กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.เพ็ญพิไล สุตันทวงษ์
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.เพ็ญพิไล สุตันทวงษ์

ความหมาย และความสำคัญของเสมหะ

เสมหะสำคัญอย่างไร หากมีเสมหะมากผิดปกติเกิดจากอะไรได้บ้าง?
เผยแพร่ครั้งแรก 17 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 22 ก.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ความหมาย และความสำคัญของเสมหะ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เสมหะ คือ สิ่งข้นเหนียวเหมือนเมือกที่ร่างกายผลิตขึ้นมาเป็นปกติอยู่แล้ว แต่จะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคบางอย่าง โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ
  • เมื่อมีเชื้อแบคทีเรีย หรือสารก่อภูมิแพ้เข้าไปในร่างกายจนทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย จะเป็นปัจจัยทำให้ร่างกายผลิตเสมหะมากขึ้นได้ ส่วนสีของเสมหะมีสาเหตุที่ทำให้เกิดแตกต่างกันไปรวมถึงโรคที่ทำให้เสมหะสีนั้นๆ ก็ยังแตกต่างกันไปด้วย
  • สามารถรักษาอาการมีเสมหะมากได้จากการรับประทานยาแก้คัดจมูก ยาแก้แพ้ หรือล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ
  • อาการมีเสมหะอาจหมายถึงการติดเชื้ออย่างรุนแรง หรืออาการภูมิแพ้ที่ต้องรีบรักษา ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยจะดีที่สุด
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิงและผู้ชายทุกวัย

เสมหะคือ เยื่อเมือกในลำคอซึ่งโดยปกติจะมีอยู่ในลำคอ ปอด จมูก รวมถึงโพรงอากาศในกะโหลกศีรษะอยู่แล้ว แต่เสมหะจะถูกผลิตมากขึ้น เมื่อร่างกายเกิดอาการเจ็บป่วยรวมถึงเมื่อมีอาการจากโรคไข้หวัดด้วย

สีของเสมหะบ่องบอกอะไร? 

เสมหะที่ผลิตออกมามากในช่วงที่ป่วยยังแบ่งออกได้หลายสีตามอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นด้วย ซึ่งสามารถแจกแจงได้ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจปอด วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1. เสมหะสีใส

เป็นสีเสมหะที่ร่างกายผลิตออกมาทุกวันอยู่แล้ว โดยเสมหะสีใสจะประกอบไปด้วยสารโปรตีน สารน้ำ และสารภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะคอยทำหน้าสร้างความหล่อลื่น และความชุ่มชื้นให้กับระบบทางเดินหายใจ

หากพบว่า เสมหะมีสีใสและมีปริมาณเพิ่มขึ้น นั่นอาจเป็นสัญญาณบอกว่า ร่างกายของคุณกำลังชะล้าง หรือกำจัดสิ่งสกปรก สารระคายเคือง สารก่อภูมิแพ้ หรือเชื้อไวรัสออกจากร่างกาย

โรคที่ทำให้เกิดเสมหะสีใสเพิ่มขึ้น จะได้แก่ โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ โรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดอักเสบ

2. เสมหะสีเขียว หรือเหลือง

เป็นสีเสมหะที่กำลังบอกว่า ร่างกายกำลังต่อสู้อยู่กับเชื้อโรค โดยสีเสมหะสีเขียว หรือเหลืองมีที่มามาจากเซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งทำหน้าป้องกันเชื้อโรคไม่ให้ทำอันตรายต่อร่างกาย

ในช่วงแรกของการเกิดเสมหะ อาจสังเกตว่า เสมหะเป็นสีเหลือง จากนั้นจึงค่อยเปลี่ยนเป็นสีเขียว ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคที่อาจมากขึ้น หรือระยะเวลาที่ร่างกายจะต้องขับเชื้อโรคออกไปซึ่งอาจยาวนานกว่าเดิม

โรคที่มักทำให้เกิดเสมหะสีเขียว หรือเหลือง จะได้แก่ โรคหลอดลมอักเสบ โรคทางพันธุกรรมอย่างโรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) อาการปอดบวม ภาวะไซนัสอักเสบ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ในบางครั้งเสมหะสีเหลืองยังสามารถเกิดได้จากการมีเสมหะค้างในลำคอเป็นเวลานานได้อีกด้วย เช่น เสมหะหลังตื่นนอนในตอนเช้า แล้วกลับมาเป็นสีใสในช่วงเวลาอื่นๆของวัน

3. เสมหะสีแดง หรือสีชมพู

เสมหะสีแดง หรือสีชมพู มักเกิดจากมีเลือดปนมากับเสมหะจนกลายสีดังกล่าว อาจเกิดจากภาวะหัวใจล้มเหลว โรคฝีในปอด โรคมะเร็งปอด โรคปอดอักเสบ โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary Embolism) การติดเชื้อวัณโรค 

หรือ การระคายเคืองจากสารระคายเคืองต่างๆ หรือการบาดเจ็บบริเวณจมูก ลำคอ และทางเดินหายใจได้อีกด้วย

4. เสมหะสีน้ำตาล

เสมหะสีน้ำตาลมักมาจากเลือดเก่าที่ยังคั่งอยู่ในลำคอ เป็นเสมหะที่มักเกิดขึ้นภายหลังจากมีเสมหะสีแดง หรือสีชมพู

โรคที่มักทำให้เกิดเสมหะสีน้ำตาล จะได้แก่ โรคหลอดลมอักเสบ โรคซิสติก ไฟโบรซิส โรคฝีในปอด อาการปอดบวม โรคฝุ่นจับปอด (Pneumoconiosis)

5. เสมหะสีขาว

เป็นสีเสมหะที่อาจเกิดจากการกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ของเหลวจากอาการบวมน้ำ ความพยายามรับสารออกซิเจนให้เพียงพอของร่างกาย ซึ่งสาเหตุเหล่านี้มาจากโรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคกรดไหลย้อน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากมีเสมหะสีขาวร่วมกับมีอาการหายใจลำบาก ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

นอกจากนี้การรับประทานผลิตภัณฑ์จากนมมากเกินไป อาจทำให้น้ำมูกที่มีอยู่เดิมไหลลงคอมีสีขาวขุ่นได้ เนื่องจากไขมันในผลิตภัณฑ์จากนม ทำให้น้ำมูกมีความเหนียวข้นขึ้น จึงมีสีขาวขุ่น

6. เสมหะสีดำ

มีอีกชื่อเรียกว่า “Melanoptysis” เสมหะสีดำมักหมายถึง สารสีดำบางอย่างที่เผลอรับเข้าร่างกายเข้าไปเป็นจำนวนมาก เช่น ควันดำ หรือเป็นสัญญาณบอกว่า ร่างกายกำลังติดเชื้อรา (Fungal infection) 

โรคที่มักทำให้เกิดเสมหะสีดำ ได้แก่ โรคติดเชื้อรา ฝีในปอด โรคฝุ่นจับปอด หรืออาจเกิดจากการสูบบุหรี่

นอกจากนี้พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสมบางอย่าง รวมถึงอาการเจ็บป่วยอื่นๆ ก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดเสมหะได้ เช่น

  • อยู่ในอากาศร้อน หรือแห้งมากเกินไป
  • การใช้เสียงผิดวิธี หรือใช้เสียงพูดมาก ทำให้จมูกไม่ได้กรองสารระคายเคือง และปรับอากาศที่หายใจเข้าไปให้อุ่นชื้นขึ้น 
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บ่อยๆ 
  • ดื่มน้ำน้อย
  • ดื่มเครื่องดื่มประเภทที่มีคาเฟอีนมากเกินจำเป็น
  • การอาเจียนบ่อยๆ 
  • มีพังผืดในลำคอ
  • มีก้อนเนื้องอกในลำคอ
  • การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในลำคอ เช่น เชื้อโรคซิฟิลิส 
  • โรคหอบหืด
  • โรคไซนัสอักเสบ

วิธีรักษาการมีเสมหะ

  • ยาแก้คัดจมูก ยาชนิดนี้จะทำให้หลอดเลือดในทางเดินหายใจหดตัว จึงทำให้การไหลเวียนของเลือดลดน้อยลง และช่วยลดปริมาณของเสมหะที่ถูกผลิตในจุดนั้นได้
    แต่หากใช้ยาเกินขนาด ยาเหล่านี้จะทำให้เยื่อเมือกแห้ง ซึ่งส่งผลให้เสมหะที่ถูกผลิตมีความเหนียวข้น ผลข้างเคียงที่พบจากการใช้ยาแก้คัดจมูก ได้แก่ เวียนศีรษะ อยู่ไม่สุข กระวนกระวาย และความดันโลหิตสูง
  • ยาแก้แพ้ ยาชนิดนี้จะปิดกั้น หรือลดการทำงานของฮิสตามีน ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายผลิตขึ้นในขณะที่เกิดอาการแพ้ ยาแก้แพ้มักมีผลข้างเคียง เช่น ง่วงซึม เวียนศีรษะ ปากแห้ง และปวดศีรษะ
  • การล้างจมูก เป็นวิธีชำระล้างเมือกส่วนเกินซึ่งสามารถทำได้โดยการใช้หลอดฉีดยา หรือขวดบีบที่ผสมน้ำเกลือฉีดเข้าไปในรูจมูก เพื่อทำให้เมือกในโพรงจมูกขยายตัวและขับออกมา การล้างจมูกจะช่วยทำให้เมือกมีจำนวนน้อยลง และกำจัดสารที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ออกจากจมูกได้ 

นอกจากการรักษาที่กล่าวไปข้างต้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างก็จะช่วยรักษาและป้องกันอาการมีเสมหะมากให้ลดลง เช่น

  • งดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มคาเฟอีนชั่วคราว 
  • อาบน้ำอุ่น หรือน้ำร้อน เพราะไอความอุ่นชื้นจากน้ำจะเข้าไปช่วยเปิดทางเดินหายใจในลำคอ ช่วยให้หายใจได้สะดวกขึ้น 
  • จิบน้ำอุ่นอยู่บ่อยๆ 
  • งดดื่มน้ำเย็นชั่วคราว
  • รับประทานผลไม้ที่มีใยอาหาร รวมถึงอาหารที่มีส่วนประกอบของถั่วเหลือง จะช่วยให้อาการมีเสมหะบรรเทาลง
  • หลีกเลี่ยงการอยู่สถานที่ที่มีมลพิษทางอากาศมาก เพื่อไม่ให้ร่างกายรับเอาสิ่งสกปรก และเชื้อโรคเข้าไปเพิ่ม

การมีเสมหะมากเป็นสัญญาณบอกว่า คุณยังดูแลร่างกายของตนเองได้ไม่ดีพอ ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเสมหะมากจนรบกวนชีวิตประจำวัน คุณจึงต้องรักษาสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดเสมหะมากขึ้น

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้และผู้ชายทุกวัย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Verywellhealth.com, Phlegm (https://www.verywellhealth.com/what-is-phlegm-1192127), 22 March 2020.
Medicalnewstoday.com, Phlegm (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321134.php), 21 March 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ไขข้อสงสัย บุหรี่ไฟฟ้าดีอย่างไร ช่วยให้คุณหยุดสูบบุหรี่ได้หรือไม่?
ไขข้อสงสัย บุหรี่ไฟฟ้าดีอย่างไร ช่วยให้คุณหยุดสูบบุหรี่ได้หรือไม่?

เจาะลึกเกี่ยวกับ “บุหรี่ไฟฟ้า” พร้อมข้อดี-ข้อเสียที่ควรรู้

อ่านเพิ่ม
นิโคติน
นิโคติน

วิธีรับมือกับการขาดนิโคติน

อ่านเพิ่ม
บอกเล่าประสบการณ์ของ Steve กับการเลิกบุหรี่ที่กว่าจะสำเร็จได้ในวันนี้
บอกเล่าประสบการณ์ของ Steve กับการเลิกบุหรี่ที่กว่าจะสำเร็จได้ในวันนี้

เรื่องราวของ Steve กว่าจะเลิกบุหรี่สำเร็จ ต้องใช้ความอดทนมากแค่ไหน

อ่านเพิ่ม