กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

อาการปวดหลังที่เป็นสัญญาณบ่งบอกโรค

ปวดหลังไม่ใช่เรื่องธรรมดา เพราะตำแหน่งที่คุณปวดแต่ละจุดนั้น เป็นสัญญาณของโรคร้ายต่างๆ ได้ อ่านข้อมูลเพื่อสังเกตตัวเองก่อนจะสายเกินไป
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 3 พ.ค. 2023 ตรวจสอบความถูกต้อง 14 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อาการปวดหลังที่เป็นสัญญาณบ่งบอกโรค

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการปวดหลังมักเกิดจากการนั่งนาน ยืนนาน ยกของหนัก หรือออกกำลังกายหนักเกินไป
  • ปวดหลังสามารถบรรเทาได้ด้วยการยืดกล้ามเนื้อ การนวด หรือทำกายภาพบำบัด
  • สังเกตตัวเองทุกครั้งที่ปวดหลัง หากมีอาการอื่นๆ เช่น แขน ขา ไม่มีแรง ปวดเอวและไข้หนาวสั่นร่วมด้วย ควรไปพบแพทย์เพื่อหาทางรักษา
  • ปวดหลังเรื้อรัง หรือ ออฟฟิศซินโดรม สามารถรักษาได้ด้วยการทำกายภาพบำบัด
  • การทำกายภาพบำบัดเป็นอีกทางเลือกในการรักษาอาการปวดหลังและอาการอื่นๆ ดูแพ็กเกจกายภาพบำบัดและนวดเพื่อการรักษาได้ที่นี่

เมื่อมีอาการปวดหลังคนส่วนมากมักเพิกเฉย หรือหายาแก้ปวดมารับประทานเพื่อบรรเทาอาการเฉยๆ เพราะคิดว่าไม่ใช่อาการร้ายแรงอะไร แต่หารู้ไม่ว่า บางครั้งอาการปวดหลังก็ไม่ได้เป็นเพียงแค่ความผิดปกติทั่วไปเท่านั้น แต่อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติ หรือโรคที่เกิดขึ้นกับร่างกายก็ได้

สาเหตุทั่วไปที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง

อาการปวดหลังโดยทั่วไป มักเกิดจากการนั่งนานๆ ยืนนานๆ ยกของหนัก หรือออกกำลังกายหักโหมเกินไป ซึ่งอาการที่เกิดขึ้น จะเป็นในลักษณะปวดเมื่อย รู้สึกกล้ามเนื้อตึง ปวดคอ บ่า ไหล่ แต่หากเป็นหนักจนรู้สึกว่าหลังขยับไม่ได้ หรือมีอาการปวดร้าวและชาไปจนถึงขาข้างใดข้างหนึ่งแล้ว อาจเกิดจากหมอนรองทับเส้นประสาทก็ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
นวดจัดกระดูก (Chiropractic) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 765 บาท ลดสูงสุด 52%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากไม่มั่นใจว่าอาการที่เป็นอยู่นั้น เกิดจากกล้ามเนื้อ หรือเป็นที่กระดูก หรือหมอนรองกระดูก ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และรักษาอย่างเหมาะสม

วิธีรักษาอาการปวดหลัง

การรักษาอาการปวดหลังมีหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการของโรค หากปวดหลังจากกล้ามเนื้อก็อาจรักษาโดยการสวมเสื้อกระชับหลัง เข้ารับการทำกายภาพบำบัด หรือนวดรักษา แต่ในรายที่อาการหนัก และสาเหตุไม่ได้เป็นที่กล้ามเนื้อ อาจต้องผ่าตัดหรือรับประทานยารักษาอื่นๆ

ดังนั้น ควรสังเกตอาการปวดหลังที่เป็นอยู่ หากมีอาการผิดปกติไปจากที่ควรจะเป็น ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อจะได้รักษาได้ทันท่วงที

อาการปวดหลังที่บ่งบอกโรคได้

1. อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง

ลักษณะอาการนี้เป็นไปได้ว่า ไขสันหลังอาจบาดเจ็บ หรือถูกกดทับ ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน เพื่อเอกซเรย์ตรวจดูกระดูกสันหลังเพื่อหาตำแหน่งที่ผิดปกติ โดยผู้ป่วยบางรายแค่นอนพักรักษาตัว ทำกายภาพ หรือรับประทานยาก็หายได้ แต่บางรายอาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

2. ปวดบริเวณเอวและมีไข้หนาวสั่น

หากอาการนี้เกิดร่วมกับอาการปัสสาวะขุ่นแสบขัด อาจเกิดจากการติดเชื้ออักเสบของไต หรืออาจเป็นโรคกรวยไตอักเสบได้ ซึ่งสาเหตุมาจากการดื่มน้ำในแต่ละวันน้อยเกินไป และการอั้นปัสสาวะนานๆ

สำหรับการรักษา แพทย์จะให้ยาฆ่าเชื้อและยาอื่นๆ ตามแต่การวินิจฉัยโรค และแนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ รวมถึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการอั้นปัสสาวะ เมื่อรักษาจนไตเป็นปกติแล้ว อาการปวดหลังดังกล่าวก็จะหายไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
นวดจัดกระดูก (Chiropractic) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 765 บาท ลดสูงสุด 52%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากนี้การติดเชื้อที่กระดูกสันหลัง ก็อาจทำให้มีอาการปวดหลังร่วมกับมีไข้ได้เช่นกัน

3. อาการปวดเหนือบั้นเอวทั้งสองข้าง

อาการปวดเหนือบั้นเอวทั้งสองข้างร่วมกับมีอาการปัสสาวะขุ่น แสบ ขัด มีไข้ แพทย์จะตรวจร่างกายเพิ่มเติมและส่งตรวจปัสสาวะ โดยอาจมีสาเหตุมาจากนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

4. อาการปวดหลังในสตรีมีครรภ์

สำหรับสตรีมีครรภ์อาจเป็นผลจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง หรือการแบกรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจากทารก

5. อาการปวดเรื้อรัง ไม่หาย และปวดมากขึ้นเรื่อยๆ

หากมีน้ำหนักมากกว่าปกติ หรือมีอายุมากขึ้น อาจเกิดจากโรคกระดูกสันหลังสึกกร่อน กรณีนี้แพทย์จะให้ยาแก้ปวดมารับประทาน ทำกายภาพบำบัด สวมเสื้อดามหลัง และรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมเพิ่มขึ้น และลดน้ำหนักตัวให้กลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ

อาการปวดหลังที่เป็นอันตรายและควรไปพบแพทย์ทันที

หากอาการปวดหลังของคุณหนักขึ้นเรื่อยๆ จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต เช่น มีอาการชาและอ่อนแรงร่วมด้วย ปวดหลังตอนกลางคืนจนนอนไม่หลับ หรือหลับไปแล้วแต่มีอาการปวดหลังขึ้นมาจนต้องตื่นมารับประทานยาแก้ปวดทุกๆ คืน โดยเป็นติดต่อกันระยะเวลามากกว่า 2-3 สัปดาห์ขึ้นไป

หากคุณมีอาการอย่างที่กล่าวไปในข้างต้น ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นความผิดปกติที่เกิดจากการอักเสบติดเชื้อ หรือภาวะของโรคเนื้องอก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
นวดจัดกระดูก (Chiropractic) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 765 บาท ลดสูงสุด 52%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ทำกายภาพบำบัดรักษาอาการปวดหลังเรื้อรัง

หากคุณมีอาการปวดหลังเรื้อรัง หรือมีอาการออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต การไปทำกายภาพบำบัดก็เป็นหนึ่งในทางเลือกในการรักษาที่ตรงจุด

โดยปัจจุบันมีการทำกายภาพบำบัดด้วยวิธีที่หลากหลาย เช่น การออกกำลังกายเพื่อการรักษา การรักษาด้วยการดัด-ดึง การใช้เครื่องไฟฟ้า ความร้อน หรือความเย็น เป็นต้น

เมื่อคุณไปทำกายภาพบำบัด ผู้เชี่ยวชาญจะช่วยบำบัด แก้ไข หรือฟื้นฟูในส่วนที่เสื่อมสมรรถภาพ เพื่อรักษาอาการปวดนั้นๆ เช่น ช่วยปรับโครงสร้างของข้อต่อกระดูก กล้ามเนื้อ และเส้นประสาทให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อลดอาการปวดหลังที่เกิดขึ้น เป็นต้น

หากคุณกำลังมองหาคลินิก หรือโรงพยาบาลที่มีบริการด้านการทำกายภาพบำบัด สามารถเปรียบเทียบราคาแพ็กเกจทำกายภาพบำบัดต่างๆ เช่น

  • คอร์สทำกายภาพบำบัดปรับกระดูกสันหลังคด
  • ทำกายภาพบำบัดรักษาฟื้นฟูหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
  • คอร์สทำกายภาพบำบัดคนวัยทำงาน รักษารองช้ำ เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ
  • ทำกายภาพบำบัดด้วยโปรแกรมยืดกล้ามเนื้อทั้งตัว

ได้ ที่นี่ หรือแอดไลน์ @hdcoth เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือนัดคิวทำกายภาพบำบัดได้เลย


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ผศ.นพ.ต่อพงษ์ บุญมาประเสริฐ, ปวดหลัง-ปวดคอ (LOW BACK & NECK PAIN) และ โรคข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อม (DEGENERATIVE DISEASES OF THE SPINE)(http://www.med.cmu.ac.th/dept/...)
ผศ.ชัยวัฒน์ ไกรวัฒนพงศ์, อาการปวดหลังส่วนล่าง (Low Back Pain) (https://med.mahidol.ac.th/orth...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)