ยาลดกรด (Antacids) และผลข้างเคียง

เผยแพร่ครั้งแรก 9 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยาลดกรด (Antacids) และผลข้างเคียง

ยาลดกรด (Antacids) เป็นยาที่หาได้ง่ายตามร้านยาทั่วไป ซึ่งสามารถลดกรดในกระเพาะอาหารได้ แต่จะออกฤทธิ์ต่างไปจากยาลดกรดชนิดอื่น เช่น ยากลุ่มยับยั้งตัวรับฮิสตามีนชนิดที่ 2 (H2-receptor antagonist) หรือ H2 blockers ซึ่งจะออกฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหารโดยตรง เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ยาลดกรดมีทั้งรูปแบบของเหลว ยาเม็ดเคี้ยว ยาเม็ดฟู่ละลายน้ำ หรือยาเม็ดทั่วไปก็ได้ ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาอาการ กรดไหลย้อน แสบร้อนกลางอก (heartburn) อาหารไม่ย่อย แน่นท้อง จุกเสียดได้

ข้อควรระวังในการใช้ยาลดกรด

ยาลดกรดสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยในบุคคลทั่วไป แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิดอาจจะต้องมีการปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาลดกรด เนื่องจากยาลดกรดนี้มีส่วนผสมของอะลูมิเนียม ไฮดรอกไซด์ (aluminum hydroxide) และแมกนีเซียมคาร์บอเนต (magnesium carbonate) จะส่งผลกระทบกับผู้ที่มีโรคประจำตัวคือโรคหัวใจล้มเหลว ซึ่งต้องควบคุมปริมาณการบริโภคโซเดียม ในยาลดกรดนั้นมีโซเดียมผสมอยู่เป็นจำนวนมากเช่นกัน ในกลุ่มผู้ป่วยไตวาย การใช้ยาลดกรดอาจก่อให้เกิดอะลูมิเนียมในร่างกายมากเกินไปได้ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกาย ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ

ผลข้างเคียงของการใช้ยาลดกรด

ยาลดกรดมีผลข้างเคียงค่อนข้างต่ำ แต่อย่างไรก็ตาม อาจมีผลข้างเคียงที่สามารถเกิดขึ้นได้ถึงแม้จะใช้ยาลดกรดอย่างถูกวิธีก็ตาม กล่าวคือ ผู้ใช้อาจมีอาการท้องผูก ในบางกรณีอาจมีอาการท้องเสียได้

ในผู้ใช้บางรายอาจมีอาการแพ้ยาลดกรด และอาจจะเพิ่มโอกาสการแพ้อาหารบางประเภทได้เช่นกัน

ผลข้างเคียงของการใช้ยาลดกรดอย่างไม่ถูกต้อง

ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้ยาส่วนมากจะเกิดจากการใช้ยาอย่างไม่ถูกต้องตามแพทย์สั่ง ยาลดกรดหลายชนิดจะมีส่วนผสมของแคลเซียมอยู่ หากใช้ยามากเกินขนาด หรือใช้ยาอย่างต่อเนื่องนานเกินไป

การได้รับแคลเซียมมากเกินไป จะก่อให้เกิดอาการดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หากผู้ใช้ต้องใช้ยาลดกรดปริมาณมากถึงจะช่วยบรรเทาอาการที่เป็นได้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาการที่เป็นนั้นอาจเป็นอาการของโรคอื่นๆ ที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญของแพทย์ในการวินิจฉัยโรคต่อไป

อาการอย่างไรจึงควรไปพบแพทย์

ยาลดกรดสามารถบรรเทาอาการกรดเกินในกระเพาะอาหารได้ แต่อย่างไรก็ตาม บางกรณีอาการเหล่านี้ก็ยังเป็นอาการเบื้องต้นของโรคร้ายแรงบางชนิดได้ ดังนั้นจึงต้องทราบว่าอาการอย่างไรถึงควรไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาได้ทันท่วงที

อาการปวดท้องนั้นมีได้หลายสาเหตุ อาจเป็นโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหารก็ได้หรืออาจเป็นโรคอื่นได้ ยาลดกรดแค่สามารถบรรเทาอาการได้เท่านั้นและหากอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยต่อไป

โรคหัวใจหรือภาวะหัวใจวายก็สามารถก่อให้เกิดอาการปวดท้องได้ หากคุณมีอาการปวดท้องและเจ็บหน้าอกร่วมกันนานมากกว่า 2 นาที และมีอาการดังนี้ แสดงว่าคุณอาจมีภาวะหัวใจวายอยู่ หากมีอาการดังนี้ให้รีบพบแพทย์ทันที

  • หน้ามืด วิงเวียน
  • หายใจหอบถี่
  • อาการปวดร้าวไปถึงแขน ไหล่ หรือ กราม
  • คลื่นไส้ อาเจียน

หากคุณมีอาการกรดไหลย้อน หรืออาการที่เกี่ยวกับกรดในกระเพาะอาหาร คุณควรศึกษาวิธีการใช้ยาอย่างถูกต้อง ยาลดกรดสามารถไปสะเทินกรดในกระเพาะอาหารได้ ทำให้อาการปวดแน่นท้องหายไปได้ แต่ก็ยังมียาลดกรดอีกหลายประเภทที่สามารถลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารได้เช่นกัน เช่น ยากลุ่มยับยั้งตัวรับฮิสตามีนชนิดที่ 2 (H2-receptor antagonist)  ดังนั้นเพื่อให้ได้รับยาที่ถูกต้องและเหมาะสมคุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มใช้ยาเสมอ


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคกระเพาะอาหาร แผลที่เกิดจากกรดในกระเพาะอาหาร
โรคกระเพาะอาหาร แผลที่เกิดจากกรดในกระเพาะอาหาร

หิวก็ปวด อิ่มก็ปวด อาการเด่นของโรคกระเพาะอาหาร โรคยอดฮิตของคนที่กินอาหารไม่ตรงเวลา

อ่านเพิ่ม
อาการปวดท้อง ปวดท้องแต่ละส่วน มีผลอย่างไร
อาการปวดท้อง ปวดท้องแต่ละส่วน มีผลอย่างไร

แนะนำแนวทางการสังเกตอาการปวดท้องแต่ละส่วน อาการปวดท้องแบบไหนที่ควรไปพบแพทย์ หาคำตอบได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม