กาแฟเป็นเครื่องดื่มสุดโปรดปรานของใครหลายๆคน การกินกาแฟที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะดื่มเพื่อความสดชื่นกระปรี้กระเปร่าจากการทำงาน การเรียน หรือจากการง่วงหงาวหาวนอนในระหว่างวัน จะช่วยลดโทษจากสารเคมีในกาแฟได้ ดังนั้นเพื่อสุขภาพ ก็ต้องแน่ใจก่อนว่าได้กินกาแฟที่ถูกต้องแบบนี้
1. ดื่มกาแฟให้เหมาะสมกับน้ำหนักตัว
หากร่างกายได้รับคาเฟอีนมากเกินไป อาจส่งผลแตกต่างกันไปในแต่ละคน บางคนอาจใจสั่น นอนไม่หลับ หรืออาจส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมได้ ดังนั้นการกินกาแฟในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละวันจึงเป็นเรื่องสำคัญ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1188 บาท ลดสูงสุด 7500 บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ปริมาณที่เหมาะสมสำหรับการดื่มกาแฟคือ คาเฟอีน 2.5 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น หากมีน้ำหนักตัว 80 กิโลกรัม ปริมาณคาเฟอีนที่ได้รับไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัม (2.5X80=200)
โดยค่าเฉลี่ยของคาเฟอีนในกาแฟหนึ่งแก้วจะอยู่ที่ประมาณ 95 มิลลิกรัม ดังนั้นจึงไม่ควรดื่มเกินวันละ 2 แก้ว (190 มิลลิกรัม)
2. เลี่ยงกินกาแฟหลังเที่ยง
กาแฟเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากที่สุด ซึ่งฤทธิ์ของคาเฟอีนจะช่วยให้รู้สึกตื่นตัวเมื่อรู้สึกเหนื่อย แต่หากกินกาแฟช่วงหลังเที่ยงเป็นต้นไป อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพในการนอนได้
แต่อย่างไรก็ตาม ความไวต่อคาเฟอีนของแต่ละคนนั้นอาจไม่เท่ากัน บางคนอาจดื่มได้หลังเที่ยงก็จริง แต่ไม่ควรเกินบ่าย 2
สำหรับคนที่ชอบกินกาแฟช่วงบ่ายจริงๆ อาจเลือกกาแฟสกัดคาเฟอีน (Decaf coffee) เพื่อให้ไม่กระทบกับคุณภาพในการนอนช่วงกลางคืน
3. กาแฟอาจมีส่วนเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย
มีงานวิจัยเผยว่าคาเฟอีนมีส่วนในการชะลอความเมื่อยล้าลง รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้กล้ามเนื้อ ซึ่งหากต้องการให้กาแฟช่วยพัฒนาการออกกำลังกาย ควรกินกาแฟก่อนออกกำลังกายอย่างน้อย 30-60 นาที
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1188 บาท ลดสูงสุด 7500 บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แต่อย่างไรก็ตาม กาแฟมีส่วนทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ดังนั้นผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อน ส่วนคนทั่วไปก็ควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากเกินไป เพราะอาจเป็นอันตรายได้เช่นกัน
4. ไม่ควรดื่มกาแฟเร็วเกินไป
คาเฟอีนในกาแฟมีส่วนกระตุ้นฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มักจะหลั่งออกมาเวลาที่เครียด เพราะฮอร์โมนตัวนี้สัมพันธ์กับความดันโลหิตและระบบภูมิคุ้มกัน
ดังนั้นหากดื่มกาแฟเร็วเกินไปอาจทำให้ฮอร์โมนคอร์ติซอลไม่สมดุล ส่งผลกระทบต่อทั้งการนอนหลับและความเครียดที่มากขึ้นอีกด้วย
5. ไม่ควรใส่น้ำตาลในกาแฟ
กาแฟสามารถช่วยรู้สึกตื่นตัวได้ด้วยตัวมันเองอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องอาศัยน้ำตาลช่วย เพราะหากติดนิสัยใส่น้ำตาลในกาแฟเป็นประจำ จะทำให้ได้รับฟรุกโตส (Fructose) มากเกินไป ซึ่งอาจนำไปสู่โรคอ้วนหรือเบาหวานได้
สำหรับคนที่ชอบกาแฟที่มีรสหวานจริงๆ อาจใช้ทางอื่นที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น เช่น หญ้าหวาน น้ำผึ้ง เป็นต้น
6. กินอาหารที่มีแคลเซียมให้มากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็น นม โยเกิร์ต คะน้า บรอกโคลี หรือ ปลาเล็กปลาน้อย เพื่อทดแทน แคลเซียมที่ต้องสูญเสียไปกับปัสสาวะ อีกทั้งยังลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน โดยอาจปรับเปลี่ยนวิธีการชง กาแฟ ให้ใส่นมแทนครีมเทียม เป็นต้น
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1188 บาท ลดสูงสุด 7500 บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

7. ควรเลือกดื่มกาแฟออร์แกนิก
การเลือกตราสินค้าของกาแฟที่น่าเชื่อถือก็เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากกระบวนการผลิตกาแฟเองก็มีผลต่อประโยชน์และโทษที่รับเข้าไปเช่นกัน ควรเลือกชื่อการค้าที่ปลูกกาแฟแบบออร์แกนิค ปราศจากสารพิษ ยาฆ่าแมลง
แม้จะยังมีหลักฐานไม่มากว่ามีผู้ได้รับสารพิษตกค้างจากการดื่มกาแฟมากน้อยเพียงใด แต่การกินกาแฟที่ปราศจากสารพิษตั้งแต่แรกก็ยังคงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
8. รับประทานผลไม้สม่ำเสมอ
เพราะในกระบวนการคั่วเมล็ดกาแฟ จะมีอนุมูลอิสระเกิดขึ้น ดังนั้นวิตามินซี อี และบีตาแคโรทีนในผักผลไม้ เช่น กล้วย แตงโม ส้ม ฝรั่งมะเขือเทศ แครอต ผักใบเขียว พวกนี้จะช่วยกำจัดอนุมูลอิสระในร่างกายได้
9. หลีกเลี่ยงการใส่ครีมเทียม
ครีมเทียมที่เห็นตามท้องตลาดนั้นสามารถช่วยทดแทนความมันของนมให้กับกาแฟได้ แต่โดยปกติแล้วทางเลือกที่ีดีกว่าในการดื่มเครื่องดื่มหรือกินอาหารก็ตาม คือทางเลือกที่มาจากธรรมชาติ
ดังนั้นหากมีโอกาสเลือกร้านกาแฟที่ใช้นมจริงๆ แทนครีมเทียมได้ อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เนื่องจากมีแคลเซียมที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
หากเป็นคนแพ้นม หรือไม่ชอบกินนม อาจเลือกใส่ผงปรุงรสอื่นๆ ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น โกโก้ ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
10. กาแฟอาจไม่เหมาะสำหรับผู้อยู่ในภาวะวิตกกังวล
คาเฟอีนในกาแฟจะออกฤทธิ์ได้นานประมาณ 3-5 ชั่วโมง แต่อย่างไรก็ตาม หลังจาก 5 ชั่วโมงไปแล้วก็ยังคงมีปริมาณคาเฟอีนอีกครึ่งที่ตกค้างอยู่ในร่างกาย
ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) และอาจมีผลต่อความเครียดของคุณได้ ดังนั้นหากคุณกำลังอยู่ในภาวะวิตกกังวล หรือเป็นโรควิตกกังวล ควรใช้การดื่มชาเขียวแทน
ดูแพ็กเกจปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต เปรียบเทียบราคา โปรโมชันล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android