รู้หรือไม่ ดื่มกาแฟแต่ละเวลา ส่งผลต่อร่างกายแตกต่างกัน

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
รู้หรือไม่ ดื่มกาแฟแต่ละเวลา ส่งผลต่อร่างกายแตกต่างกัน

เมื่อก่อนมีความเชื่อแง่ลบ ว่ากาแฟเป็นยาเสพติดส่งผลเสียแก่สุขภาพ คนที่ดื่มไปนาน ๆ ก่อให้เกิดโรคหัวใจ นอนไม่หลับ แต่หารู้ไม่ว่ากาแฟไม่มีข้อเสียกับสุขภาพมากมายขนาดนั้น ในทางตรงกันข้าม มีงานวิจัยจากสหรัฐอเมริกาว่าการดื่มกาแฟ แต่ละเวลาจะส่งผลต่อร่างกายแตกต่างกันดังนี้

ดื่มกาแฟเมื่อตื่นนอนตอนเช้า

สารคาเฟอีนในเมล็ดกาแฟ จะปลุกความตื่นตัวจากการหลับไหล ธรรมชาติของคนเราเมื่อเพิ่งตื่นนอน จะมีอาการงัวเงีย ลองจิบกาแฟร้อนสักแก้ว ผสมกาแฟสำเร็จรูปเพียงหนึ่งช้อนชา กับนมและน้ำตาลอย่างพอเหมาะ ร่างกายก็จะสดชื่นกระปี้กระเป่าพร้อมจะเริ่มทำกิจวัตรประจำวัน

ดื่มกาแฟตอนสายก่อนเที่ยง

เนื่องจากเวลานี้กาแฟเมื่อเช้า เริ่มหมดฤทธิ์ และเป็นเวลาที่ทุกคนกำลังเครียดวุ่นวายกับงาน การจิบกาแฟจะช่วยเพิ่มความสดชื่นแก่ร่างกาย มีงานวิจัยจากสหรัฐอเมริกาว่า การดื่มกาแฟวันละสองสามแก้วต่อวัน ประมาณแก้วละห้าออนส์จะช่วยลดความเครียด นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องความจำอีกด้วย

ดื่มยามบ่าย หลังอาหารเที่ยง

อีกหนึ่งสรรพคุณของกาแฟคือช่วยย่อยอาหาร กระตุ้นการทำงานระบบเมตาโบลิซึม จนกระทั่งคอกาแฟบางคนชอบดื่มกาแฟตามเมื่อกินอาหารเที่ยงแล้ว ดังนั้น กาแฟจะช่วยลดน้ำหนักได้เป็นอย่างดี สำหรับสตรีที่มีน้ำหนักเกินปกติก็ควรจะทำตามวิธีดื่มกาแฟที่แนะนำ เพราะบางรายอาจมีประสบการณ์ที่ไม่ดีจากการดื่มกาแฟแล้วยิ่งมีน้ำหนักเพิ่ม กาแฟยามบ่ายยังช่วยปลุกคนทำงานที่กำลังง่วงนอน ตื่นขึ้นมาทำงานต่อ อย่างขยันขันแข็ง

ดิ่มกาแฟก่อนออกไปทำภารกิจข้างนอก

เมื่อมีการออกไปปฏิบัติหน้าที่ภายนอกบริษัท จะต้องมีการพบปะ สนทนา เจรจาต่อรอง วางแผนงาน และการตัดสินใจ การได้จิบกาแฟก่อนจะช่วยกระตุ้นร่างกายให้พร้อมที่จะทำงาน ส่งผลให้เกิดคุณภาพงานที่ดี

นอกจากนี้ประโยชน์ของกาแฟยังช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคนิ่ว พากินสัน มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก และลดสารแอนตี้ออกซิแดนส์ที่ก่อให้เกิดมะเร็ง

อย่างไรก็ตามการดื่มกาแฟ ควรผสมครีมเทียม น้ำตาลในปริมาณที่พอเหมาะ ชงกับน้ำอุ่นพอดี ไม่ร้อนจัดจนเกินไป สารคาเฟอีนในกาแฟจะแตกตัวออกมาน้อย ช่วยชูรสให้กับกาแฟแต่ละสายพันธุ์ เพื่อให้ผู้ดื่มได้สัมผัสกับกลิ่นไอจากเมล็ดกาแฟพันธุ์โปรด อย่าลืม ดื่มน้ำตามทุกครั้งเป็นการกำจัดกลิ่นปาก และลดการเกิดคราบหินปูนสะสม

กาแฟเป็นสารเสพติดชนิดอ่อน

เมื่อเทียบกับสารเสพติดชนิดกระตุ้นประสาท กาแฟจะออกฤทธิ์ในระยะสั้น ในแง่โภชนาการกาแฟอาจเป็นเครื่องดื่มที่ส่งผลเสียแก่ร่างกาย แต่ถ้าเราเลือกวิธีดื่มให้พอเหมาะ เป็นการดื่มครั้งละปริมาณน้อย แต่บ่อยครั้ง จะส่งผลดีแก่ร่างกายมากกว่าการดื่มครั้งเดียวในปริมาณมาก ๆ


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Coffee consumption and health: umbrella review of meta-analyses of multiple health outcomes. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5696634/)
Coffee: Benefits, nutrition, and risks. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/270202)
Coffee: Uses, Side Effects, Interactions, Dosage, and Warning. WebMD. (https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-980/coffee)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิธีดื่มกาแฟที่ถูกต้อง ป้องกันการเกิดโทษ
วิธีดื่มกาแฟที่ถูกต้อง ป้องกันการเกิดโทษ

รวบรวม 10 วิธีดื่มกาแฟอย่างมีคุณภาพ ให้ได้รับประโยชน์สูงสุด ทั้งข้อควรปฏิบัติและข้อควรระวัง

อ่านเพิ่ม
ทำความรู้จักกับคาเฟอีน (Caffeine)
ทำความรู้จักกับคาเฟอีน (Caffeine)

แม้ว่าการดื่มคาเฟอีนจะช่วยกระตุ้นสมองให้ตื่นตัว ร่างกายกระปรี้กระเปร่า แต่หากดื่มมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายได้

อ่านเพิ่ม