กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

ขิง (Ginger)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 9 นาที


ขิง (Ginger) คือพืชที่มีหน่อ ใบ และดอกสีเหลืองเขียว รากหรือแง่งขิงนำมาทำเครื่องเทศและใช้ปรุงอาหาร ขิงเป็นพืชที่โตในภูมิภาคเอเชียที่มีอากาศอบอุ่นอย่างประเทศจีน ญี่ปุ่น และอินเดีย ทั้งยังพบได้แถบอเมริกาใต้และแอฟริกา ผู้คนในประเทศแถบตะวันออกกลางนิยมนำขิงไปทำยาและประกอบอาหาร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ขิงใช้รักษาปัญหาสุขภาพในช่องท้องต่างๆ รวมถึงบรรเทาอาการเมารถ เมาเรือ (Motion sickness) แพ้ท้อง (Morning sickness) โคลิก (Colic) ปวดท้อง มีลมในท้อง ท้องร่วง กลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome (IBS)) คลื่นไส้จากการรักษามะเร็ง คลื่นไส้จากการรักษาการติดเชื้อ HIV หรือโรคเอดส์ อาการคลื่นไส้หลังการผ่าตัด และบรรเทาอาการเบื่ออาหาร

ประโยชน์อีกประการของขิงคือ บรรเทาอาการปวดจากโรคข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis (RA)) ข้อเสื่อม (Osteoarthritis) ปวดประจำเดือน และภาวะอื่นๆ อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานที่พอจะยืนยันสรรพคุณเหล่านี้ของขิง

บางคนใช้ขิงบดเป็นน้ำและนำไปปะบนผิวหนังเพื่อรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก น้ำมันจากขิงใช้ทาบรรเทาอาการปวด สารสกัดจากขิงสามารถทากันแมลงกัดได้ด้วย

นิยมนำขิงไปแต่งกลิ่นสำหรับอาหารและเครื่องดื่ม

ในทางอุตสาหกรรม ขิงใช้เป็นกลิ่นสบู่และเครื่องสำอาง สารเคมีชนิดหนึ่งในขิงเป็นส่วนหนึ่งของยาระบาย ยาขับลม และยาลดกรดอีกด้วย

ขิงทำงานอย่างไร?

ขิงประกอบด้วยสารเคมีที่ช่วยลดอาการอักเสบและคลื่นไส้ นักวิจัยเชื่อว่าสารเคมีนี้จะทำงานได้ดีในกระเพาะและลำไส้ แต่ก็งอาจออกฤทธิ์ในสมองและระบบประสาทเพื่อควบคุมอาการคลื่นไส้ได้ด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ประโยชน์และสรรพคุณของขิง

  • คลื่นไส้และอาเจียนจากการรักษา HIV/AIDS งานวิจัยพบว่าการทานขิงทุกวันก่อนการใช้ยาต้านรีโทรไวรัส (antiretroviral) 30 นาทีนาน 14 วันจะลดความเสี่ยงต่ออาการคลื่นไส้และอาเจียนของผู้ป่วย HIV ได้
  • ปวดประจำเดือน งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานผงขิง 500-2,000 mg ในช่วง 3-4 วันแรกที่มีประจำเดือนจะลดความเจ็บปวดของผู้หญิงและวัยรุ่นสาวที่มีอาการปวดประจำเดือนได้ค่อนข้างมาก บ้างก็ระบุว่าปริมาณขิงที่ใช้คือ 500 mg สามครั้งต่อวัน และใช้สารสกัดจากขิง (Zintoma, Goldaru) ปริมาณ 250 mg จำนวน 4 ครั้งต่อวัน ปริมาณที่ใช้ถูกคาดประมาณไว้ที่ 3 วันเริ่มจากวันแรกที่มีประจำเดือน โดยการใช้สารสกัดจากขิง (Zintoma) สามารถให้ผลที่ดีเทียบเท่ากับการใช้ยา ibuprofen หรือกรดเมเฟนามิค
    (Mefenamic acid)
  • แพ้ท้อง (Morning sickness) การรับประทานขิงอาจช่วยลดอาการคลื่นไส้และอาเจียนของผู้หญิงตั้งครรภ์ได้ แต่อาจจะออกฤทธิ์ช้าหรือไม่ดีเท่ากับการใช้ยารักษาอาการคลื่นไส้ อีกทั้งการทานสมุนไพรหรือยาขณะมีครรภ์ก็เป็นเรื่องที่มีความเสี่ยง ดังนั้นก่อนจะทานขิงให้ปรึกษาความเสี่ยงต่างๆ กับผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน
  • ข้อเสื่อม (Osteoarthritis) งานวิจัยส่วนมากแสดงให้เห็นว่าการทานขิงสามารถลดอาการปวดของผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมได้เล็กน้อย จากการศึกษาขนาดเล็กแสดงให้เห็นว่าในบางกรณีขิงอาจออกฤทธิ์บรรเทาปวดเอวและเข่าจากโรคข้อเสื่อมได้เหมือนกับยา ibuprofen
  • คลื่นไส้และอาเจียนหลังการผ่าตัด งานวิจัยทางการแพทย์ส่วนใหญ่แสดงให้เห็นว่าการทานขิงก่อนผ่าตัด 1-1.5 กรัมอาจช่วยลดอาการคลื่นไส้และอาเจียนหลังผ่าตัดใน 24 ชั่วโมงแรกได้ โดยการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่าขิงสามารถลดอาการทั้งสองได้ 38% อีกทั้งการทาน้ำมันขิง 5% ที่ข้อมือของคนไข้ก่อนผ่าตัดสามารถป้องกันอาการคลื่นไส้ได้ประมาณ 80% อย่างไรก็ตาม การรับประทานขิงอาจไม่ช่วยลดอาการคลื่นไส้และอาเจียนในช่วง 3-6 ชั่วโมงหลังผ่าตัด อีกทั้งอาจไม่มีฤทธิ์ในการลดอาการคลื่นไส้และอาเจียนได้มากขึ้นหากใช้ร่วมกับยารักษาอาการทั้งสอง นอกจากนั้นขิงอาจไม่ลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการทั้งสองหลังผ่าตัดในคนไข้ที่เสี่ยงต่ออาการทั้งสองนี้ต่ำ
  • วิงเวียนบ้านหมุน (vertigo) การทานขิงอาจลดอาการวิงเวียนที่รวมไปถึงอาการคลื่นไส้ด้วย

ภาวะทางกายที่ขิงรักษาไม่ได้

  • ปวดกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกาย งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานขิงไม่อาจลดอาการปวดกล้ามเนื้อระหว่างออกกำลังกายได้ อีกทั้งการทานขิงก็ไม่อาจช่วยรักษาหรือป้องกันอาการปวดประเภทนี้แต่อย่างใด
  • ป้องกันอาการเมารถ/เมาเรือ งานวิจัยส่วนมากกล่าวว่าการทานขิงก่อนเดินทางมากกว่า 4 ชั่วโมงไม่อาจป้องกันอาการเมายานพาหนะได้ ผู้ที่ใช้วิธีนี้บางคนอาจรู้สึกดีขึ้น แต่จากการวัดประเมินจริง กลับไม่พบว่าขิงช่วยในประเด็นนี้แต่อย่างใด การศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่าขิงอาจมีประสิทธิภาพมากกว่ายา dimenhydrinate ที่ลดอาการปวดท้องอันเกี่ยวข้องกับอาการเมารถ เมาเรือ

ภาวะทางกายที่ยังขาดหลักฐานว่าขิงรักษาได้หรือไม่

  • ระบบทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute respiratory distress syndrome (ARDS)) งานวิจัยกล่าวว่าการใช้สารสกัดจากขิง 120 mg ทุกวัน นาน 21 วัน จะเพิ่มจำนวนวันที่ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลันไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เพิ่มปริมาณสารอาหารที่บริโภคได้ และลดระยะเวลาที่ต้องพักฟื้นในห้อง ICU ลง อย่างไรก็ตาม สารสกัดขิงไม่อาจส่งผลต่ออัตราการเสียชีวิตจากภาวะดังกล่าว
  • ตับได้รับความเสียหายจากการใช้ยารักษาวัณโรค (Liver injury from drugs used for tuberculosis) ยาบางตัวที่ใช้รักษาวัณโรคเป็นอันตรายแก่ตับ การทานขิงร่วมกับยาเหล่านี้อาจช่วยป้องกันภาวะตับเป็นพิษที่จะเกิดขึ้นในบางคนได้
  • คลื่นไส้และอาเจียนจากการบำบัดมะเร็ง การทานขิงร่วมกับยาต้านอาการคลื่นไส้ไม่อาจป้องกันอาการคลื่นไส้และอาเจียนภายหลังการใช้ยารักษามะเร็งได้ โดยอาการทั้งสองนี้มักจะเกิดขึ้นหลังการบำบัดมากกว่า 1 หรือ 2 วัน อีกทั้งผลกระทบจากการใช้ขิงกับอาการเหล่านี้ก็ยังนับว่าขัดแย้งกันอยู่ บางงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าขิงสามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้หากทานร่วมกับยาบรรเทาอาการดังกล่าว แต่งานวิจัยอีกกลุ่มกลับไม่เห็นด้วยและกล่าวว่าขิงไม่มีประสิทธิภาพใดๆ กับการใช้ยาบำบัดมะเร็ง อาจจะเป็นไปได้ว่าการใช้ขิงได้ผลในกลุ่มผู้ใช้ยารักษามะเร็งที่ใช้ยาป้องกันคลื่นไส้ตามปรกติแล้วไม่ได้ผล
  • โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease (COPD)) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานแคปซูลผลิตภัณฑ์ยา (AKL1, AKL International Ltd) ที่ประกอบด้วยขิง ปริมาณ 2 แคปซูล จำนวน 2 ครั้งต่อวัน นาน 8 สัปดาห์ ไม่อาจช่วยให้ระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย COPD ดีขึ้น
  • เบาหวาน (Diabetes) การรับประทานขิงอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานบางรายได้ โดยปริมาณที่ใช้ต่อวันคือ 3 กรัมเป็นอย่างน้อย หากใช้น้อยกว่านั้นอาจไม่ส่งผลใดๆ และอาจต้องรับประทานขิงต่อเนื่องนาน 2-3 เดือนกว่าจะเห็นผล
  • ไม่สบายท้อง (dyspepsia) งานวิจัยกล่าวว่าการทานผงรากขิง 1 ครั้ง ปริมาณ 1.2 กรัม ก่อนรับประทานอาหาร 1 ชั่วโมง จะเร่งกระบวนการย่อยของผู้ที่มีอาการไม่สบายท้องบางคนได้
  • เมาค้าง งานวิจัยกล่าวว่าการทานขิง เนื้อเยื่อกลางต้นส้มเขียวหวาน และน้ำตาลแดงก่อนดื่มแอลกอฮอล์จะช่วยลดอาการเมาค้างจำพวกอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วงได้
  • คอเลสเตอรอลสูง งานวิจัยกล่าวว่าการทานขิง 1 กรัมสามครั้งต่อวันนาน 45 วัน จะลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์และคอเลสเตอรอลของผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูงได้
  • ความดันโลหิตสูง การดื่มชาดำพร้อมขิงอาจช่วยลดความดันโลหิตของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้เล็กน้อย
  • แมลงกัด งานวิจัยกล่าวว่าการทา Trikatu ที่ประกอบด้วยสารสกัดจากขิง ดีปลี และพริกไทดำบนผิวหนังไม่อาจลดขนาดของตุ่มยุงกัดได้
  • กลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome (IBS)) การทานขิงเพียงอย่างเดียวไม่อาจช่วยให้อาการของ IBS ดีขึ้น แต่การทานขิงร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ อาจช่วยได้ กระนั้นผลในการลดอาการยังไม่แน่ชัดว่าเป็นเพราะขิงหรือส่วนประกอบอื่น ๆ 
  • ปวดข้อ งานวิจัยพบว่าการทานแคปซูล (Instaflex Joint Support, Direct Digital) ที่ประกอบด้วยขิงนาน 8 สัปดาห์จะลดอาการปวดข้อได้ประมาณ 37% แต่การใช้สินค้านี้อาจไม่ลดอาการข้อตึงหรือช่วยให้ข้อทำงานดีขึ้นแต่อย่างใด
  • เร่งการคลอด งานวิจัยกล่าว่าการแช่น้ำที่ผสมน้ำมันขิงไม่อาจร่นระยะเวลาการคลอดบุตรได้
  • ประจำเดือนมามาก (menorrhagia) การทานขิงอาจช่วยลดอาการเลือดประจำเดือนออกมากของผู้หญิงอายุน้อยที่มีปัญหาประจำเดือนมามากได้
  • ปวดศีรษะไมเกรน บางงานวิจัยรายงานว่าการรับประทานผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยขิงและฟีเวอร์ฟิว (feverfew) อาจลดระยะเวลาและความรุนแรงของอาการปวดไมเกรนได้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่แน่ชัดว่าผลรักษานี้เป็นเพราะขิง ฟีเวอร์ฟิว หรือทั้งสอง
  • พักฟื้นหลังการผ่าตัด การสูดและทาน้ำมันลาเวนเดอร์และขิงบนผิวหนังก่อนผ่าตัดไม่อาจลดความกังวลของเด็กหลังผ่าตัดได้ การทานขิงอาจช่วยลดปวดและเร่งให้แผลของเด็กที่เข้ารับการผ่าตัดทอนซิลสมานตัวไวขึ้น
  • โรคข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis (RA)) มีหลักฐานกล่าวว่าขิงอาจช่วยลดอาการปวดข้อของผู้ป่วย RA ได้
  • กลืนลำบาก มีหลักฐานกล่าวว่าการสเปรย์ยาที่ประกอบด้วยขิงและรากเคลเม็ธทิกซ์ (clematix root) ในปากสามารถบรรเทาอาการกลืนลำบากในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองได้ อย่างไรก็ตาม การรักษาวิธีนี้อาจไม่เป็นผลในผู้ที่มีปัญหาการกลืนไม่รุนแรง อีกทั้งการทานยาเม็ดขิงอย่างเดียวก็ไม่อาจช่วยแก้ปัญหาการกลืนเนื่องจากอายุที่มากขึ้นได้
  • ลดน้ำหนัก การทานขิงเพียงอย่างเดียวอาจช่วยให้ผู้ที่มีภาวะอ้วนลดน้ำหนักได้เล็กน้อย แต่การทานขิงร่วมกับสมุนไพรอื่นไม่อาจส่งผลต่อการลดน้ำหนักให้มากขึ้นแต่อย่างใด
  • อะนอเร็กเซีย (Anorexia)
  • การติดเชื้อแบคทีเรียที่ลำไส้ (Cholera)
  • หัวล้าน
  • ตกเลือด
  • หวัด
  • เพื่อการหยุดใช้ยา selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs)
  • ไข้หวัดใหญ่
  • เบื่ออาการ
  • ปวดฟัน
  • ภาวะสุขภาพอื่น

จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของขิงเพิ่มเติม

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของขิง

ขิงถูกจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยเมื่อรับประทานอย่างเหมาะสม บางคนอาจประสบกับผลข้างเคียงไม่รุนแรงจากการรับประทานขิงอย่างแสบร้อนกลางอก ท้องร่วง และไม่สบายท้อง อีกทั้งมีรายงานว่าผู้หญิงบางคนมีประจำเดือนออกมากขณะที่รับประทานขิง

ขิงสำหรับทาบนผิวหนังถูกจัดว่าอาจจะปลอดภัยเมื่อใช้ในปริมาณที่พอเหมาะและภายในระยะสั้น บางคนที่ใช้ขิงทาอาจรู้สึกระคายเคืองผิวหนังบ้าง

คำเตือนและข้อควรระวังในการใช้ขิง

เด็ก ขิงถูกจัดว่าอาจจะปลอดภัยเมื่อให้เด็กสาววัยรุ่นที่เริ่มมีประจำเดือนรับประทานเป็นเวลา 4 วัน

สตรีมีครรภ์ ขิงถูกจัดว่าอาจจะปลอดภัยเมื่อรับประทานเพื่อการแพทย์ระหว่างการตั้งครรภ์ แต่การใช้ขิงระหว่างการตั้งครรภ์นั้นยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เนื่องจากมีความกังวลว่าขิงอาจส่งผลต่อฮอร์โมนเพศของตัวอ่อนหรือเพิ่มความเสี่ยงที่ตัวอ่อนจะตายคลอด (Stillborn) ได้ อีกทั้งยังมีรายงานการแท้งบุตรระหว่างช่วงอายุครรภ์ที่ 12 สัปดาห์ในกลุ่มผู้หญิงที่ทานขิงเพื่อบรรเทาอาการแพ้ท้อง กระนั้นก็ยังมีการศึกษาส่วนมากกล่าวว่าขิงสามารถบรรเทาอาการแพ้ท้องโดยไม่ส่งผลร้ายต่อทารก ความเสี่ยงต่อการพิกลพิการของทารกในครรภ์ของสตรีที่ทานขิงนั้นไม่มีอัตราสูงไปกว่าปรกติ หรือที่ 1-3% เท่านั้น อีกทั้งยังไม่มีหลักฐานว่าขิงจะทำให้ความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดหรือทำให้เด็กมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำแต่อย่างใด มีความกังวลที่ว่าขิงอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือดขึ้น ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำไม่ให้รับประทานขิงในช่วงใกล้กำหนดคลอด และเช่นเดียวกับการใช้ยาระหว่างการตั้งครรภ์ จำเป็นต้องพิจารณาเรื่องความเสี่ยงกับผลที่จะได้รับจากการรับประทานขิง ดังนั้นควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนทานขิงระหว่างตั้งครรภ์

แม่ที่ต้องให้นมบุตร ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการทานขิงในกลุ่มผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตร ดังนั้นคนในกลุ่มดังกล่าวควรเลี่ยงการทานขิงเพื่อความปลอดภัย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ภาวะเลือดออกผิดปกติ การทานขิงอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือดได้

เบาหวาน ขิงอาจเพิ่มระดับอินซูลินและ/หรือลดระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยเหตุนี้อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนการใช้ยาเบาหวานเมื่อคุณต้องการรับประทานขิงร่วมกับยา

ภาวะหัวใจ การบริโภคขิงปริมาณสูงอาจส่งผลต่อโรคหัวใจบางชนิด

การใช้ขิงร่วมกับยาชนิดอื่น

ใช้ขิงร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง

  • ยาชะลอการเกิดลิ่มเลือด (Anticoagulant / Antiplatelet drugs)

ขิงอาจชะลอการเกิดลิ่มเลือดได้ ดังนั้นการทานขิงร่วมกับยาที่ออกฤทธิ์ชะลอการเกิดลิ่มเลือด ซึ่งจะเพิ่มโอกาสการตกเลือดและฟกช้ำมากขึ้น โดยยาที่ใช้ชะลอการเกิดลิ่มเลือดมีดังนี้ aspirin, clopidogrel (Plavix), diclofenac (Voltaren, Cataflam, และอื่น ๆ), ibuprofen (Advil, Motrin, และอื่น ๆ), naproxen (Anaprox, Naprosyn, และอื่น ๆ), dalteparin (Fragmin), enoxaparin (Lovenox), heparin, warfarin (Coumadin), phenprocoumon, และอื่น ๆ

Warfarin (Coumadin) คือยาที่ใช้ชะลอการเกิดลิ่มเลือด ขิงเองก็มีสรรพคุณในการชะลอการเกิดลิ่มเลือดเช่นกัน ดังนั้นการทานขิงร่วมกับยา Warfarin (Coumadin) จะเพิ่มโอกาสการตกเลือดและฟกช้ำมากขึ้น ดังนั้นควรทำการตรวจเลือดบ่อยครั้งและอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนขนาดยาสำหรับผู้กินยาชะลอการเกิดลิ่มเลือดหรือ Warfarin

คอยสังเกตอาการเมื่อต้องใช้ขิงร่วมกับยาเหล่านี้

  • ยาสำหรับเบาหวาน

ขิงอาจลดระดับน้ำตาลในเลือดลง และยาเบาหวานก็ถูกใช้เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้นการทานขิงร่วมกับยาเบาหวานอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของคุณลงต่ำเกินไปได้ ดังนั้นควรเฝ้าระวังน้ำตาลในเลือดและอาจต้องทำการปรับเปลี่ยนขนาดยาที่ใช้ ตัวอย่างยาสำหรับเบาหวานมีดังนี้ glimepiride (Amaryl), glyburide (DiaBeta, Glynase PresTab, Micronase), insulin, pioglitazone (Actos), rosiglitazone (Avandia), chlorpropamide (Diabinese), glipizide (Glucotrol), tolbutamide (Orinase), และอื่นๆ

  • ยาสำหรับความดันโลหิตสูง (Calcium channel blockers)

ขิงอาจลดระดับความดันโลหิตได้เช่นเดียวกับฤทธิ์ของยาบางตัวที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ การรับประทานขิงร่วมกับยาเหล่านี้อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของคุณลดต่ำเกินไปหรือทำให้หัวใจเต้นผิดปกติได้ ตัวอย่างยาสำหรับความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจมี nifedipine (Adalat, Procardia), verapamil (Calan, Isoptin, Verelan), diltiazem (Cardizem), isradipine (DynaCirc), felodipine (Plendil), amlodipine (Norvasc), และอื่นๆ

ปริมาณยาที่ใช้

ปริมาณหรือขนาดยาที่ใช้ดังต่อไปนี้ได้ผ่านการศึกษาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

การรับประทาน

  • สำหรับคลื่นไส้และอาเจียนจากการรักษา HIV/AIDS กินขิง 1 กรัมทุกวัน โดยแบ่งเป็นสองครั้ง ก่อนใช้ยาต้านรีโทรไวรัส 30 นาทีเป็นเวลา 14 วัน
  • สำหรับปวดประจำเดือน สารสกัดจากขิง (Zintoma, Goldaru) 250 mg สี่ครั้งต่อวัน นาน 3 วัน เริ่มจากวันแรกที่มีประจำเดือน อีกทั้งทานกับผงขิง 1500 mg ต่อวันโดยแบ่งเป็นสามเวลา เริ่มจากวันก่อนมีประจำเดือนสองวันและต่อเนื่องไปถึงช่วง 3 วันแรกหลังมีประจำเดือน
  • สำหรับแพ้ท้อง กินขิง 500-2500 mg ทุกวัน โดยแบ่งเป็นสองถึงสี่ครั้งในช่วง 3 วัน ถึง 3 สัปดาห์
  • สำหรับโรคข้อเสื่อม จากการศึกษาหลายชิ้นได้ใช้ผลิตภัณฑ์สารสกัดจากขิงหลายตัว โดยปริมาณที่ใช้ขึ้นอยู่กับตัวผลิตภัณฑ์เอง เช่นสารสกัดจากขิง (Eurovita Extract 33; EV ext-33) 170 mg สามครั้งต่อวัน, สารสกัดจากขิง (Eurovita Extract 77; EV ext-77) ที่ประกอบด้วยขิงแดง (alpinia) 255 mg สองครั้งต่อวัน, สารสกัดจากขิง (Zintona EC) 250 mg สี่ครั้งต่อวัน และสารสกัดจากขิง (Eurovita Extract 35; EV ext-35) 340 mg ต่อวันร่วมกับ glucosamine 1000 mg ทุกวันนาน 4 สัปดาห์
  • สำหรับอาการคลื่นไส้และอาเจียนหลังการผ่าตัด ผงรากขิง 1-2 กรัมก่อนใช้ยาระงับประสาท 30-60 นาที บางครั้งอาจใช้ขิงอีก 1 กรัมหลังการผ่าตัดสองชั่วโมง
  • สำหรับอาการวิงเวียนบ้านหมุน กินผงขิง 1 กรัมเพียงครั้งเดียว 1 ชั่วโมงก่อนมีอาการวิงเวียน

การทาบนผิวหนัง

  • สำหรับโรคข้อเสื่อม เจลที่ประกอบด้วยขิงและไพล (plai) (Plygersic gel) 4 กรัมต่อวัน แบ่งเป็นสี่ครั้ง นาน 6 สัปดาห์

การสูดดมและบำบัดด้วยกลิ่น

  • สำหรับอาการคลื่นไส้และอาเจียนหลังการผ่าตัด ใช้สารละลายจากน้ำมันสกัดขิง โดยการบำบัดด้วยขิงเพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับสเปียร์มิ้นท์ (spearmint) เปปเปอร์มิ้นท์ (peppermint) และกระวาน (cardamom) ด้วยการสูดดมพร้อมกันผ่านจมูกตอนหายใจเข้าและหายใจออกทางปาก สามครั้งหลังการผ่าตัด


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ginger Root - Side Effects, Dosage, Interaction. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/drugs/ginger-root)
Ginger: Health benefits and dietary tips. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/265990)
Ginger: Uses, Side Effects, Interactions, Dosage, and Warning. WebMD. (https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-961/ginger)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)