กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Fibromyalgia (กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อไฟโบรมัยอัลเจีย)

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ส.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรค Fibromyalgia คือ อาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อของร่างกายที่ยังไม่ทราบสาเหตุของโรคแน่ชัด แต่เป็นไปได้ว่า เกิดจากระบบสมองกับไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ความเครียดสะสม ความผิดปกติทางพันธุกรรม
  • อาการของโรค Fibromyalgia มีอยู่หลายอย่าง ส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับสภาพจิตใจ เช่น มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ อ่อนเพลีย มีปัญหาด้านการนอนหลับ ปวดศีรษะ ร่วมกับมีอาการไวต่อแสง เสียงดัง ปวดตามข้อในช่วงเช้า
  • โรคชนิดนี้ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถบรรเทาอาการปวดได้จากการรับประทานยา
  • นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังสามารถรักษาโรค Fibromyalgia ได้จากการนวดออกกำลังกายแบบแอโรบิก เล่นโยคะ รำมวยจีน
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาสุขภาพจิต

กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ หรือ "โรค Fibromyalgia (ไฟโบรมัยอัลเจีย)" เป็นภาวะเรื้อรังที่มีลักษณะการปวด และเจ็บกล้ามเนื้อตามบริเวณต่างๆ ของร่างกาย 

แม้ภาวะนี้จะได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกับโรคข้ออักเสบ แต่ก็ไม่ได้ทำให้ข้อ หรือเนื้อเยื่อบริเวณนั้นเกิดความเสียหาย มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในช่วงอายุ 30-50 ปี 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผู้ป่วยโรค Fibromyalgia จะต้องมีอาการปวดเรื้อรังตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ไม่มีอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ แต่จะรู้สึกปวดตามส่วนต่างๆ ของร่างกายมากกว่า 7 ตำแหน่งขึ้นไป จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต เช่น อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ไม่สามารถทำงาน หรือเรียนได้

อาการของโรค Fibromyalgia

ผู้ป่วยโรค Fibromyalgia อาจมีอาการตามข้อได้เช่นกัน ซึ่งอาการของโรค Fibromyalgia มีหลากหลายดังต่อไปนี้

  • อาการปวดที่แพร่กระจายไปทั่วตัว (Widespread pain)
  • อ่อนเพลีย แม้จะพักผ่อนเพียงพอ
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ
  • อาการปวดข้อแย่ลงในตอนเช้า
  • มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ หรือการใช้สมาธิ (Fibro fog)
  • มีอาการชา หรือเหน็บตามร่างกาย
  • ไวต่ออุณหภูมิทั้งร้อน และเย็น
  • ไวต่อแสง หรือเสียงดัง
  • ปวดประจำเดือนในเพศหญิง
  • ปวดเมื่อถูกสัมผัส
  • คัน หรือแสบร้อนผิวหนัง
  • ปากแห้ง ตาแห้ง
  • ตะคริว
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ปวดศีรษะ
  • ลำไส้แปรปรวน
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว หรือการประสานงานของกล้ามเนื้อ

ผู้ป่วยโรค Fibromyalgia อาจมีระดับความรุนแรงแตกต่างกัน รวมถึงอาจดีขึ้น หรือแย่ลงตามเวลา ซึ่งเกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่น ความเครียด อากาศที่เปลี่ยนแปลง การออกกำลังกายที่มาก หรือน้อยเกินไป การพักผ่อนที่มาก หรือน้อยเกินไป

นอกจากนี้อาการที่สังเกตได้ของผู้ป่วยโรค Fibromyalgia คือมีจุดกดเจ็บที่เมื่อโดนกดแล้วจะรู้สึกเจ็บแปลบขึ้นมา จุดกดเจ็บนี้มีอยู่ทั้งหมด 18 ตำแหน่งด้วยกันทั่วร่างกาย มักพบตามข้อศอก หัวไหล่ ข้อเข่า คอ สะโพก กระดูกหน้าอก และด้านหลังศีรษะ มักพบทั้ง 2 ข้าง

สาเหตุของโรค Fibromyalgia

ปัจจุบันแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบสาเหตุของโรคนี้ แต่เชื่อว่าอาจเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น

  • การถูกกระทบกระแทกต่อระบบสมอง และไขสันหลัง ซึ่งอาจเกิดจากอุบัติเหตุ หรือเกิดจากภาวะออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ทำให้เกิดการบาดเจ็บสะสมบริเวณไขสันหลังต่อเนื่องเป็นเวลานาน
  • มีปัญหาทางด้านจิตใจ โดยเฉพาะผู้ที่มีความเครียดสะสม รวมถึงผู้ที่เป็นโรควิตกกังวล เจ้าระเบียบ หงุดหงิดง่าย
  • ความผิดปกติทางพันธุกรรม มีความเชื่อว่า ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรค Fibromyalgia จะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การวินิจฉัยโรค Fibromyalgia

โรค Fibromyalgia ค่อนข้างวินิจฉัยได้ยาก เนื่องจากอาการมีความคล้ายกับภาวะอื่นๆ ซึ่งในขณะนี้ก็ยังไม่มีการตรวจร่างกายที่เฉพาะเจาะจง กลุ่มผู้เชี่ยวชาญโรคข้อจากสหรัฐอเมริกา (American College of Rheumatology: ACR) จึงได้ตั้งเกณฑ์การวินิจฉัยขึ้นมาเพื่อการวินิจฉัยภาวะนี้

ในสมัยก่อน แพทย์จะใช้วิธีตรวจ 18 จุดกดเจ็บเพื่อประเมินความรุนแรงของอาการปวด แต่แนวทางการวินิจฉัยใหม่ๆ จะแนะนำให้แพทย์นึกถึงโรค Fibromyalgia หากผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้

  • อาการปวดที่แพร่กระจายไปทั่วตัว (Widespread pain) เรื้อรังมากกว่า 3 เดือน
  • อาการทั่วไปต่างๆ เช่น อ่อนเพลีย รู้สึกไม่สดชื่นเมื่อตื่นนอน หรือมีปัญหาเกี่ยวกับความจำ

วิธีการรักษาโรค Fibromyalgia

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรค Fibromyalgia ให้หายขาด เพราะฉะนั้นการรักษาจึงเป็นเพียงการบรรเทาอาการเพื่อให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง

หากมีอาการปวดใดๆ แพทย์อาจจ่ายยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือนาพร็อกเซน (Naproxen) ให้ แต่หากมีความเครียด หรือวิตกกังวลมากเกินไป แพทย์อาจพิจารณาจ่ายยารักษาโรคซึมเศร้า หรือยาคลายกล้ามเนื้อให้แทน

วิธีการรักษาโรค Fibromyalgia ด้วยการออกกำลังกาย

โรค Fibromyalgia ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถใช้การออกกำลังกายด้วยวิธีต่างๆ เพื่อบรรเทาอาการได้ เช่น

  • ออกกำลังกายแบบแอโรบิก จะช่วยลดอาการอ่อนเพลีย ทำให้ปัญหาการนอนหลับ และสมรรถภาพร่างกายดีขึ้น ผู้ที่เริ่มออกกำลังกายควรเริ่มที่ความเข้มข้นต่ำ เพราะกล้ามเนื้ออาจไวต่อการปวดยอกได้
  • ออกกำลังกายในสระน้ำโดยเฉพาะน้ำอุ่น ช่วยลดปัญหาอาการปวดยอกกล้ามเนื้อได้ดี
  • โยคะ หรือรำมวยจีน ช่วยลดอาการปวดเมื่อย ความเครียด และเสริมสร้างสมาธิได้ดี

ปกติแล้ว ผู้ที่รักษาด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอติดต่อกันเป็นระยะเวลา 2-3 เดือน มักเห็นความเปลี่ยนแปลงชัดเจน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

วิธีการรักษา Fibromyalgia แบบอื่นๆ

นอกจากรักษาด้วยยา และการออกกำลังกายแล้ว โรค Fibromyalgia ยังสามารถรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่น

  • การนวด ช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อ ผ่อนคลายความเครียดได้ดี ทำให้นอนหลับสบายมากยิ่งขึ้น
  • การฝังเข็ม ช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อเช่นเดียวกับการนวด
  • การฝึกสมาธิ นอกจากจะช่วยลดอาการปวดแล้ว ยังให้ผลดีมากในการลดความเครียด ทำให้สามารถจัดการอารมณ์ของตัวเองได้ง่ายขึ้น
  • จิตบำบัด ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาด้านสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า โรคเครียด 

ภาวะแทรกซ้อนของโรค Fibromyalgia

โรค Fibromyalgia เป็นโรคที่มีอาการปวดเพียงอย่างเดียว ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรืออาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต เพียงแต่รบกวนการใช้ชีวิตเท่านั้น แต่มักจะพบการป่วยเป็นโรคอื่นร่วมด้วยเสมอ เช่น ลำไส้แปรปรวน โรคปวดหัวเรื้อรัง 

การป้องกันโรค Fibromyalgia

เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรค Fibromyalgia จึงยังไม่มีวิธีป้องกันที่ได้ผล การป้องกันเบื้องต้นทำได้เพียงลดปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นให้เกิดโรค โดยเฉพาะความเครียดทางอารมณ์ และทางร่างกาย เช่น 

  • จัดการอารมณ์ของตนเองไม่ให้จมอยู่กับความเครียดมากเกินไป 
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ 
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

โรค Fibromyalgia ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ คุณจึงต้องดูแลสุขภาพของตนเองให้ดี ดูแลร่างกายของตนเองไม่ให้บอบช้ำทั้งร่างกาย และจิตใจ พยายามหาสมดุลของการใช้ชีวิตให้มีความสุขให้เจอ เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคชนิดนี้

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพจิต จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Fibromyalgia - Causes, symptoms, treatment. Versus Arthritis. (Available via: https://www.versusarthritis.org/about-arthritis/conditions/fibromyalgia/)
Fibromyalgia. American Academy of Family Physicians. (Available via: https://familydoctor.org/condition/fibromyalgia/)
Fibromyalgia - Causes , Risks, and Complications. Everyday Health. (Available via: https://www.everydayhealth.com/fibromyalgia/guide/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
คุณหมอคะ ทำไมถึงปวดในเส้นเดือดที่หลังมือคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดหัวไมเกรนบ่อยๆทำอย่างไรดี
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อยากรู้คะว่าอาการปวดเอวจะหายได้บ้างไหมคะ เพราะว่ามันจะปวดตลอดเวลาคะ หลังจากี่ผ่าตัดคลอดลูกมาแล้ว2คนคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ถ้าคนที่เรารักมากเคยเป็นมะเร็งต่อมนำ้เหลืองมาก่อนแล้วเกือบ12ปีแล้วตอนนี้มาปวดท้องบ่อยกินยาแล้วเดียวก็หาย1-2วันเดียวก็มาปวดอีกเราควรจะทำยังไงดีค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดท้องตอนมาประจำเดือนตลอด บางครั้ง3เดือนมาประจำเดือนครั้งหนึ่ง. ต้องรัษายังไงค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดหลังเป็นประจำจะเป็นโรคอะไรไหมค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ