ฟอสฟอรัส เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่ทำงานร่วมกับแคลเซียม มีความจำเป็นต่อร่างกายทั้งในภาวะปกติเพื่อการเจริญเติบโต และในภาวะเจ็บป่วย ปกติแล้วฟอสฟอรัสในร่างกายของคนเราจะถูกเก็บอยู่ในกระดูกประมาณ 80% อีก 10% อยู่ในกล้ามเนื้อ ส่วนที่เหลืออีก 10% จะอยู่ในเลือดที่อยู่ในรูปของฟอสเฟส
เมื่อตอนที่ยังเป็นเด็กและต้องการการเจริญเติบโต ร่างกายจะมีความต้องการแคลเซียมและฟอสฟอรัสเพื่อนำไปใช้ในการเสริมสร้างกระดูกให้โตและแข็งแรง ดังนั้นในเด็กจึงต้องการแคลเซียมและฟอสฟอรัสในปริมาณที่มากกว่าผู้ใหญ่ นอกจากนี้ ฟอสฟอรัสยังจำเป็นต่อการทำงานของเซลล์ในร่างกาย เพื่อให้อวัยวะต่างๆ ทำงานได้ตามปกติ ไปกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท และกระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อด้วย
ผลิตภัณฑ์สำหรับเข่าและกระดูก สูตรเฉพาะ รวมสารสกัดที่ผ่านงานวิจัย คอลลาเจน UC-II ขมิ้นชัน งาดำ และวิตามิน
ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
เมื่อร่างกายได้รับฟอสฟอรัสจากการดูดซืมผ่านผนังลำไส้ ส่วนหนึ่งของฟอสฟอรัสในเลือดจะถูกขับออกทางปัสสาวะ หากไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ฟอสฟอรัสจะสมในร่างกาย
ระดับฟอสฟอรัสในเลือดปกติ ต่ำ และสูง
ฟอสฟอรัสในเลือดจะปกติ ต่ำ และสูง พิจารณาได้จากระดับฟอสฟอรัสในหน่วยมิลลิควิวาเลนต์ต่อลิตร ดังนี้
- ระดับฟอสฟอรัสในเลือดปกติ อยู่ที่ 3.5-5.5 mEq/L
- ระดับฟอสฟอรัสในเลือดต่ำ น้อยกว่า 3.5 mEq/L (จะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร กล้ามเนื้ออ่อนแรง)
- ระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูง มากกว่า 5.5 mEq/L
ฟอสฟอรัสในเลือดต่ำ จะมีอาการอย่างไร?
ฟอสฟอรัสในเลือดต่ำทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร กล้ามเนื้ออ่อนแรง
เมื่อฟอสฟอรัสในเลือดสูงจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?
มีอาการทั้งภายนอกและภายในที่บ่งบอกถึงภาวะฟอสฟอรัสในเลือดสูง ดังนี้
- คันตามผิวหนัง เนื่องจากฟอสฟอรัสที่มีมากในเลือดไปสะสมตามเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง
- กระดูกบางและเปราะ เนื่องจากเมื่อไตทำหน้าที่ได้น้อยลง การขับฟอสฟอรัสก็จะน้อยลงไปด้วย ทำให้เกิดการสะสมของฟอสฟอรัสมากขึ้นในหลอดเลือด ร่างกายจึงตอบสนองโดยการนำแคลเซียมมาจับกับฟอสฟอรัส หากระดับของแคลเซียมในเลือดไม่พอ แคลเซียมก็จะละลายออกมาจากกระดูก จนทำให้เนื้อกระดูกบางลง กระดูกจะเปราะและหักง่ายขึ้น
- หลอดเลือดแดงแข็ง เกิดจากการตกตะตอนของแคลเซียมกับฟอสฟอรัส มักเกิดตามหลอดเลือดหัวใจ หรือหลอดเลือดที่ใช้ฟอกเลือด ทำให้อุดตันได้ง่าย
- มีก้อนแคลเซียมเกาะตามเนื้อเยื่อต่างๆ ทำให้มีแผลเรื้อรัง
- ภาวะต่อมพาราไทรอยด์โต เมื่อระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูง จะกระตุ้นต่อมพาราไทรอยด์มากขึ้นเพื่อผลิตฮอร์โมนเร่งการสลายแคลเซียมในกระดูกเข้าสู่กระแสเลือด มีผลทำให้กระดูกบางด้วย
ฟอสฟอรัสกับการรับประทานอาหาร
ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม มักมีภาวะฟอสฟอรัสในเลือดสูง ร่างกายจะรักษาระดับฟอสฟอรัสให้อยู่ในระดับปกติ โดยมีตัวช่วยคือ แคลเซียมและฮอร์โมนพาราไทรอยด์ ฟอสฟอรัสสะสมจะมากหรือน้อยมักขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการบริโภคจากอาหารด้วย
การควบคุมระดับฟอสฟอรัสในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยการควบคุมอาหารร่วมกับการฟอกเลือด จะช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
ผลิตภัณฑ์สำหรับเข่าและกระดูก สูตรเฉพาะ รวมสารสกัดที่ผ่านงานวิจัย คอลลาเจน UC-II ขมิ้นชัน งาดำ และวิตามิน
ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ปริมาณฟอสฟอรัสที่แนะนำคือ ระหว่าง 800-1,000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยรักษาระดับฟอสฟอรัสในเลือดไม่ให้เกิน 5.5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงถ้ามีระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูง
ถ้ามีระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูง ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารต่อไปนี้
- นมและผลิตภัณฑ์จากนม เช่น นมสดรสจืด นมรสหวาน นมพร่องมันเนย นมขาดมันเนย นมข้น นมผง นมปรุงแต่งกลิ่นรส นมเปรี้ยว โยเกิร์ตชนิดข้นและชนิดดื่มได้ ไอศกรีม คัสตาร์ดครีม ชีส ช็อกโกแลต เนยแข็งทุกชนิด
- ถั่วเมล็ดแห้งและผลิตภัณฑ์จากถั่ว เช่น ถั่วคั่ว ถั่วทอด เนยถั่ว นมถั่วเหลือง ลูกชุบ กระยาสารท เต้าฮวย เต้าหู้ น้ำเต้าหู้
- เมล็ดพืชแห้ง ธัญพืชและผลิตภัณฑ์จากธัญพืช เช่น เมล็ดแตงโม เมล็ดฟักทอง เมล็ดดอกทานตะวัน ข้าวบาร์เลย์มอลต์ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ อัลมอนด์ ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง ลูกเดือย งาดำ เครื่องดื่มธัญพืชต่างๆ
- อาหารที่มีโปรตีนสูงบางชนิด เช่น เครื่องในสัตว์ แมลง ไข่ปลา ไข่แดงและผลิตภัณฑ์ที่ไข่แดงเป็นส่วนประกอบอาหาร เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง สังขยา บะหมี่ มายองเนส สลัดครีม
- อาหารที่สามารถกินได้ทั้งกระดูก เช่น กุ้งแห้ง ปลากรอบ ปลาเล็กปลาน้อย ครีบปลา
- อาหารเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม ลูกชิ้น แหนม กุนเชียง หมูยอ
- อาหารทะเลแช่แข็ง เช่น กุ้ง ปลาทะเล ที่มีการแล่เป็นชิ้นแล้วแช่แข็ง
- เครื่องดื่มสีเข้ม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลม เครื่องดื่มโกโก้ โคล่า เบียร์
- อาหารที่ทำจากยีสต์ อาหารที่มีส่วนผสมของผงฟู เช่น ขนมปังปอนด์ โดนัท ขนมอบ เบเกอรี เค้ก แป้งซาลาเปา หมั่นโถว คุกกี้ พาย
- อาหารที่มีลักษณะเป็นผง เช่น น้ำตาลป่น นมผง เกลือป่น ครีมผง ผงเครื่องดื่มสำเร็จรูปต่างๆ ที่มีการใส่ฟอสเฟตเพื่อไม่ให้จับตัวกันเป็นก้อน
หมายเหตุ ฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปสารสังเคราะห์ ที่เป็นสารปรุงแต่งอาหารหรือสารกันบูดในอาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป และเครื่องดื่มต่างๆ ร่างกายสามารถดูดซึมได้มากกว่าฟอสฟอรัสที่มาจากอาหารธรรมชาติ ทำให้ระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูงขึ้นได้เร็ว ดังนั้นผู้ป่วยที่มีภาวะฟอสฟอรัสในเลือดสูงควรหลีกเลี่ยงอาหารกลุ่มนี้
ตัวอย่างปริมาณฟอสฟอรัสในอาหารที่พบบ่อย
อาหาร (ปริมาณ 100 กรัม หรือ ประมาณ 6 ช้อนโต๊ะ) | ปริมาณฟอสฟอรัสในอาหาร (มิลลิกรัม) |
ข้าวโพด | 360 |
นมผง | 360-400 |
งาดำ | 570 |
เต้าหู้ขาวอ่อน | 190 |
เต้าหู้เหลือง | 178 |
ถั่ว | 400-600 |
ฟองเต้าหู้ | 494 |
ถั่วพิสตาชิโอ | 500 |
เต้าหู้ทอด | 522 |
ปูทะเล | 402 |
ปลาซาร์ดีน | 430 |
ปลาร้า | 400 |
ปลาจาระเม็ดทอด | 325 |
ไข่ปลา | 400-500 |
ไข่เจียว | 313 |
เห็ดหอมแห้ง | 377 |
กบหรือกระดูกย่าง | 2,045 |
เบคอนอบไมโครเวฟ | 480-533 |
กุ้งเผา | 635 |
กุ้งแห้ง | 703 |
ปลาริวกิว/ปลาหวาน | 258 |
ลูกชิ้นกุ้ง | 170 |
ลูกชิ้นปลา | 101-114 |
นมข้นหวาน | 205 |
นมแพะ | 118 |
ไอศกรีม | 110 |