กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

จะฝึกระเบียบวินัยให้แก่ลูกที่เป็นโรคดื้อ ได้อย่างไร

จะฝึกระเบียบวินัยให้แก่ลูกที่เป็นโรคดื้อ ได้อย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 28 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
จะฝึกระเบียบวินัยให้แก่ลูกที่เป็นโรคดื้อ ได้อย่างไร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เด็กดื้อ หรือโรคดื้อ (Oppositional Defiant Disorder) เป็นปัญหาที่พ่อแม่หลายคนประสบ และมักใช้วิธีการตอบสนองผิด จนปัญหาบานปลายมากกว่าเดิม วิธีแก้จริงๆ สามารถทำได้ดังนี้
  • ต้องทำความเข้าใจว่าเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่ดี มีสาเหตุมาจากปฎิสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับผู้ใหญ่ ดังนั้นควรทำพฤติกรรมแง่บวกกับเด็ก เช่น พูดคุย เล่นกับลูก จะสามารถช่วยได้ในระยะยาว
  • ตั้งกฎให้ชัดเจนและให้เด็กปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยเริ่มจากกฎที่เด็กมีอาการมากที่สุดก่อน เช่น ไม่ชอบทำการบ้าน ไม่ชอบอาบน้ำ ให้ตั้งกฎเกี่ยวกับการทำการบ้าน แล้วใช้การใหรางวัลตอบแทนเมื่อลูกทำตาม
  • มีบทลงโทษเมื่อทำผิด เช่น หากไม่ยอมทำการบ้าน ก็ไม่อนุญาตให้เล่นกับเพื่อน เพราะหากยอมบ่อยๆ เด็กจะจำว่าคุณอนุโลมให้ได้เสมอ
  • ดูแพ็กเกจปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตได้ที่นี่

การเลี้ยงดูเด็กที่เป็นโรคดื้อ เป็นความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและการมีระเบียบวินัยที่สม่ำเสมอถือเป็นกุญแจสำคัญในการจัดการกับอาการดื้อของเด็กได้ ซึ่งบทความนี้เราได้นำ 5 สุดยอดวิธีปราบเด็กดื้อ (Oppositional Defiant Disorder) ให้มีระเบียบวินัย มาแนะนำคุณพ่อคุณแม่ได้นำไปทดลองปรับใช้ในการเลี้ยงดูลูกที่กำลังซุกซนได้

วิธีจัดการปัญหาลูกดื้อ

วิธีที่1: ให้ความสนใจแง่บวก

ต้องเข้าใจว่าพฤติกรรมของเด็กมีสาเหตุจากปัจจัยหลายด้านที่สามารถแก้ไขได้ เด็กที่เป็นโรคดื้อมักมีปัญหาอยู่ภายในใจ ทำให้เด็กกลุ่มนี้มีปฏิสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับผู้ใหญ่ ซึ่งมักได้รับคำสั่งและผลกระทบที่ตามมามากกว่าเด็กคนอื่นๆ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การให้ความสนใจในแง่บวกกับลูกทุกวันจะช่วยพัฒนาความสัมพันธ์และลดปัญหาพฤติกรรมได้ โดยคุณควรใช้เวลาประมาณ 15 นาทีพูดคุยกับลูก เล่นหรือทำกิจกรรมร่วมกันทุกวัน แม้ลูกจะไม่ให้ความร่วมมือเลยก็ตาม แต่ในระยะยาวการได้รับความสนใจในแง่บวกนี้จะช่วยลดปัญหาทางพฤติกรรมของเด็กลงได้

วิธีที่2: ตั้งกฎให้ชัดเจน

เด็กที่เป็นโรคดื้อชอบที่จะต่อสู้กับกฎและความยุติธรรมต่างๆ เด็กจะพยายามหาช่องโหว่และพยายามหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์ทุกครั้ง การตั้งกฎที่ชัดเจนในบ้านจึงเป็นจุดเริ่มต้นในการลดการโต้เถียง

ควรติดกฎไว้ที่ตู้เย็นหรือบริเวณที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนในบ้าน และเมื่อลูกของคุณเริ่มพูดว่า “ไม่อยากทำการบ้าน” คุณสามารถชี้ไปที่กฎที่เขียนไว้ว่า “เวลาในการเริ่มทำการบ้าน คือ สี่โมงเย็น”, “ต้องทำการบ้านให้เสร็จก่อนจึงจะเล่นได้”

ควรเขียนกฎด้วยคำง่ายๆ เป็นประโยคสั้นๆ แต่มีหลายข้อ และครอบคลุมทุกพฤติกรรมที่ลูกมีปัญหา เช่น กฎที่เกี่ยวข้องกับการทำการบ้าน การช่วยงานบ้าน เวลาเล่น เวลาดูโทรทัศน์ เวลานอนและการทำความเคารพต่างๆ รวมถึงปัญหาพฤติกรรมที่คุณต้องการจะแก้ไข

วิธีที่3: การวางแผนพฤติกรรม

การวางแผนพฤติกรรมจะเน้นแก้ปัญหาที่พฤติกรรมนั้นๆ โดยตรง ซึ่งต้องวางแผนแก้ไขทีละพฤติกรรม โดยเริ่มจากพฤติกรรมที่หนักที่สุดก่อน เช่น ก้าวร้าว ชอบซุบซิบนินทา โกหก ไม่ทำการบ้าน หรือก่อกวนในห้องเรียน และต้องระบุบทลงโทษที่ชัดเจนหากลูกทำผิดกฎ และต้องพูดคุยให้ลูกเข้าใจถึงผลดีที่จะได้รับหากปฏิบัติตามกฎ 

การให้รางวัล โดยเฉพาะในรูปแบบของเงินปลอม เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากในเด็กที่เป็นโรคดื้อ หรือใช้แรงเสริมทางบวก ด้วยการกำหนดพฤติกรรมที่ต้องการ ถ้าเด็กทำได้ให้มีรางวัลตอบแทน การให้รางวัล อาจเป็นคำชมเชย สิทธิพิเศษต่างๆ หรือรางวัลสิ่งของที่สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก การตั้งรางวัลต้องไม่ทำให้เด็กรู้สึกว่ายากเกินไป และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นเป็นขั้นๆ ไป ไม่ใช่ปรับเปลี่ยนทีเดียวทั้งหมด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิธีที่4: หนักแน่นกับบทลงโทษ

คุณจำเป็นต้องลงโทษลูกทุกครั้งเมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เพราะเด็กที่เป็นโรคดื้อมักพยายามหลีกเลี่ยงกฎตามสัญชาตญาณอยู่แล้ว หากคุณอนุโลม จะทำให้เด็กไม่หลาบจำ เด็กที่เป็นโรคดื้อจะคิดว่าแม้จะมีโอกาสเพียง 1 ใน 100 ที่คุณจะยอมให้ แต่ก็ถือว่าดีกว่าไม่ได้ลอง 

ดังนั้น หากคุณยอม 1 ครั้ง ลูกก็จะยกขึ้นมาอ้างทุกครั้ง และจะมีคำถามว่าทำไมคราวนี้จึงยอมไม่ได้ในเมื่อคุณเคยยอมมาแล้ว คุณจึงจำเป็นต้องลดรางวัลที่เด็กควรได้รับเมื่อทำผิด เช่น ไม่อนุญาตให้ไปเล่นกับเพื่อนหากไม่ทำการบ้านให้เสร็จ

วิธีที่5: หลีกเลี่ยงปัญหาเรื่องอำนาจ

เด็กที่เป็นโรคดื้อมักเก่งในการทำให้ผู้ใหญ่เข้าสู่การโต้เถียงอันยาวนาน อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องหลีกเลี่ยงปัญหาว่าใครคือผู้มีอำนาจ เพราะเป็นการโต้เถียงที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น

หากคุณบอกให้ลูกทำความสะอาดห้องแล้วลูกเถียง ห้ามตวาดหรือเถียงกลับ เพราะยิ่งเถียงกันนานเท่าใด ก็ยิ่งทำความสะอาดช้าลงเท่านั้น คุณต้องออกคำสั่งให้ชัดเจนและระบุบทลงโทษที่จะเกิดขึ้นหากลูกไม่ทำตามข้อตกลง 

อย่างไรก็ดี อย่าพยายามกดดันให้เด็กทำสิ่งที่คุณสั่ง ถ้าเด็กไม่ยอมทำแต่โดยดี การโต้เถียง เหน็บแนมและด่าทอไม่ใช่วิธีที่มีประสิทธิภาพ คุณสามารถทำให้ลูกรู้สึกไม่ดีได้ หากไม่ทำตามข้อตกลงโดยการกำหนดบทลงโทษ เช่น หากเขาไม่ทำความสะอาดห้องตามที่คุณบอก 

คุณสามารถเตือนอย่างชัดเจนเกี่ยวกับผลที่จะเกิดขึ้นหากลูกไม่ทำตามข้อตกลง เช่น คุณอาจบอกลูกว่า “ถ้าลูกยังไม่เลิกเล่นคอมพิวเตอร์ตอนนี้แล้วไปทำความสะอาดห้อง คุณจะไม่อนุญาตให้ลูกแตะต้องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกเลยในอีก 24 ชั่วโมง” และหากลูกยังไม่ยอมทำตาม คุณก็สามารถเริ่มบทลงโทษที่กำหนดไว้ได้เลย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การขอความช่วยเหลือเมื่อลูกดื้อ

หากการปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ข้างต้นแล้วประมาณ 1 - 2 เดือน แล้วยังไม่ดีขึ้น อาจเป็นไปได้ว่าเด็กหรือพ่อแม่อาจมีปัญหาทางจิตเวชที่ต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติม เช่น เด็กเป็นโรคสมาธิสั้น หรือพ่อแม่เป็นโรควิตกกังวลหรือโรคซึมเศร้า เป็นต้น ในกรณีนี้ควรปรึกษากุมารแพทย์ หรือจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น เพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป 

ความเข้าใจอย่างชัดเจนและถูกต้อง ร่วมกับการปฏิบัติตัวของพ่อแม่ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยในการรักษาลูกจากโรคดื้อได้ โดยการเข้ารับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับเทคนิคต่างๆ ที่นำไปปรับใช้กับลูกที่บ้านได้ 

นอกจากนี้ คุณอาจเข้าร่วมกลุ่มให้ความช่วยเหลือสำหรับเด็กโรคดื้อ เพราะการเลี้ยงลูกที่เป็นโรคดื้อเป็นเรื่องเหนื่อยยากมาก ความเข้าใจโรค จึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้ทักษะที่จะควบคุมพฤติกรรมของตัวเองได้

ดูแพ็กเกจปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต เปรียบเทียบราคา โปรโมชันล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
healthline.com, Oppositional Defiant Disorder : ODD (https://www.healthline.com/health/oppositional-defiant-disorder), June 25, 2018
webmd.com, Oppositional Defiant Disorder : ODD (https://www.webmd.com/mental-health/oppositional-defiant-disorder#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)