กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

อินซูลิน (Insulin) คืออะไร

รวมข้อมูลเกี่ยวกับ "อินซูลิน" ฮอร์โมนซึ่งคอยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของเรา
เผยแพร่ครั้งแรก 17 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 27 เม.ย. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 ก.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
อินซูลิน (Insulin) คืออะไร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อินซูลิน (Insulin) เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ช่วยร่างกายในการปรับระดับน้ำตาลในเลือด ไม่ให้สูงเกินไป (Hyperglycemia) หรือต่ำเกินไป (Hypoglycemia)
  • ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จะไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เนื่องจากเซลล์เบต้า (สร้างอินซูลิน) ถูกทำลาย ส่วนผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จะไม่สามารถสร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอ หรือร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม
  • ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรือ 2 ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจมีความจำเป็นที่ต้องใช้ยาฉีดอินซูลิน (สังเคราะห์ หรือจากธรรมชาติ) เพื่อช่วยร่างกายในการปรับระดับน้ำตาลในเลือด
  • นอกจากอินซูลินแบบฉีดจะช่วยเพิ่มระดับอินซูลินได้แล้ว ยังมีอาหารอีกหลายชนิดที่ช่วยการหลั่งอินซูลินได้ด้วย เช่น แอปเปิลเขียว ผักมีแป้งและผักไร้แป้ง ขิง กระเทียม อบเชย  ธัญพืชโฮลเกรน โกโก้
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อควบคุมโรคไม่ให้รุนแรงและเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน สำหรับผู้ที่ไม่แน่ใจว่า ตนมีความเสี่ยงโรคเบาหวานหรือไม่ สามารถไปตรวจสุขภาพ หรือตรวจเลือดเพื่อความมั่นใจ (ดูแพ็กเกจตรวจเบาหวานได้ที่นี่)

อินซูลิน (Insulin) เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ช่วยร่างกายในการปรับระดับน้ำตาลในเลือด ไม่ให้สูงเกินไป (Hyperglycemia) หรือต่ำเกินไป (Hypoglycemia) โดยค้นพบอินซูลินสำหรับการรักษาโรคเบาหวานเมื่อช่วง ค.ศ. 1920-1929 

ทั้งนี้ก่อนหน้าที่จะมีการค้นพบอินซูลิน โรคเบาหวานนั้นยังไม่สามารถรักษาได้และมักจบลงที่ความตาย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การผลิตอินซูลิน

อินซูลินผลิตขึ้นจากเซลล์พิเศษที่อยู่ในตับอ่อนซึ่งมีชื่อว่า "เบต้า" (beta cells) ในเวลารับประทานอาหารเซลล์เบต้าจะหลั่งอินซูลินออกมาเพื่อช่วยให้ร่างกายใช้น้ำตาลในเลือด หรือเก็บสะสมไว้ 

ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จะไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เนื่องจากเซลล์เบต้าถูกทำลาย 

ส่วนผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะไม่สามารถสร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอ หรือร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม 

ซึ่งไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรือ 2 ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจมีความจำเป็นที่ต้องใช้ยาฉีดอินซูลิน (สังเคราะห์ หรือจากธรรมชาติ) เพื่อช่วยร่างกายในการปรับระดับน้ำตาลในเลือด 

สาเหตุที่ทำให้การผลิตอินซูลินผิดปกติ 

การผลิตอินซูลินที่ไม่เพียงพอต่อร่างกายจะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงได้และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานขึ้น แล้วปัจจัยอะไรบ้างส่งผลให้อินซูลินในร่างกายผิดปกติ

ความอ้วน 

ไขมันส่วนเกินในร่างกายของผู้เป็นโรคอ้วนจะทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถนำอินซูลินไปจัดการน้ำตาลและไขมันต่างๆ ในร่างกายได้ ส่งผลให้เกิดภาวะก่อนเป็นเบาหวานตามมา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ความผิดปกติของตับอ่อน 

ตับอ่อนเป็นอวัยวะซึ่งทำหน้าที่ผลิตอันซูลิน ถ้าตับอ่อนเสื่อมสภาพ หรือเกิดความผิดปกติ ก็จะมีผลต่อการผลิตอินซูลิน

ยีน 

ยีนเป็นสารพันธุกรรมที่มีบทบาทต่อการผลิตอินซูลินในร่างกาย ถ้ายีนในร่างกายมีความผิดปกติ หรือกลายพันธุ์ ความสามารถในการผลิตอินซูลินและการลดระดับน้ำตาลในเลือดก็จะบกพร่องตามไปด้วย 

เช่น โรคเบาหวานประเภทโมโนเจนิก ซึ่งเป็นโรคเบาหวานที่เกิดจากยีนในร่างกายที่ผิดปกติ หรือกลายพันธุ์มาจากพ่อแม่ 

ชนิดของอินซูลิน

อินซูลินแบบฉีดสำหรับรักษาโรคเบาหวานมีหลายชนิด ได้แก่

1. อินซูลินชนิดที่ออกฤทธิ์เร็ว 

อินซูลินชนิดนี้จะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 30 นาที หลังจากฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนังและจะออกฤทธิ์มากที่สุดใน 1 ชั่วโมง และยังคงมีฤทธิ์อยู่ได้ถึง 2-4 ชั่วโมง โดยปกติแล้วจะให้ในเวลาก่อนอาหาร โดยใช้ร่วมกับอินซูลินที่ออกฤทธิ์ระยะยาว 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ยาอินซูลินอเฟรซซา (Afrezza) เป็นตัวอย่างของอินซูลินชนิดที่ออกฤทธิ์เร็ว สามารถใช้โดยการสูดหายใจผ่านทางปากเข้าไป ซึ่งสะดวกสำหรับผู้ป่วยหลายคน

2. อินซูลินชนิดที่ออกฤทธิ์สั้น 

อินซูลินชนิดนี้จะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 30 นาทีหลังจากเริ่มฉีด แต่จะออกฤทธิ์มากที่สุดใน 2-3 ชั่วโมง และยังคงมีฤทธิ์อยู่ถึง 3-6 ชั่วโมง โดยปกติแล้วจะให้ก่อนอาหาร ร่วมกับอินซูลินที่ออกฤทธิ์ระยะยาว

3. อินซูลินชนิดที่ออกฤทธิ์ปานกลาง 

อินซูลินชนิดนี้จะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 2-4 ชั่วโมงหลังจากเริ่มฉีด แต่จะออกฤทธิ์มากที่สุดใน 12 ชั่วโมง และยังคงมีฤทธิ์อยู่ถึง 12-18 ชั่วโมง โดยปกติแล้วจะให้ 2 ครั้งต่อวัน ร่วมกับอินซูลินชนิดที่ออกฤทธิ์เร็ว หรือสั้นร่วมด้วย

4. อินซูลินชนิดที่ออกฤทธิ์ระยะยาว  

อินซูลินชนิดนี้จะเริ่มออกฤทธิ์หลังจากเริ่มฉีดไปแล้วหลายชั่วโมง จะออกฤทธิ์นานได้ถึง 24 ชั่วโมง และสามารถใช้ร่วมกับอินซูลินชนิดที่ออกฤทธิ์เร็ว หรือ สั้นได้ แพทย์จะช่วยตัดสินใจเกี่ยวกับชนิดและรูปแบบของอินซูลินว่าเป็นแบบ ปากกาฉีด เช่น ยาทูโจ (Toujeo) เข็มฉีดยา หรือตัวปั๊ม แบบไหนคือตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับตัวโรคและวิถีการใช้ชีวิตของคุณ

5. อินซูลินปั๊ม

อินซูลินปั๊ม (Insulin Pump) เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่จะช่วยฉีดอินซูลินชนิดออกฤทธิ์เร็ว หรือสั้น ตลอด 24 ชั่วโมงทั้งวัน โดยฉีดผ่านท่อเล็กๆ ที่จะฝังไว้ใต้ผิวหนัง อินซูลินปั๊มนิยมใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 แต่ก็สามารถใช้ได้ในผู้ป่วย โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เช่นกัน

อินซูลินที่ใช้ในเมืองไทยมีทั้งแบบเดี่ยว และแบบผสมอินซูลินที่ออกฤทธิ์ระยะเวลาต่างๆ เข้าด้วยกัน

อาหารที่ช่วยในการหลั่งอินซูลิน

เพื่อให้ฮอร์โมนอินซูลินมีการทำงานที่สม่ำเสมอและลดความเสี่ยงต่ออาการของโรคเบาหวานที่รุนแรงขึ้น การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อฮอร์โมนอินซูลินจึงเป็นสิ่งสำคัญ 

ตัวอย่างอาหารที่สามารถเลือกรับประทานได้ต่อไปนี้

1. ผักและผลไม้บางชนิด

  • แอปเปิลเขียว แอปเปิลเขียวอาจไม่ได้เข้าไปช่วยเรื่องการหลั่งอินซูลินโดยตรง แต่เป็นการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอโดยไม่เร็วจนเกินไปและจะเปลี่ยนเป็นพลังงานให้กับร่างกายอย่างช้าๆ ทั้งยังอิ่มท้องนานกว่าขนมหวานทั่วไป แอปเปิลเขียวจึงจัดเป็นอาหารว่างสำหรับการลดน้ำหนักได้ดีและเป็นผลไม้ที่ช่วยเรื่องประสิทธิภาพการขับถ่ายด้วย
  • ส้มโอ มีวิตามินซี เส้นใยสูง และมีสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ซึ่งช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของหลอดเลือด สร้างสมดุลให้อินซูลิน รวมถึงระดับน้ำตาลในเลือด
  • ขิง สมุนไพรไทยที่ทำให้ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดลดลง และส่งผลต่อการเพิ่มปริมาณการหลั่งของอินซูลิน สามารถในรูปแบบผสมกับอาหารได้ หรือจะเป็นเครื่องดื่มได้เช่นกัน
  • กระเทียม ในกระเทียมมีสารอัลซิลิน (Allicin) ซึ่งมีสรรพคุณช่วยลดไขมันกับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต และเพิ่มประสิทธิภาพการหลั่งของอินซูลินได้
  • อบเชย เป็นอีกสมุนไพรที่ช่วยเพิ่มการหลั่งของอินซูลิน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ และยังช่วยควบคุมปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ 

2. ผักไร้แป้ง (Non-starchy vegetables)

หลายคนอาจเข้าใจผิดว่า ผักไม่มีแป้ง หรือคาร์โบไฮเดรตผสมอยู่เลย แต่ความจริงแล้วผักจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ

  • ผักมีแป้ง มีสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต สามารถเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดคนได้ 
  • ผักไร้แป้ง เป็นผักซึ่งไม่มีสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตอยู่ และเหมาะสำหรับการรับประทานเพื่อเพิ่มความสมดุลให้อินซูลิน เช่น

คุณสามารถรับประทานผักได้ด้วยการปรุงอาหารหลายรูปแบบ อย่าข้อควรระวังคือ อย่าใส่น้ำตาล เกลือ มากเกินไปเพื่อป้องกันไขมันและโซเดียมที่อาจได้รับเกินความจำเป็น 

3. ธัญพืชโฮลเกรน

อาหารประเภทที่มีธัญพืชโฮลเกรน (Whole grains) อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ ทางที่ดีที่สุดสำหรับการรับประทานธัญพืชคือ การมองหาอาหารที่ทำจากธัญพืช 100% เพราะอาหารที่มีการดัดแปลงธัญพืชมาใช้ในส่วนผสมส่วนใหญ่มักไม่ได้ให้คุณค่าทางสารอาหารมากเท่าที่ควร 

อาหารธัญพืชโฮลเกรนที่ได้รับความนิยมได้แก่

  • ขนมปังกรอบแครกเกอร์
  • ขนมปังธัญพืช
  • ข้าวโพดคั่ว
  • ข้าวกล้อง
  • เส้นพาสต้า
  • ข้าวโอ๊ต

4. โกโก้ 

โกโก้ (Cacao) มีสารเคมีอีพิแคทีชิน (Epicatechin) ซึ่งช่วยควบคุมความดันโลหิตให้คงที่และเพิ่มการหลั่งอินซูลินให้มากขึ้น โดยเครื่องดื่มและขนมยอดนิยมที่ผสมโกโก้จะเป็นดาร์กช็อกโกแลต (Dark Chocolate) 

แต่สิ่งที่ต้องระวังก็คือ อาหารประเภทที่มีโกโก้เป็นส่วนผสมส่วนมากมักมีส่วนผสมของนมและน้ำตาลรวมอยู่ด้วย เวลาที่เลือกซื้อ เราจึงจำเป็นต้องดูรายละเอียดของส่วนผสมอาหารว่า  มีปริมาณน้ำตาลมากน้อยขนาดไหน 

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานสามารถรับประทานดาร์กช็อกโกแลตได้ แต่ต้องจำกัดปริมาณอยู่ที่ 1-2 ชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กต่อวันเท่านั้น

การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อควบคุมการหลั่งอินซูลินไม่เพียงแต่ทำให้ลดความเสี่ยงของอาการโรคเบาหวานเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพด้านอื่นอีกด้วย เช่น

  • มีภาวะอารมณ์ที่คงที่ ไม่ซึมเศร้าและสดชื่นขึ้น
  • ลดอาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า
  • ทำให้ระบบการทำงานของเส้นเลือดและสมองดีขึ้น
  • ลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนในโรคบางชนิด เช่น โรคเกี่ยวกับระบบประสาท โรคไตเรื้อรัง

ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ได้แก่ การรับประทานยา การใช้อินซูลิน (ถ้ามี) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทาน และไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต 

ทั้งนี้เพื่อควบคุมโรคเบาหวานให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย ไม่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย และสามารถลดระดับความรุนแรงของโรคลงได้ทีละน้อย ลดการใช้ หรือลดการใช้อินซูลินลงได้นั่นเอง 

ดูแพ็กเกจตรวจเบาหวาน เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Katsoyannis PG, Fukuda K, Tometsko A, Suzuki K, Tilak M (1964). "Insulin Peptides. X. The Synthesis of the B-Chain of Insulin and Its Combination with Natural or Synthetis A-Chin to Generate Insulin Activity". Journal of the American Chemical Society. 86 (5): 930–32. doi:10.1021/ja01059a043
American Society of Health-System Pharmacists (2009-02-01). "Insulin Injection". PubMed Health. National Center for Biotechnology Information, U.S. National Library of Medicine. Retrieved 2012-10-12.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)