กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Chronic Fatigue Syndrome (อ่อนเพลียเรื้อรัง)

เผยแพร่ครั้งแรก 1 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 14 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

หากคุณกำลังรู้สึกอ่อนแรงและไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ เป็นไปได้ว่า คุณอาจเสี่ยงเป็นโรคกลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง (Chronic fatigue syndrome)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

กลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง เป็นความเจ็บป่วยที่ทำให้มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรังนานกว่า 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน โดยภาวะนี้อาจเป็นผลมาจากปัญหาทางกายต่างๆ ได้ เช่น การติดเชื้อ พันธุกรรม หรืออุบัติเหตุ เป็นต้น

สาเหตุของกลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง

แม้ว่าในปัจจุบันนักวิจัยจะพยายามศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง แต่ก็ยังไม่มีงานวิจัยใดที่สามารถระบุถึงสาเหตุชัดเจนที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้ ซึ่งในปัจจุบันเชื่อว่า มีอย่างน้อย 1 สาเหตุดังต่อไปนี้ที่ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง ได้แก่

  • การติดเชื้อ มีไวรัสหลายชนิด เช่น ไวรัสเอ็บสไตบาร์ (Epstein Barr Virus: EBV) ไวรัสเริม (Herpes Simplex Virus: HSV) หรือไวรัสเฉพาะกลุ่มที่เป็นอันตราย (Retroviruses) เช่น ไวรัสเอชไอวี (HIV) เป็นต้น ที่อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดกลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง
  • พันธุกรรม บางคนมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะนี้ได้มากขึ้นเนื่องจากปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรม เช่น ได้รับการถ่ายทอดความผิดปกติทางระบบประสาท ซึ่งเกี่ยวข้องกับสารสื่อประสาท และฮอร์โมนที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง เป็นต้น
  • อุบัติเหตุ ความเครียดทางกายที่เกิดจากการเผชิญอุบัติเหตุรุนแรงอาจเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้
  • ต่อมหมวกไตล้า เนื่องจากมีฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) หรือที่เรียกว่าฮอร์โมนความเครียดสะสมอยู่ในร่างกายเยอะ สามารถทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียเรื้อรังได้

อาการของกลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง

กลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรังอาจแสดงอาการแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน แต่ผู้ป่วยมักมีอาการอย่างหนึ่งที่เหมือนกันคือ อ่อนเพลียอย่างรุนแรง หรือเรื้อรัง ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงาน และกิจวัตรประจำวัน โดยอาจมีอาการปวดตามร่างกาย รู้สึกมึนงง คิดไม่ออก ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจำเหตุการณ์ หรือรายละเอียดที่เพิ่งผ่านไปได้

หากคุณมีอาการอ่อนเพลียมาหลายเดือน จนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ และไม่มีอะไรที่จะช่วยให้รู้สึกดีขึ้นได้ แม้กระทั่งการนอนหลับ คุณควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาอย่างถูกต้อง

มีงานวิจัยกล่าวว่าผู้ป่วยโรคอ่อนเพลียเรื้อรังเกือบ 80% ไม่เคยมารับการวินิจฉัยอย่างจริงจังมาก่อน จึงไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ทำให้การรักษาไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร แต่หากผู้ป่วยได้รับการรักษาตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของโรค หรือน้อยกว่า 2 ปีหลังเริ่มมีอาการ ก็จะทำให้โอกาสที่การรักษาจะประสบความสำเร็จสูง และสามารถช่วยลดอาการของโรคที่เกิดขึ้นได้

การวินิจฉัยกลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง

การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคอาการอ่อนเพลียเรื้อรังหรือไม่ ผู้ป่วยจะต้องมีอาการอ่อนเพลียรุนแรงอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป และแพทย์ตรวจไม่พบสาเหตุทางกายอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการนี้ได้ เช่น ปัญหาด้านการนอนหลับ ซีด หรือโรคซึมเศร้า เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ถึงแม้ว่าผู้ป่วยบางรายอาจป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และโรคอ่อนเพลียเรื้อรังพร้อมกัน แต่แพทย์ก็จะตัดอาการอ่อนเพลียที่เกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้าออกไปก่อน และดูว่ามีสาเหตุอื่นๆ ที่เกี่ยวกับโรคอ่อนเพลียเรื้อรังหรือไม่ โดยผู้ป่วยจะต้องมีอาการอย่างน้อย 4 ข้อจากอาการต่อไปนี้

  • เจ็บคอ
  • ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อ หรือความจำสั้น
  • กดเจ็บที่ต่อมน้ำเหลือง
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • มีอาการปวดที่ข้อมากกว่า 1 ข้อ โดยไม่มีอาการบวมแดง
  • มีอาการปวดหัวที่ไม่ปกติ (สำหรับตัวผู้ป่วย)
  • ไม่รู้สึกสดชื่นขึ้นหลังได้นอนหลับพักผ่อน
  • รู้สึกอ่อนเพลียมากกว่าปกติหลังจากออกกำลังกายไปแล้ว 24 ชั่วโมง

ปกติแล้ว อาการอ่อนเพลียอย่างรุนแรงมักเกิดขึ้นก่อนอาการอื่น และมีผู้ป่วยหลายคนที่มีอาการคล้ายกับไข้หวัดเมื่อเป็นโรคนี้ในระยะยาว นอกจากนั้น กลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรังนี้ยังอาจเกี่ยวข้องกับโรควิตกกังวล โรคลำไส้แปรปรวน และโรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) อีกด้วย

การรักษากลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง

ในเบื้องต้น หากผู้ป่วยมีภาวะซึมเศร้าร่วมกับอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง แพทย์จะรักษาภาวะซึมเศร้าก่อน โดยการทำจิตบำบัดเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น รวมถึงแนะนำวิธีจัดการชีวิตให้มีคุณภาพ และจ่ายยาต้านซึมเศร้าเพื่อให้สามารถนอนหลับและคลายอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้น

นอกจากนี้ ผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำจากนักกายภาพเกี่ยวกับวิธีออกกำลังกายที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้รู้สึกกระฉับกระเฉงขึ้นทีละนิดๆ และรู้สึกเหนื่อยล้าอ่อนเพลียน้อยลงเรื่อยๆ จนกลับมาเป็นปกติ

ส่วนผู้ป่วยบางที่มีสาเหตุมาจากภาวะต่อมหมวกไตล้า แพทย์ก็จะทำการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต และการจัดการความเครียดให้เหมาะสม โดยเฉพาะการรับประทานอาหาร เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นโรคนี้มักชอบรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง หรือติดคาเฟอีน ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะนี้

แพทย์จะแนะนำให้รับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง แป้งไม่ขัดสี เพื่อให้น้ำตาลในเลือดไม่สูงเกินไป และอาจเสริมวิตามินที่ช่วยให้รู้สึดสดชื่นขึ้น เช่น วิตามินซี หรือวิตามินบีรวม เป็นต้น

โรคอ่อนเพลียเรื้อรังไม่ใช่โรคที่น่ากลัว และสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยผู้ป่วยจะต้องรู้สึกสังเกตร่างกายของตัวเองเสมอ หากรู้สึกผิดปกติ เช่น อ่อนเพลียเรื้อรังนานเกินกว่า 6 เดือน ก็ไม่ควรเพิกเฉย ให้รีบไปตรวจรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะทำให้คุณมีคุณภาพการใช้ชีวิตที่ดีห่างไกลโรคอย่างแน่นอน


20 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Chronic Fatigue Syndrome. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/chronicfatiguesyndrome.html)
Myalgic Encephalomyelitis/Chronic Fatigue Syndrome (ME/CFS). Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/me-cfs/index.html)
Chronic Fatigue Syndrome: Causes, Symptoms, and Treatment. Healthline. (https://www.healthline.com/health/chronic-fatigue-syndrome)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
รู้สึก มีอาการอ่อนเพียรเวลาที่พักผ่อนน้อย
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ช่วงนี้ผมรู้สึกอ่อนเพลียบ่อยมาก ทั้งๆที่ผมก็นอนเร็วนะครับ มันจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพผมรึเปล่าครับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลียตลอดเวลา เหนื่อยง่าย และมีปัญหานอนไม่หลับ มีสาเหตุจากอะไร และควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คร่างกายไหมคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ร่างกายอ่อนเพลียต้องทำไง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการอ่อนเพลีย ปวดเนื้อปวดตัวเหมือนร่างกายจะฉีก เกิดจากสาเหตุอะไรค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ในช่วงไตรมาสที่3ของการตั้งครรภ์ รู้สึกว่าตัวเองไม่สบายบ่อยขึ้น เช่น เป็นหวัดง่ายกว่าเดิม หน้ามืดบ่อย เกิดจากสาเหตุอะไร?
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)