โรคไซโคลไทเมีย (Cyclothymia) เป็นโรคอารมณ์ 2 ขั้วชนิดอ่อน หรือเรียกอีกชื่อว่า "โรคไบโพลาร์ชนิดอ่อน (Cyclothymic disorder)"
มีลักษณะอาการคล้ายๆ กับโรคไบโพลาร์ทั่วไปคือ ผู้ป่วยจะมีอารมณ์แปรปรวนขึ้นๆ ลงๆ สลับกันระหว่างภาวะที่มีอารมณ์ร่าเริงเกินปกติ กับภาวะอารมณ์ซึมเศร้า แต่จะมีช่วงเวลาสั้นๆ ที่มีอารมณ์เป็นปกติบ้าง
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ความแตกต่างระหว่างโรคไบโพลาร์ชนิดอ่อนกับโรคไบโพลาร์ทั่วไป
โรคไบโพลาร์ชนิดอ่อน กับโรคไบโพลาร์ทั่วไปจะแตกต่างกันที่ความรุนแรงของอาการ ดังต่อไปนี้
- ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ทั่วไปจะมีอาการที่รุนแรงกว่า ในขณะที่ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ชนิดอ่อนนั้นจะมีภาวะซึมเศร้า และเมื่ออยู่ในช่วงอารมณ์ดี (Mania) ก็จะไม่มีความสุข หรือกระฉับกระเฉงเท่าผู้ป่วยไบโพลาร์ทั่วไป
- ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ทั่วไปจะมีอาการระยะยาวนานกว่าและอาจไม่นอนติดต่อกันถึง 2 วัน ส่วนผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ชนิดอ่อนจะมีระยะอาการสั้นกว่า
- ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ทั่วไปจะมีอาการแสดงเห็นชัดเจนกว่าผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ชนิดอ่อน เพราะผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ชนิดอ่อนนั้นหากไม่สังเกตอาการดีๆ ก็จะเหมือนกับคนปกติทั่วไปที่แค่มีอารมณ์แปรปรวนขึ้นๆ ลงๆ สลับกันบ้าง อาจมีอาการนอนน้อย หรือคุยมากขึ้นบ้างบางเวลา แต่ยังไม่จัดอยู่ในกลุ่มอาการที่เห็นได้ชัด
อาการของโรคไบโพลาร์ชนิดอ่อน
นอกจากอารมณ์ที่แปรปรวนไม่สามารถคาดเดาได้แล้ว ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ชนิดอ่อนยังมีอาการอื่นๆ ในลักษณะต่อไปนี้
- มีอารมณ์แปรปรวนขึ้นๆ ลงๆ นานอย่างน้อยครึ่งหนึ่งในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมาสำหรับผู้ใหญ่ และ 1 ปีในเด็ก หรือวัยรุ่น
- มีช่วงเวลาที่อารมณ์ปกติไม่เกินกว่า 2 เดือน
- อาการไม่รุนแรงถึงขั้นเข้าเกณฑ์โรคไบโพลาร์ทั่วไป หรือเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยโรคทางจิตเวชอื่น
- สาเหตุไม่ได้เกิดจากการใช้ยา หรือ สารเคมี หรือภาวะโรคอื่น
- อาการส่งผลกระทบต่อการทำงาน หรือความสัมพันธ์กับคนรอบข้างอย่างน้อย 1 ครั้งในช่วง 2 ปี
- นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินไป
- น้ำหนักลด หรือน้ำหนักขึ้นมากผิดปกติ
- สมรรถภาพทางเพศลดลง
- เหนื่อยง่าย หรืออ่อนเพลียกว่าปกติ
- มีอาการหลงลืมง่าย ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถให้ความสนใจกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้
- มีอาการวิตกกังวลมากขึ้นกว่าเดิม
หากไม่แน่ใจว่า อาการของตนเองเข้าข่ายโรคไบโพล่าร์ชนิดอ่อนหรือไม่ หรือแค่เกิดจากความเครียดจึงส่งผลต่อจิตใจและการนอนไม่หลับ คุณสามารถไปปรึกษาจิตแพทย์เรื่องปัญหาความเครียด หรือตรวจวิเคราะห์ความเครียด (Stress) รวมทั้งตรวจ sleep test ก่อน
หากเป็นปัญหาเรื่องความเครียดจริงๆ ไม่เกี่ยวกับโรคไบโพล่าร์ชนิดอ่อน จะได้หาทางแก้ไขปัญหานี้อย่างถูกต้องต่อไป
การรักษาโรคไบโพลาร์ชนิดอ่อน
มีผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ชนิดอ่อนหลายรายที่ไม่ต้องทำการรักษาก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้ แต่ในระหว่างนั้น ผู้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยก็ต้องคอยสังเกตอาการของผู้ป่วยไปด้วย โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคไบโพลาร์มาก่อน
เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มีโอกาสที่จะพัฒนาจากโรคไบโพลาร์ชนิดอ่อนมาเป็นโรคไบโพลาร์ทั่วไปได้มากกว่าผู้ป่วยกลุ่มอื่น ซึ่งวิธีป้องกันก็คือ ต้องรีบรักษาโรคไบโพลาร์ชนิดอ่อนให้หายโดยเร็วที่สุด
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคไบโพลาร์ชนิดอ่อนได้อย่างแน่ชัด แต่ก็มีกลุ่มยาเกี่ยวกับโรคทางจิตเวชบางชนิดที่ช่วยรักษาโรคไบโพลาร์ชนิดอ่อนได้ เช่น
- ยาต้านอาการวิตกกังวล เช่น เบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepine)
- ยารักษาอาการผิดปกติทางจิต เช่น ลิเทียม (Lithium)
- ยากันชัก เช่น Divalproex sodium (Depakote), Lamotrigine (Lamictal), Valproic acid (Depakene)
- ยาระงับอาการทางจิตกลุ่มใหม่ เช่น Olanzapine (Zyprexa), Quetiapine (Seroquel), Risperidone (Risperdal) โดยตัวยากลุ่มนี้จะช่วยในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยใช้ยากันชัก
นอกจากนี้ยังมีอีกวิธีรักษาสำหรับโรคไบโพลาร์ชนิดอ่อนที่ในปัจจุบันมักนิยมใช้กัน นั่นก็คือ การพูดคุยเพื่อการบำบัดกับนักจิตวิทยา (Talk Therapy)
เป้าหมายสำหรับการรักษาด้วยวิธีนี้คือ ให้ผู้ป่วยได้รู้จักวิธีจัดการกับอารมณ์ของตนเองมากขึ้น และเข้าใจว่า ปัจจัยอะไรในชีวิตที่มีส่วนทำให้อาการของผู้ป่วยแย่ลง เช่น
- นอนหลับไม่เพียงพอ
- การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- การเดินทางข้ามโซนเวลาบ่อยๆ
การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วย Cyclothymia
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหันมาดูแลตนเองมากขึ้นเป็นส่วนสำคัญของการรักษาให้อาการของโรคดีขึ้นได้ โดยมีคำแนะนำดังต่อไปนี้
- รับประทานยาอย่าสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์
- หมั่นสังเกตอาการของตัวเองว่า "ดีขึ้น หรือแย่ลงอย่างไร" และมีปัจจัยอะไรมากระตุ้นให้อาการแย่ลงบ้าง
- หลีกเลี่ยงการบริโภคแอลกอฮอล์และการใช้สารเสพติด
- ปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจใช้ยา สมุนไพร หรืออาหารเสริมทุกชนิดอยู่เสมอ เพราะยาบางชนิดอาจทำปฏิกิริยาต่อกัน จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ หรือทำให้ยาที่ใช้รักษาโรคอยู่ออกฤทธิ์ได้ไม่ดีพอ
- ออกกำลังกาย และหมั่นทำกิจกรรมเพื่อเพิ่มความแข็งแรง และความรู้สึกกระฉับกระเฉงต่อตัวคุณเอง
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
แม้ว่า โรคไบโพลาร์ชนิดอ่อนสามารถพัฒนาไปเป็นโรคไบโพลาร์ทั่วไปได้ อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถรักษาให้หายได้ด้วยรับการรักษาจากจิตแพทย์ รับประทานยาที่จิตแพทย์อย่างต่อเนื่อง ไปพบจิตแพทย์ตามนัด หรือเข้ารับการพูดคุยเพื่อบำบัดกับนักจิตวิทยา
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาสุขภาพจิต จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
อยากทราบวิธีป้องกันอาการปวดก่อนมีประจำเดือน