กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ภาวะผล็อยหลับ (Cataplexy)

เผยแพร่ครั้งแรก 14 ก.พ. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที

ภาวะผล็อยหลับ เป็นความผิดปกติทางสมองที่ทำให้สูญเสียแรงดึงตัวของกล้ามเนื้ออย่างเฉียบพลัน จึงส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง และสูญเสียการควบคุมของกล้ามเนื้อที่ทำงานภายใต้คำสั่งของสมอง ภาวะผล็อยหลับมักถูกวินิจฉัยผิดว่าเป็น โรคลมชัก หากไม่มีอาการแสดงอื่นๆ

อาการของภาวะผล็อยหลับ

โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่มีภาวะผล็อยหลับ จะมีอาการแขนหรือขาอ่อนแรง พูดไม่ชัด หรือหัวกดต่ำ แต่ยังมีความรู้สึกตัวครบถ้วนแม้จะมีอาการรุนแรงก็ตาม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ตาม ภาวะผล็อยหลับไม่ได้เป็นภาวะที่ส่งผลร้ายแรงอันตรายถึงชีวิต นอกจากจะเกิดภาวะดังกล่าวขึ้นในขณะที่กำลังทำกิจกรรมที่อยู่ในอันตราย เช่น ขับขี่รถจักรยานยนต์ หรือใช้เครื่องจักรที่มีความหนัก

แต่สภาวะนี้เกี่ยวข้องกับอารมณ์ที่รุนแรง เช่น ความโกรธหรือความสุข การมีภาวะผล็อยหลับจึงสามารถทำให้คุณหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่คุณอาจรู้สึกกับอารมณ์ดังกล่าวและอาจจะทำให้คุณปลีกตัวออกจากสถานการณ์ทางสังคม

เนื่องจากภาวะผล็อยหลับเป็นอาการแสดงแรกเริ่มของโรคลมหลับ สภาวะนี้อาจนำไปสู่การถูกรบกวนในขณะนอนหลับและการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

สาเหตุของภาวะผล็อยหลับ

ผู้ป่วยส่วนมากที่มีภาวะผล็อยหลับมักจะเป็นโรคลมหลับด้วย โดยสาเหตุของการเกิดของภาวะผล็อยหลับส่วนมากมักจะมีอารมณ์รุนแรงกระตุ้นก่อนเสมอ เช่น ความโกรธ ความเครียด ความวิตกกังวล อารมณ์ซึมเศร้า หรือแม้แต่ความสุข มีรายงานว่าการหัวเราะหรืออารมณ์ที่เป็นผลบวกก็เป็นตัวกระตุ้นหลักสำหรับภาวะผล็อยหลับ เพราะมีความเชื่อมโยงกันในการลดระดับเคมีที่เป็นสารสื่อประสาทในสมอง  

การรักษาภาวะผล็อยหลับ

ไม่มีการรักษาที่หายขาดสำหรับภาวะผล็อยหลับแต่ยารักษาสามารถช่วยควบคุมอาการได้ ไม่ว่าคุณจะเป็นโรคลมหลับหรือไม่ แพทย์อาจจ่ายยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่ม Selective Serotonin Reuptake Inhibitor (SSRI) หรือยากลุ่ม Serotonin and Norepinephrine Reuptake Inhibitor (SNRI) มีรายงานว่ายารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่มนี้สามารถช่วยบรรเทาอาการของภาวะผล็อยหลับได้

ตัวอย่างของยากลุ่ม SSRIs และ SNRIs ได้แก่ Prozac (fluoxetine) และ Venlafaxine ขณะที่ยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่ม Tricyclic แบบเก่า ก็มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะผล็อยหลับ เช่น  Protriptyline Tofranil (imipramine) และ Clomipramine

นอกจากนี้ ยา Xyrem (Sodium oxybate) ก็มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะผล็อยหลับด้วยเช่นกัน แต่การใช้ยา Xyrem ร่วมกับยานอนหลับ ยาบรรเทาอาการปวด หรือแอลกอฮอล์ตัวอื่น ๆ อาจสามารถทำให้มีอาการหายใจติดขัด อาการโคม่า จนนำไปสู่การเสียชีวิตได้


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
nhs.uk, Symptoms-Narcolepsy (https://www.nhs.uk/conditions/narcolepsy/symptoms/), 13 May 2019.
Suzanne Falck, MD, What Is Cataplexy? (https://www.healthline.com/health/cataplexy), 19 June 2017.
medicalnewstoday.com, Everything you need to know about cataplexy (https://www.medicalnewstoday.com/articles/307668.php), 20 June 2018.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)