ในชุมชนเขตเมือง การใช้น้ำมักจะเป็นน้ำประปา ซึ่งสะดวกปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ชุมชนในเขตเทศบาลบางแห่ง มีปัญหาเรื่องแหล่งของน้ำประปาจะขาด ทำให้การส่งน้ำ ไปบริการชุมชนขาดแคลน หรือแหล่งน้ำผ่านเขตการเกษตรกรรม อาจจะได้รับพิษตกค้างจากการใช้ยาฆ่าแมลงของชาวนาชาวสวน ทำให้น้ำดื่มน้ำใช้ จะไม่ปลอดภัยในเขตชนบท ส่วนมากใช้น้ำบ่อที่ขุดขึ้น มีบางบ้านเท่านั้นที่สามารถเก็บน้ำฝนไว้ใช้ได้มาก
น้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตของคนทุกคน โดยใช้กิน เพื่อการเจริญเติบโตมีชีวิตอยู่ใช้หุงต้มอาหาร ใช้ในการชำระล้างผิวกาย ทำความสะอาด นอกจากนี้ยังใช้ในการเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมแต่น้ำก็อาจเป็นอันตรายต่อชิตโดยกินน้ำที่มีเชื้อโรค และสิ่งมีพิษปะปน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
แหล่งน้ำที่ได้นำมาใช้มี 3 ชนิดคือ
- น้ำผิวดิน เช่น แม่น้ำลำคลอง บึง หนอง และทะเล ซึ่งจะมีสิ่งสกปรกเจือปนมาก
- น้ำใต้ดิน อาจจะอยู่ตื้นหรือลึกลงไปจากผิวดิน ยิ่งอยู่ลึกลงไปจะยิ่งสะอาดขึ้น ถ้าตื้นอาจจะมีเชื้อโรคเจือปน หรือแร่อื่น ๆ เจือปนแล้แต่แหล่งที่กระแสน้ำใต้ดินผ่าน
- น้ำฝน เป็นน้ำตามธรรมชาติที่ค่อนข้างสะอาดดี หากบ้านมีหลังคาที่สะอาดดี หลังจากฝนตกใหม่นักครู่ก็ตวงใส่ถังตุ่มไว้ใช้ได้
การดูแลรักษาแหล่งน้ำและปรับปรุงให้สะอาด
แม่น้ำลำคลอง
เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของชาชนบทมาก ควรดูแลรักษาตามหลัก ควรปฏิบัติดังนี้
- ไม่ปล่อยให้สัตว์เลี้ยงลงไปอาบ เล่น แช่
- ช่วยกันเก็บสิ่งสกปรกที่ลอยมาออกทิ้ง เพื่อไม่ให้เกิดเน่าเหม็น จะทำให้น้ำสะอาดอยู่เสมอ
- ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือทิ้งของเน่าเสีย เช่น ซากสัตว์ ขี้วัว ขี้ควายลงไป
- การตักน้ำจากแม่น้ำลำคลอง ควรตักห่างจากฝั่งให้มากเท่าที่จำได้ จะทำให้ปลอดภัยมากขึ้น ส่วนในลำคลองควรตักเมื่อน้ำอยู่ในระยะน้ำขึ้นเต็มที่
น้ำในสระในหนอง และบึง ควรปฏิบัติ
- สร้างรั้วรอบสระน้ำที่ไม่ใหญ่โตนัก และไม่ให้คน หรือสัตว์เลี้ยงลงไปอาบเล่นในสระหนองและบึง
- ทำคันดินให้สูงขึ้นรอบ ๆ สระ สูงกว่า 1 ศอก เพื่อไม่ให้น้ำสกปรกไหลลงในสระได้
- รักษาความสะอาด ไม่ทิ้งขยะ ควรหมั่นเก็บเอาต้นไม้ ผัก และสิ่งสกปรกออกจากสระอยู่เสมอ
บ่อน้ำ
ในชนบทที่บ้านอยู่ไม่แออัด และบริเวณไม่มาก การขุดบ่อน้ำเพื่อใช้ และดื่มนั้นจะมีปัญหาในการขุดบ่อ อาจจะใช้บ่อรวมสาธารณะ การสร้างบ่อน้ำควรถือหลักปฏิบัติดังนี้
- ควรสำรวจหาที่ตั้งที่จะขุดบ่อก่อน โดยให้ห่างจากส้วมและแหล่งน้ำสกปรก อย่างน้อย 30 เมตร
- ควรอยู่เหนือ และสูงกว่าระดับของส้วม และแหล่งสกปรก และน้ำไม่ท่วมถึง
- มีขอบบ่อสูงจากพื้นระดับพื้นดินอย่างน้อย 60 ซม. ถึง 1 เมตร
- มีชานบ่อกว้างห่างขอบบ่อประมาณ 150-200 ซม. กันน้ำซึมกลับลงบ่อ
- วงขอบบ่อเป็นคอนกรีต และยาวงขอบด้านในและนอกให้สนิทในระยะ 1 เมตร จากขอบบ่อ ส่วนช่วงล่างที่มีน้ำไม่ต้องยาเพื่อให้น้ำซึมเข้าบ่อ
- มีฝาปิดให้แข็งแรงป้องกันสิ่งสกปรกปลิวตกลงไป
- การนำน้ำขึ้นมาใช้มี 2 วิธี
7.2 ใช้ภาชนะถังผูกเชือกหย่อนลงไปตัก ควรใช้ประจำบ่อ มักจะไม่มีฝาปิด จึงต้องระวังความสะอาดให้มาก
น้ำฝน
บ้านเรือนที่มีหลังคาแข็งแรง ทุกบ้านก็สามารถตวงน้ำฝนไว้ใช้ได้เป็นอย่างดี ในชนบทมักจะได้น้ำฝนที่สะอาดกว่าในเมือง หรือเมืองที่มีอุตสาหกรรมมาก ๆ ทำให้มีเขม่าควันที่เป็นพิษปะปนน้ำฝนการเก็บควรปฏิบัติดังนี้
- ให้ฝนตกใหม่ ๆ สักครู เพื่อชะล้างฝุ่นสกปรก แล้วค่อยรองน้ำฝนไว้ใช้
- เก็บในตุ่ม หรือโอ่ง มีฝาปิดมิดชิด
- เก็บไว้ในถังน้ำ ทำด้วยซีเมนต์ หรือถังพลาสติก, ไฟเบอร์
วิธีทำให้น้ำใส และวิธีฆ่าเชื้อโรค
- การกวนด้วยสารส้ม ใช้สารส้มห่อผ้าสะอาดกวนในตุ่ม หรือภาชนะที่มีอยู่ตะกอนเมื่อถูกสารส้มแล้วจะตกตะกอนเป็นแอน ทิ้งไว้ให้นอนก้น
- การกรองเป็นวิธีที่ดี และง่าย เพียงแต่ลงทุนเล็กน้อยจากวัสดุที่หาได้ง่ายในหมู่บ้าน มีส่วนประกอบในถังกรองดังภาพแสดง หน้าถัดไป
- เมื่อได้น้ำใสตามข้อ 1 หรือข้อ 2 แล้ว นำมาทำการฆ่าเชื้อโรค โดย
3.2 ใส่สารคลอรีน ทั้งชนิดผง และชนิดน้ำ หาได้ตามสถานีอนามัย ในน้ำ 1 ตุ่ม (10 ปิ๊บ) ใส่คลอรีน (เข้มข้น 1 เปอร์เซ็นต์) ครึ่งช้อนชา ทิ้งไว้ครึ่งชั่วโมง นำไปใช้ดื่มกินได้ จะมีกลิ่นคลอรีนเล็กน้อย ถ้าใช้ล้างภาชนะ และผัก ใช้มากครึ่งช้อนโต๊ะในน้ำ 1 ปิ๊บ
3.3 ใส่สารไอโอดีน มีชนิดน้ำความเข้มข้น 2 เปอร์เซ็นต์ หยด 10-15 หยด ในน้ำ 1 ปิ๊บ (20 ลิตร)
3.4 ใส่ด่างทับทิม มีเป็นเกล็ด โดยใส่ให้พอมีน้ำสีชมพูอ่อน ทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมงก็ใช้ได้