กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

เนื้องอกหลอดเลือดในเด็ก (Infantile haemangioma)

เผยแพร่ครั้งแรก 6 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เนื้องอกในหลอดเลือดในเด็กทารกชนิด Infantile haemangioma เป็นโรคเนื้องอกในหลอดเลือดที่พบได้บ่อยที่สุดในเด็กทารก โดยแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ ชนิดตื้น ชนิดลึก และชนิดผสม
  • ปัจจัยที่ทำให้เกิดเนื้องอกในหลอดเลือดชนิดนี้ได้ คือ การคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักทารกแรกเกิดน้อย มารดามีภาวะเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ การมีบุตรหลายคน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิง ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์
  • เนื้องอกในหลอดเลือดชนิดนี้สามารถบ่งบอกถึงความผิดปกติในอวัยวะอื่นๆ ของเด็กได้ เช่น หัวใจ ตา กระดูกหน้าอก
  • ถึงลักษณะ และชื่อโรคจะร้ายแรง แต่ก็เนื้องอกในหลอดเลือดชนิดนี้สามารถหายเองได้เมื่อเด็กโตขึ้น และปัจจุบันยังมีการคิดค้นยาทาที่สามารถชะลอการแบ่งตัวของเนื้องอกได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาแพทย์ผ่านวีดีโอคอล (Telemedicine)

การมีเนื้องอกในร่างกายถือเป็นอันตรายที่ทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตได้ และเป็นภาวะที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น โดยเนื้องอกสามารถเกิดกับผู้คนทุกเพศทุกวัย ไม่เว้นแม้แต่เด็กทารก

ความหมายของเนื้องอกหลอดเลือดในเด็ก

เนื้องอกหลอดเลือดในเด็กชนิดอินแฟนไทล์ ฮีแมงจิโอมา (Infantile haemangioma) เป็นเนื้องอกหลอดเลือดชนิดที่พบบ่อยที่สุดในเด็กทารก โดยมีอุบัติการณ์ของโรคประมาณ 5% ในเด็กทารกก่อนอายุ 9 เดือน โดยมักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอกหลอดเลือดดังกล่าว ได้แก่ 

  • ทารกคลอดก่อนกำหนด 
  • ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดน้อย 
  • การมีบุตรหลายคน 
  • มารดามีภาวะเลือดออกทางช่องคลอดระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ 
  • การใช้ฮอร์โมนเพศหญิง (Progesterone hormone) 
  • การมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ (Preclampsia) มารดามีอายุมาก (Advanced maternal age) และภาวะรกเกาะต่ำ (Placenta previa) 

มีการศึกษาทางการแพทย์บางชิ้นพบว่า หากสมาชิกครอบครัวมีประวัติเป็นเนื้องอกหลอดเลือดอินแฟนไทล์ ฮีแมงจิโอมา ก็อาจสัมพันธ์กับโอกาสการมีเนื้องอกหลอดเลือดชนิดดังกล่าวในทารกได้

ทางการแพทย์แบ่งเนื้องอกหลอดเลือดอินแฟนไทล์ ฮีแมงจิโอมาชนิดดังกล่าวออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่

  1. เนื้องอกหลอดเลือดชนิดตื้น (Superficial type)
  2. เนื้องอกหลอดเลือดชนิดลึก (Deep type)
  3. เนื้องอกหลอดเลือดชนิดผสม (Combined type)

โดยในผู้ป่วยหนึ่งคนอาจมีเนื้องอกหลอดเลือดเพียงลักษณะเดียวหรือหลายลักษณะร่วมกันได้

อาการของเนื้องอกหลอดเลือดอินแฟนไทล์ ฮีแมงจิโอมา

เนื้องอกหลอดเลือดดังกล่าวอาจพบ หรือไม่พบรอยโรคตั้งแต่แรกเกิด หากพบรอยโรคตั้งแต่แรกเกิดจะมีลักษณะเป็นปื้นขนาดเล็กของสีผิวหนังที่ซีดลง ปื้นแดงขนาดเล็ก ปื้นคล้ายรอยช้ำ หรือเห็นคล้ายเป็นเส้นเลือดฝอยขนาดเล็ก สามารถพบได้ทุกบริเวณของร่างกาย 

หลังจากนั้นเนื้องอกหลอดเลือดอินแฟนไทล์ ฮีแมงจิโอมาจะโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ในชนิดตื้นจะเห็นรอยโรคเป็นก้อนนูนสีแดงสด อาจมีพื้นผิวตะปุ่มตะป่ำ ลักษณะคล้ายผลสตรอว์เบอร์รี ขอบเขตชัดเจน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หากเป็นเนื้องอกชนิดลึกจะเห็นรอยโรคเป็นก้อนนูนสีม่วงๆ น้ำเงินๆ พื้นผิวค่อนข้างเรียบ และหากเป็นลักษณะผสม จะพบทั้งลักษณะของชนิดตื้น และชนิดลึกอยู่ร่วมกันในรอยโรคเดียวกัน

โดยทั่วไปเนื้องอกหลอดเลือดอินแฟนไทล์ ฮีแมงจิโอมาชนิดตื้นจะโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 9 ถึง 12 เดือนแรกของชีวิต หลังจากนั้นขนาดรอยโรคจะคงที่ และเริ่มยุบลง โดยในระยะเวลา 5 ปี สามารถยุบลงได้ประมาณ 50% ของขนาดที่ใหญ่ที่สุด และยุบตัวลงอย่างต่อเนื่องเมื่ออายุมากขึ้น 

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวเป็นเพียงการกะประมาณเท่านั้น

เนื้องอกหลอดเลือดอินแฟนไทล์ ฮีแมงจิโอมาชนิดลึกมีระยะเวลาในการโตขึ้นของเนื้องอกมากกว่า (ซึ่งอาจยาวนานได้ถึง 2 ปี) และระยะเวลาในการยุบตัวลงของเนื้องอกนานกว่าชนิดตื้น 

หลังจากเซลล์เนื้องอกยุบตัวหมดลง จะมีการแทนที่ด้วยเนื้อเยื่อแผลเป็นและไขมัน (Fibrofatty change) เนื้อเยื่อหลอดเลือดขนาดเล็กที่ขยานตัว (Telangiectasia) หรืออาจกลายเป็นผิวหนังปกติก็ได้

เนื้องอกหลอดเลือดอินแฟนไทล์ ฮีแมงจิโอมาเป็นโรคติดต่อหรือไม่ เกิดขึ้นได้อย่างไร?

เนื้องอกหลอดเลือดอินแฟนไทล์ ฮีแมงจิโอมาเป็นโรคไม่ติดต่อ ไม่ใช่การติดเชื้อ ปัจจุบันพบว่าเนื้องอกหลอดเลือดดังกล่าวสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • เซลล์หลอดเลือดบริเวณรอยโรคมีพฤติกรรมคล้ายกับเนื้อเยื่อรก 
  • เกิดจากภาวะขาดออกซิเจน (Oxygen) ในครรภ์มารดา (Hypoxia) ทำให้หลอดเลือดบางตำแหน่งตอบสนองโดยการแบ่งตัวเพิ่มขึ้นกลายเป็นเนื้องอกหลอดเลือดอินแฟนไทล์ ฮีแมงจิโอมา

การวินิจฉัยเนื้องอกหลอดเลือดอินแฟนไทล์ ฮีแมงจิโอมา

เนื้องอกหลอดเลือดชนิดดังกล่าวสามารถวินิจฉัยได้จากประวัติการดำเนินของรอยโรค และลักษณะของผื่นที่จำเพาะเจาะจงกับเนื้องอกหลอดเลือดอินแฟนไทล์ ฮีแมงจิโอมา การตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์เพิ่มเติมอาจไม่มีความจำเป็น 

อย่างไรก็ตาม หากรอยโรคมีลักษณะไม่ชัดเจน หรือคล้ายกับโรคเนื้องอกหลอดเลือดชนิดอื่น การตัดชิ้นเนื้อผิวหนังเพื่อดูโครงสร้างภายใต้กล้องจุลทรรศน์ และการย้อมสีพิเศษอาจมีความสำคัญเพื่อให้ได้มาซึ่งการวินิจฉัยที่ถูกต้องแม่นยำ

ความผิดปกติในระบบอวัยวะอื่นๆ ที่สามารถพบร่วมกับเนื้องอกหลอดเลือดอินแฟนไทล์ ฮีแมงจิโอมา

ส่วนมาก เนื้องอกหลอดเลือดอินแฟนไทล์ ฮีแมงจิโอมามักพบบริเวณผิวหนังเท่านั้น อย่างไรก็ตาม มีลักษณะบางอย่างที่บ่งชี้ถึงการพบความผิดปกติในระบบอวัยวะอื่นๆ ร่วมด้วยได้ เช่น

  • การพบเนื้องอกหลอดเลือดอินแฟนไทล์ ฮีแมงจิโอมามากกว่า 5 จุดในร่างกาย อาจสัมพันธ์กับการพบเนื้องอกหลอดเลือดฮีแมงจิโอมาที่ตับ (Hepatic haemangioma)
  • เนื้องอกหลอดเลือดอินแฟนไทล์ ฮีแมงจิโอมาบริเวณใกล้ปาก คาง หรือตำแหน่งของเครา (Beard area) อาจสัมพันธ์กับการพบเนื้องอกหลอดเลือดฮีแมงจิโอมาในระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะบริเวณใต้กล่องเสียง (Subglottic haemangioma)
  • การพบเนื้องอกหลอดเลือดอินแฟนไทล์ ฮีแมงจิโอมาบริเวณก้นกบหรือกระเบนเหน็บ (Sacral area) อาจสัมพันธ์กับความผิดปกติของกระดูกสันหลัง ระบบประสาทส่วนกลาง (Spinal dysraphism) หรือความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ และอวัยวะสืบพันธุ์ (Genitourinary system)

เนื้องอกหลอดเลือดอินแฟนไทล์ ฮีแมงจิโอมาในเกิดขึ้นในบางบริเวณอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น

  • หากเกิดเนื้องอกอินแฟนไทล์ ฮีแมงจิโอมาขึ้นใกล้ตา อาจทำให้เกิดภาวะตาเข บดบังการรับภาพปกติของตา ทำให้ระบบประสาททางตาเรียนรู้และปรับตาการรับภาพแบบผิดปกติ ซึ่งอาจนำไปสู่ความผิดปกติถาวรต่อการมองเห็นในอนาคต
  • หากมีเนื้องอกอินแฟนไทล์ ฮีแมงจิโอมาบริเวณหู จมูก หรือปาก จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดการผิดรูปถาวรของอวัยวะดังกล่าวในอนาคต

นอกจากนี้ยังพบว่าเนื้องอกหลอดเลือดอินแฟนไทล์ ฮีแมงจิโอมามีโอกาสเกิดแผลเปิดเลือดออกระดับลึก (Ulceration และ Bleeding) ในตำแหน่งที่มีการเสียดสี เช่น รักแร้ ซอกคอ ขาหนีบ ซอกพับต่างๆ ศีรษะ คอ รอบปาก ริมฝีปาก อวัยวะเพศ และรอบรูทวารหนัก

เนื้องอกหลอดเลือดอินแฟนไทล์ ฮีแมงจิโอมา ยังอาจเป็นลักษณะแสดงของกลุ่มอาการ (Syndrome) ได้ เช่น 

  • PHACE(S) syndrome โดยพบความผิดปกติในสมอง (Posterior fossa malformation) ซึ่งทำให้มีเนื้องอกหลอดเลือดอินแฟนไทล์ ฮีแมงจิโอมาขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า หลอดเลือดแดง 
  • การตีบคอดของของหลอดเลือดแดงใหญ่จากหัวใจ (Coartation of aorta) 
  • ความผิดปกติของหัวใจ (Cardiac anomaly) 
  • ความผิดปกติทางตา และ/หรือความผิดปกติของกระดูกหน้าอก (Sternal anomaly) 
  • กลุ่มอาการอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง เช่น SACRAL syndrome, LUMBAR syndrome หรือ PELVIS syndrome

ภาวะแทรกซ้อนในเนื้องอกหลอดเลือดอินแฟนไทล์ ฮีแมงจิโอมา

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้ ได้แก่ 

  • แผลเปิดเลือดออกระดับลึก (Ulceration และ Bleeding) 
  • การอุดตันของทางเดินอาหารและระบบหายใจ (หากมีเนื้องอกหลอดเลือดในบริเวณดังกล่าว) 
  • ความผิดปกติต่อการมองเห็น (หากมีเนื้องอกหลอดเลือดในบริเวณใกล้ตา) 
  • ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ (Congestive heart failure หรือ Hypothyroidism) 

หากมีเนื้องอกหลอดเลือดอินแฟนไทล์ ฮีแมงจิโอมาจำนวนมาก หรือมีเนื้องอกหลอดเลือดดังกล่าวที่ตับ

เนื้องอกหลอดเลือดอินแฟนไทล์ ฮีแมงจิโอมามีการรักษาอย่างไรบ้าง?

โดยส่วนมากเนื้องอกหลอดเลือดอินแฟนไทล์ ฮีแมงจิโอมาสามารถหายได้เองเมื่อโตขึ้น อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมียาทาที่สามารถชะลอการแบ่งตัวของเนื้องอกหลอดเลือดได้ 

ในเนื้องอกหลอดเลือดอินแฟนไทล์ ฮีแมงจิโอมาบางประเภทหากมีแนวโน้มที่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจพิจารณาให้ยาชนิดรับประทานเพื่อลดขนาดของเนื้องอกหลอดเลือด 

อย่างไรก็ตาม ยาดังกล่าวมีภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย เช่น ภาวะน้ำตาลต่ำ ภาวะหัวใจเต้นช้า ความดันโลหิตตก หรือแม้แต่ทำให้ระบบทางเดินหายใจตีบแคบ จึงมีความจำเป็นต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์เท่านั้น 

การรักษาอื่นๆ เช่น การรักษาด้วยแสงเลเซอร์ หรือการผ่าตัดจะทำเมื่อมีข้อบ่งชี้เท่านั้น

เนื้องอกหลอดเลือดอินแฟนไทล์ ฮีแมงจิโอมา เป็นเนื้องอกหลอดเลือดที่พบบ่อยในเด็กสามารถโตขึ้นได้ในช่วงขวบปีแรกหรืออาจนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้องอก และสามารถยุบหายได้เองได้แต่อาจทิ้งรอยไว้บางส่วน 

เนื้องอกหลอดเลือดอินแฟนไทล์ ฮีแมงจิโอมาบางลักษณะสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ จึงแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาแพทย์ผ่านวีดีโอคอล (Telemedicine) จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Léauté-Labrèze, C., Harper, J., & Hoeger, P. (2017). Infantile haemangioma. The Lancet, 390(10089), 85-94. https://doi.org/10.1016/s0140-6736(16)00645-0. The Lancet. (Available via: https://www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140-6736(16)00645-0/fulltext)
Infantile hemangioma - Vascular Anomalies. Stanford Children's Health - Lucile Packard Children's Hospital Stanford. (Available via: https://www.stanfordchildrens.org/en/service/dermatology/vascular-anomalies/infantile-hemangioma)
Infantile Hemangiomas. American Academy of Pediatrics. (Available via: https://www.aap.org/en-us/advocacy-and-policy/aap-health-initiatives/Infantile-Hemangiomas/Pages/default.aspx)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เป็นเนื้องอกในมดลูกอันตรายมากไหมค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ
ประจำมาตลอดเลยติดกัน2เดือนแล้วค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ท้องอืด มีลมในกระเพาะ ท้องป่องมากเหมือนคนท้อง เกิดจากสาเหตุอะไรคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เป็นเนื้องอกที่ตับสามารถผ่าตัดได้ไหมค่ะ...ความเสี่ยงสูงไหมค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ไทรอยเป็นพิษ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
โรคคุชชิ่งซินโดรม มีวิธีดูแลรักษายังไงค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)