ดื่มกาแฟอย่างไรให้มีประโยชน์ต่อสุขภาพ? ที่นี่มีคำตอบ

เผยแพร่ครั้งแรก 4 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ดื่มกาแฟอย่างไรให้มีประโยชน์ต่อสุขภาพ? ที่นี่มีคำตอบ

หากกล่าวถึงเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุด “กาแฟ” คงเป็นเครื่องดื่มที่หลายคนนึกถึง อย่างไรก็ตาม นอกจากกาแฟจะมีรสชาติและกลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์แล้ว มันก็ยังช่วยให้เราตาสว่างและกระตือรือร้นมากขึ้น แต่การดื่มกาแฟก็อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง หรือทำให้เกิดปัญหาสุขภาพเช่นกัน วันนี้เราจึงอยากพาคุณไปดูหลากวิธีดื่มกาแฟที่จะช่วยให้คุณได้รับประโยชน์จากเครื่องดื่มชนิดนี้ มาดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

1. อย่าดื่มกาแฟหลังบ่ายสองโมง

เราสามารถพบคาเฟอีนได้มากในกาแฟ ซึ่งสารชนิดนี้มีฤทธิ์กระตุ้น ทำให้คุณมีพลังงาน และช่วยให้คุณตาสว่างเมื่อคุณรู้สึกเหนื่อย แต่หากคุณดื่มกาแฟในช่วงสายของวัน มันก็สามารถไปรบกวนการนอนของคุณได้ และการนอนน้อยก็มีความเชื่อมโยงกับปัญหาสุขภาพทุกชนิด เพราะเหตุนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราไม่ควรดื่มกาแฟในช่วงสายของวัน แต่หากคุณต้องการดื่มกาแฟ ให้คุณเลือกดื่มแบบ Decaf หรือเลือกดื่มชาแทน เพราะมันมีคาเฟอีนน้อยกว่ากาแฟนั่นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2. อย่าเติมน้ำตาลมากเกินไป

แม้ว่ากาแฟมีประโยชน์ต่อสุขภาพด้วยตัวของมันเอง แต่คุณอาจเป็นคนเปลี่ยนให้มันกลายเป็นเครื่องดื่มที่ทำร้ายสุขภาพได้ โดยเฉพาะการเติมน้ำตาลปริมาณมาก ทั้งนี้การไม่ควบคุมการทานน้ำตาลให้ดีนั้นมีความเชื่อมโยงกับโรคอ้วนและโรคเบาหวาน หากคุณไม่สามารถดื่มกาแฟที่ไม่มีรสหวานได้ ให้คุณเลือกใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลอย่างสเตเวีย (Stevia) หรือหญ้าหวานแทน

3. หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟมากเกินไป

การดื่มกาแฟปริมาณปานกลางถือเป็นเรื่องที่ดีต่อสุขภาพ แต่การดื่มเครื่องดื่มชนิดนี้มากเกินไปอาจทำให้ประโยชน์ในภาพรวมลดลง เพราะการทานคาเฟอีนมากเกินไปอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง แม้ว่าความไวต่อคาเฟอีนของแต่ละคนจะแตกต่างกันไป ซึ่ง Health Canada แนะนำว่า เราไม่ควรทานคาเฟอีนเกิน 2.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ของน้ำหนักตัวต่อวัน

4. เติมอบเชย

อบเชยเป็นสมุนไพรที่เข้ากับรสชาติของกาแฟได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งมีงานวิจัยพบว่า อบเชยสามารถช่วยลดระดับของน้ำตาลกลูโคสในเลือด คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน หากคุณต้องการให้กาแฟมีรสชาติดี ให้คุณเติมอบเชยเล็กน้อยลงในกาแฟ แต่ทั้งนี้คุณควรจำกัดปริมาณอบเชยให้เหมาะสม เพราะการใส่อบเชยมากเกินไปอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้

5. หลีกเลี่ยงการใส่ครีมเทียม

ครีมเทียมสูตรโลว์แฟตที่วางขายทั่วไปนั้นมีแนวโน้มว่าได้ผ่านหลายกรรมวิธีแล้ว แม้ว่ายังไม่มีงานวิจัยที่บ่งบอกถึงผลกระทบของการทานครีมเทียมแบบ Non-Dairy มากสักเท่าไรนัก แต่การทานอาหารที่มาจากธรรมชาติ หรือเป็นแบบทั้งส่วน (Whole Food) ซึ่งผ่านกรรมวิธีน้อยที่สุดนั้นเป็นทางเลือกที่ดีกว่า แทนที่คุณจะทานครีมเทียมแบบ Non-Dairy ให้คุณเลือกใช้ครีมเทียมที่มีไขมันเต็มส่วนหรือทำมาจากนม เพราะอย่างน้อยมันก็มีแคลเซียมและวิตามินเค ซึ่งเป็นสารอาหารที่ดีต่อกระดูก

6. ใส่โกโก้

โกโก้อุดมไปด้วยสารแอนตี้ออกซิเด้นท์ และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งหมายความรวมถึงการช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ คุณอาจเพิ่มรสชาติให้กาแฟแก้วโปรดโดยเติมผงโกโก้ และไม่ต้องใส่น้ำตาลเพิ่มลงไป รับรองว่าทั้งอร่อยและดีต่อสุขภาพ

7. ใช้กระดาษสำหรับกรองกาแฟ

กาแฟที่ทำโดยใส่น้ำร้อนลงบนผงกาแฟมีสารคาเฟสตอล (Cafestol) ที่สามารถทำให้ระดับของคอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น แต่วิธีการลดสารชนิดนี้ก็ไม่ยากค่ะ คุณสามารถทำโดยใช้กระดาษสำหรับกรองกาแฟ ซึ่งมันจะช่วยลดปริมาณของสารคาเฟสตอล โดยไม่ส่งผลต่อสารคาเฟอีนและสารแอนตี้ออกซิเด้นท์

จากที่กล่าวไปจะเห็นได้ว่า มีหลายวิธีที่สามารถช่วยให้การดื่มกาแฟส่งผลเสียต่อสุขภาพน้อยที่สุด หากคุณรู้ตัวว่าเป็นคอกาแฟ นอกจากการควบคุมปริมาณกาแฟแล้ว การนำเทคนิคเหล่านี้ไปปรับใช้ก็จะทำให้คุณดื่มกาแฟได้อย่างสบายใจมากขึ้น แถมยังดีต่อสุขภาพอีกด้วย

 


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
9 Reasons Why (the Right Amount of) Coffee Is Good for You. Johns Hopkins Medicine. (https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/9-reasons-why-the-right-amount-of-coffee-is-good-for-you)
Coffee for Health - Positive and Negative Effects of Caffeine. AARP® Official Site. (https://www.aarp.org/health/healthy-living/info-10-2013/coffee-for-health.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป