กระเทียม สารอาหาร สรรพคุณ ประโยชน์ และวิธีใช้เพื่อสุขภาพ

สมุนไพรคู่ครัวไทยที่บำรุงระบบทางเดินอาหารได้ยอดเยี่ยม และแก้ปัญหากลาก เกลื้อน ได้เยี่ยมยอด
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 13 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
กระเทียม สารอาหาร สรรพคุณ ประโยชน์ และวิธีใช้เพื่อสุขภาพ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • กระเทียม เป็นสมุนไพรที่อยู่กับครัวของคนไทยมานาน และยังมีสรรพคุณทางยาหลากหลายมาตั้งแต่โบราณ โดยแพทย์แผนไทยใช้กระเทียมรักษาโรคกลอก เกลื้อน แก้ไอ ลดอาการจุกเสียด
  • นอกจากนี้ กระเทียมยังมีประโยชน์ในการยังยั้งเชื้อแบคทีเรียเกือบทุกชนิด ลดความดันโลหิต ต้านการแข็งตัวของเลือด บรรเทาอาการอักเสบของแผลในกระเพาะอาหาร บรรเทาโรคไข้หวัด หอบหืด ปวดเมื่อยตามข้อ
  • วิธีรับประทานกระเทียมให้ได้ประโยชน์สูงสุด คือ รับประทานวันละประมาณ 4 กรัม จะเป็นรูปแบบส่วนประกอบในมื้ออาหารก็ได้ หรือแบบแคปซูล 1 เม็ด รับประทานวันละ 2 ครั้งหลังอาหารก็ได้
  • ยังมีข้อควรระวังบางอย่างเกี่ยวกับการรับประทานกระเทียม เช่น การรับประทานในปริมาณมากเกินจะทำให้เกล็ดเลือดต่ำ เลือดออกไม่หยุด แข็งตัวช้า อีกทั้งต้องระมัดระวังในการใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือดด้วย
  • กระเทียมจะส่งผลกระทบหนักต่อระบบไหลเวียนเลือดหากใช้ไม่เหมาะสม ทาที่ดีคุณควรรับประทานอาหารที่หลากหลายครบ 5 หมู่ และหมั่นไปตรวจสุขภาพกับแพทย์อยู่บ่อยๆ (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัยได้ที่นี่)

เมื่อพูดถึง "กระเทียม" หลายคนคงถึงสมุนไพรคู่ครัวที่มีกลิ่นฉุน รสชาติเผ็ดร้อนเป็นเอกลักษณ์ แต่รู้ไหมว่า ภายใต้ความฉุน และรสเผ็ดร้อนที่ว่านี้กลับซ่อนประโยชน์ไว้อีกมากมาย 

รู้จักกระเทียม 

กระเทียม (garlicมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Allium sativum L. เป็นพืชใบเรียวยาว แบน แคบ ปลายแหลม โคนใบแผ่เป็นแผ่น และเชื่อมติดกันหุ้มรอบใบอ่อนกว่าด้านใน ลักษณะคล้ายลำต้นเทียม 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ตัวดอกของกระเทียมจะออกดอกเป็นช่อ ติดเป็นกระจุกที่ปลายก้าน ดอกย่อยมีกาบหุ้มเป็นจะงอยยาว กลีบดอกมี 6 กลีบ รูปยาวแหลม สีขาวแต้มสีม่วง หรือขาวอมชมพู ผลขนาดเล็กเป็นกระเปาะสั้นๆ รูปไข่หรือค่อนข้างกลม มี 3 พู เมล็ดเล็ก สีดำ 

กระเทียมมีลำต้นใต้ดินเป็นหัวลักษณะกลมแป้นแต่ละหัวประกอบด้วย 6-10 กลีบ เปลือกนอกมีเยื่อสีขาว หรือม่วงอมชมพูหุ้มอยู่ 2-4 ชั้น ลอกออกได้   

นอกจากครัวไทยจะใช้ประโยชน์จากส่วนหัวกระเทียมเป็นหลักในการดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ แต่งกลิ่น และเพิ่มรสชาติให้กับอาหารประเภทผัดชนิดต่างๆ ได้อย่างดีแล้ว  ส่วนใ บและหัวกระเทียมสดๆ ยังสามารถกินเป็นผักเคียงได้ด้วย  

ส่วนนอกครัวยังมีการนำกระเทียมมาเป็นสมุนไพรบรรเทาปัญหาสุขภาพด้วย อย่างที่ปรากฏหลักฐานว่า แพทย์แผนไทยใช้กระเทียมสดรักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน โรคบิด ป่วง แก้ไอ กระจายลมและโลหิต ลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง 

การศึกษาทดลองคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาในระยะหลัง พบว่า กระเทียมมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคได้อีกหลายอย่าง แต่การนำมาใช้ประโยชน์ให้ได้ผลอย่างจริงจังยังจะต้องมีการศึกษาผลทางคลินิกวิทยาให้ถ่องแท้เสียก่อน

สารสำคัญที่เป็นสารออกฤทธิ์ของกระเทียม

สารในกลุ่มสารประกอบกำมะถัน (Organosulfur) เช่น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • อัลลิซาติน (Allisatin)  
  • อะโจอีน (Ajoene) 
  • ไดแอลลิล ซัลไฟด์ (Diallyl Sulfide)
  • อัลเคนีล ไตรซัลไฟด์ (Alkenyl trisulfide)  

สารกลุ่มฟลาวานอยด์ เช่น 

  • เควอซิทิน (Quercetin)
  • ไอโซเควอซิทิน (Isoquercitrin) 
  • เรย์นูทริน (Reynoutrin) 
  • แอสตรากาลิน (Astragalin)

คุณค่าทางโภชนาการ

กระเทียมดิบปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 149 กิโลแคลอรี และประกอบด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้

คาร์โบไฮเดรต 33.06 กรัม เส้นใยอาหาร 2.1 กรัม  แคลเซียม 181 มิลลิกรัม  ฟอสฟอรัส 153 มิลลิกรัม  แมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 401 มิลลิกรัม ซิลีเนียม 14.2 ไมโครกรัม วิตามินบี 5 0.596 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 1.235 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 3 ไมโครกรัม วิตามินซี 31.2 มิลลิกรัม

สรรพคุณต่างๆ ของกระเทียม มีดังนี้

  • ฆ่าเชื้อรา คือ กลาก เกลื้อน ที่ผิวหนัง ผม ขน ทั้งในคนและในสัตว์ได้ดี

  • ยับยั้งเชื้อต่างๆ เช่น เชื้อที่ทำให้เกิดฝีหนอง และใช้รักษาแผลสด แผลที่เป็นหนอง คออักเสบ ทอนซิลอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ เชื้อวัณโรค และเชื้อปอดบวม

  • ฆ่า หรือยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแทบทุกชนิด เพราะในกระเทียมมีสารอัลลิซิน ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่มักทำให้เกิดโรคได้ถึง 15 ชนิด โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียกลุ่มที่ดื้อยาเพนนิซิลิน

    นอกจากนี้ กระเทียมยังมีสารกาลิซินที่สามารถฆ่าเชื้อบิดมีตัวที่มีพิษต่อลำไส้ได้ดี รวมถึงสามารถยับยั้งเชื้อบิดเทียม ซึ่งไม่รบกวนแบคทีเรียตัวอื่นที่มีประโยชน์ต่อลำไส้ได้

  • น้ำมันกระเทียมมีฤทธิ์ต้านเชื้อราก่อโรคติดเชื้อในช่องปาก และผิวหนังหลายชนิด เช่น เชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida albicans) เชื้อแคนดิดา ทรอปิคาลีส (Candida tropicalis) เชื้อไมโครสปอรัม เคนิส (Microsporum canis)

  • น้ำมันหอมระเหยจากกระเทียมมีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ก่อโรคติดเชื้อในช่องปาก หูอักเสบ และผิวหนัง

  • มีสรรพคุณต้านเชื้อรา เปอร์กิลลัส ฟูมิกาทัส (Aspergillus fumigatus) ที่ทำให้ก่อโรคติดเชื้อในปอด

  • ฆ่าเชื้อยีสต์ชนิดที่ทำให้เกิดลิ้นขาวเป็นฝ้าในเด็กทารก และทำให้เกิดโรคมุตกิดระดูขาวที่มักจะเกิดในหญิงที่ตั้งครรภ์ หรือกินยาคุมกำเนิด ยาปฏิชีวนะหรือยาสเตียรอยด์เป็นเวลานานๆ

  • ลดระดับความดันโลหิต

  • มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด

  • สารอัลลิซิน (Allicin) และอะโจอีน (Ajoene) ในกระเทียม ช่วยลดการซึมผ่านของคอเลสเตอรอล จากลําไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือด

  • ป้องกันการอุดตันของไขมันในหลอดเลือด

  • ลดระดับน้ำตาลในเลือด

  • ช่วยบรรเทาอาการอักเสบรักษาแผลในกระเพาะอาหาร และช่วยลดอาการแน่นจุกเสียดในผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะ

  • แก้ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย เนื่องจากมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของเมตาบอลิซึม จึงทำให้ร่างกายสามารถย่อยอาหารได้ดีขึ้น

  • ช่วยรักษาโรคกระเพาะ เพราะมีสารเอเอส 1 ซึ่งช่วยยับยั้งไม่ให้น้ำย่อยอาหารมาย่อยแผลในกระเพาะได้ และยังช่วยรักษาโรคตับอ่อนอักเสบชนิดรุนแรงได้ด้วย

  • ขับพยาธิต่างๆ ได้หลายชนิด ได้แก่ พยาธิเข็มหมุด พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย และกระเทียมยังมีสารไดอัลลิล ไดซัลไฟด์ (Daiallyl disulfide) มีฤทธิ์ใช้ฆ่าพยาธิไส้เดือนได้ดี

  • มีฤทธิ์ช่วยสมานแผล ผ่านการกระตุ้นให้มีการสร้างเนื้อเยื่อบุผิว และคอลลาเจนใหม่ มีการเจริญของมัดเส้นใยคอลลาเจน และมีการสร้างเส้นเลือดใหม่

  • ช่วยบรรเทาอาการไข้หวัด

  • ในทางแพทย์แผนไทยนำกระเทียมไปเป็นส่วนผสมในตำรับยาที่ช่วยในการขับเสมหะ และมีฤทธิ์ขับเหงื่อและขับปัสสาวะ รวมถึงในตำรับยาที่ช่วยในการบำรุงไฟธาตุ กระตุ้นการเผาผลาญ ช่วยลดน้ำหนัก

  • ช่วยบรรเทาอาการโรคไอกรน

  • บรรเทาอาการหืดและโรคหลอดลม

  • แก้เคล็ดขัดยอก และเท้าแพลง เพราะมีสารอัลลิซินเป็นตัวช่วยทำให้เลือดไหลเวียนมายังบริเวณที่ทาถูนวดยาได้ดีมากขึ้น และมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ

  • แก้ปวดข้อ และปวดเมื่อย

  • ต่อต้านเนื้องอก เนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง

วิธีรับประทานกระเทียมเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด

การรับประทานกระเทียมที่เหมาะสม และปลอดภัยที่สุด คือ รับประทานประกอบในมื้ออาหารต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้วันละ 1-2 มื้อ (3-5 กลีบต่อมื้อ) หรือประมาณ 4 กรัมต่อวัน แต่ไม่ควรรับประทานมากกว่านี้ เพราะอาจเสี่ยงต่อภาวะเลือดแข็งตัวช้ว หรือเลือดไหลไม่หยุดได้    

การได้รับสารในกระเทียมในปริมาณคงที่สม่ำเสมอ จะช่วยให้การดูดซึมสารสำคัญของกระเทียมไปใช้ในร่างกายเป็นไปอย่างคงที่ อีกทั้งสามารถช่วยป้องกันโรคหวัด และลดการดูดซึมคอเลสเตอรอล ช่วยในการเผาผลาญอาหารได้ดี เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก 

การใช้กระเทียมในการรักษาโรค 

ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข กระเทียมมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคได้หลายอย่าง ดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  1. การใช้กระเทียมรักษาอาการแน่นจุกเสียด
    - นำกระเทียม 5-7 กลีบ บดให้ละเอียด เติมน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ เกลือและน้ำตาลนิดหน่อย ผสมให้เข้ากัน กรองเอาเฉพาะน้ำดื่ม
    - นำกระเทียมมาปอกเปลือก นำเนื้อใน 5 กลีบมาซอยให้ละเอียด รับประทานกับน้ำหลังอาหารทุกมื้อ แก้ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย
  2. การใช้กระเทียมรักษากลาก เกลื้อน
    - นำกระเทียมมาขูดให้เป็นชิ้นเล็กๆ หรือบดให้แหลก พอกที่ผิวหนัง แล้วปิดด้วยผ้าพันแผลไว้นานอย่างน้อย 20 นาที จึงล้างออกด้วยน้ำสะอาด ทำซ้ำเช้าเย็นเป็นประจำทุกวัน
    - ขูดผิวหนังส่วนที่เป็นเกลื้อนให้พอเลือดซึม แล้วใช้กระเทียมสดทา ทำเช่นนี้ทุกวัน อาการจะหายไปภายในเวลาประมาณ 10 วัน

วิธีรับประทานกระเทียมแคปซูล

นอกจากการนำกระเทียมมาปรุงอาหารเมนุูต่างๆ  หรือรับประทานแบบสดๆ หรือรับประทานแบบดองแล้ว ปัจจุบันยังมีการนำกระเทียมไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สารสกัดน้ำมันกระเทียม 

การรับประทานกระเทียมแคปซูลจะได้ผลดี หากรับประทานอย่างถูกวิธี และถูกสัดส่วน โดยวิธีรับประทานกระเทียมแคปซูลอย่างเหมาะสม คือ รับประทาน 1 แคปซูล วันละ 2 ครั้งหลังอาหาร แต่ไม่ควรรับประทานต่อเนื่องเกิน 3 เดือน ควรหยุดพัก 1-2 สัปดาห์ แล้วค่อยกลับมารับประทานใหม่

ข้อควรระวังในการรับประทานกระเทียม

  • เด็ก สตรีมีครรภ์ และสตรีที่อยู่ระหว่างให้นมบุตรไม่ควรรับประทาน
  • การรับประทานกระเทียมสดในปริมาณสูง กระเทียมชนิดเม็ด หรือแคปซูลเป็นเวลานาน  (รับประทานติดต่อกันทุกวันเป็นเวลานานมากๆ) จะมีผลทำให้เกล็ดเลือดต่ำลง  เลือดออกในสมอง เลือดหยุดช้า และเลือดออกไม่หยุดในขณะผ่าตัด
  • กระเทียมมีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด ยับยั้งการเกาะกันของเกล็ดเลือด ทำให้เลือดเหลวและแข็งตัวช้า

    ดังนั้นคุณต้องระมัดระวังการใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาวาฟาริน (Warfarin) หรือยาต้านการจับตัวของเกร็ดเลือด และยา NSAIDs บางชนิด เช่น ยาแอสไพริน (Aspirin) และ ยาอินโดเมทาซิน (Indomethacin) เพราะจะทำให้ค่าการแข็งตัวของเลือดลดลง และอาจทำให้เลือดออก

กระเทียมถือเป็นสมุนไพรที่ทั้งให้รสชาติ และกลิ่นที่หอมอร่อย อีกทั้งมีสรรพคุณทางยาที่หลากหลาย คุณจึงไม่ควรพลาดที่จะหากระเทียมมาประกอบอาหารเพื่อบริโภคบ้าง 

แต่สำหรับคนไทย ทุกๆ คนน่าจะเคยได้บริโภคกระเทียมกันมาหมดแล้ว เพราะในอาหารไทยเกือบทุกชนิดต่างมีกระเทียมเป็นส่วนผสมอยู่ อย่างไรก็ตาม คุณก็ควรบริโภคกระเทียมอย่างพอเหมาะเท่านั้น และอย่ารับเข้าร่างกายมากเกินความจำเป็นจนเสี่ยงเกิดอันตราย

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (http://www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/allium.html)
พนิดา ใหญ่ธรรมสาร, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (http://www.medplant.mahidol.ac.th/events/25580128/doc25580128_01.pdf)
Denis Zofou and Vincent P.K. Titanji, Antimalarial and Other Antiprotozoal Products from African Medicinal Plants (https://www.sciencedirect.com/...), 2013

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป