กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Lipoma (เนื้องอกไขมัน)

เผยแพร่ครั้งแรก 8 ก.พ. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เนื้องอกไขมันเป็นก้อนไขมันที่อยู่ระหว่างชั้นผิวหนังกับชั้นกล้ามเนื้อที่อยู่ข้างใต้ โดยมีลักษณะหยุ่น ๆ คล้ายยางและอาจเคลื่อนที่ได้เล็กน้อย ไม่ปวด ไม่เป็นอันตราย และไม่เปลี่ยนเป็นมะเร็ง เนื้องอกไขมันนี้จะโตอย่างช้า ๆ ใช้เวลาเป็นเดือนจนถึงเป็นปี อาจมีขนาดถึง 8 นิ้วแต่เกิดได้ยาก ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กกว่า 2 นิ้ว โดยเนื้องอกไขมันเป็นเนื้องอกของเนื้อเยื่ออ่อนที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ใหญ่ประมาณ 1 ใน 1,000 คน สามารถเกิดได้ในทุกวัยแม้ในเด็กแรกเกิด แต่มักเกิดในผู้ใหญ่อายุ 40-60 ปี และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงและประมาณ 20% ของผู้ที่มีเนื้องอกไขมันจะมีมากกว่า 1 ก้อน

เนื้องอกไขมันเกิดขึ้นได้อย่างไร

เนื้องอกไขมันสามารถเกิดบริเวณใดของร่างกายก็ได้ แต่มักอยู่ใต้ผิวหนังบริเวณดังต่อไปนี้

  • หลังส่วนบน
  • ไหล่
  • แขน
  • รักแร้
  • ก้น
  • ขาอ่อน

และยังสามารถเกิดในกล้ามเนื้อและอวัยวะที่อยู่ลึกลงไปที่ต้นขา ไหล่ หรือน่อง

สาเหตุของเนื้องอกไขมัน

ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าสาเหตุของเนื้องอกไขมันคืออะไร แต่บางส่วนคิดว่าเกิดจากการตอบสนองต่อการบาดเจ็บ อย่างไรก็ตาม การบาดเจ็บอาจไม่ใช่สาเหตุของเนื้องอกไขมันแต่มักพบจากการได้รับบาดเจ็บมาก่อน แพทย์บางรายเชื่อว่าเนื้องอกไขมันเกิดได้บ่อยในคนที่ไม่ค่อยได้ทำงาน แต่ความเชื่อนี้ก็ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ เนื้องอกไขมันอาจถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งมีปัจจัยทางพันธุกรรมเป็นตัวควบคุมให้เกิดเป็นเนื้องอกไขมันซึ่งบางคนอาจมีมากกว่าหนึ่งก้อน ปัจจัยทางพันธุกรรมที่ส่งผล เช่น

  • การ์ดเนอร์ซินโดรม (Gardner syndrome) ทำให้เกิดเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง
  • อะดิโพซิสโดโลโรซา (Adiposis dolorosa) เป็นภาวะที่มีเนื้องอกไขมันโตขึ้น
  • แฟมมิเลียล มัลติเพิลไลโปมาโตซิส (Familial multiple lipomatosis) เป็นภาวะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดเนื้องอกไขมันหลายตำแหน่ง
  • โรคมาเดอลัง (Madelung disease) เป็นภาวะที่พบได้น้อยมาก ซึ่งทำให้เกิดเนื้องอกไขมันหลายตำแหน่งที่ส่วนบนของร่างกาย
  • คาวเดนซินโดรม (Cowden syndrome) ทำให้เกิดเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง ติ่งเนื้อ และมีหัวโต

เนื้องอกไขมันเป็นมะเร็งหรือไม่

เนื้องอกไขมันส่วนใหญ่ไม่มีอันตราย ไม่เจ็บ และไม่กลายเป็นมะเร็ง อย่างไรก็ตาม มีส่วนน้อยมากที่เนื้องอกไขมันจะกลายเป็นมะเร็ง เช่น เนื้อเยื่อไขมันที่เรียกว่าไลโปซาโคมา (liposarcoma)

การวินิจฉัยเนื้องอกไขมัน

วิธีที่แพทย์ตรวจสอบว่าก้อนที่พบเป็นเนื้องอกไขมันหรืออย่างอื่น ได้แก่

  • การตรวจร่างกาย
  • เก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์
  • ถ่ายภาพรังสี เช่น อัลตราซาวน์ เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ เอ็มอาร์ไอ (MRI)

การรักษาเนื้องอกไขมัน

เนื้องอกไขมันไม่จำเป็นต้องรักษายกเว้นรบกวนจิตใจของผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม แพทย์จะนัดตรวจเป็นระยะ ๆ เพื่อดูว่าก้อนเนื้องอกโตขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เช่น เริ่มรู้สึกเจ็บหากก้อนโตขึ้นไปเบียดเส้นประสาทข้างเคียงหรือก้อนเนื้องอกมีเส้นเลือดมาเลี้ยงจำนวนมาก หากเป็นอย่างที่กล่าวมา แพทย์จะแนะนำให้เอาก้อนเนื้องอกไขมันออกด้วยวิธีการต่างๆ คือ

  • ผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกไขมันออกอย่างถาวร โดยมีเทคนิคการผ่าตัดเพื่อลดรอยแผลเป็นและรอยฟกช้ำที่เรียกว่า มินิมัลเอ็กซิสชัน เอ็กแทร็กชัน (Minimal excision extraction)
  • การฉีดสเตียรอยด์เพื่อลดขนาดก้อนเนื้องอกไขมันแต่ก้อนเนื้องอกจะไม่หายไป
  • ดูดไขมันที่เรียกว่าไลโปซักชัน (Liposuction) โดยใช้เข็มดูดไขมันในก้อนเข้าไปในกระบอกฉีดยา

เนื้องอกไขมันในสุนัข

เนื้องอกไขมันเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงที่พบได้บ่อยที่สุดในสุนัข สุนัขที่มีอายุมากและน้ำหนักมากมักจะมีก้อนเนื้องอกไขมันอย่างน้อยหนึ่งก้อน โดยก้อนเนื้องอกไขมันมักพบในสุนัขเพศเมีย สุนัขพันธุ์ผสม หรือสุนัขสายพันธุ์เหล่านี้

  • โดเบอร์แมน พินซ์เชอร์ (Doberman pinschers)
  • มิเนเจอร์ ชเนาเซอร์ (Miniature schnauzers)
  • ลาบราดอร์ รีทีฟเวอร์ (Labrador retrievers)

หากพบก้อนบนตัวสุนัขทั้งในขณะที่ลูบคลำหรือตัดขน ควรพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจว่าเป็นก้อนอะไร นอกจากสัตวแพทย์จะตรวจร่างกายสุนัขแล้ว อาจใช้เข็มเล็ก ๆ เก็บตัวอย่างเซลล์ของก้อนนั้นไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ด้วยวิธีที่เรียกว่า ไฟน์ นีดเดิล แอสไพเรชัน (fine needle aspiration) และหากต้องการตัวอย่างที่ใหญ่ขึ้นจะใช้วิธีตัดเอาชิ้นเนื้อบางส่วนไปตรวจที่เรียกว่า ไบอ๊อบซี (biopsy) ถ้าก้อนนั้นรบกวนสุนัขมากสัตวแพทย์ก็จะตัดออก แต่ถ้าไม่ปวดก็จะปล่อยไว้ไม่ทำอะไร ซึ่งสัตวแพทย์จะนัดตรวจเป็นระยะเพื่อดูการโตของก้อนและความเจ็บปวดของสุนัข


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เป็นเนื้องอกในมดลูกอันตรายมากไหมค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ
ประจำมาตลอดเลยติดกัน2เดือนแล้วค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ท้องอืด มีลมในกระเพาะ ท้องป่องมากเหมือนคนท้อง เกิดจากสาเหตุอะไรคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เป็นเนื้องอกที่ตับสามารถผ่าตัดได้ไหมค่ะ...ความเสี่ยงสูงไหมค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ไทรอยเป็นพิษ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
โรคคุชชิ่งซินโดรม มีวิธีดูแลรักษายังไงค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)