ติ่งเนื้อคือ การงอกขึ้นมาของตุ่มบนผิวหนังที่สามารถเกิดขึ้นพร้อมกันหลายๆ ติ่ง แต่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยมากติ่งเนื้อเหล่านี้จะมีสีเดียวกับผิวโดยรอบ หรืออาจมีสีเข้มกว่าเล็กน้อย
ติ่งเนื้อมักเกิดจากหลอดเลือดและโปรตีนไฟเบอร์คอลลาเจนที่ทำให้ผิวหนังยื่นออกมา อาจมีขนาดเล็กมากไปจนถึงขนาดใหญ่ได้ ติ่งเนื้อหลายติ่งสามารถเกิดขึ้นบนส่วนใดของร่างกายก็ได้ แต่ส่วนมากจะงอกขึ้นในพื้นที่ที่มีการเสียดสีมากๆ เช่น ลำคอ เต้านม ขาหนีบ ท้อง เปลือกตา
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ผู้ชายและผู้หญิงต่างมีแนวโน้มการเกิดติ่งเนื้อเท่าๆ กัน แต่ผู้ที่มีภาวะอ้วน เป็นผู้ป่วยเบาหวาน หรือกำลังตั้งครรภ์จะมีโอกาสเกิดติ่งเนื้อได้มากกว่าคนทั่วไป
บางกรณีอาจพบว่า ติ่งเนื้อที่เกิดขึ้น มีลักษณะคล้ายกับไฝ หรือจุดอื่นๆ บนผิวหนัง บางกรณีแพทย์อาจพิจารณาตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ (Biopsy) เพื่อยืนยันว่า ติ่งนั้นไม่เป็นเนื้อร้าย หรืออันตรายใดๆ ต่อร่างกาย
สาเหตุของการเกิดติ่งเนื้อหลายติ่ง
ปัจจุบันยังไม่ทราบว่า สาเหตุใดที่ทำให้เกิดติ่งเนื้อขึ้น แต่ก็เชื่อกันว่า เป็นผลมาจากการเสียดสีของผิว และอาจมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อการเกิดติ่งเนื้อ ดังนี้
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างตั้งครรภ์
- ภาวะดื้ออินซูลินที่มักเกิดกับผู้ป่วยเบาหวาน
- ภาวะอ้วน
- พบได้ในโรค Birt–Hogg–Dub้ syndrome และ Cowden syndrome
ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวเป็นติ่งเนื้อมาก่อนก็มีโอกาสจะเกิดติ่งเนื้อได้ง่าย จึงทำให้นักวิจัยเชื่อว่า "พันธุกรรมมีส่วนในการเกิดติ่งเนื้อด้วยเช่นกัน"
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า โรคเบาหวานและภาวะอ้วนมีส่วนทำให้เกิดติ่งเนื้อได้ ดังนั้นจึงควรดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ ทั้งด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ
รวมทั้งตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี ซึ่งมักจะมีการตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะ ตรวจระดับน้ำตาล ระดับไขมันต่างๆ ในเลือดร่วมด้วย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
หรือหากมีความกังวลมาก มีข้อบ่งชี้ทางสุขภาพอาจตรวจเบาหวานเพิ่มเติม
การกำจัดติ่งเนื้อ
ปกติแล้วมักไม่ค่อยมีการกำจัดติ่งเนื้อกันมากนัก แม้จะมีติ่งเนื้อหลายติ่งก็ตาม เว้นแต่ติ่งเนื้อจะเกิดการอักเสบ หรือระคายเคือง หรือพบว่า ติ่งเนื้อสามารถบิดตัวที่ฐานจนทำให้กดการไหลเวียนเลือดภายในติ่ง ซึ่งจะทำให้ติ่งเนื้อเปลี่ยนสีไปเป็นดำ หรือแดง
ทั้งสองกรณีนี้สามารถขอให้แพทย์ช่วยกำจัดออกให้ได้ โดยแพทย์จะเลือกอาจเลือกใช้วิธีตัดออก หรือจี้ไฟฟ้าก็ได้ โดยก่อนทำหัตถการจะมีการทายาชา หรือฉีดยาชาระงับความเจ็บปวดเฉพาะที่ให้
ภายหลังกำจัดติ่งไปแล้วก็มีโอกาสที่ติ่งเนื้อใหม่จะงอกขึ้นมาในตำแหน่งเดิมอีกครั้ง หรือเกิดขึ้นบนตำแหน่งใหม่ก็ได้ ดังนั้นการกำจัดติ่งเนื้อจึงไม่ได้จำเป็นทางการแพทย์ หากไม่ได้คำนึงเรื่องความสวยงามก็ไม่จำเป็นต้องกำจัดติ่งเนื้อเหล่านี้ออก
ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดติ่งเนื้อ
การกำจัดติ่งเนื้อเป็นหัตถกรรมความเสี่ยงต่ำ แต่ก็อาจทำให้มีเลือดออกได้บ้าง หากติ่งเนื้อมีขนาดใหญ่ หรือมีติ่งเนื้อหลายติ่งอยู่ในบริเวณเดียวกัน
บางกรณีแพทย์อาจการใช้สารบางอย่าง หรือใช้เครื่องจี้ไฟฟ้า (Electrocautery) ช่วยในการแข็งตัวของเลือด เพื่อป้องกันการติดเชื้อหลังผ่าตัด
อย่างไรก็ตาม ไม่ควรกำจัดติ่งเนื้อด้วยตนเองอย่างเด็ดขาดเพราะเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ที่จะนำมาตัดติ่งเนื้อมักไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้ออย่างถูกวิธี ซึ่งนั่นอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูงขึ้น หรือเลือดไหลไม่หยุดได้หากติ่งเนื้อมีขนาดใหญ่
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจจี้กระเนื้อ ติ่งเนื้อด้วยเลเซอร์ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
ถ้ามีติ่งเนื้อห้อยบริเวณปากทวารจะเป็นอันตรายไหมคะ