กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

โรคเครียด (Stress)

เผยแพร่ครั้งแรก 17 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคเครียด เป็นโรคที่เกิดจากปัญหาการปรับตัวเข้าการเปลี่ยนแปลงในชีวิต เป็นโรคที่สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย ไม่ใช่โรค หรือภาวะผิดปกติที่น่ากลัวแต่อย่างใด
  • โรคเครียดเกิดได้จากปัจจัยภายใน เช่น ความคาดหวังของผู้ป่วย การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน บุคลิกภาพที่อ่อนไหว และปัจจัยภายนอก เช่น ปัญหาด้านการเงิน การเปลี่ยนงาน ปัญหาความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว หรือเพื่อน
  • โรคเครียดทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเจ็บป่วยได้ เช่น ปวดท้อง ปวดหัว หายใจไม่สะดวก หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น ท้องเสีย ท้องผูก ไปจนถึงอาการรุนแรงขั้นเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  • ผู้ที่เป็นโรคเครียดจะมีภาวะอารมณ์ และพฤติกรรมเปลี่ยนไป เช่น ขี้ลืม ไม่มีสมาธิ ก้าวร้าวขึ้น ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยกว่าเดิม ติดสุรา ทำลายข้าวของ และรุนแรงถึงขั้นฆ่าตัวตาย
  • การรักษาโรคเครียดมักเป็นการรับประทานยา ควบคู่ไปกับการทำจิตบำบัด ให้ผู้ป่วยหัดปรับสภาพจิตใจ และรับมือกับความเครียดได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจฮอร์โมนความเครียด

โรคเครียด เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการปรับตัวต่อเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในชีวิต สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย และไม่ใช่ความผิดปกติร้ายแรงแต่อย่างใด เพราะทุกคนย่อมมีความเครียดเกิดขึ้นได้ 

ความแตกต่างของโรคเครียดในแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันที่ระดับความเครียด ระยะเวลาที่สามารถบรรเทาให้ความเครียดเบาลงได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับวิธีการจัดการกับปัญหา สภาพแวดล้อมโดยรอบ และการปรับตัวกับความเครียดที่เกิดขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจระดับฮอร์โมนวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 382 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สาเหตุของโรคเครียด 

ความเครียดเกิดได้จากหลายปัจจัย โดยแบ่งได้เป็น 2 ปัจจัยด้วยกัน ได้แก่

1. ปัจจัยภายนอก 

มักเป็นปัจจัยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ครอบครัว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวผู้ป่วย เช่น 

  • การย้ายบ้าน ย้ายถิ่นฐานไปที่ไกลๆ 
  • การเปลี่ยนงาน 
  • ความกดดันในที่ทำงาน หรือจากคนในครอบครัว
  • การหย่าร้าง การเลิกรากับคนรัก 
  • ปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อน ครอบครัว 
  • ภาวะเศรษฐกิจ หรือปัญหาด้านการเงิน
  • เหตุการณ์บ้านเมือง 
  • ภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม คลื่นยักษ์ ไฟไหม้

ปัจจัยภายในตัวผู้ป่วยเอง 

จะเป็นปัจจัยเกี่ยวกับอุปนิสัย ความคิดของตัวผู้ป่วยเอง เช่น 

  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทั้งในวัยรุ่น และวัยหมดประจำเดือน
  • มีความคาดหวังสูง 
  • ต้องการความสำเร็จสูง 
  • มีความอ่อนไหว หรือวิตกกังวลง่าย
  • บุคลิกภาพแบบสมบูรณ์แบบ ไม่ยืดหยุ่น
  • เป็นคนปรับตัวกับสิ่งรอบตัวยาก

ชนิดของโรคเครียด 

โรคเครียดแบ่งออกได้หลักๆ 2 ประเภท ได้แก่

1. โรคเครียดแบบฉับพลัน (Acute Stress) เป็นความเครียดที่ขึ้นอย่างฉับพลัน และร่างกายจะตอบสนองต่อความเครียดทันที มักเกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อมที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน เช่น ความร้อน ความเย็น อาการตกใจ การเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่กลัว หรือกังวลกระทันหัน

2. โรคเครียดแบบเรื้อรัง (Chronic Stress) เป็นโรคเครียดที่เกิดจากการสะสมความเครียดเป็นเวลานาน และร่างกายไม่สามารถแสดงออก หรือระบายความเครียดออกมาได้ จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม บุคลิกภาพ รวมถึงร่างกาย เช่น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • การขัดแย้งกับคนในที่ทำงาน หรืองานที่ทำ 
  • มีปัญหากับคนในครอบครัว 
  • ปัญหาด้านการเรียน 
  • ความเหงา

อาการของโรคเครียด

โรคเครียดจะส่งผลให้ร่างกายมีอาการแสดงที่ผิดปกติออกมาทั้งภายใน และภายนอก รวมถึงบุคลิก และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิมด้วย ได้แก่

1. อาการแสดงออกทางกาย 

เป็นอาการซึ่งจะเกิดขึ้นในส่วนของอวัยวะที่ถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ ได้แก่

  • ระบบทางเดินอาหาร กระเพาะอาหารจะหลั่งกรดมากผิดปกติ ทำให้กระเพาะอาหารเป็นแผล ปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืด อาหารย่อยลำบาก คลื่นไส้อาเจียน ลำไส้เกิดการหดตัวมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการท้องเสีย ถ่ายบ่อย หรือท้องฟูก
  • ระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้หัวใจเต้นเร็ว เต้นผิดจังหวะ น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น หลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจตีบลง มีไขมันมาเกาะเส้นเลือด ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบตัน เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และความดันโลหิตสูง
  • ระบบกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อมีการหดเกร็งจนเกิดอาการปวดศีรษะ ปวดคอ ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อต่างๆ ทั่วร่างกาย
  • ระบบทางเดินหายใจ ทำให้หายใจไม่สะดวก เหนื่อยง่าย จุก แน่นหน้าอก 

อาการแสดงออกทางจิตใจ และอารมณ์ 

เป็นอาการเกี่ยวกับสภาวะอารมณ์ สมาธิหรือการตัดสินใจต่างๆ ของผู้ป่วย เช่น

  • วิตกกังวล 
  • ซึมเศร้า รู้สึกเศร้าตลอดเวลา
  • การตัดสินใจไม่ดี หรือโลเล 
  • ขี้ลืม ความจำไม่ดี
  • ขาดสมาธิ 
  • ไม่มีความคิดริเริ่ม ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ 
  • โกรธง่าย ฉุนเฉียวขึ้น หรือหงุดหงิดง่ายขึ้น
  • เบื่อซึม ท้อแท้ 
  • มองโลกในแง่ร้าย

อาการแสดงออกทางพฤติกรรม 

เป็นอาการเกี่ยวกับพฤติกรรมที่แสดงออกมาให้ผู้อื่นเห็น และมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น 

  • รับประทานอาหารเยอะขึ้นกว่าปกติ
  • ซื้อของบ่อยขึ้น มีพฤติกรรมใช้เงินฟุ่มเฟื้อย
  • เบื่ออาหาร  
  • นอนไม่หลับ หรือนอนหลับยากขึ้นกว่าเดิม
  • กัดเล็บ 
  • ดึงผม 
  • ติดบุหรี่ ติดสุรา หรือหันไปบริโภคแอลกอฮอล์ ทั้งๆ ที่ไม่เคยดื่มมาก่อน 
  • พูดจาก้าวร้าวขึ้น หรือพูดน้อยลง 
  • ทำร้ายร่างกาย หรือทำร้ายผู้อื่น ทำลายข้าวของ
  • เปลี่ยนงานบ่อย 
  • แยกตัว ไม่เข้าสังคม
  • ฆ่าตัวตาย 

การตรวจประเมินความเครียด

บางครั้งความเครียดก็สามารถเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว แบบประเมินความเครียดด้วยตัวเองจากแบบประเมินซึ่งพัฒนาโดยกรมสุขภาพจิต จะเป็นตัวช่วยในการคัดกรองภาวะเครียดที่กำลังเกิดขึ้น และช่วยให้เรารู้แนวทางการดูแลตัวเอง และจัดการกับความเครียดได้อย่างเหมาะสม 

โดยให้สำรวจอาการที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา ว่ามีอาการ หรือความรู้สึกต่อไปนี้มากน้อยเพียงใด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • คะแนน 0 หมายถึง แทบไม่มี
  • คะแนน 1 หมายถึง เป็นบางครั้ง
  • คะแนน 2 หมายถึง บ่อยครั้ง
  • คะแนน 3 หมายถึง เป็นประจำ
ข้อที่ อาการหรือความรู้สึกที่เกิดในระยะ 2-4 สัปดาห์ คะแนน
0 1 2 3
1.  มีปัญหาการนอน นอนไม่หลับหรือนอนมาก    
2.  มีสมาธิน้อยลง    
3.  หงุดหงิด/กระวนกระวาย/ว้าวุ่นใจ    
4.  รู้สึกเบื่อ เซ็ง    
5.  ไม่อยากพบปะผู้คน    


การแปรผล

  • คะแนน 0-4 เครียดน้อย
  • คะแนน 5-7 เครียดปานกลาง
  • คะแนน 8-9 เครียดมาก
  • คะแนน 10-15 เครียดมากที่สุด

การรักษาโรคเครียด

การรักษาโรคเครียดจะใช้หลายวิธีร่วมกัน ได้แก่

1. การรักษาด้วยยา  

วัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อช่วยบรรเทาอาการทางกายให้ดีขึ้น เช่น 

  • ใช้ยาลดกรดในกระเพาะ เพื่อรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร 
  • ยาลดความดันโลหิต เพื่อลดระดับความดันโลหิต 
  • ใช้ยาแก้ปวด และยาคลายกล้ามเนื้อ เพื่อลดอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อตามจุดต่างๆ 
  • ให้ยากลุ่มคลายเครียด เพื่อช่วยให้นอนหลับพักผ่อนได้ง่ายขึ้น หรือมีอาการเครียดน้อยลง

อย่างไรก็ตาม วิธีนี้เป็นการรักษาที่ปลายเหตุ แต่ก็มีความจำเป็นเพราะจะช่วยลดอาการต่างๆ ให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตัวมากขึ้น และทำให้ง่ายต่อการจัดการกับปัญหา หรือความเครียดที่เป็นต้นเหตุต่อไป ไม่เช่นนั้นอาการทางกายอาจจะทำให้ผู้ป่วยมีความเครียดมากขึ้นได้

2. การรักษาด้วยการทำจิตบำบัด 

เป็นการรักษาด้วยเพื่อให้ผู้ป่วยได้ปรับสภาพจิตใจ และสามารถจัดการกับความเครียดข้างในความคิดได้ เช่น

  • เทคนิคการผ่อนคลายความเครียดด้วยตัวเอง เช่น ฝึกสมาธิ ออกกำลังกาย
  • การเสริมทักษะในการปรับตัว และการจัดการปัญหา
  • การเข้าร่วมกลุ่มทางสังคม
  • การทำจิตบำบัดแบบกลุ่ม และการทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่ม
  • การปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม

คุณสามารถเข้ารับการรักษาโรคเครียด หรือบรรเทาอาการเครียดที่เกิดขึ้นได้จากการพบนักจิตบำบัด หรือปรึกษาจิตแพทย์ในโรงพยาบาล หรือหากคุณยังไม่พร้อมจะเข้าพบแพทย์ คุณอาจปรึกษาเพื่อนสนิท แฟน หรือคนใกล้ชิดในครอบครัวเพื่อระบายความเครียดและหาทางออกกับปัญหาที่เกิดขึ้น 

นอกจากนี้ยังมีช่องทางการติดต่อจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพจิตจากหลายโรงพยาบาล ที่คุณสามารถโทรไปปรึกษาเพื่อหาทางจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น เช่น

  • สมาคมสะมาริตันส์แห่งประเทศไทย มีบริการอาสาสมัคร "รับฟังด้วยใจ" โดยสามารถติดต่อได้ที่ โทร. 0-27136793
  • สายด่วน Depress we care โรงพยาบาลตำรวจ โทร. 081-9320000
  • สายด่วนสุขภาพจิต โรงพยาบาลราชวิถี โทร. 0-23548152

ความเครียดเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะทุกวันของชีวิตคนเราต้องมีการเปลี่ยนแปลง และรับมือกับปัญหาต่างๆ ที่ไม่อาจคาดเดาได้ 

สิ่งที่คุณทำได้ คือ การเตรียมรับมือ ยอมรับตนเองว่าอยู่ในภาวะโรคเครียด และไม่อายที่จะบอกเล่าปัญหาให้คนใกล้ชิดฟังเพื่อแบ่งเบาภาระทางใจ หรือคุณสามารถไปพบจิตแพทย์ เพื่อหาทางรักษาที่เหมาะสมต่อไป

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจฮอร์โมนความเครียด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Stress. Harvard Health. (Available via: https://www.health.harvard.edu/topics/stress)
Stress and Heart Health. American Heart Association. (Available via: https://www.heart.org/en/healthy-living/healthy-lifestyle/stress-management/stress-and-heart-health)
Pardon Our Interruption. American Psychological Association (APA). (Available via: https://www.apa.org/topics/stress/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
หายใจไม่ค่อยสะดวก มีวิธีแก้มัยค่ะ. ต้องสูญอากาศยาวๆๆถึงจะหายใจคล่อง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ทำไมเวลาเจออะไรตกใจทำไมถึงปวดเกร็งที่หลังกับท้องค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ถ้าเป็นความดันเราเพิงรู้แล้วเครียดมากเราจะปรับตัวยังไงคะ แล้วจะทำยังงัยคะให้ความดันลดอย่างรวดเร็ว
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สมองถ้ารับข้อมูลที่ไม่ต้องการอยากรู้ทำไมถึงทำให้ร่างทรมานได้ค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีรูปร่างที่อ้วนค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)