักษณะอาการ: อาการของไมเกรนจะเป็นอาการปวดตุบๆ อย่างรุนแรงบริเวณด้านหน้า หรือด้านข้างของศีรษะ ผู้ป่วยบางคนยังพบอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน และความไวต่อแสงหรือเสียงเพิ่มขึ้น
ไมเกรนมีแนวโน้มที่จะรุนแรงกว่าอาการปวดศีรษะจากความเครียดตามปกติ และอาจรุนแรงจนคุณไม่ดำเนินกิจกรรมประจำวันตามปกติได้เลย
ระยะเวลาของอาการ: อาการปวดไมเกรนมักกินเวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมง และผู้ป่วยบางคนพบว่าพวกเขาต้องนอนบนเตียงหลายครั้งเวลามีอาการปวดขึ้นมา 
วิธีการรักษา: คนส่วนใหญ่สามารถรักษาอาการไมเกรนได้ด้วยตนเอง โดยการทานยาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยา และไม่จำเป็นต้องสั่งโดยแพทย์ แต่หากอาการปวดมีอาการรุนแรงมาก คุณอาจต้องใช้ยาที่แรงกว่านั้นจากการสั่งโดยแพทย์เท่านั้น หรือผู้ป่วยบางคนพบว่าการนอนงีบ หรือนอนหลับสักตื่นก็ช่วยให้อาการไมเกรนหายไปได้

ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ 

อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ (Cluster headache) เป็นอาการปวดศีรษะประเภทที่พบได้ยาก ซึ่งจะมีลักษณะเป็นอาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นเป็นชุด และมีระยะของอาการค่อนข้างนาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ลักษณะอาการ: ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดอย่างแสนสาหัส ทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรงรอบๆ ดวงตาและมักเกิดขึ้นร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น น้ำตาไหล อาการตาแดง หายใจไม่ออก หรือมีน้ำมูกไหลร่วมด้วย
ระยะเวลาของอาการ: อาการปวดชนิดนี้จะกินเวลาประมาณ 1-2 เดือนในช่วงเวลาเดียวกันของปี
วิธีการรักษา: ยาที่มีขายทั่วไปตามร้านขายยาอาจไม่แรงพอที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ได้ คุณควรให้แพทย์สั่งยา และการรักษาเฉพาะเพื่อลดอาการปวด รวมทั้งช่วยป้องกันอาการปวดศีรษะครั้งต่อไป

อาการปวดศีรษะเหตุจากใช้ยาเกิน 

อาการปวดศีรษะบางครั้งก็เป็นผลข้างเคียงของการรับประทานยาบางชนิด หรือใช้ยาแก้ปวดมากเกินไป ซึ่งอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "โรคปวดศีรษะเหตุจากใช้ยาเกิน" (Medication-overuse headache) ปกติแล้ว อาการปวดชนิดนี้มักจะดีขึ้นภายในไม่กี่สัปดาห์ หลังจากหยุดการใช้ยาที่เป็นสาเหตุ แม้ว่าความเจ็บปวดของคุณนั้นอาจจะเลวร้ายลงในช่วงวันแรกๆ หลังจากการหยุดยาทันที แต่อาการก็จะค่อยๆ ทุเลาลงหลังจากนั้น

อาการปวดศีรษะในช่วงรอบเดือน 

อาการปวดศีรษะในผู้หญิงมักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน (Hormone headache) และสัมพันธ์กับช่วงเวลารอบเดือน การใช้ยาคุมกำเนิดชนิดผสม แม้จะเป็นวัยหมดประจำเดือนแล้ว หรือคุณกำลังตั้งครรภ์อยู่ ปัจจัย 2 อย่างนี้ก็ยังเป็นตัวกระตุ้นสำหรับอาการปวดนี้ได้เช่นกัน 

การจัดการกับความเครียดของคุณ การนอนหลับตรงเวลาเป็นประจำ และการทานอาหารตรงเวลาตามมื้ออย่างเหมาะสม อาจช่วยลดอาการปวดศีรษะที่เกี่ยวข้องกับรอบเดือนของคุณได้

สาเหตุอื่นๆ ของอาการปวดศีรษะ

อาการปวดศีรษะอาจมาจากสาเหตุอื่นๆ ได้แก่

  • การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือการสั่นสะเทือนบริเวณศีรษะ
  • โรคไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่
  • โรคข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยว (Temporomandibular disorders) ซึ่งเป็นปัญหาของบริเวณกล้ามเนื้อบดเคี้ยวอาหาร และข้อต่อระหว่างขากรรไกรล่าง กับฐานของกะโหลกศีรษะ
  • โรคไซนัสอักเสบ หรือการอักเสบของเยื่อบุของโพรงอากาศข้างจมูก
  • ภาวะสารพิษคาร์บอนมอนอกไซด์
  • ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Sleep apnea) ซึ่งเป็นภาวะที่ผนังของลำคอหย่อนตัว และทางเดินอากาศแคบลงระหว่างการนอนหลับ ทำให้ขัดขวางการหายใจตามปกติ

อาการปวดศีรษะบ่งบอกถึงภาวะที่ร้ายแรงหรือไม่

ส่วนใหญ่ อาการปวดศีรษะไม่ได้เป็นสัญญาณของปัญหาร้ายแรงใดๆ แต่อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีที่พบได้น้อย อาการปวดศีรษะก็อาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรงต่างๆ เช่น 

อาการปวดศีรษะจะมีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้น หากมีอาการดังนี้

  • เกิดขึ้นอย่างฉับพลันและรุนแรงมาก 
  • มักรู้สึกว่าเป็นอาการปวดที่รุนแรงมาก แบบไม่เคยปวดขนาดนี้มาก่อนเลย
  • ไม่ทุเลาลง และรุนแรงขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
  • เกิดขึ้นหลังจากได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง
  • ถูกกระตุ้นโดยการไอ หัวเราะ จาม การเปลี่ยนแปลงท่าทาง หรือการออกกำลังกาย
  • หากคุณมีอาการที่บ่งบอกว่าเป็นปัญหาเกี่ยวกับสมองหรือระบบประสาท ได้แก่ 
  • มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น 
    • ไข้สูง 
    • คอแข็ง 
    • ผื่นขึ้นตามตัว 
    • ปวดกรามขณะเคี้ยว 
    • มีปัญหาเกี่ยวกับสายตา 
    • เจ็บผิวหนังบนศีรษะ หรืออาการปวดอย่างรุนแรง
    • มีอาการตาแดงในดวงตาข้างใดข้างหนึ่งของคุณ

หากคุณกังวลว่าอาการปวดศีรษะของคุณอาจรุนแรง หรือรู้สึกปวดศีรษะอย่างรุนแรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน คุณควรเข้าพบแพทย์ หรือเข้าตรวจในแผนกฉุกเฉินโดยทันที เพื่อหาสาเหตุของอาการที่แท้จริง ว่าเป็นสัญญาณของโรคร้ายอื่นๆ ด้วยหรือไม่


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป