กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

น้ำเต้าหู้ ประโยชน์และโทษ วิธีทำ และวิธีการเลือกซื้อ

น้ำเต้าหู้ เครื่องดื่มที่อุดมไปด้วยโปรตีน ซึ่งจะมีประโยชน์ หรือมีโทษอะไรบ้างนั้น รวมถึงมีวิธีการทำและการเลือกซื้ออย่างไร ติดตามในบทความนี้ได้เลย
เผยแพร่ครั้งแรก 11 พ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 23 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 3 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
น้ำเต้าหู้ ประโยชน์และโทษ วิธีทำ และวิธีการเลือกซื้อ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • น้ำเต้าหู้ เครื่องดื่มสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ เพราะถั่วเหลืองให้โปรตีนสูง ให้คุณค่าโภชนาการไม่แพ้เนื้อสัตว์ มีแคลเซียมและไม่มีน้ำตาลแลกโตส
  • น้ำเต้าหู้ ช่วยลดไขมันและช่วยลดน้ำหนัก บำรุงกระดูก ทำให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้นและบำรุสมอง
  • ถั่วเหลืองมีฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิง ดังนั้นผู้ชายไม่ควรรับประทานน้ำเต้าหู้บ่อย เพราะทำให้ผลิตอสุจิได้น้อย
  • การดื่มน้ำเต้าหู้หรือน้ำนมถั่วเหลืองควรใส่ธัญพืชลงไปด้วย เพิ่มประโยชน์ครบถ้วนมากกว่าแค่ดื่มน้ำเต้าหู้เพียงอย่างเดียว
  • หากมีอาการท้องเสีย ท้องอืด หลังดื่มน้ำเต้าหู้ แนะนำให้ตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง ดูแพ็กเกจได้ที่นี่

น้ำเต้าหู้ หรือที่รู้จักกันว่า “น้ำนมถั่วเหลือง” เครื่องดื่มธัญพืชรสชาติอร่อยที่ทำมาจากถั่วเหลือง เป็นเครื่องดื่มยอดนิยมสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ เพราะมีราคาถูกและหาซื้อง่าย อีกทั้งยังให้คุณค่าทางสารอาหารได้ไม่แพ้เนื้อสัตว์ด้วยเช่นกัน จึงเป็นเครื่องดื่มทางเลือกเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์นั่นเอง

โภชนาการของน้ำเต้าหู้

น้ำเต้าหู้ ทำมาจากถั่วเหลือง ซึ่งถั่วเหลืองมีโปรตีนสูง ให้คุณค่าทางโภชนาการใกล้เคียงกับตว์ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ ถ้าเราบริโภคถั่วเหลืองในปริมาณที่สูงมากพอ ร่างกายก็จะได้รับโปรตีนเพียงพอกับความต้องการได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในน้ำเต้าหู้นั้นมีทั้งคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (carbohydrate) และโปรตีน (protein) ที่ไม่เป็นไขมันอิ่มตัวสายโมเลกุลยาวแบบเนื้อสัตว์  มีแคลเซียม (calcium) ในสัดส่วนที่ไม่มากเกินกว่าแมกนีเซียม (magnesium) ในแบบน้ำนมวัว รวมทั้งมีวิตามินแร่ธาตุ ต่างๆ มากมาย 

อีกทั้งน้ำเต้าหู้นั้นจะไม่มีน้ำตาลแลกโตส (lactose) และ กรดอะมิโนเคซีน (casein) เหมือนในน้ำนมวัว  จึงทำให้คนที่แพ้น้ำนมวัวสามารถดื่มได้โดยที่ไม่มีอาการท้องเสีย 

ประโยชน์ของน้ำเต้าหู้

น้ำเต้าหู้ อุดมไปด้วยสารไอโซฟลาโวน เมื่อดื่มแล้วร่างกายจะแปลงสารนี้เป็น “ไฟโตรเอสโตรเจน” ที่มีผลใกล้เคียงกับฮอร์โมนเอสเตรเจนในเพศหญิง ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ในเพศหญิง อีกทั้งยังมีวิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี6 วิตามินบี12 วิตามินซี วิตามินดี วิตามินอี ไนอาซิน และเลซิทิน โดยมีผลวิจัยที่เกี่ยวกับประโยชน์ของน้ำเต้าหู้ ดังนี้

  • ลดไขมันและช่วยลดน้ำหนัก ผู้หญิงก่อนวัยทองที่ดื่มนมถั่วเหลืองจะสามารถช่วยลดไขมันหรือลดความอ้วน อีกทั้งยังมีผลต่อการลดไขมันในหลอดเลือด ป้องกันไม่ให้เกิดปฏิกิริยาระหว่างสารต้านอนุมูลอิสระกับกรดไขมันอิ่มตัวในผู้ป่วยที่มีไขมันในเส้นเลือดสูงได้

  • บำรุงกระดูก สารฟลาโวนอยด์ที่อยู่ในน้ำนมถั่วเหลืองมีส่วนช่วยในการลดการสลายกระดูก ทำให้มวลกระดูกหนาแน่นขึ้น และยังช่วยเพิ่มปริมาณวิตามินดีในกระดูกของผู้หญิงวัยทองอีกด้วย

  • ทำให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น เพราะถั่วเหลืองมีใยอาหารสูง ซึ่งจะช่วยทำให้ทางเดินอาหารสะอาดและระบบขับถ่ายดีขึ้น

  • ลดความดันโลหิต พบว่าการดื่มน้ำเต้าหู้มีส่วนช่วยในเรื่องความดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัวและคลายตัวได้ และยังพบว่าทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร่วมกับการเป็นโรคไตนั้นสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้

  • บำรุงสมอง สารเลซิทินในน้ำเต้าหู้ช่วยบำรุงสมองและระบบประสาท ทำให้ความจำดีขึ้น

โทษของน้ำเต้าหู้

  • ดื่มติดต่อนานๆ อาจเกิดอันตราย การดื่มน้ำเต้าหู้หรือรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ทำมาจากถั่วเหลือง ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกิน 6 เดือน เนื่องจากอาจก่อให้เกิดอันตรายกับสุขภาพได้

  • ขาดสารอาหาร เพราะน้ำเต้าหู้ยังไม่สามารถใช้ดื่มเพื่อทดแทนอาหารชนิดอื่นได้ ดังนั้น จึงไม่ควรดื่มน้ำเต้าหู้เพียงอย่างเดียว

  • มีผลข้างเคียง บางรายพบว่ามีอาการแพ้ ผิวหนังและใบหน้าบวมแดง รวมทั้งอาการท้องผูกหรือคลื่นไส้ เด็กทารกไม่ควรดื่มน้ำเต้าหู้ เพราะอาจก่อให้เกิดอาการแพ้หรืออาจมีอันตรายหากดื่มมากเกินไป สตรีมีครรภ์หรือคุณแม่กำลังให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายที่อาจจะนำไปสู่เด็กทารก

  • มีผลต่อโรคประจำตัว หากมีโรคประจำตัวแต่ต้องการดื่มน้ำเต้าหู้ก็ควรปรึกษาแพทย์เสียก่อน เนื่องจากโรคบางโรคมีข้อจำกัดและอาจมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้ เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมหรือโรคมะเร็งเยื่อบุมดลูก เป็นต้น เพราะในถั่วเหลืองมีสารไอโซฟลาโวนที่คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนนั่นเอง ส่วนโรคอื่นๆ ก็มีผลทำให้เกิดความเสี่ยงหรืออาการกำเริบมากขึ้น เช่น โรคไต โรคนิ่วในไต โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ หรือแม้แต่ผู้ที่แพ้นมวัวก็อาจแพ้น้ำเต้าหู้ได้อีกด้วย
  • นมถั่วเหลืองไม่เหมาะกับการดื่มทุกวันของผู้ชาย เนื่องจากเป็นการเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงให้กับผู้ชายในปริมาณมากเกินความต้องการ จะส่งผลต่อการทำงานของฮอร์โมนเพศชายทำ ให้สามารถผลิตอสุจิได้น้อยลงและมีลูกยาก

วิธีทำน้ำเต้าหู้

ส่วนผสมของน้ำเต้าหู้ คือ ถั่วเหลืองแยกเปลือกออก 1 ถ้วย น้ำสะอาด 6 ถ้วย และน้ำตาลทรายขาวครึ่งถ้วย 

สำหรับวิธีการทำ คือ ให้นำถั่วเหลืองมาล้างและแช่น้ำไว้ 6 ชั่วโมง จากนั้นนำมาบดให้ละเอียด กรองแยกกากออกแล้วเอาแต่น้ำ จากนั้นนำน้ำที่ได้มาตั้งไฟกลางๆ หมั่นคนบ่อยๆ เมื่อเดือดแล้วให้ใส่น้ำตาลลงไปเล็กน้อยให้พอมีรสชาติ

วิธีการเลือกซื้อน้ำเต้าหู้

น้ำเต้าหู้ที่ดีควรมีลักษณะของน้ำที่ไม่ใสจนเกินไป  สังเกตดูว่าหากซื้อมาแล้วพอเย็นลงจะต้องไม่มีความเหนียวหรือน้ำเปลี่ยนจนข้นเป็นยาง หรือมีแผ่นคล้ายแป้งตกตะกอนนอนก้นตกอยู่ อีกทั้งต้องไม่มีกลิ่นเปลี่ยนไปจากเดิม ส่วนรสชาติต้องไม่หวานเกินไปเพราะจะทำให้ไปเพิ่มระดับน้ำตาลในหลอดเลือดได้ และมักจะมีอายุประมาณ 3 วัน เมื่อนำไปแช่ในตู้เย็น

นอกจากนั้น การดื่มน้ำเต้าหู้หรือน้ำนมถั่วเหลืองให้อร่อยควรใส่อาหารประเภทธัญพืชลงไปด้วย เพราะนอกจากความอร่อยที่เพิ่มขึ้นแล้ว ร่างกายยังได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์ครบถ้วนมากกว่าแค่ดื่มน้ำเต้าหู้เพียงอย่างเดียวด้วย


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Francine K et al., Effect of Soy Nuts on Blood Pressure and Lipid Levels in Hypertensive, Prehypertensive, and Normotensive Postmenopausal Women (https://jamanetwork.com/journals/jamainternalmedicine/fullarticle/486841), 28 May 2007

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป