กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

Anemia (โรคโลหิตจาง)

เผยแพร่ครั้งแรก 10 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 3 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ภาวะโลหิตจาง คือภาวะที่ร่างกายมีเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ หรือหลายคนเรียกว่า "ภาวะซีด"
  • อาการของภาวะโลหิตจางจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล เช่น ตัวเหลือง หรือตัวซีดลง ตาเหลือง เล็บฉีกขาดง่าย ผมหงอกก่อนวัย ปัสสาวะมีสีเข้ม เหนื่อยง่ายกว่าเดิม อ่อนเพลีย หรือชาตามปลายมือปลายเท้า
  • สาเหตุของภาวะโลหิตจาง เกิดจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ การสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง เกิดการทำลายเม็ดเลือดแดงในร่างกายมากขึ้น และเสียเลือดในปริมาณมาก
  • ผู้ที่มีภาวะโลหิตจาง ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาแก้ปวด แก้อักเสบ ยาหม้อ และยาลูกกลอน เพราะมีส่วนทำให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร และอาจทำให้เลือดออกได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย

ชีวิตที่เร่งรีบในปัจจุบัน ทำให้คนไม่ค่อยสนใจการกินอาหารที่มีคุณภาพ รวมถึงดูแลสุขภาพน้อยลง ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ภูมิคุ้มกันจึงไม่แข็งแรง และเกิดภาวะโลหิตจางจนเป็นอันตรายกับชีวิตในที่สุด

ภาวะโลหิตจางคืออะไร?

ภาวะโลหิตจางคือ ภาวะที่ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ หรือหลายคนเรียกว่า "ภาวะซีด" ทำให้ความเข้มข้นของเลือดลดลง เม็ดเลือดแดงมีหน้าที่นำออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ผลิตภัณฑ์สำหรับเข่าและกระดูก สูตรเฉพาะ รวมสารสกัดที่ผ่านงานวิจัย คอลลาเจน UC-II ขมิ้นชัน งาดำ และวิตามิน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากเม็ดเลือดแดงมีไม่พอ ก็อาจทำให้ร่างกายรับออกซิเจนไปเลี้ยงไม่เพียงพอเช่นกัน

อาการของภาวะโลหิตจาง

ภาวะโลหิตจางของแต่ละคนมีอาการต่างกัน ขึ้นอยู่กับสาเหตุและระดับเม็ดเลือดแดงว่า "มีมากน้อยแค่ไหน" บางรายอาจมีหลายอาการร่วมกัน ดังต่อไปนี้

  • ตัวซีดลง เนื่องจากเม็ดเลือดแดงมีปริมาณน้อยลง
  • ตัวเหลือง หรือตาเหลือง เกิดจากการแตกของเม็ดเลือด
  • เล็บฉีกขาดง่าย เกิดจากการขาดธาตุเหล็กในเลือด
  • ผมหงอกก่อนวัย จากการขาดวิตามินB12 หรือโฟเลต
  • ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้น หรือคล้ำขึ้น อาจเกิดจากความผิดปกติที่ไต
  • เหนื่อยง่ายกว่าเดิม หรืออยู่เฉยๆ ก็เหนื่อยหอบ เกิดจากความดันโลหิตสูงขึ้น กรณีร้ายแรงอาจถึงขั้นทำให้เสียชีวิตเพราะหัวใจล้มเหลว
  • อ่อนเพลีย ใช้ความคิดได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้ไม่เต็มที่ ทำให้กระทบการทำงานของสมอง หากเกิดในเด็ก อาจมีการเรียนรู้ที่ช้าลงร่วมด้วย
  • ชาตามปลายมือปลายเท้า หรืออาจวูบ หมดสติ

สาเหตุของภาวะโลหิตจาง

ภาวะโลหิตจางไม่ใช่การวินิจฉัยโรค แต่เป็นภาวะที่มักเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่นๆ มีปัจจัยหลัก 3 ข้อดังต่อไปนี้

1. การสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง

ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง เกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • ขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง เช่น ธาตุเหล็ก วิตามิน B12 กรดโฟลิค ทำให้ขาดสารอาหารในการสร้างเม็ดเลือดแดง เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด เนื่องจากรับประทานอาหารไม่หลากหลาย ไม่ครบ 5 หมู่
  • เป็นโรคไตเรื้อรัง เนื่องจากไตมีส่วนสัมพันธ์กับการกรองเลือดในร่างกาย หากไตมีปัญหาจะทำให้ขาดปัจจัยการกระตุ้นให้สร้างเม็ดเลือดแดง
  • เป็นโรคไขกระดูก เช่น มะเร็งไขกระดูก ไขกระดูกฝ่อ อาการเหล่านี้จะทำให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงไม่ได้
  • โรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคทางพันธุกรรมที่มีพ่อแม่เป็นพาหะ คนที่เป็นโรคธาลัสซีเมียจะมีการสังเคราะห์โปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติไป

2. เกิดการทำลายเม็ดเลือดแดงในร่างกายมากขึ้น

อาจเป็นเพราะโรคที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทำให้ภูมิคุ้มกันทำลายเม็ดเลือดแดงจนแตก เช่น

  • สาเหตุเกิดจากความผิดปกติภายในเม็ดเลือดแดงเอง เช่น โรคเม็ดเลือดแดงแตกง่าย ภูมิต้านทานในร่างกายทำลายเม็ดเลือดแดง
  • สาเหตุเกิดจากความผิดปกติภายนอกเม็ดเลือดแดง 
  • โรคติดเชื้อ เชื้อบางชนิดมีผลต่อเม็ดเลือด เช่น มาลาเรีย คลอสติเดียม มัยโคพลาสมา โรคภูมิคุ้มกันผิดปกติที่ทำลายเม็ดเลือดแดง การฟอกเลือด

3. เสียเลือดในปริมาณมาก

การเสียเลือดนั้นมีทั้งแบบฉับพลันกับเสียเลือดเรื้อรัง ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ผลิตภัณฑ์สำหรับเข่าและกระดูก สูตรเฉพาะ รวมสารสกัดที่ผ่านงานวิจัย คอลลาเจน UC-II ขมิ้นชัน งาดำ และวิตามิน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • เกิดอุบัติเหตุจนบาดเจ็บ ทำให้เลือดออกเยอะ อาจเกิดอาการมึนศีรษะ หน้ามืด หมดสติ หรือเสียชีวิตได้
  • ประจำเดือน หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นภายใน ผู้หญิงบางคนอาจเสียเลือดมากกว่าปกติระหว่างเป็นประจำเดือน
  • เสียเลือดจากระบบทางเดินอาหาร เช่น มีพยาธิปากขอในกระเพาะอาหาร เป็นแผลในกระเพาะอาหาร เป็นริดสีดวงทวาร มะเร็ง เนื้องอก 

การวินิจฉัยภาวะโลหิตจาง

การวินิจฉัยภาวะโลหิตจางจะดูได้จากการตรวจ 2 ประเภทดังนี้

  1. ระดับฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) คือ สารประกอบสำคัญในเม็ดเลือดแดง ซึ่งต้องใช้ธาตุเหล็กในการสร้างขึ้น ทำให้ฮีโมโกลบินมีความสัมพันธ์กับเม็ดเลือดแดงอย่างชัดเจน
  2. ระดับฮีมาโตคริต (Hematocrit) คือ ปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น การตรวจฮีมาโตคริตจะทำให้ทราบปริมาตรเซลล์เม็ดเลือดแดงในเลือด ซึ่งมีความสัมพันธ์กับทั้งภาวะโลหิตจางและระดับฮีโมโกลบิน

แพทย์จะทำการตรวจสอบในห้องปฎิบัติการและวัดผลเป็นตัวเลข หากว่า มีตัวเลขต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของแต่ละช่วงอายุ แสดงว่า อาจกำลังมีภาวะโลหิตจาง 

รายละเอียดค่าปกติและภาวะโลหิตจาง มีดังต่อไปนี้

0
 Advanced issue found
 

0
 Advanced issue found
 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ผลิตภัณฑ์สำหรับเข่าและกระดูก สูตรเฉพาะ รวมสารสกัดที่ผ่านงานวิจัย คอลลาเจน UC-II ขมิ้นชัน งาดำ และวิตามิน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

0
 Advanced issue found
 

0
 Advanced issue found
 

เพศและอายุ
ระดับฮีโมโกลบิน (กรัม/เดซิเบล)
ระดับฮีมาโตคริต (เปอร์เซ็น)
ปกติโลหิตจางปกติโลหิตจาง
ผู้ใหญ่อายุ 18 ปีขึ้นไป
เพศชาย15.5<13.047<40
เพศหญิง14<12.041<36
เด็กอายุ 12-18 ปี
เพศชาย14.5<13.043<39
เพศหญิง14<12.041<36
เด็กเล็ก
อายุ 6-12 ปี13.5<1240<36
อายุ 6 เดือน-6 ปี12.5<11.037<33

โลหิตจางรักษาได้ไหม?

ภาวะโลหิตจางสามารถรักษาได้หลายวิธี โดยแพทย์จะซักประวัติอย่างละเอียดเพื่อวางแผนการรักษา รวมถึงตรวจเลือดในภาวะปกติ ไม่ต้องอดน้ำและอาหาร 

จากนั้นแพทย์จะรักษาโดยใช้วิธีดังต่อไปนี้

  • ในกรณีที่อาการหนัก อาจต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อรับออกซิเจนเพิ่ม รวมทั้งให้เลือดทดแทนด้วย
  • แพทย์อาจให้รับประทานธาตุเหล็กชนิดเม็ดทดแทน จนกว่าระดับเม็ดเลือดแดงจะกลับมาเป็นปกติ ระยะเวลาในการรับประทานจะอยู่ระหว่าง 3-6 เดือน ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละคน
  • รักษาที่ต้นเหตุควบคู่ไปด้วย หากตรวจพบสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง เมื่อรักษาต้นเหตุจนหาย อาการโลหิตจางจะดีขึ้นไปด้วย

เป็นโลหิตจาง ห้ามรับประทานอะไร?

หากเป็นภาวะโลหิตจาง ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร หรือยาบางประเภทดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานยาแก้ปวด แก้อักเสบ ยาหม้อ และยาลูกกลอน เพราะสิ่งเหล่านี้มีส่วนทำให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหารได้และอาจทำให้เลือดออกมากยิ่งขึ้น
  • หากแพทย์ให้รับประทานธาตุเหล็กเม็ด ไม่ควรดื่มน้ำเต้าหู้และรับประทานยาลดกรด เนื่องจากจะมีส่วนลดการดูดซึมของธาตุเหล็กลง หากมีอาการคลื่นไส้จากผลข้างเคียงของธาตุเหล็กเม็ดเกิน 3 วัน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเปลี่ยนตัวยา

หากต้องการปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับโรคทั่วไป ปรึกษาด้านการดูแลสุขภาพ การป้องกันโรค และปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตให้เหมาะสม แต่ไม่มีเวลาไปพบแพทย์ที่คลินิก หรือโรงพยาบาล 

ปัจจุบันหลายแห่งมีบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์ผ่านวีดีโอคอลให้บริการแล้ว แพทย์จะให้คำแนะนำเบื้องต้นก่อน แต่ในกรณีที่โรคอาจมีแนวโน้มรุนแรง แพทย์จะคำแนะนำให้เข้ากระบวนการรักษาที่ถูกต้องต่อไป 

เป็นโลหิตจาง ควรรับประทานอาหารแบบไหน?

หากเป็นภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเพราะรับประทานอาหารไม่หลากหลาย ให้เลือกรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กมากขึ้น เช่น ตับหมู ตับวัว เลือดหมู นม ไข่ ผักใบเขียวต่างๆ ถั่ว และงา รวมทั้งรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

ภาวะโลหิตจางเกิดได้จากหลายสาเหตุ หากคุณมีอาการของภาวะโลหิตจาง เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ตาเหลือง หรือชาตามปลายมือปลายเท้า ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย และรักษาอย่างเหมาะสม

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
WebMD, Anemia: Causes, Symptoms, Diagnosis, Treatments (https://www.webmd.com/a-to-z-guides/understanding-anemia-basics#1), 26 May 2020.
Stedman's medical Dictionary (28th ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins. 2006. p. Anemia. ISBN 978-0-7817-3390-8.
Short MW, et al., Iron deficiency anemia: Evaluation and management (https://www.aafp.org/afp/2013/0115/p98.html#afp20130115p98-b1), 28 May 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ถ้าเป็นโรคเลือดจางหรือเลือกอีกอย่างว่าโรคทารัสทีเนียสามารถกินยาพวกโฮโมวิตควมคู่กับยาสร้างเม็ดเลือดแดงได้ไหม
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
โรคเลือดจางกับเม็ดเลือดแดงผิดปรกติอันตรายไหมค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
พบภาวะซีดเล็กน้อยมีโอกาสเป็นโรคโลหิตจางไหมค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการชาปลายมือ ปลายเท้า เกี่ยวกับอาการโรคโลหิตจางหรือเปล่าค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)