กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

แผลในกระเพาะอาหาร (Peptic ulcer)

เผยแพร่ครั้งแรก 16 ก.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 25 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • แผลในกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่ผู้ป่วยจะมีแผลเกิดขึ้นภายในกระเพาะอาหารซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การติดเชื้อ การใช้ยาบางชนิด โรคประจำตัว การสูบบุหรี่ การบริโภคแอลกอฮอล์ แต่มักมีสาเหตุหลักมาจากกรด หรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร
  • อาการในโรคแผลในกระเพาะอาหารหลักๆ คือ ปวดจุกเสียดท้อง รวมถึงแสบท้อง คลื่นไส้อาเจียน เรอเปรี้ยว
  • โรคแผลในกระเพาะอาหารสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น เลือดออกในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารทะลุ โรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร
  • มีข้อปฏิบัติหลายอย่างในระหว่างการรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร เช่น หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด รวมถึงน้ำอัดลม กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เลิกสูบบุหรี่ ลดความเครียด มาพบแพทย์ตามนัดอย่างต่อเนื่อง
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งทั่วไป

โรคแผลเปปติก (Peptic ulcer) หรือเรียกทั่วไปว่า "โรคแผลในกระเพาะอาหาร (Gastric ulcer: GU)" และแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenum) หรือเรียกได้ย่อๆ ได้อีกชื่อว่า "โรคพียู (PU) 

โรคแผลในกระเพาะอาหารเป็นโรคที่มีสาเหตุหลักๆ มาจากกรด หรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารหลั่งออกมาทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ถือเป็นโรคซึ่งพบได้มากในกลุ่มคนทั่วไปเช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหาร

ปัจจุบันพบว่าโรคแผลเปปติก มีสาเหตุได้จากปัจจัยต่อไปนี้

  • การติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori: H. pylori
  • การให้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal anti-inflammatory drugs: NSAIDs)
  • การได้รับยากลุ่มสเตียรอยด์ โดยเฉพาะเมื่อได้รับร่วมกับแอสไพริน หรือ NSAIDs เป็นระยะเวลานาน
  • ได้รับยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือด เช่น แอสไพริน (aspirin), clopidogrel, ticlopidine, warfarin 
  • ผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัวร่วม เช่น โรคตับแข็ง (liver cirrhosis) โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคไตวายเรื้อรัง (CRF) โรคเยื่อบุอักเสบ Behcet โรคโครห์น (Crohn's Disease)
  • การได้รับยาเคมีบำบัดบางชนิด หรือใช้สารเสพติดประเภทโคเคน (cocaine) 
  • การตัดเลาะติ่งเนื้องอก หรือโรคมะเร็งกระเพาะอาหารระยะต้นออกโดยผ่านการส่องกล้อง (Post-endoscopic submucosal dissection induced ulcer; Post-ESD induced ulcer)
  • การสูบบุหรี่ 

พยาธิสรีรวิทยาของการเกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร

การที่จะเกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้นได้นั้น ต้องมีสาเหตุทำให้เกิดการเสียสมดุลระหว่าง 2 ปัจจัยสำคัญบริเวณเยื่อบุผิวกระเพาะอาหาร ดังนี้

1. มีปัจจัยเร่งการทำลายเยื่อบุผิวกระเพาะอาหาร เช่น

  • ติดเชื้อแบคทีเรีย H. pylori
  • ใช้ยาแอสไพริน และ NSAIDs
  • ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณสูง
  • มีภาวะที่ทำให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดไฮโดรคลอริก (HCL)
  • น้ำย่อยเพปซิน (pepsin) หรือสารอนุมูลอิสระมากเกินไป

2. เกิดความบกพร่องในปัจจัยที่ช่วยปกป้องและซ่อมแซมเยื่อบุผิวกระเพาะ เช่น

  • กระเพาะอาหารขาดสาร endogenous prostaglandins (โดยเฉพาะ PGE2)
  • มีภาวะที่ทำให้ผิวกระเพาะอาหารสร้างเยื่อเมือก (gastric mucus) ลดลง
  • ผิวกระเพาะอาหารขาดเลือดมาเลี้ยง ทำให้เกิดความบกพร่องในการสร้างเยื่อบุผิว

อาการของโรคแผลในกระเพาะอาหาร

  • อาการปวดท้องบริเวณยอดอก หรือใต้ลิ้นปี่ เหนือสะดือ โดยมักสัมพันธ์กับมื้ออาหารเมื่อผู้ป่วยท้องว่าง ทำให้เกิดอาการปวดแสบ ปวดตื้อๆ จุกเสียดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องคล้ายกับอยากถ่ายอุจจาระ เรอเปรี้ยว 
  • หากเป็นแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น มักปวดท้องหลังรับประทานอาหาร 1-3 ชั่วโมง หรือขณะท้องว่าง ปวดตอนสายๆ บ่ายๆ เย็นๆ ตอนดึกจนนอนไม่หลับ หากรับประทานอาหาร ดื่มนม รับประทานยาลดกรด หรืออาเจียน อาการปวดจะดีขึ้น 
  • หากเป็นแผลกระเพาะอาหารมักปวดหลังอาหารประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง น้ำหนักจะลดจากการเบื่ออาหารและกลัวปวดท้อง
  • หากรับประทานอาหารที่ไขมันสูง ของมัน ของทอด มักมีอาการเรอ ท้องอืด แน่นท้อง 

ภาวะแทรกซ้อน

โรคแผลในกระเพาะอาหารทำให้เกิดอาการข้างเคียงร้ายแรงมากขึ้นได้ เช่น

  • เลือดออกในกระเพาะอาหาร (Upper GI Bleeding) มีอาการอาเจียนเป็นเลือดสด หน้ามืด วิงเวียน ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำแดงมีกลิ่นคาว 
  • กระเพาะอาหารทะลุ หรือฉีกขาด (Gastic perforation) มีอาการปวดท้องเฉียบพลันรุนแรง ท้องตึง แข็งเกร็ง ความดันโลหิตตก
  • กระเพาะอาหารอุดตัน มีอาการเบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อยลง เมื่อรับประทานอาหารเสร็จมักอาเจียนบ่อยๆ น้ำหนักลดลง
  • โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

การวินิจฉัยโรค 

  • ถ่ายภาพรังสีกระเพาะอาหารและลำไส้ โดยกลืนแป้งแบเรียม 
  • ใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้ 
  • ตรวจหาการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร
  • ตัดชิ้นเนื้อพิสูจน์ (Biopsy)

การรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร 

แพทย์จะรักษาตามสาเหตุ ดังนี้

  • ให้ยาควบคุมการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร (antisecretory agents) ได้แก่ ยากลุ่ม proton pump inhibitors (PPIs) ยากลุ่ม H2-receptor antagonists (H2RA) หรือให้ยาปกป้อง และถนอมผิวกระเพาะอาหาร
  • หากมีอาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายดำ จะรักษาโดยการให้เลือด 
  • หากปวดท้องรุนแรงอาจต้องผ่าตัดด่วน 
  • หากพบเชื้ออาจต้องให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย ให้ยาปกป้องเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้
  • ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

ข้อควรปฏิบัติระหว่างการรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร

  • รับประทานยารักษาแผลให้ตรงเวลา ครบจำนวนมื้อและครบระยะเวลา 8-12 สัปดาห์
  • เรียนรู้วิธีการปรับใช้ยาสำหรับบรรเทาอาการขณะที่มีอาการปวดท้อง
  • ศึกษา และสังเกตอาการข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ระหว่างการใช้ยา และควรปรึกษาแพทย์เมื่อสงสัยว่ามีอาการข้างเคียงดังกล่าวเกิดขึ้น
  • ระมัดระวังการใช้ยาอื่นๆ ร่วมกัน โดยเฉพาะยาแอสไพริน ยา NSAIDs ยาต้านเกล็ดเลือด ยาละลายลิ่มเลือด ยาสเตียรอยด์ เป็นต้น
  • รับประทานอาหารอ่อน แผลในกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่ผู้ป่วยจะมีแผลเกิดขึ้นภายในกระเพาะอาหารซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การติดเชื้อ การใช้ยาบางชนิด โรคประจำตัว การสูบบุหรี่ การบริโภคแอลกอฮอล์ แต่มักมีสาเหตุหลักมาจากกรด หรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร
    อาการในโรคแผลในกระเพาะอาหารหลักๆ คือ ปวดจุกเสียดท้อง รวมถึงแสบท้อง คลื่นไส้อาเจียน เรอเปรี้ยว
    โรคแผลในกระเพาะอาหารสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น เลือดออกในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารทะลุ โรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร
    มีข้อปฏิบัติหลายอย่างในระหว่างการรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร เช่น หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด รวมถึงน้ำอัดลม กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เลิกสูบบุหรี่ ลดความเครียด มาพบแพทย์ตามนัดอย่างต่อเนื่อง
    เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งทั่วไป และย่อยง่ายในช่วงแรก เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ซุป ก๋วยเตี๋ยวที่ไม่ใส่น้ำส้มสายชูและพริก หลีกเลี่ยงผักสดปริมาณสูง ควรรับประทานผักที่ผ่านความร้อนแล้วเพราะย่อยง่าย หลีกเลี่ยงผลไม้รสเปรี้ยวจัดและย่อยยาก และไม่ควรรับประทานผลไม้ตอนท้องว่าง
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสชาติจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด อาหารหมักดอง หลีกเลี่ยงน้ำอัดลม กาแฟเข้มข้น เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
  • ควรเลิกสูบบุหรี่ เพราะจะรบกวนการหายของแผล และลดประสิทธิภาพการกำจัดเชื้อ H. pylori
  • รับประทานอาหารให้ใกล้เคียงเวลาเดิม หากติดภารกิจควรรับประทานขนมหรือนมรองท้อง
  • ควรทำอารมณ์ให้แจ่มใสเบิกบาน ลดความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเบาๆ ในช่วงแรก จากนั้นควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • มาตรวจตามนัดของแพทย์อย่างต่อเนื่อง และควรได้รับการตรวจส่องกล้อง EGD ซ้ำที่ 8-12 สัปดาห์ (โดยเฉพาะในผู้ที่มีแผลใหญ่หรือเป็นแผลที่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น) เพื่อช่วยยืนยันการหายของแผลก่อนจะหยุดการใช้ยา และเพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าแผลที่เคยเป็นนั้นไม่ใช่แผลมะเร็ง
  • หากมีอาการที่ชวนสงสัยว่าเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคขึ้น ควรมาพบแพทย์ก่อนนัดเดิม

การป้องกันไม่ให้เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร

  • รับประทานอาหารเป็นเวลา
  • รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย 
  • รับประทานอาหารทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง แต่ละมื้อไม่ควรรับประทานให้อิ่มมาก 
  • งดสูบบุหรี่ 
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด 
  • งดชา กาแฟ ช็อกโกแลต น้ำอัดลม 
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน ยา NSAIDs ยาสเตียรอยด์ หรือยารักษาโรคข้อกระดูกอักเสบทุกชนิด ถ้าจำเป็นต้องใช้ยากลุ่มนี้ควรปรึกษาแพทย์ 
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัด อาหารที่มีกรดมาก เช่น อาหารหมักดอง
  • ผ่อนคลายความเครียดและความวิตกกังวล 
  • พักผ่อนให้เพียงพอ 
  • ระมัดระวังการใช้ยา

โรคแผลในกระเพาะอาหารสามารถรักษาให้หายขาดได้หากปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่ควรรักษาแบบครึ่งๆ กลางๆ หรือหยุดการรักษาเมื่ออาการดีขึ้น เนื่องจากอาจกลายเป็นโรคเรื้อรังได้ 

นอกจากนี้ โรคแผลในกระเพาะอาหารที่รักษาช้าเกินไป ยังมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ และมะเร็งกระเพาะอาหารได้ ยิ่งรักษาเร็ว โอกาสที่จะหายขาดก็ยิ่งมีมาก 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งทั่วไป จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Peptic ulcer. Harvard Health. (Available via: https://www.health.harvard.edu/digestive-health/peptic-ulcer-overview)
What Causes Ulcers - Stomach Ulcer Symptoms. American Academy of Family Physicians. (Available via: https://familydoctor.org/condition/ulcers/)
Peptic Ulcer Disease. American Academy of Family Physicians (AAFP). (Available via: https://www.aafp.org/afp/2007/1001/p1005.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
อาการเรอไม่หายสักทีตลอดเวลา6เดือนคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการปวดท้องเหนือสะดือ คืออะไรคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ชอบเป็นไหลย้อนตัองรักษาแบบไหนค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการของโรคแสบร้อนกลางอกเกิดจากอะไรคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ชอบปวดท้องค่ะ ปวดท้องแบบ งง ๆ เป็นคนดื่มค่ะ ดื่มหนัก เวลาทานอะไรเข้าไปมาก ๆ ชอบจะปวดท้องแสบท้อง ท้องก็จะบวม ๆ ใหญ่ ๆ ขึ้นด้วยค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
โรคกระเพาะอาหารอักเสบรักษาให้หายขาดได้หรือไม่
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)