การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ หมายถึง มีเชื้อจุลชีพซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะจนทำให้เกิดการอักเสบบริเวณนั้นๆ และอาจลุกลามไปยังบริเวณใกล้เคียงอื่นๆ ได้
การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ พบได้ทุกเพศ ทุกวัย พบว่าเด็กชายจะติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะบ่อยกว่าเด็กหญิงในวัยแรกเกิด แต่ในคนอายุระหว่าง 20 – 40 ปี หรือในวัยเจริญพันธุ์ มักพบในหญิงมากกว่าชาย เพราะท่อปัสสาวะของหญิงสั้นกว่า
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
โดยเฉพาะในผู้หญิงดื่มน้ำน้อยและชอบอั้นปัสสาวะ จะทำให้เชื้อโรคในน้ำปัสสาวะย้อนกลับขึ้นไปที่กระเพาะปัสสาวะได้ แต่เมื่ออายุมากขึ้น จะพบการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะบ่อยเท่ากันทั้งหญิงและชาย
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
- การอั้นปัสสาวะ
- การมีเพศสัมพันธ์ (มักเกิดภายใน 48 ชั่วโมง หลังมีเพศสัมพันธ์)
- การมีเพศสัมพันธ์เป็นสาเหตุหนึ่งของการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ เนื่องจากจุลชีพที่อยู่บริเวณช่องคลอดเคลื่อนตัวมาที่ท่อปัสสาวะ
- การใช้ถุงยางอนามัยที่เคลือบด้วยตัวยาทำลายอสุจิ จะเพิ่มอัตราการติดเชื้อมากขึ้น เพราะด้วยยาทำลายอสุจิจะเปลี่ยนแปลงแบคทีเรียเจ้าถิ่นที่เป็นประโยชน์บริเวณช่องคลอด ทำให้ติดเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะเจริญเติบโตได้ดีขึ้นและมีจำนวนมากขึ้น
- จากการอุดกั้นในระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น มีนิ่วตามทางเดินปัสสาวะหรือต่อมลูกหมากโต ทำให้น้ำปัสสาวะค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะนานมากขึ้น
- ภูมิต้านทานโรคของร่างกายในบางสภาวะต่ำลง เช่น ขณะตั้งครรภ์ เป็นโรคเบาหวาน เป็นต้น
ตำแหน่งที่มีการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะและอาการแสดง
ทางการแพทย์จะแบ่งการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง
เป็นการติดเชื้อที่ต่อมลูกหมากและกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเชื้อโรคที่เข้าสู่บริเวณนี้มักมาจากส่วนล่าง เช่น ตามท่อปัสสาวะแล้วย้อนขึ้นไปส่วนบน อวัยวะที่เกิดการอักเสบติดเชื้อมากที่สุด คือ กระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ
อาการแสดง
ผู้ป่วยมีอาการขัดเบา ปวดหรือแสบเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย กะปริดกะปรอยตลอดวัน เวลาปวดท้องต้องถ่ายปัสสาวะทันทีหรืออั้นไม่อยู่ บางรายการอาจมีไข้ หรือพบปัสสาวะเป็นสีขาวขุ่น ซึ่งเกิดจากการมีเม็ดเลือดขาว หรือมีตะกอนปะปนออกมา นอกจากนี้ในผู้หญิงอาจพบอาการปวดท้องน้อย กดเจ็บหรือปวดหน่วงๆ บริเวณหัวเหน่าร่วมด้วย
2. การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบน
เป็นการติดเชื้อที่ท่อไต ไต และกรวยไต อวัยวะที่มีการอักเสบบ่อย คือ กรวยไต หรือที่เรียกว่ากรวยไตอักเสบ
สาเหตุของการติดเชื้อตำแหน่งนี้ คือ ผู้ป่วยได้รับเชื้อจากทางกระแสเลือด โดยอาจมาจากภาวะแทรกซ้อนของทอนซิลอักเสบจากเชื้อสเตร็ปโตคอกคัสกลุ่มเอ แล้วเชื้อนี้หลุดลอดไปอยู่ในกระแสเลือด และไปตามอวัยวะต่างๆ เช่น ไปที่ไต ทำให้กรวยไตอักเสบจนทำให้ไตเสีย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากการติดเชื้อที่มาจากต่อมน้ำเหลืองบริเวณนั้นๆ ที่ได้รับเชื้อมาจากอวัยวะอื่นอีกที เช่น ลำไส้อักเสบ หรือการเป็นหนองที่เยื่อบุช่องท้องเป็นต้น หรือเกิดจากการที่ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนล่างก่อน แล้วนำไปสู่การติดเชื้อย้อนขึ้นไปยังทางเดินปัสสาวะส่วนบน
อาการแสดง
ผู้ป่วยจะมีไข้สูง หนาวสั่น เหงื่อออก ปวดหลัง เอวหรือสีข้าง ข้างใดข้างหนึ่งที่ติดเชื้อ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ เพราะมีเลือดปนออกมาในน้ำปัสสาวะ และอาจมีอาการขัดเบาร่วมด้วย
เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
ตารางแสดงจุลชีพที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
จุลชีพที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อ | กรวยไตอักเสบ
แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง กด
| การติดเชื้อเรื้อรัง และมีภาวะแทรกซ้อน | |
E.coli | 80 | 85 | 37 |
Stophylococcus saprophyticus (S.saprophyticus) | 10 | 5 | - |
Klebsiella spp. | 3 | 5 | 8 |
Proteus spp. (Proteus mirabulls) | 2 | 3 | 5 |
Candida spp. (เชื้อรา) | - | - | 1 |
Pseudomonas aeruginosa (P.aeruginosa) | - | - | 15 |
Enterococci | - | - | 15 |
Enterobacter spp. | - | - | 6 |
จุลชีพอื่น ๆ | 5 | 2 | 13 |
จากตารางข้างต้น จะเห็นได้ว่าเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ ส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรียแกรมลบ และจากตารางเราจะพบว่า อี.โคไล เป็นเชื้อที่พบมากที่สุด
รองลงมา คือ Staphylococcus saprophyticus แบคทีเรียชนิดนี้ไม่ได้มาจากอาหารหรืออยู่บริเวณช่องคลอดหรือตามทางเดินปัสสาวะเหมือนอีโคไล แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีการติดเชื้อจากแบคทีเรียชนิดนี้ เช่น จากการอั้นปัสสาวะนานๆ หรือการใช้ถุงยางที่น้ำยาทำลายอสุจิ ซึ่งการติดเชื้อส่วนนี้มักพบในหญิงวัยรุ่นหรือผู้ที่เคยมีการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะมาแล้ว
กรณีมีอาการเรื้อรังและหรือเกิดภาวะแทรกซ้อน ส่วนใหญ่มาจากการติดเชื้อหลายชนิดร่วมกัน ควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์
แนวทางการรักษาการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
การรักษาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะทั้งส่วนบนและส่วนล่าง จะเน้นที่การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นหลัก ส่วนจะใช้ยาประเภทใดและระยะเวลาที่รับประทานนานเท่าใด ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ตำแหน่งที่ติดเชื้อ และการตอบสนองของผู้ป่วยต่อยา
ยาปฏิชีวนะกลุ่มที่นิยมนำมาใช้เป็นอันดับแรก คือ กลุ่มฟลูออโรควิโนโลน(Fluoroquinolones) โดยเฉพาะโอฟล็อกซาซิน(Ofloxacin)
ในรายที่เพิ่งเริ่มเป็นและมีอาการไม่มาก อาจใช้กลุ่มซัลโฟนาไมด์(sulfonamides) หรือที่รู้จักกันว่าสูตรโคไตรม็อกชาโชล(Co-trimoxazole) ซึ่งประกอบด้วยตัวยา 2 ตัวร่วมกัน คือ ซัลฟาเมท็อกชาโชลและไตรเมโทพริม (SMX/TMP)
อย่างไรก็ตาม สูตรโคไตรม็อกชาโชลเป็นยารุ่นเก่า ไม่ค่อยนิยมใช้ เพราะเชื้อเกิดการดื้อยาสูงและพบการแพ้ยาบ่อยและแพ้รุนแรง โดยเฉพาะการแพ้ที่เรียกว่า “สตีเฟ่น จอห์นสัน ซินโดรม” หรือ “โรคตาหยี ปากกระโถน”
แพทย์ส่วนใหญ่จึงนิยมใช้กลุ่มฟลูออโรควิโนโลนมากกว่า ซึ่งยากลุ่มนี้จะดีมากโดยเฉพาะในผู้ที่มีการติดเชื้อต่อมลูกหมาก เพราะยาถูกดูดซึมเข้าต่อมลูกหมากได้ดี แต่สิ่งที่ควรระวัง คือ ไม่ควรใช้ยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลนในเด็กอายุต่ำกว่า 8 ปี หรือผู้เป็นโรคโลหิตจางจากชนิดขาดเอนไซม์ จีซิกพีดี (G-6 PD) และหญิงขณะตั้งครรภ์
เพราะมีรายงานว่า ยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลนทำให้กระดูกอ่อนของตัวอ่อนในสัตว์ทดลองผิดปกติ และมีรายงานว่าพบอาการปวดข้อและข้อบวมในเด็กที่ใช้ยากลุ่มนี้ นอกจากนั้นอาจพบอาการข้างเคียงที่สำคัญของยา คือ ผิวหนังไวต่อแสงแดด เมื่อถูกแดดจะเกิดผื่นแดง จึงควรแนะนำให้หลีกเลี่ยงการถูกแดดให้มากที่สุดในระหว่างที่ใช้ยา
ระยะเวลาในการใช้ยา
หากเป็นการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะส่วนล่างที่ไม่รุนแรง เพิ่งเริ่มเป็นหรือเป็นครั้งแรก ไม่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบเฉียบพลัน จะใช้ยาระยะสั้นประมาณ 3 - 5 วัน หรืออาจนานประมาณ 5 - 10 วัน ก็เพียงพอ
กรณีติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนบน กรวยไตอักเสบเฉียบพลันหรือกรวยไตอักเสบที่ไม่รุนแรง จะใช้ยานานขึ้น เช่น ประมาณ 10 - 14 วัน แต่ในรายที่เป็นซ้ำแล้วซ้ำอีกหรือรุนแรงหรือมีอาการแทรกซ้อน เรื้อรัง ระยะเวลาการใช้ยาอาจจะนานกว่านั้น และการรักษาจะซับซ้อนกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับชนิดของยาปฏิชีวนะที่ใช้ด้วย
กรณีผู้สูงอายุที่เกิดการติดเชื้อบริเวณต่อมลูกหมากและมีอาหารกลับมาเป็นซ้ำบ่อย ๆ อาจต้องหาสาเหตุเพิ่มเติม และอาจใช้ยานานถึง 3 เดือน หรือนานกว่านั้น
ตารางแสดงยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
| ยาอันดับแรก | ขนาดรับประทาน | ยาอันดับถัดไป | ขนาดรับประทาน |
การติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และปัสสาวะอักเสบ |
| ครั้งละ 2 เม็ด เช้า – เย็น หลังอาหาร |
| ครั้งละ 500 มก. วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน |
| วันละ 0.75-1.5 กรัม | |||
|
|
| วันละ 0.25 – 1 กรัม | |
| ครั้งละ 500 มก. วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน | |||
| ครั้งละ 100-200 มก. ก่อนอาหาร เช้า-เย็น |
| ครั้งละ 625 มก. วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารหรือหลังอาหาร เช้า-เย็น | |
| ครั้งละ 250-500 มก. วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารหรือหลังอาหาร เช้า - เย็น | |||
การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบน เช่น กรวยไตอักเสบ หรือการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่มีภาวะแทรกซ้อนร่วมด้วย |
| ครั้งละ 200 มก. วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น | ส่งต่อแพทย์ |
|
|
| |||
| ครั้งละ 250-500 มก. วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารหรือ หลังอาหารเช้า – เย็น | |||
| ครั้งละ 400 มก. วันละ 1 ครั้ง หรือ ตามแพทย์สั่ง |
หมายเหตุ:
ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มใช้ยาปฏิชีวนะเอง เนื่องจากอาจนำมาสู่ภาวะเชื้อดื้อยาตามมาได้
1. โอฟล็อกชาชิน จัดเป็นยาอันดับแรกที่ดี เพราะไวต่ออี.โคไล และยามีฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อไม่กว้างเกินความจำเป็นจนอาจทำลายจุลชีพเจ้าถิ่นที่เป็นประโยชน์ นอกจากนั้น ตัวยาถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้ไม่ดี ทำให้มีความเข้มข้นของยาที่ระบบทางเดินปัสสาวะสูง มีประสิทธิภาพทำลายจุลชีพที่ทำให้เกิดการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะได้ดี
2.กรณีที่ใช้ยาอันดับแรกไม่ได้ผล หรือมีอาการรุนแรงจึงค่อยใช้ยาอันดับถัดไป
การรักษาแบบป้องกัน
- ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะเมื่อรักษาหายแล้ว อาจกลับมาเป็นซ้ำได้อีก โดยเฉพาะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในรายที่กลับมาเป็นซ้ำหรือเป็นบ่อย อาจให้ยาเป็นระยะๆ
- สำหรับรายที่การติดเชื้อมีสาเหตุมาจากการมีเพศสัมพันธ์ ควรให้ยาเพื่อป้องกัน โดยการให้ครั้งเดียวหลังมีเพศสัมพันธ์ เช่น ไซโปรฟล็อกซาชิน 125 มก. วันละ 1 ครั้ง หรืออาจใช้ซัลฟาเมท็อกชาโชล(SMX) หรือไตรเมโทพริม(TMP40) 200 มก. วันละ 1 ครั้ง หรือ ซีฟาเล็กชิน 250 มก. วันละ 1 ครั้ง อย่างใดอย่างหนึ่ง
- ผู้ป่วยที่มีการกลับมาเป็นซ้ำแต่ไม่บ่อยนัก อาจแนะนำให้ใช้ยาทันทีที่เริ่มมีอาการโดยให้ติดต่อกัน 3 วัน
นอกจากการรับประทานยาปฏิชีวนะแล้ว ยังควรให้ยาประกอบอาการอื่นร่วมด้วย ถ้ามีอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้
1.กรณีผู้ป่วยมีอาการปวดบริเวณกระเพาะปัสสาวะ หรือตามทางเดินปัสสาวะ ให้จ่ายยากลุ่มคลายการบีบเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ เช่น ฟลาโวเซต ฮัยออสซีน ไดไซโคลมีน หรือยาอื่นๆ เช่น
- ฟีนาโซไพริดีน
ฟีนาโซไพริดีน สามารถลดอาการปวดบริเวณกระเพาะปัสสาวะหรือตามท่อไตได้ดี แต่เนื่องจากยามีผลทำให้ปัสสาวะเปลี่ยนเป็นสีแดงส้ม จึงควรบอกผู้ป่วยให้ทราบด้วย
- ฟลาโวเชต
บางตำราจัดฟลาโวเซต ให้อยู่ในกลุ่มยาคลายการบีบเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ
ข้อดีของฟลาโวเซต เมื่อเทียบกับยาคลายการบีบเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบชนิดอื่น คือ ยาออกฤทธิ์เจาะจงต่อกล้ามเนื้อเรียบที่ระบบปัสสาวะมากกว่ายาคลายการบีบเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบชนิดอื่น ทำให้สามารถลดอาการปวดบริเวณกระเพาะปัสสาวะหรือตามท่อไตได้เช่นเดียวกับฟินาโซไพริดีน และมีผลลดอาการขัดเบา เช่น ปัสสาวะลำบาก หรือปัสสาวะออกมาไม่ต่อเนื่องได้ดี
1. ถ้าผู้ป่วยมีอาการไข้ให้พาราเซตามอลลดไข้เป็นระยะๆ
2. ถ้ามีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ให้ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน ชื่อ ดอมเพอริโดน
คำแนะนำที่ช่วยให้ผลการรักษาดีขึ้นและไม่กลับมาเป็นซ้ำ
- ดื่มน้ำวันละ 2 - 3 ลิตร จนเป็นนิสัย
- รับประทานผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวหรือวิตามินซีเสริมทุกวัน เพื่อทำให้ปัสสาวะเป็นกรด ไม่เกิดการตกตะกอนของเกลือต่างๆ ที่อยู่ในน้ำปัสสาวะ
- ห้ามอั้นปัสสาวะ โดยเฉพาะในหญิง
- เช็ดอุจจาระด้วยวิธีที่ถูกต้อง คือ เช็ดย้อนจากหน้าไปหลังเพื่อไม่ให้อุจจาระผ่านท่อปัสสาวะและช่องคลอด
- ในผู้หญิงควรทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศด้วยสบู่ และถ่ายปัสสาวะทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์ แต่ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด
- หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาล้างช่องคลอด โดยเฉพาะชนิดฉีดหรือชนิดสอดเข้าไปในช่องคลอด
- ควรอาบน้ำด้วยฝักบัวหรือขัน มากกว่าการอาบน้ำในอ่างน้ำ