น้ำอัดลมอันตรายกว่าที่คิด

เผยแพร่ครั้งแรก 21 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
น้ำอัดลมอันตรายกว่าที่คิด

น้ำอัดลมเป็นเครื่องดื่มที่ผู้คนชื่นชอบในยามอากาศร้อน โดยดื่มพร้อมกับใส่น้ำแข็งเย็นๆ เพื่อดับกระหายคลายร้อน เพราะเหตุผลที่ทำให้รู้สึกสดชื่นได้ไว มีรสชาติอร่อย ราคาถูก สามารถหาซื้อได้ง่าย อีกทั้งมีให้เลือกหลากหลายรสชาติหลายแบรนด์ ซึ่งบรรจุอยู่ในภาชนะที่เป็นรูปแบบกระป๋อง ขวดแก้ว และขวดพลาสติก จึงทำให้น้ำอัดลมเป็นเครื่องดื่มที่คนทั่วโลกนิยมกันอย่างสูงเลยทีเดียว 

น้ำอัดลมประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?

น้ำอัดลมเป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีคุณค่าทางสารอาหาร แต่ให้พลังงานและความอิ่มแก่ร่างกายอย่างรวดเร็ว โดยน้ำอัดลมปริมาณ 1 ลิตร ให้พลังงาน 424 กิโลแคลอรี ประกอบไปด้วยส่วนผสมหลักๆ 3 อย่าง คือ

  1. น้ำ อาจมาจากน้ำประปาหรือน้ำบาดาลที่ผ่านการกรองและฆ่าเชื้อโรคแล้ว
  2. น้ำตาล
  3. สารปรุงแต่ง กลิ่น และสี อีกทั้งยังมีกรดคาร์บอนิกที่อัดใส่เข้าไป เพื่อให้มีความซ่าเกิดเป็นฟอง สร้างความสดชื่นขณะดื่ม รวมถึงกรดฟอสฟอริก คาเฟอีน และสารกันบูดอีกด้วย

ประเภทของน้ำอัดลม

น้ำอัดลมสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ด้วยการแบ่งตามกลิ่น สี และรสชาติดังนี้

  • น้ำดำหรือน้ำอัดลมรสโคล่า เป็นประเภทปรุงแต่งด้วยน้ำสกัดที่มาจากผลของโคล่า สีดำมาจากน้ำตาลที่เคี่ยวจนไหม้หรือใช้สีผสมอาหาร เป็นเครื่องดื่มประเภทที่มีคาเฟอีน
  • น้ำสี เป็นประเภทปรุงแต่งด้วยน้ำที่ใส่สีเลียนแบบน้ำผลไม้ เช่น รสส้ม องุ่น มะนาว หรือน้ำหวานอย่างเช่นน้ำเขียวและน้ำแดง ส่วนใหญ่จะไม่ใส่คาเฟอีน แต่มีบางยี่ห้อที่พบว่าใส่เพียงเล็กน้อย 

ส่วนผสมที่ให้โทษของน้ำอัดลม

  • น้ำตาล
  • กรดคาร์บอนิก
  • คาเฟอีน
  • กรดฟอสฟอริก
  • สารกันบูดหรือวัตถุกันเสีย
  • สารสังเคราะห์แต่งสี กลิ่น และรสชาติ

เนื่องจากเป็นเครื่องดื่มที่ให้พลังงานมากเพราะมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบสูง น้ำตาลที่ใช้ในน้ำอัดลมคือน้ำตาลซูโครส โดยในน้ำอัดลม 100 มิลลิลิตร มีน้ำตาลประมาณ 10.6 กรัม พบว่าเมื่อดื่มน้ำอัดลมแล้วจะสัมพันธ์กับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ซึ่งไม่มีผลดีต่อสุขภาพ ถึงแม้ว่าจะเลี่ยงไปดื่มชนิดที่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลแล้วก็ตาม

นอกจากนี้ยังพบอีกว่าผู้ที่ดื่มน้ำตาลเทียมมักจะหันไปบริโภคอาหารที่มีพลังงานสูงเกินความต้องการ เพราะคิดว่าเมื่อดื่มเครื่องดื่มที่ใช้สารให้ความหวานแทนแล้ว จะสามารถรับประทานอาหารพลังงานสูงได้โดยไม่อ้วนนั่นเอง จึงเป็นเหตุผลที่ยิ่งดื่มน้ำอัดลมก็จะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น

เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้น้ำอัดลมมีฟองซ่า โดยกรดคาร์บอนิกจะสลายตัวได้ง่าย จึงจำเป็นต้องเก็บภายใต้แรงดัน แต่เมื่อเปิดขวดออกในภาวะความดันปกติ กรดคาร์บอนิกจะสลายตัวเกิดปฏิกิริยากลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ที่ให้ความซ่าและมีฟอง ซึ่งถ้าเรารับประทานบ่อยๆ จะส่งผลให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร ฟันผุ และโรคกระดูกพรุน

เป็นสารที่ช่วยกระตุ้นให้สมองตื่นตัว แต่เมื่อดื่มนานๆ จะทำให้เกิดการเสพติดคาเฟอีนได้ หากหยุดดื่มอาจทำให้มีอาการวิตกกังวล กล้ามเนื้อกระตุก นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ และใจสั่น สำหรับเด็กที่ดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำ จะทำให้นอนไม่หลับในเวลากลางคืนและง่วงนอนตอนกลางวันได้

เป็นส่วนประกอบที่ทำให้ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ เพราะกรดชนิดนี้จะไปขัดขวางการดูดซึมของแคลเซียม

มักนิยมใช้กรดซิตริกเพื่อช่วยทำให้น้ำอัดลมสามารถมีอายุเก็บได้นาน เพราะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและยีสต์ แต่มักทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดี ท้องอืด ท้องเฟ้อ ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหารควรงดดื่มน้ำอัดลม เนื่องจากอาจทำให้มีอาการปวดท้องมากขึ้น เพราะเป็นกรดที่มีฤทธิ์ค่อนข้างแรงนั่นเอง

หากดื่มน้ำอัดลมบ่อยๆ อาจก่อให้เกิดเป็นโรคมะเร็งได้เช่นกัน 

ถึงแม้ว่าเครื่องดื่มน้ำอัดลมจะไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เลยก็ตาม แต่ก็พบว่าผู้ที่ดื่มเป็นประจำจะมีแนวโน้มติดเครื่องดื่มประเภทนี้ได้เพราะมีคาเฟอีนนั่นเอง นอกจากจะเป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีประโยชน์กับร่างกายแล้ว ยังมีกรดต่างๆ ในปริมาณที่มากพอๆ กับน้ำส้มสายชูอีกด้วย ซึ่งหากดื่มอย่างต่อเนื่องก็จะส่งผลให้เกิดโทษต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Frostbite (Frostnip) Symptoms, Pictures, First Aid, & Recovery. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/frostbite/article.htm)
Frostbite: Emergency care and prevention. UpToDate. (https://www.uptodate.com/contents/frostbite-emergency-care-and-prevention)
How to Treat Frostbite, Pictures, Stages, Symptoms, Causes & Diagnosis. eMedicineHealth. (https://www.emedicinehealth.com/frostbite/article_em.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป